สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
1. สุโขทัยกับอยุธยาไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ข้อนี้คงเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วครับ
ในอดีต บริเวณภาคกลางตอนบนซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐสุโขทัยเดิมเป็นรัฐอิสระก็จริง แต่ก็มีหลักฐานที่สะท้อนถึงความเกี่ยวพันกับรัฐต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่มาก ดังที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าสุโขทัยได้รวมเมืองแพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช เป็นส่วนหนึ่งของปริมณฑลอำนาจ และปรากฏในพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า พระญารามราช (พ่อขุนรามคำแหง) ทรงเป็นเครือญาติกับกษัตริย์อยุทธยาและนครศรีธรรมราช
หลังจากสุโขทัยถูกพิชิตโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) แห่งสุพรรณภูมิ เมืองเหนือได้กลายเป็นเครือข่ายประเทศราชที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ส่วนมากแล้วเกี่ยวดองผ่านการแต่งงาน ทั้งนี้พบหลักฐานว่ากษัตริย์อยุทธยาที่สืบเชื้อสายจากสุพรรณภูมิมักมีพระราชมารดาและพระมเหสีเป็นเจ้าหญิงจากรัฐสุโขทัย เช่น สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพญา) ปรากฏในจารึกวัดสรสักดิ์บ่งบอกว่าพระราชมารดาและน้าทรงเป็นชาวสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถมีพระราชมารดาเป็นพี่น้องกับพระมหาธรรมราชา (พญาบาลเมือง) แห่งพิษณุโลก
ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เลขที่ 222, 2/ก 104 ระบุว่า ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพญา) เมืองเหนือมีกษัตริย์ 4 องค์เป็นอิสระต่อกัน คือ พญาบาลเมืองแห่งสองแคว (โอรสมหาธรรมราชาแห่งพิษณุโลก) พญารามราชแห่งสุโขทัย (โอรสมหาธรรมราชาแห่งสุโขทัยผู้เป็นโอรสพญาลิไทย กับ พระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์) พญาเชลียงแห่งสวรรคโลก (เครือญาติกับกษัตริย์เมืองน่าน) และพญาแสนสอยดาวแห่งกำแพงเพชร ทั้ง 4 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมเด็จพระบรมราชาธิราช เคยเดินทางลงมากรุงศรีอยุทธยาเพื่อมาช่วยราชการหลายครั้ง
พญาบาลเมืองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชมากที่สุด พี่สาวหรือน้องสาวของพญาบาลเมืองได้เป็นพระราชเทวีของสมเด็จพระบรมราชาธิราช และเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถซึ่งได้เสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุทธยาสืบมา อาจจะเป็นด้วยสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดนี้ ทำให้ใน พ.ศ. 1984 สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงสถาปนาพญาบาลเมืองเป็น “มหาธรรมราชาธิราช”
อยุทธยาก็ใช้ความสัมพันธ์ในความเป็นเครือญาติอ้างสิทธิ์ในการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่บ่อยครั้ง ดังที่ปรากฏว่าเจ้าสามพญาเคยไปปกครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) ก่อนพญาบาลเมือง
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเริ่มมีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองโดยดึงอำนาจเข้ามาสู่ราชธานีมากขึ้น ดังที่กฎมณเฑียรบาลกล่าวถึงการจัดประเภทเมืองขึ้นเป็น "เมืองประเทศราช" ที่อยู่รอบนอกกับ "เมืองพญามหานคร" ที่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา 8 เมือง คือเมืองพิษณุโลก เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครราชสีมา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย แม้พบว่าพญามหานครในช่วงแรกยังมีอำนาจมากและมักเป็น "อนุวงศ์ราชวงศ์" แต่มาจากการแต่งตั้งของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ไม่ได้สืบตระกูลโดยอัตโนมัติเหมือนอย่างประเทศราชในอดีต
จดหมายเหตุ Suma Oriental ของ โตเม่ ปิรืช (Tomé Pires) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์ใน พ.ศ. 2055-2058 รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (เชษฐาธิราช) ระบุว่าพญามหานครเหล่านี้มีอำนาจมากคือมีฐานะเทียบเท่า อุปราช (viceroy) แบบตะวันตก ได้แก่ ออกญากำแพงเพชรเป็นอุปราชดูแลหัวเมืองแถบเมืองมอญและกัมพูชา รับผิดชอบทำสงครามกับพม่าและเชียงใหม่ มีอำนาจในดินแดนของตนเหมือนกษัตริย์องค์หนึ่ง อุปราชคนที่สองคือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งถูกเรียกว่า "พ่ออยู่หัว" (Poyohya) มีอำนาจปกครองหัวเมืองตั้งแต่ปะหังขึ้นมาถึงอยุทธยา อุปราชคนที่สามคือออกญาสุโขทัย ดูแลหัวเมืองทางตะนาวศรี ตรัง และเกดะห์
ภายหลังเชื้อสายกษัตริย์สุโขทัยคือขุนพิเรนทรเทพและกลุ่มขุนนางเมืองเหนือ ซึ่งสองคนเป็นพญามหานครเมืองพิชัยและสวรรคโลกได้ช่วยปราบปรามขุนวรวงศาธิราช จึงได้รับการสถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกอย่างกษัตริย์สุโขทัยในอดีต นอกจากนี้ยังได้เกี่ยวดองเป็นลูกเขยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิด้วย
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุทธยา พระเจ้าบุเรงนองสถาปนาให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุทธยาแทน รวมถึงมีการเทครัวประชากรหัวเมืองเหนือลงมาผสมผสานกับประชากรดั้งเดิมหลายส่วน กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยานับตั้งแต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลงมาอีกหลายพระองค์ ก็นับได้ว่ามีเชื้อสายกรุงสุโขทัยทั้งสิ้นครับ ประวัติศาสตร์ของสุโขทัยและอยุทธยาจึงมีความเกี่ยวพันต่อเนื่องกันอยู่มากครับ
ส่วนเรื่องที่กำหนดให้สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก เพิ่งปรากฏแนวคิดชัดเจนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา เพราะอ้างอิงตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐของกลุ่มชนที่เรียกเองว่าไท และใช้ภาษาไทอย่างชัดเจนเป็นรัฐแรก ประวัติศาสตร์แบบจารีตจึงถือกันว่าเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของไทย และมักจะไล่ลำดับเป็น สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ซึ่งสร้างความสับสนมากพอสมควร
พิจารณาตามหลักฐานแล้ว รัฐสุโขทัยในอดีตอาจยังไม่เรียกได้ว่าเป็นราชธานีที่มีการรวมศูรย์ของ "ไทย" ได้ชัดเจน เพราะยังมีการปกครองใกล้เคียงกับ "นครรัฐ" (City-state) หรือที่นักประวัติศาสตร์บางคนใช้คำว่า "รัฐแว่นแคว้น" (Chartered States) คือมีรัฐเล็กจำนวนมากที่อยู่ในเครือข่ายทางอำนาจของรัฐใหญ่ โดยสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยหรือรัฐที่เก่าแก่กว่าอย่างเชลียง ในเวลานั้นเป็นเพียงรัฐขนาดย่อมบริเวณแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาณาเขตทางใต้พิจารณาตามหลักฐานแล้วไม่น่าเชื่อว่าลงมาต่ำกว่านครสวรรค์ และในหัวเมืองของสุโขทัยเองก็ยังปรากฏการกระจายอำนาจที่สูงอยู่ โดยสุโขทัยมีอำนาจปกครองอย่างหลวมๆ เท่านั้น
ในบริเวณที่จะกลายเป็นประเทศไทยในปัจจุบันยังมีรัฐอื่นๆ ที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ไตอยู่ร่วมสมัยกับสุโขทัยจำนวนมาก เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ รัฐหนึ่งมีส่วนเกื้อหนุนในก่อเกิดอีกรัฐหนึ่งได้ หลายรัฐมีหลักฐานว่าเป็นรัฐเครือญาติเกี่ยวดองกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการดองกันทางการแต่งงาน หลายครั้งแต่ละรัฐก็มีกษัตริย์จากรัฐอื่นผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองเป็นต้นครับ เช่นพระเจ้าอู่ทองมีตำนานเล่าว่าเป็นกษัตริย์เมืองเพชรบุรีมาก่อน
ยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีมากพอที่จะให้เชื่อว่าสุโขทัยมีอำนาจลงมาต่ำกว่าเมืองพระบาง (นครสวรรค์) จึงน่าเชื่อว่ารัฐสุโขทัยมีอำนาจจริงอยู่ในลุ่มแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาจจะมีสายสัมพันธ์กับรัฐในแถบสองฝั่งโขงบ้าง รัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางใต้อย่างละโว้-อโยธยา หรือเพชรบุรีที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมร น่าจะมีอำนาจปกครองตนเองอยู่ในตอนนั้น ส่วนสัมพันธ์ระหว่างรัฐละโว้-อโยธยาจนถึงอยุทธยาตอนต้นกับรัฐสุโขทัยน่าจะมีความสัมพันธ์กันกันอย่าง "รัฐเครือญาติ" มีการแต่งงานเกี่ยวดองกันระหว่างรัฐ (ดังที่มักมีอ้างในตำนาน หรือเอกสารทางล้านนาเป็นต้น) ทำนองเดียวกับที่อโยธยามีความสัมพันธ์กับรัฐสุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราชเป็นต้น มีการผลัดเปลี่ยนเชื้อสายไปปกครองเมือง
การสันนิษฐานโดยอ้างอิงจากตำนานและโบราณคดีส่วนใหญ่ว่ารัฐในลุ่มแม่น้ำยมอย่างสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เป็นชุมทางการค้าก่อกำเนิดจากการเกื้อหนุนของรัฐกัมโพชหรือรัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างละโว้ซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่าครับ โดยเฉพาะเมืองละโว้ซึ่งโบราณยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมครับ และสันนิษฐานว่ารัฐได้ก่อกำเนิดจากความต้องการสินค้าส่งออกที่มากขึ้นของรัฐตอนใต้ที่อยู่ติดทะเล (เพราะจีนมีการพัฒนาสำเภาทำให้เพิ่มการทำการค้าทางทะเลมากขึ้น) ทำให้ชุมชนซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมแต่โบราณพัฒนาขึ้นเป็นเมืองเพื่อตอบสนองตลาด จนพัฒนาการเป็นรัฐสุโขทัยครับ โดยพ่อขุนศรีนาวนำถุมน่าจะเป็นผู้นำชาวไทในแถบนั้น (จารึกวัดศรีชุมว่าเป็น 'ขุนในเมืองเชลียง') ซึ่งอาจจะมีสืบทอดมาแล้วหลายๆรุ่น
สุโขทัย-ศรีสัชนาลัยหรือรัฐที่เก่าแก่กว่าอย่างเชลียง จึงน่าจะเป็นเพียงรัฐขนาดย่อมบริเวณแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาณาเขตทางใต้พิจารณาตามหลักฐานแล้วไม่น่าเชื่อว่าลงมาต่ำกว่านครสวรรค์ และในหัวเมืองของสุโขทัยเองก็ยังปรากฏการกระจายอำนาจที่สูงอยู่ โดยสุโขทัยมีอำนาจปกครองอย่างหลวมๆ เท่านั้น และก็ยังมีรัฐอื่นๆ ที่ใช้ภาษาไทยอยู่ร่วมสมัยจำนวนมาก
นักประวัติศาสตร์สมัยหลังเสนอว่าควรนับกรุงศรีอยุทธยาเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของไทยมากกว่า เข้าใจว่าเพราะในทางรัฐศาสตร์เป็นอาณาจักรแรกของคนไทยและใช้ภาษาไทยที่มีลักษณะการปกครองในการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ราชธานีแบบชัดเจน แม้ว่าในอยุทธยาตอนต้นจะยังมีสภาพใกล้เคียงกับนครรัฐ แต่นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นต้นมา เริ่มมีการดึงอำนาจรวมศูนย์เข้ามาสู่ราชธานีมากขึ้น มีการจัดตำแหน่งข้าราชการและระบบการปกครองหัวเมืองใหม่ คือการบัญญัติพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมือง โดยมีตำแหน่งเจ้าเมือง ผู้รั้งเมืองที่ส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งโดยตรง ไม่ได้เป็นระบบกึ่งนครรัฐที่มีกษัตริย์สืบตระกูลแบบในอดีต ทำให้ราชสำนักส่วนกลางเข้าไปมีอำนาจควบคุมหัวเมืองโดยตรง ทำให้กรุงศรีอยุทธยาค่อยๆ พัฒนาจากสภาพ "รัฐแว่นแคว้น" มาเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่ราชธานีสามารถแผ่ขยายอำนาจผนวกดินแดนที่เคยเป็นนครรัฐต่างๆ เข้ามาอยู่ในอำนาจภายใต้การควบคุมโดยตรงได้
สภาพรัฐราชอาณาจักรนั้นเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนหลังช่วงเสียกรุง พ.ศ. 2112 เป็นต้นมา ที่ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์พระร่วงจบสิ้นลง มีการถ่ายเทประชากรจากหัวเมืองเหนือขึ้นมาอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น ทำให้ส่วนกลางสามารถควบคุมกำลังพลได้สะดวกขึ้น เมื่อมีการฟื้นฟูหัวเมืองฝ่ายเหนือที่ถูกทิ้งร้างไปก็สามารถตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองโดยตรง ทำให้การปกครองมีเอกภาพมากขึ้น ผ่านมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ปรากฏการตั้งพระราชวงศ์ให้ปกครองหัวเมืองแบบมีอำนาจเต็มอีกแล้ว
สมัยอยุทธยาตอนปลาย การปกครองหัวเมืองถูกควบคุมโดยราชธานีอย่างใกล้ชิดมากขึ้น มีการแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือ หัวเมืองฝ่ายใต้ และหัวเมืองชายทะเลให้อัครมหาเสนาบดีในกรุงรับผิดชอบดูแล มียกกระบัตรเมืองที่เป็นผู้ตรวจราชการเมืองที่กรมวังแต่งตั้ง สามารถใช้ตราเสนาบดีกระทรวงต่างๆ สั่งการหัวเมืองเรียกเก็บภาษีอากรส่วยบรรณาการสำหรับราชการ เรียกเกณฑ์ไพร่พล เรียกคู่ความพิจารณาอรรถคดี ราชสำนักมีการออกกฎหมายหรือพระราชกำหนดต่างๆ ในการควบคุมหัวเมืองหลายอย่าง เช่น การห้ามเจ้าเมืองไปมาหาสู่กันเองเพื่อป้องกันการซ่องสุมอำนาจ ห้ามเจ้าเมืองเข้ากรุงหากไม่มีท้องตราเรียกหา มีกฎระเบียบข้อบังคับและบทลงโทษสำหรับเจ้าเมืองที่คิดกบฏหลายประการ เรียกได้ว่ากรุงศรีอยุทธยาตอนปลายพัฒนาการปกครองเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่มีเอกภาพค่อนข้างชัดเจนแล้ว
นอกจากนี้อยุทธยายังเป็นอาณาจักรแรกที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเรียกดินแดนในปกครองของตนว่า "กรุงไทย" มีการเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงไทย" มีการระบุชัดเจนว่าพลเมืองเป็น "ชาวไทย" และใช้ "ภาษาไทย" ในราชการและติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นการแสดงถึงการรวมศูนย์การปกครองของคนไทยได้ในระดับหนึ่ง
ถึงกระนั้นการเป็น "รัฐราชอาณาจักร" แบบโบราณนั้นก็ไม่ใช่ความหมายเดียวกับความเป็น "รัฐชาติ" (Nation state) แบบยุคปัจจุบัน ประชากรนั้นยังไม่ได้มีสำนักรับรู้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแนวคิดเรื่อง "ชาติ" ในสมัยหลัง แต่มักมีความใกล้ชิดกับมูลนายที่ปกครองตนมากกว่า ยิ่งเป็นหัวเมืองที่ห่างไกลราชธานี แม้จะอยู่ในการปกครองของกรุงศรีอยุทธยาแต่ก็ใช่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในยามปกติสมัยอยุทธยาตอนปลายนั้นโอกาสที่หัวเมืองจะแยกตนเป็นอิสระนั้นน้อย เพราะหัวเมืองถูกควบคุมจากส่วนกลางค่อนข้างเข้มงวด ทำให้หัวเมืองขาดเสถียรภาพ ไม่สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนหรือซ่องสุมกำลังแยกตนเป็นอิสระได้
เมื่อเทียบกับสุโขทัยที่แม้ว่าจะมีหลักฐานว่าใช้ภาษาไท แต่ยังไม่มีพัฒนาการรวมศูนย์ความเป็นไทยชัดเจนเหมือนอยุทธยาครับ
ในอดีต บริเวณภาคกลางตอนบนซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐสุโขทัยเดิมเป็นรัฐอิสระก็จริง แต่ก็มีหลักฐานที่สะท้อนถึงความเกี่ยวพันกับรัฐต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่มาก ดังที่ปรากฏในจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าสุโขทัยได้รวมเมืองแพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช เป็นส่วนหนึ่งของปริมณฑลอำนาจ และปรากฏในพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า พระญารามราช (พ่อขุนรามคำแหง) ทรงเป็นเครือญาติกับกษัตริย์อยุทธยาและนครศรีธรรมราช
หลังจากสุโขทัยถูกพิชิตโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) แห่งสุพรรณภูมิ เมืองเหนือได้กลายเป็นเครือข่ายประเทศราชที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ส่วนมากแล้วเกี่ยวดองผ่านการแต่งงาน ทั้งนี้พบหลักฐานว่ากษัตริย์อยุทธยาที่สืบเชื้อสายจากสุพรรณภูมิมักมีพระราชมารดาและพระมเหสีเป็นเจ้าหญิงจากรัฐสุโขทัย เช่น สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพญา) ปรากฏในจารึกวัดสรสักดิ์บ่งบอกว่าพระราชมารดาและน้าทรงเป็นชาวสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถมีพระราชมารดาเป็นพี่น้องกับพระมหาธรรมราชา (พญาบาลเมือง) แห่งพิษณุโลก
ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาฉบับปลีก เลขที่ 222, 2/ก 104 ระบุว่า ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพญา) เมืองเหนือมีกษัตริย์ 4 องค์เป็นอิสระต่อกัน คือ พญาบาลเมืองแห่งสองแคว (โอรสมหาธรรมราชาแห่งพิษณุโลก) พญารามราชแห่งสุโขทัย (โอรสมหาธรรมราชาแห่งสุโขทัยผู้เป็นโอรสพญาลิไทย กับ พระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์) พญาเชลียงแห่งสวรรคโลก (เครือญาติกับกษัตริย์เมืองน่าน) และพญาแสนสอยดาวแห่งกำแพงเพชร ทั้ง 4 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมเด็จพระบรมราชาธิราช เคยเดินทางลงมากรุงศรีอยุทธยาเพื่อมาช่วยราชการหลายครั้ง
พญาบาลเมืองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชมากที่สุด พี่สาวหรือน้องสาวของพญาบาลเมืองได้เป็นพระราชเทวีของสมเด็จพระบรมราชาธิราช และเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถซึ่งได้เสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุทธยาสืบมา อาจจะเป็นด้วยสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดนี้ ทำให้ใน พ.ศ. 1984 สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงสถาปนาพญาบาลเมืองเป็น “มหาธรรมราชาธิราช”
อยุทธยาก็ใช้ความสัมพันธ์ในความเป็นเครือญาติอ้างสิทธิ์ในการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่บ่อยครั้ง ดังที่ปรากฏว่าเจ้าสามพญาเคยไปปกครองเมืองชัยนาท (พิษณุโลก) ก่อนพญาบาลเมือง
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเริ่มมีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองโดยดึงอำนาจเข้ามาสู่ราชธานีมากขึ้น ดังที่กฎมณเฑียรบาลกล่าวถึงการจัดประเภทเมืองขึ้นเป็น "เมืองประเทศราช" ที่อยู่รอบนอกกับ "เมืองพญามหานคร" ที่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา 8 เมือง คือเมืองพิษณุโลก เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครราชสีมา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย แม้พบว่าพญามหานครในช่วงแรกยังมีอำนาจมากและมักเป็น "อนุวงศ์ราชวงศ์" แต่มาจากการแต่งตั้งของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ไม่ได้สืบตระกูลโดยอัตโนมัติเหมือนอย่างประเทศราชในอดีต
จดหมายเหตุ Suma Oriental ของ โตเม่ ปิรืช (Tomé Pires) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์ใน พ.ศ. 2055-2058 รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (เชษฐาธิราช) ระบุว่าพญามหานครเหล่านี้มีอำนาจมากคือมีฐานะเทียบเท่า อุปราช (viceroy) แบบตะวันตก ได้แก่ ออกญากำแพงเพชรเป็นอุปราชดูแลหัวเมืองแถบเมืองมอญและกัมพูชา รับผิดชอบทำสงครามกับพม่าและเชียงใหม่ มีอำนาจในดินแดนของตนเหมือนกษัตริย์องค์หนึ่ง อุปราชคนที่สองคือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งถูกเรียกว่า "พ่ออยู่หัว" (Poyohya) มีอำนาจปกครองหัวเมืองตั้งแต่ปะหังขึ้นมาถึงอยุทธยา อุปราชคนที่สามคือออกญาสุโขทัย ดูแลหัวเมืองทางตะนาวศรี ตรัง และเกดะห์
ภายหลังเชื้อสายกษัตริย์สุโขทัยคือขุนพิเรนทรเทพและกลุ่มขุนนางเมืองเหนือ ซึ่งสองคนเป็นพญามหานครเมืองพิชัยและสวรรคโลกได้ช่วยปราบปรามขุนวรวงศาธิราช จึงได้รับการสถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกอย่างกษัตริย์สุโขทัยในอดีต นอกจากนี้ยังได้เกี่ยวดองเป็นลูกเขยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิด้วย
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุทธยา พระเจ้าบุเรงนองสถาปนาให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุทธยาแทน รวมถึงมีการเทครัวประชากรหัวเมืองเหนือลงมาผสมผสานกับประชากรดั้งเดิมหลายส่วน กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยานับตั้งแต่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลงมาอีกหลายพระองค์ ก็นับได้ว่ามีเชื้อสายกรุงสุโขทัยทั้งสิ้นครับ ประวัติศาสตร์ของสุโขทัยและอยุทธยาจึงมีความเกี่ยวพันต่อเนื่องกันอยู่มากครับ
ส่วนเรื่องที่กำหนดให้สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก เพิ่งปรากฏแนวคิดชัดเจนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา เพราะอ้างอิงตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐของกลุ่มชนที่เรียกเองว่าไท และใช้ภาษาไทอย่างชัดเจนเป็นรัฐแรก ประวัติศาสตร์แบบจารีตจึงถือกันว่าเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของไทย และมักจะไล่ลำดับเป็น สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ซึ่งสร้างความสับสนมากพอสมควร
พิจารณาตามหลักฐานแล้ว รัฐสุโขทัยในอดีตอาจยังไม่เรียกได้ว่าเป็นราชธานีที่มีการรวมศูรย์ของ "ไทย" ได้ชัดเจน เพราะยังมีการปกครองใกล้เคียงกับ "นครรัฐ" (City-state) หรือที่นักประวัติศาสตร์บางคนใช้คำว่า "รัฐแว่นแคว้น" (Chartered States) คือมีรัฐเล็กจำนวนมากที่อยู่ในเครือข่ายทางอำนาจของรัฐใหญ่ โดยสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยหรือรัฐที่เก่าแก่กว่าอย่างเชลียง ในเวลานั้นเป็นเพียงรัฐขนาดย่อมบริเวณแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาณาเขตทางใต้พิจารณาตามหลักฐานแล้วไม่น่าเชื่อว่าลงมาต่ำกว่านครสวรรค์ และในหัวเมืองของสุโขทัยเองก็ยังปรากฏการกระจายอำนาจที่สูงอยู่ โดยสุโขทัยมีอำนาจปกครองอย่างหลวมๆ เท่านั้น
ในบริเวณที่จะกลายเป็นประเทศไทยในปัจจุบันยังมีรัฐอื่นๆ ที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ไตอยู่ร่วมสมัยกับสุโขทัยจำนวนมาก เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ฯลฯ รัฐหนึ่งมีส่วนเกื้อหนุนในก่อเกิดอีกรัฐหนึ่งได้ หลายรัฐมีหลักฐานว่าเป็นรัฐเครือญาติเกี่ยวดองกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการดองกันทางการแต่งงาน หลายครั้งแต่ละรัฐก็มีกษัตริย์จากรัฐอื่นผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองเป็นต้นครับ เช่นพระเจ้าอู่ทองมีตำนานเล่าว่าเป็นกษัตริย์เมืองเพชรบุรีมาก่อน
ยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีมากพอที่จะให้เชื่อว่าสุโขทัยมีอำนาจลงมาต่ำกว่าเมืองพระบาง (นครสวรรค์) จึงน่าเชื่อว่ารัฐสุโขทัยมีอำนาจจริงอยู่ในลุ่มแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาจจะมีสายสัมพันธ์กับรัฐในแถบสองฝั่งโขงบ้าง รัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางใต้อย่างละโว้-อโยธยา หรือเพชรบุรีที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมร น่าจะมีอำนาจปกครองตนเองอยู่ในตอนนั้น ส่วนสัมพันธ์ระหว่างรัฐละโว้-อโยธยาจนถึงอยุทธยาตอนต้นกับรัฐสุโขทัยน่าจะมีความสัมพันธ์กันกันอย่าง "รัฐเครือญาติ" มีการแต่งงานเกี่ยวดองกันระหว่างรัฐ (ดังที่มักมีอ้างในตำนาน หรือเอกสารทางล้านนาเป็นต้น) ทำนองเดียวกับที่อโยธยามีความสัมพันธ์กับรัฐสุพรรณภูมิ เพชรบุรี นครศรีธรรมราชเป็นต้น มีการผลัดเปลี่ยนเชื้อสายไปปกครองเมือง
การสันนิษฐานโดยอ้างอิงจากตำนานและโบราณคดีส่วนใหญ่ว่ารัฐในลุ่มแม่น้ำยมอย่างสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เป็นชุมทางการค้าก่อกำเนิดจากการเกื้อหนุนของรัฐกัมโพชหรือรัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างละโว้ซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่าครับ โดยเฉพาะเมืองละโว้ซึ่งโบราณยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมครับ และสันนิษฐานว่ารัฐได้ก่อกำเนิดจากความต้องการสินค้าส่งออกที่มากขึ้นของรัฐตอนใต้ที่อยู่ติดทะเล (เพราะจีนมีการพัฒนาสำเภาทำให้เพิ่มการทำการค้าทางทะเลมากขึ้น) ทำให้ชุมชนซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมแต่โบราณพัฒนาขึ้นเป็นเมืองเพื่อตอบสนองตลาด จนพัฒนาการเป็นรัฐสุโขทัยครับ โดยพ่อขุนศรีนาวนำถุมน่าจะเป็นผู้นำชาวไทในแถบนั้น (จารึกวัดศรีชุมว่าเป็น 'ขุนในเมืองเชลียง') ซึ่งอาจจะมีสืบทอดมาแล้วหลายๆรุ่น
สุโขทัย-ศรีสัชนาลัยหรือรัฐที่เก่าแก่กว่าอย่างเชลียง จึงน่าจะเป็นเพียงรัฐขนาดย่อมบริเวณแม่น้ำยม-น่านเท่านั้น อาณาเขตทางใต้พิจารณาตามหลักฐานแล้วไม่น่าเชื่อว่าลงมาต่ำกว่านครสวรรค์ และในหัวเมืองของสุโขทัยเองก็ยังปรากฏการกระจายอำนาจที่สูงอยู่ โดยสุโขทัยมีอำนาจปกครองอย่างหลวมๆ เท่านั้น และก็ยังมีรัฐอื่นๆ ที่ใช้ภาษาไทยอยู่ร่วมสมัยจำนวนมาก
นักประวัติศาสตร์สมัยหลังเสนอว่าควรนับกรุงศรีอยุทธยาเป็น "ราชธานี" แห่งแรกของไทยมากกว่า เข้าใจว่าเพราะในทางรัฐศาสตร์เป็นอาณาจักรแรกของคนไทยและใช้ภาษาไทยที่มีลักษณะการปกครองในการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ราชธานีแบบชัดเจน แม้ว่าในอยุทธยาตอนต้นจะยังมีสภาพใกล้เคียงกับนครรัฐ แต่นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นต้นมา เริ่มมีการดึงอำนาจรวมศูนย์เข้ามาสู่ราชธานีมากขึ้น มีการจัดตำแหน่งข้าราชการและระบบการปกครองหัวเมืองใหม่ คือการบัญญัติพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมือง โดยมีตำแหน่งเจ้าเมือง ผู้รั้งเมืองที่ส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งโดยตรง ไม่ได้เป็นระบบกึ่งนครรัฐที่มีกษัตริย์สืบตระกูลแบบในอดีต ทำให้ราชสำนักส่วนกลางเข้าไปมีอำนาจควบคุมหัวเมืองโดยตรง ทำให้กรุงศรีอยุทธยาค่อยๆ พัฒนาจากสภาพ "รัฐแว่นแคว้น" มาเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่ราชธานีสามารถแผ่ขยายอำนาจผนวกดินแดนที่เคยเป็นนครรัฐต่างๆ เข้ามาอยู่ในอำนาจภายใต้การควบคุมโดยตรงได้
สภาพรัฐราชอาณาจักรนั้นเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนหลังช่วงเสียกรุง พ.ศ. 2112 เป็นต้นมา ที่ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์พระร่วงจบสิ้นลง มีการถ่ายเทประชากรจากหัวเมืองเหนือขึ้นมาอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น ทำให้ส่วนกลางสามารถควบคุมกำลังพลได้สะดวกขึ้น เมื่อมีการฟื้นฟูหัวเมืองฝ่ายเหนือที่ถูกทิ้งร้างไปก็สามารถตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองโดยตรง ทำให้การปกครองมีเอกภาพมากขึ้น ผ่านมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ปรากฏการตั้งพระราชวงศ์ให้ปกครองหัวเมืองแบบมีอำนาจเต็มอีกแล้ว
สมัยอยุทธยาตอนปลาย การปกครองหัวเมืองถูกควบคุมโดยราชธานีอย่างใกล้ชิดมากขึ้น มีการแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือ หัวเมืองฝ่ายใต้ และหัวเมืองชายทะเลให้อัครมหาเสนาบดีในกรุงรับผิดชอบดูแล มียกกระบัตรเมืองที่เป็นผู้ตรวจราชการเมืองที่กรมวังแต่งตั้ง สามารถใช้ตราเสนาบดีกระทรวงต่างๆ สั่งการหัวเมืองเรียกเก็บภาษีอากรส่วยบรรณาการสำหรับราชการ เรียกเกณฑ์ไพร่พล เรียกคู่ความพิจารณาอรรถคดี ราชสำนักมีการออกกฎหมายหรือพระราชกำหนดต่างๆ ในการควบคุมหัวเมืองหลายอย่าง เช่น การห้ามเจ้าเมืองไปมาหาสู่กันเองเพื่อป้องกันการซ่องสุมอำนาจ ห้ามเจ้าเมืองเข้ากรุงหากไม่มีท้องตราเรียกหา มีกฎระเบียบข้อบังคับและบทลงโทษสำหรับเจ้าเมืองที่คิดกบฏหลายประการ เรียกได้ว่ากรุงศรีอยุทธยาตอนปลายพัฒนาการปกครองเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่มีเอกภาพค่อนข้างชัดเจนแล้ว
นอกจากนี้อยุทธยายังเป็นอาณาจักรแรกที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเรียกดินแดนในปกครองของตนว่า "กรุงไทย" มีการเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงไทย" มีการระบุชัดเจนว่าพลเมืองเป็น "ชาวไทย" และใช้ "ภาษาไทย" ในราชการและติดต่อกับต่างประเทศ จึงเป็นการแสดงถึงการรวมศูนย์การปกครองของคนไทยได้ในระดับหนึ่ง
ถึงกระนั้นการเป็น "รัฐราชอาณาจักร" แบบโบราณนั้นก็ไม่ใช่ความหมายเดียวกับความเป็น "รัฐชาติ" (Nation state) แบบยุคปัจจุบัน ประชากรนั้นยังไม่ได้มีสำนักรับรู้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแนวคิดเรื่อง "ชาติ" ในสมัยหลัง แต่มักมีความใกล้ชิดกับมูลนายที่ปกครองตนมากกว่า ยิ่งเป็นหัวเมืองที่ห่างไกลราชธานี แม้จะอยู่ในการปกครองของกรุงศรีอยุทธยาแต่ก็ใช่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในยามปกติสมัยอยุทธยาตอนปลายนั้นโอกาสที่หัวเมืองจะแยกตนเป็นอิสระนั้นน้อย เพราะหัวเมืองถูกควบคุมจากส่วนกลางค่อนข้างเข้มงวด ทำให้หัวเมืองขาดเสถียรภาพ ไม่สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนหรือซ่องสุมกำลังแยกตนเป็นอิสระได้
เมื่อเทียบกับสุโขทัยที่แม้ว่าจะมีหลักฐานว่าใช้ภาษาไท แต่ยังไม่มีพัฒนาการรวมศูนย์ความเป็นไทยชัดเจนเหมือนอยุทธยาครับ
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเรื่อง พระมหากษัตริย์ของสุโขทัย กับอยุธยา ครับ
2.พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยกับอยุธยา มีช่วงเวลาที่ทับซ้อนกันหลายพระองค์ แล้วอย่างนี้เราจะเรียงลำดับยังไงครับ