คนขี้สงสัยเกิดคำถามอีกแล้วครับ ที่ภาครัฐฯ จัดทำมากับ ประหยัดไฟเบอร์ 5 .. ที่ล่าสุดมี ดาว ขึ้นมาอีก ..
โดยรวมแล้วเป็น ประหยัดไฟเบอร์ 5 “3 ดาว” ... ซึ่งมันคืออีกขั้นนึงของการประหยัดไฟ ที่คนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าดูกันอีกครั้ง
ตัดเข้าข้อมูลพื้นฐานก่อน ประหยัดไฟเบอร์ 5 “3 ดาว” คืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.youtube.com/watch?v=Q-auFssgEBk
ป้ายนี้จริงๆเริ่มใช้กันเมื่อต้นปีนะครับ ... เริ่มใช้ป้ายใหม่กัน 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ผมไปหามานี้ “ป้ายเบอร์ 5”
ไม่ได้มีแค่เครื่องใช้ไฟฟ้านะ แต่รวมถึง ข้าวและเสื้อ ด้วย (อะไรกันเนี้ยยยย)
ป้ายจะออกมาหน้าตาลักษณะนี้
กลับมาเข้าเรื่องกันดีกว่า เนื่องจากตอนนี้สนใจแค่ “แอร์” เพื่อนำไปติดตั้งที่บ้านใหม่ เลยหาข้อมูลของแอร์เบอร์ 5 ที่เป็น 3 ดาว มาให้ดูกัน รวมถึงมีสรุปแบบที่ได้ฉลากแบบใหม่แล้วตั้งแต่ 0-3 ดาวมาประกอบการพิจารณาด้วย ถือเป็นมาตรฐานประหยัดพลังงานตัวใหม่ที่เพิ่งประกาศใช้นั่นเอง เมื่อลองไล่เรียงดูแล้วก็พบว่าแบรนด์ใหญ่ๆ ที่เริ่มปรับตัวให้ได้มาตรฐานสูงสุด ก็มีตั้งแต่ แคเรียร์ มิตซู ไล่ไปจนถึง พานา แอลจี และ ฟูจิซึ ก็ติดโผมาด้วย
จากที่เดินสำรวจข้อมูลมาหลายแหล่ง ทั้งในห้าง ร้านตัวแทนจำหน่ายต่างๆ รวมถึงบนเว็บ ผมทำเป็นสรุปตารางดังนี้
**สำรวจข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2019
**อาจจะมีไม่ครบทุกรุ่นนะครับ เนื่องจากสำรวจ เพื่อลองเอามาเปรียบเทียบเท่านั้น
**SEER (บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์) ตัวเลขยิ่งมาก ประสิทธิภาพการประหยัดไฟยิ่งดี
คราวนี้จากการที่ได้ไปสำรวจในห้างและร้านตัวแทนจำหน่ายแอร์มา ได้นำข้อมูลบางส่วนมาเปรียบเทียบค่าไฟฟ้า ที่ใช้ไปในหนึ่งปี ของแอร์รุ่นนั้นๆ ว่าเป็นยังไงบ้าง ด้วยความที่รุ่นมันเยอะ ผมก็แวะไปถ่ายรูปมาจำนวนหนึ่ง แล้วก็ขอสรุปแบบโฟกัสไปที่ 3 ดาวอย่างเดียวเลยนะครับ
Panasonic ในขนาด 9,069 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 4,310 บาท / ปี
Carrier ในขนาด 9,200 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 4,433 บาท / ปี
Carrier ในขนาด 12,200 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 6,270 บาท / ปี
Mitsubishi ในขนาด 12,967 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 6,635 บาท / ปี
Fujitsu ในขนาด 9,039 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 4,303 บาท / ปี
LG ในขนาด 12,000 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 5,981 บาท / ปี
และถ้าเทียบเบอร์ 5 เดิม กับเบอร์ 5 แบบ 3ดาว จะออกมาตามตารางดังนี้
จากตารางสรุปเรื่องการประหยัดไฟ จะเห็นได้ว่าตัวเลขการใช้ค่าไฟของแอร์แต่ละรุ่นต่างกันพอสมควร ซึ่ง แคเรียร์ จะมีอัตราประหยัดไฟสูงสุด นำอยู่ถึง 31% และ 26% ตามมาด้วย พานาโซนิค อยู่ที่ 30% ก็ไม่เบาเลยทีเดียว
แต่ว่าไม่ใช่แค่เรื่องค่าไฟเท่านั้น การดูองค์ประกอบอื่นๆ ก็มีส่วนในการตัดสินใจซื้อแอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้ขอรวมไว้เป็นรุ่นๆ ไม่แยกแบบ BTU (เพราะบางรุ่นคุณสมบัติเดียวกัน แต่ขนาดแอร์ต่างกัน) ดังนี้
จากข้อมูลในตารางดังกล่าว(อาจจะหามาได้ไม่ครบเท่าไรนะ) ก็ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่าง ที่ใช้ในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น
- ราคา ซึ่งจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ส่วนลด ของแถมแต่ละร้าน หรือแม้แต่เรื่องการผ่อน 0% เท่าที่สำรวจ ซื้อในห้างจะแพงกว่าร้านค้าตัวแทนอยู่ประมาณ 2,500 – 3,000 บาท ถ้าซื้อออนไลน์ก็อาจจะได้ราคาพิเศษอีกแล้วแต่ช่วงโปรโมชัน แถมยังสะดวกต่อการส่งสินค้าเพื่อติดตั้งถึงบ้านด้วย แต่อาจจะต้องคุยตกลงเรื่องค่าติดตั้งกันให้ดีอีกที
- การบริการหลังการขายที่ดี รวมถึงอัธยาศัยของผู้ให้บริการ
- ความคุ้มค่าของการประหยัดไฟ และปริมาณการใช้ไฟแต่ละปี ใช้อินเวอร์เตอร์ หากเปิดทุกวันปีเดียวก็น่าจะคืนทุกแล้วครับ
- ค่า SEER ที่เป็นค่าที่บอกถึงการใช้ไฟต่อชั่วโมง/วัตต์
- ประกัน การบริการหลังการขายที่ดี และจุดเด่นหรือคุณสมบัติต่างๆ ของตัวแอร์
ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก ในการเลือกให้คุ้มค่าที่สุด
จะเห็นได้ว่า แอร์ที่เข้าเงื่อนไขของ ประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบ “3 ดาว” เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะวัดเรื่องของราคากันแล้ว ยังต้องดูถึงความคุ้มค่าและค่าประหยัดไฟ + ประกัน + คุณสมบัติต่างๆ จากตารางที่ทำมาให้ดูทั้งหมดนั้น คิดว่า แคเรียร์ ครบสุด มาเป็นอันดับหนึ่งในใจตอนนี้ครับ รองลงมาให้ ไดกิ้นและพานาโซนิค ที่ค่อนข้างน่าสนใจใกล้เคียงกัน ซึ่งข้อมูลที่หามานี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์สำหรับทุกคน แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจ และกำลังจะเลือกซื้อแอร์ในหน้าร้อนนี้ได้นะครับ
เป็นคนขี้สงสัย ถ้าประหยัดไฟเบอร์ 5 “3 ดาว” เทียบกัน แอร์ยี่ห้อไหนดีที่สุด
โดยรวมแล้วเป็น ประหยัดไฟเบอร์ 5 “3 ดาว” ... ซึ่งมันคืออีกขั้นนึงของการประหยัดไฟ ที่คนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าดูกันอีกครั้ง
ตัดเข้าข้อมูลพื้นฐานก่อน ประหยัดไฟเบอร์ 5 “3 ดาว” คืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ป้ายนี้จริงๆเริ่มใช้กันเมื่อต้นปีนะครับ ... เริ่มใช้ป้ายใหม่กัน 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ผมไปหามานี้ “ป้ายเบอร์ 5”
ไม่ได้มีแค่เครื่องใช้ไฟฟ้านะ แต่รวมถึง ข้าวและเสื้อ ด้วย (อะไรกันเนี้ยยยย)
จากที่เดินสำรวจข้อมูลมาหลายแหล่ง ทั้งในห้าง ร้านตัวแทนจำหน่ายต่างๆ รวมถึงบนเว็บ ผมทำเป็นสรุปตารางดังนี้
**อาจจะมีไม่ครบทุกรุ่นนะครับ เนื่องจากสำรวจ เพื่อลองเอามาเปรียบเทียบเท่านั้น
**SEER (บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์) ตัวเลขยิ่งมาก ประสิทธิภาพการประหยัดไฟยิ่งดี
Carrier ในขนาด 12,200 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 6,270 บาท / ปี
Mitsubishi ในขนาด 12,967 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 6,635 บาท / ปี
Fujitsu ในขนาด 9,039 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 4,303 บาท / ปี
LG ในขนาด 12,000 BTU ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินประมาณ 5,981 บาท / ปี
แต่ว่าไม่ใช่แค่เรื่องค่าไฟเท่านั้น การดูองค์ประกอบอื่นๆ ก็มีส่วนในการตัดสินใจซื้อแอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้ขอรวมไว้เป็นรุ่นๆ ไม่แยกแบบ BTU (เพราะบางรุ่นคุณสมบัติเดียวกัน แต่ขนาดแอร์ต่างกัน) ดังนี้
- ราคา ซึ่งจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ส่วนลด ของแถมแต่ละร้าน หรือแม้แต่เรื่องการผ่อน 0% เท่าที่สำรวจ ซื้อในห้างจะแพงกว่าร้านค้าตัวแทนอยู่ประมาณ 2,500 – 3,000 บาท ถ้าซื้อออนไลน์ก็อาจจะได้ราคาพิเศษอีกแล้วแต่ช่วงโปรโมชัน แถมยังสะดวกต่อการส่งสินค้าเพื่อติดตั้งถึงบ้านด้วย แต่อาจจะต้องคุยตกลงเรื่องค่าติดตั้งกันให้ดีอีกที
- การบริการหลังการขายที่ดี รวมถึงอัธยาศัยของผู้ให้บริการ
- ความคุ้มค่าของการประหยัดไฟ และปริมาณการใช้ไฟแต่ละปี ใช้อินเวอร์เตอร์ หากเปิดทุกวันปีเดียวก็น่าจะคืนทุกแล้วครับ
- ค่า SEER ที่เป็นค่าที่บอกถึงการใช้ไฟต่อชั่วโมง/วัตต์
- ประกัน การบริการหลังการขายที่ดี และจุดเด่นหรือคุณสมบัติต่างๆ ของตัวแอร์
ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมาก ในการเลือกให้คุ้มค่าที่สุด
จะเห็นได้ว่า แอร์ที่เข้าเงื่อนไขของ ประหยัดไฟเบอร์ 5 แบบ “3 ดาว” เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะวัดเรื่องของราคากันแล้ว ยังต้องดูถึงความคุ้มค่าและค่าประหยัดไฟ + ประกัน + คุณสมบัติต่างๆ จากตารางที่ทำมาให้ดูทั้งหมดนั้น คิดว่า แคเรียร์ ครบสุด มาเป็นอันดับหนึ่งในใจตอนนี้ครับ รองลงมาให้ ไดกิ้นและพานาโซนิค ที่ค่อนข้างน่าสนใจใกล้เคียงกัน ซึ่งข้อมูลที่หามานี้อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์สำหรับทุกคน แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจ และกำลังจะเลือกซื้อแอร์ในหน้าร้อนนี้ได้นะครับ