แชร์ประสบการณ์ บัตร KTB รถเมล์ ขสมก.

ช่วงวันสองวันที่ผ่านมา ผู้ที่ขึ้นรถเมล์สาย 510 หลายท่าน อาจจะได้ซื้อบัตรรถเมล์ ขสมก. ของธนาคารกรุงไทยไปแล้ว

ซึ่งผม ก็เป็น 1 ในนั้น ที่ซื้อบัตรมา เพราะผมเคยเดินทางมาในประเทศที่ใช้บัตรแตะขึ้นรถเมล์ เมื่อเห็นในไทยมีระบบนี้ ก็เลยอยากจะลองดูบ้าง

จัดมา 1 ใบ 40 บาท (เงินในบัตร 50 บาท)
วันนี้ผมมีโอกาสขึ้นรถเมล์สาย 510 ประมาณช่วงเย็นๆ จากแถวบ้านผม (ปกติจะขึ้นสายอื่น แต่วันนี้อยากลองของใหม่ เลยขึ้น 510)

ทีแรกผมตั้งใจจะจ่ายด้วยบัตรเดบิต แบบ Contactless ที่มีอยู่ แต่เครื่องไม่รับ (ทั้งๆ ที่มีสัญลักษณ์ Contactless บนเครื่อง) เพราะเมื่อกดเข้าไปจ่ายแล้ว เครื่องไม่มีระบบให้เข้าไปที่ตัวแตะ ก็เลยจ่ายผ่าน QR Code กับแอพธนาคารไป (กว่าจะจ่ายได้ต้องเอาเครื่องรับจ่ายจากจากประเป๋ารถเมล์มาวางกับพื้น เพราะรถเมล์สั่น กล้องโทรศัพท์จับ QR ไม่ได้)

แต่ก่อนลง กระเป๋ารถเมล์ชวนซื้อบัตรใบนี้ ก็เลยตั้งใจซื้อไว้สักใบ เก็บเป็นที่ระลึก (แต่คิดว่าคงอีกนานกว่าจะไปใช้สายอื่นได้)

จากนั้นผมเลยลองไปดูในโลกโซเชี่ยล ปรากฏว่าก็มีเสียงบ่นจากผู้โดยสารเกี่ยวกับระบบใหม่นี้เช่นกัน

กระทู้นี้ เลยขออนุญาติพูดถึงระบบรถเมล์ในมาเลเซีย ที่แทบจะไม่ต้องใช้เงินสดแล้ว

รถเมล์ในมาเลเซีย ถ้าพูดถึงในกัวลาลัมเปอร์ จะมีบริษัทหลักๆเด่นๆ เลย คือ RapidKL รถเมล์เหล่านี้ ใช้บัตร Touch 'n go ในการจ่ายค่าโดยสาร (บัตรใบนี้จ่ายได้ทุกระบบขนส่ง ทั้งรถไฟ รถเมล์) สามารถอ่านได้ที่กระทู้นี้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรใบนี้ https://ppantip.com/topic/38726850/comment1

โดยระบบจ่ายเงินในรถเมล์ของ RapidKL จะไม่มีกระเป๋ามาคอยเก็บตัง นั้นหมายความว่า ผู้โดยสารจะต้องเอาบัตรมาแตะที่ตัวรับจ่าย เมื่อแตะแล้ว เครื่องจะตัดเงิน 3RM และต้องแตะอีกทีก่อนลงจากรถ เพื่อจ่ายค่าโดยสารตามจริง (ถ้าลืมแตะคือเสีย 3RM ตามเดิม)

แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีบัตร ก็ต้องจ่ายด้วยเงินสด คือบอกปลายทางกับคนขับ และหย่อนธนบัตรลงที่กล่องข้างคนขับ คนขับจะกดที่เครื่องออกตั๋วให้ แต่ว่านับตั้งแต่วันจันทร์หน้าเป็นต้นไป รถเมล์ RapidKL จะไม่รับเงินสดแล้ว ต้องจ่ายด้วยบัตรเท่านั้น
นี่คือระบบที่พัฒนาให้มาเลเซีย กลายเป็นสังคมไร้เงินสดไปแล้วในขณะนี้ และในช่วงไตรมาสที่ 4 นี้ บัตร Touch 'n go จะเชื่อมกับบัตร EZ-Link ของสิงคโปร นั้นหมายความว่า ถ้าคุณมีบัตร TNG มาจากฝั่งมาเลเซีย เมื่อคุณข้ามไปสิงคโปร คุณไม่ต้องซื้อ EZ-Link สามารถใช้บัตรนั้นขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ของสิงคโปรได้ทันที (บัตรจะตัดเงิน9ามปกติ แต่เป็นอัตราสิงคโปรดอลล่าร์เมื่อแลกเป็นสกุลเงินริงกิต ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้นๆ)

กลับมาที่ประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร บัตรโดยสาร 1 ใบ ไม่สามารถใช้ครอบคลุมทุกการขนส่ง ขึ้นรถเมล์บัตรใบนึง ขึ้น MRT บัตรใบนึง ขึ้น BTS บัตรใบนึง

ทำให้ครอบคลุมเถอะครับ ใบเดียวให้ครบ จบไปเลย ให้มัน Connect กับทุกขนส่ง ขึ้น-ลง เปลี่ยนสายได้แบบไม่สะดุด แบบที่มาเลเซีย กับสิงคโปรทำ

บัตรเยอะ มันสับสนครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่