Highlights
-ความสำคัญของแนวเพลงไอดอล
-เมื่อวงไอดอลไม่สามารถที่จะทำเพลงได้อิสระจึงต้องพึ่งอย่างอื่น?
-ทำอย่างอื่นเยอะกว่าเพลงมีโอกาสรุ่งกว่ารึป่าว?
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในช่วง2ปีมานี้วงไอดอลญี่ปุ่นก็เริ่มรุกเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น โดยมี BNK48และSweat16 สองวงที่เริ่มมาทำวงไอดอลแนวญี่ปุ่นจริงๆจังๆอีกครั้งนึง โดยที่BNK48เป็น1ใน3วงน้องสาวต่างประเทศที่แตกหน่อมาจากAKB48 วงพี่สาวที่ประจำอยู่ที่ญี่ปุ่นซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในช่วงหลายปีก่อน Sweat16 วงไอดอลที่ตั้งโดย การร่วมมือระหว่างค่ายเพลงLOVEISและYoshimoto entertainment โดยสองวงนี้ค่อนข้างสร้างความตื่นเต้นให้กับกลุ่มคนนึงในประเทศไทยก็คือแฟนคลับวงไอดอลญี่ปุ่น หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า "โอตะ"
ประเด็นที่เราจะพูดถึงก็คือแนวเพลงของวงไอดอล เนื่องจากความสำเร็จของเพลง Koisuru fortune cookies ของBNK48 ทำให้วงไอดอลแนวนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและทำให้มีคนลองเสี่ยงอยากจะลองทำตาม ซึ่งปัจจุบันวงไอดอลในไทยที่มี่อยู่ตอนนี้แต่ละวงก็จะมีแนวเพลงที่ต่างกันไป
-BNK48 (IDOL-POP)
-Sweat16 (IDOL-POP)
-FEVER (SYNTH-POP)
-Cm cafe (T-POP)
-Happy tail (IDOL-POP)
-Siamdream (IDOL-POP)
-SY51 (IDOL-POP)
-7th sense (T-POP)
-AKIRA-KURO (ROCK)
ซึ่งแนวเพลงของไอดอลนั้นสำคัญมากๆ นอกจากจะเป็นอีกนึ่งเอกลักษณ์ของวงแล้ว มันยังเป้นสิ่งที่ช่วยเพิ่มกลุ่มแฟนคลับได้อีกด้วย เช่น AKIRA-KURO ที่มาแนวRock อาจจะช่วยตกแฟนคลับเพลงROCKให้มาเป็นแฟนคลับวงตัวเองได้ ซึ่งแนวเพลงนั้นยังกำหนดกลุ่มแฟนคลับตัวเองได้อีกด้วย เช่น หากเป็นเพลงแนวIDOL-POPก็จะมีแฟนคลับเป็นโอตะที่ที่คุ้นเคยกับความเป็นญี่ปุ่นหรือตามไอดอลญี่ปุ่นมาก่อน หรือT-POP ที่จะเจาะกลุ่มคนที่เคยตามวงเกิร์ลกรุ๊ปไทยสมัยก่อนเช่น kamikaze เป็นต้น ฉะนั้นแนวเพลงก็สำคัญมากๆ มันเป็นสิ่งที่จะกำหนดหลายๆอย่างเช่น กลุ่มแฟนคลับ แนวทางของวง และเอกลักษณ์ของวง อีกทั้งถ้าหากเจาะกลุ่มส่วนใหญ่ได้ถูกจุดโอกาสในการเติบโตไวของวงก็จะมีเยอะขึ้น เช่นหากคนชอบเพลงแนวIDOL-POPมากกว่าT-POP แล้ววงนึงทำเพลงแนวIDOL-POP ก็อาจจะสามารถเพิ่มแฟนคลับได้มากกว่าการทำเพลงT-POP
แต่ถึงอย่างงั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเพลงแนวเฉพาะกลุ่มนั้นมันจะขยายมากกว่ากลุ่มคนฟังแนวนั้นไม่ได้ ขอยกตัวอย่างปรากฏการคุ้กกี้เสี่ยงทายของBNK48
คุ้กกี้เสี่ยงทายผมมองว่ามันคือเพลงแนวไอดอลจ๋าอีกเพลงมากๆ แต่ด้วยการแปลเนื้อที่ค่อนข้างถูกจริตคนไทย ฟังง่าย และความหมายก็ไม่ได้ยากเกินไป ทำนองเพลงก็น่ารักๆ จำง่าย ท่าเต้นก็Coverง่าย จนกลายเป็นกระแส ทำให้เป็นตัวส่งBNK48ให้เติบโตไวเช่นนี้ ซึ่งขอบอกว่าโอกาสที่จะเป็นแบบนี้ ความเป็นไปไม่ได้เยอะกว่าเป็นไปได้อีก
อีกเคสที่น่าสนใจก็คือ BNK48 อย่างที่รู้ๆBNK48คือวงน้องสาวต่างประเทศของAKB48 ซึ่งก็จะมีกฏในการทำวงอยู่หลายอย่าง รวมไปถึงสิ่งที่เรากำลังพูดถึงคือ "การทำเพลงจะใช้ได้แค่เพลงของAKB48นำมาแปลเท่านั้น" ซึ่งหมายความว่าBNK48จะไม่สามารถทำเพลงoriginalของตัวเองได้ อีกทั้งยังมีกฏในการแปลเพลงน่าปวดหัวมากมายเช่น "ต้องแปลให้จำนวนพยางค์เท่ากัน" "ความหมายของเพลงต้องคงเดิม" บรรทัดนั้นเล่ายังไงก็ต้องแปลให้สื่อความหมายแบบเดิมห้ามบิดเบี้ยว" และอื่นๆอีกมากมายที่เราไม่อาจล่วงรู้ แต่ถึงอย่างงั้นก็พอจะบอกได้แบบเต็มปากว่า BNK48เป็นวงที่ขาดอิสระในการทำเพลงมากๆ การที่จะพึ่งเพลงของวงพี่ที่มีความเป็นไอดอลญี่ปุ่นคลุ้งอยู่เต็มไปหมด แถมต้องแปลเพลงให้อยู่ภายใต้กฏการแปลเพลงเยอะแยะเต็มไปหมด ทำให้บางทีเพลงก็รู้สึกแปลกๆเช่น ยัดคำเยอะไปจนฟังไม่ออก เพลงฟังยากไม่ทราบถึงความหมาย เนื้อเพลงญี่ปุ่นพอแปลมาเป็นไทยแล้วไม่เพราะเป็นต้น
แต่สำหรับเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายที่ดังทั่วบ้านทั่วเมืองคงจะถือเป็นกรณีพิเศษ่วงนั้นถือว่าเป็นวิกฤตของวง ทางผู้บริหารBNK48ต้องไปขอร้องทางญี่ปุ่นให้แปลได้อย่างอิสระสักครั้ง สุดท้ายก็ทำออกมาได้ดี มันก็เป็นอีกข้อพิสูจว่า หากBNK48ได้อิสระในการทำเพลงมากกว่านี้ คงจะมีเพลงที่สร้างปรากฏการใกล้เคียงคุ้กกี้เสี่ยงทายได้ เพราะว่าBNK48ก็มีบุคลากรด้านเพลงฝีมือดีอยู่เช่น เอ๊ะ ละอองฟอง แมนละอองฟอง และก็มีconnectionกับนักดนตรี/นักร้องหลายๆคน เพื่อที่จะให้แปลเพลงให้BNK48 รวมไปถึงการทำเพลงให้
ถึงอย่างงั้นทางผู้บริหารBNK48น่าจะรู้ตัวว่า การได้อิสระในการทำเพลงคงไม่ใช่เร็วๆนี้แน่ๆ การที่จะดันทุรังแปลเพลงไปแบบนี้ไปเรื่อยๆและหากินแบบเดิมๆคงไปไม่รอดในระยะยาว จึงออกมาให้สัมภาษณ์ว่า "วงเราไม่เน้นเพลง" ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้ความใส่ใจกับเพลงเลย แต่จะเน้นเรื่องอื่นๆตามไปด้วยเช่น กิจกรรมของวง งานแสดงภาพยนตร์/ซีรี่ย์ การไปFeat.กับศิลปินอื่นๆ งานพรีเซนเตอร์ หรือแสดงMVของนักร้องคนอื่น ที่เห็นได้ชัดเลยคือ ในงานWe talk to you ที่เปิดให้ผู้บริหารมาคุยแนวทางของวงในปี2019กับแฟนคลับที่มีบัตรfounder memberจำนวน1000คน จะสังเกตุได้ว่าแผนการหลายๆอย่าง เน้นอย่างอื่นนอกจากเพลงเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการส่งเมมเบอร์ไปแสดงภาพยนตร์ หรือผลักดันความสามารถพิเศษของเมมเบอร์ เช่น คอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนของ แก้ว-BNK48 ซึ่งเรามองว่าเป้นเรื่องที่ดี การที่จะพึ่งอะไรเดิมๆ ที่ไม่ได้รับอิสระด้วยซ้ำ สู้ไปหาทางเดินอื่นๆระหว่างนั้นจะดีกว่าเป็นการขยายฐานแฟนคลับไปด้วยในตัว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ การส่งเมมเบอร์ในแสดงภาพยนตร์/ซีรี่ย์ หรือแม้กะทั่งไปร่วมแสดงMVกับศิลปินอื่นๆ สามารถเพิ่มแฟนคลับได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ
อีกทั้งก็ยังมีสิ่งที่เรียกกันว่า"เธียเตอร์" เป็นสถานที่ทำกำไรให้กับวงทุกสัปดาห์ โดยจะมีการแสดงเพลงพิเศษที่มีแค่ใน"เธียเตอร์"เท่านั้น โดยแฟนคลับจะต้องลงชื่อสุ่ม โดยจะมีแค่350คนต่อ1รอบที่จะได้เข้าไปดู ปัจจุบัน BNK48มีการแสดงในเธียเตอร์3รอบต่อสัปดาห์
ซึ่งก็มีอีกหลายๆอย่างที่BNK48ทำออกมาขาย ซึ่งมันเยอะแยะจนเขียนอธิบายไม่หมด เอาเป็นว่า ปีนึงBNK48สามารถทำกำไรได้มหาศาลมากๆ
แต่มันก็ทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่า การที่จะเดินไปทางอื่นนอกเยอะกว่าการทำเพลงมันจะรุ่งกว่ารึป่าว?
จุดนี้เราก็ต้องย้อนกลับมาดู ยังไงซะสถานะของเราก็คือวงดนตรีวงนึงยังไงก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เพลงเนี่ยหละคือสิ่งที่เพิ่มฐานแฟนคลับได้ง่ายและรวดเร็ว และเป็นการโปรโมทวงที่ดีที่สุด สาเหตุก็เพราะ
-92% ของผู้ใช้ Internet ใช้ YouTube พูดง่ายๆคือคนไทย 9 ใน 10 คนที่เข้าถึง Internet นั้นใช้งาน YouTube
-70% ของผู้ใช้ YouTube ใช้งานผ่านมือถือ
-75% ของผู้ใช้ YouTube เข้าใช้บริการทุกวัน โดยกลุ่มที่ใช้งานประจำสูงสุดคือช่วงอายุ 16-24 ปี รองลงมาคือ 25-34
-ผู้ใช้ YouTube ใช้งานเฉลี่ยครั้งละ 70 นาทีสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมือง และคนนอกเมืองเฉลี่ยครั้งละประมาณ 60 นาที
-เนื้อหา 3 ประเภทที่ได้รับความสนใจสูงสุดคือ Music, Entertainment, และ How-to video
ฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า แม้การเดินไปในทางอื่นนอกเหนือจากเพลงจะช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับวง และเป็นการขยายฐานแฟคลับที่ดี แต่ยังไงซะการทำเพลงก็เป็นทางที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มแฟนคลับและโปรโมทวงสำหรับในประเทศไทย
Author
เรวัต ยิ่งภักดี
ปัจจุบันก็ทำงานProductionอยู่เกี่ยวกับผลิตโฆษณา
แฮปปี้กับการไปออกกองถ่ายแต่ละครั้ง เพราะได้เจออะไรใหม่ๆบ่อย
เวลาว่างจะใช้ไปกับการตามไอดอลซะส่วนใหญ่
เวลาคิดงานไม่ออกจะชอบเปิดPantipอ่าน
ใช้นามแฝงในPantipว่า"พี่เสือ" โดยไม่ได้ตั้งใจ
J-IDOL IN THAILAND : เพลงนั้นสำคัญจริงๆ(รึป่าว?) 10/4/2019
-ความสำคัญของแนวเพลงไอดอล
-เมื่อวงไอดอลไม่สามารถที่จะทำเพลงได้อิสระจึงต้องพึ่งอย่างอื่น?
-ทำอย่างอื่นเยอะกว่าเพลงมีโอกาสรุ่งกว่ารึป่าว?
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในช่วง2ปีมานี้วงไอดอลญี่ปุ่นก็เริ่มรุกเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น โดยมี BNK48และSweat16 สองวงที่เริ่มมาทำวงไอดอลแนวญี่ปุ่นจริงๆจังๆอีกครั้งนึง โดยที่BNK48เป็น1ใน3วงน้องสาวต่างประเทศที่แตกหน่อมาจากAKB48 วงพี่สาวที่ประจำอยู่ที่ญี่ปุ่นซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในช่วงหลายปีก่อน Sweat16 วงไอดอลที่ตั้งโดย การร่วมมือระหว่างค่ายเพลงLOVEISและYoshimoto entertainment โดยสองวงนี้ค่อนข้างสร้างความตื่นเต้นให้กับกลุ่มคนนึงในประเทศไทยก็คือแฟนคลับวงไอดอลญี่ปุ่น หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า "โอตะ"
ประเด็นที่เราจะพูดถึงก็คือแนวเพลงของวงไอดอล เนื่องจากความสำเร็จของเพลง Koisuru fortune cookies ของBNK48 ทำให้วงไอดอลแนวนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและทำให้มีคนลองเสี่ยงอยากจะลองทำตาม ซึ่งปัจจุบันวงไอดอลในไทยที่มี่อยู่ตอนนี้แต่ละวงก็จะมีแนวเพลงที่ต่างกันไป
-BNK48 (IDOL-POP)
-Sweat16 (IDOL-POP)
-FEVER (SYNTH-POP)
-Cm cafe (T-POP)
-Happy tail (IDOL-POP)
-Siamdream (IDOL-POP)
-SY51 (IDOL-POP)
-7th sense (T-POP)
-AKIRA-KURO (ROCK)
ซึ่งแนวเพลงของไอดอลนั้นสำคัญมากๆ นอกจากจะเป็นอีกนึ่งเอกลักษณ์ของวงแล้ว มันยังเป้นสิ่งที่ช่วยเพิ่มกลุ่มแฟนคลับได้อีกด้วย เช่น AKIRA-KURO ที่มาแนวRock อาจจะช่วยตกแฟนคลับเพลงROCKให้มาเป็นแฟนคลับวงตัวเองได้ ซึ่งแนวเพลงนั้นยังกำหนดกลุ่มแฟนคลับตัวเองได้อีกด้วย เช่น หากเป็นเพลงแนวIDOL-POPก็จะมีแฟนคลับเป็นโอตะที่ที่คุ้นเคยกับความเป็นญี่ปุ่นหรือตามไอดอลญี่ปุ่นมาก่อน หรือT-POP ที่จะเจาะกลุ่มคนที่เคยตามวงเกิร์ลกรุ๊ปไทยสมัยก่อนเช่น kamikaze เป็นต้น ฉะนั้นแนวเพลงก็สำคัญมากๆ มันเป็นสิ่งที่จะกำหนดหลายๆอย่างเช่น กลุ่มแฟนคลับ แนวทางของวง และเอกลักษณ์ของวง อีกทั้งถ้าหากเจาะกลุ่มส่วนใหญ่ได้ถูกจุดโอกาสในการเติบโตไวของวงก็จะมีเยอะขึ้น เช่นหากคนชอบเพลงแนวIDOL-POPมากกว่าT-POP แล้ววงนึงทำเพลงแนวIDOL-POP ก็อาจจะสามารถเพิ่มแฟนคลับได้มากกว่าการทำเพลงT-POP
แต่ถึงอย่างงั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเพลงแนวเฉพาะกลุ่มนั้นมันจะขยายมากกว่ากลุ่มคนฟังแนวนั้นไม่ได้ ขอยกตัวอย่างปรากฏการคุ้กกี้เสี่ยงทายของBNK48
คุ้กกี้เสี่ยงทายผมมองว่ามันคือเพลงแนวไอดอลจ๋าอีกเพลงมากๆ แต่ด้วยการแปลเนื้อที่ค่อนข้างถูกจริตคนไทย ฟังง่าย และความหมายก็ไม่ได้ยากเกินไป ทำนองเพลงก็น่ารักๆ จำง่าย ท่าเต้นก็Coverง่าย จนกลายเป็นกระแส ทำให้เป็นตัวส่งBNK48ให้เติบโตไวเช่นนี้ ซึ่งขอบอกว่าโอกาสที่จะเป็นแบบนี้ ความเป็นไปไม่ได้เยอะกว่าเป็นไปได้อีก
แต่สำหรับเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายที่ดังทั่วบ้านทั่วเมืองคงจะถือเป็นกรณีพิเศษ่วงนั้นถือว่าเป็นวิกฤตของวง ทางผู้บริหารBNK48ต้องไปขอร้องทางญี่ปุ่นให้แปลได้อย่างอิสระสักครั้ง สุดท้ายก็ทำออกมาได้ดี มันก็เป็นอีกข้อพิสูจว่า หากBNK48ได้อิสระในการทำเพลงมากกว่านี้ คงจะมีเพลงที่สร้างปรากฏการใกล้เคียงคุ้กกี้เสี่ยงทายได้ เพราะว่าBNK48ก็มีบุคลากรด้านเพลงฝีมือดีอยู่เช่น เอ๊ะ ละอองฟอง แมนละอองฟอง และก็มีconnectionกับนักดนตรี/นักร้องหลายๆคน เพื่อที่จะให้แปลเพลงให้BNK48 รวมไปถึงการทำเพลงให้
ถึงอย่างงั้นทางผู้บริหารBNK48น่าจะรู้ตัวว่า การได้อิสระในการทำเพลงคงไม่ใช่เร็วๆนี้แน่ๆ การที่จะดันทุรังแปลเพลงไปแบบนี้ไปเรื่อยๆและหากินแบบเดิมๆคงไปไม่รอดในระยะยาว จึงออกมาให้สัมภาษณ์ว่า "วงเราไม่เน้นเพลง" ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้ความใส่ใจกับเพลงเลย แต่จะเน้นเรื่องอื่นๆตามไปด้วยเช่น กิจกรรมของวง งานแสดงภาพยนตร์/ซีรี่ย์ การไปFeat.กับศิลปินอื่นๆ งานพรีเซนเตอร์ หรือแสดงMVของนักร้องคนอื่น ที่เห็นได้ชัดเลยคือ ในงานWe talk to you ที่เปิดให้ผู้บริหารมาคุยแนวทางของวงในปี2019กับแฟนคลับที่มีบัตรfounder memberจำนวน1000คน จะสังเกตุได้ว่าแผนการหลายๆอย่าง เน้นอย่างอื่นนอกจากเพลงเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการส่งเมมเบอร์ไปแสดงภาพยนตร์ หรือผลักดันความสามารถพิเศษของเมมเบอร์ เช่น คอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนของ แก้ว-BNK48 ซึ่งเรามองว่าเป้นเรื่องที่ดี การที่จะพึ่งอะไรเดิมๆ ที่ไม่ได้รับอิสระด้วยซ้ำ สู้ไปหาทางเดินอื่นๆระหว่างนั้นจะดีกว่าเป็นการขยายฐานแฟนคลับไปด้วยในตัว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ การส่งเมมเบอร์ในแสดงภาพยนตร์/ซีรี่ย์ หรือแม้กะทั่งไปร่วมแสดงMVกับศิลปินอื่นๆ สามารถเพิ่มแฟนคลับได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ
อีกทั้งก็ยังมีสิ่งที่เรียกกันว่า"เธียเตอร์" เป็นสถานที่ทำกำไรให้กับวงทุกสัปดาห์ โดยจะมีการแสดงเพลงพิเศษที่มีแค่ใน"เธียเตอร์"เท่านั้น โดยแฟนคลับจะต้องลงชื่อสุ่ม โดยจะมีแค่350คนต่อ1รอบที่จะได้เข้าไปดู ปัจจุบัน BNK48มีการแสดงในเธียเตอร์3รอบต่อสัปดาห์
ซึ่งก็มีอีกหลายๆอย่างที่BNK48ทำออกมาขาย ซึ่งมันเยอะแยะจนเขียนอธิบายไม่หมด เอาเป็นว่า ปีนึงBNK48สามารถทำกำไรได้มหาศาลมากๆ