เห็นมีการหยิบยกประเด็นข้าราชการเกษียณ ไปทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์เอกชน ไปขยายความในเชิงลบ จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติที่มีมานาน ภาคเอกชนต่าง ๆ แทบจะทุกแห่ง ก็มักจะจ้างอดีตข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถไปทำงานด้วย หากร่างกายยังแข็งแรง เดินไหว ไม่เป็นภาระ เพราะถ้าปล่อยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ทิ้งไว้เฉย ๆ ให้สนิมเกาะ ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร สู้เอามาต่อยอด สร้างคุณค่าในส่วนอื่น ๆ ดีกว่า
ในกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็ไม่ได้ห้ามข้าราชการที่เกษียณแล้วไปทำงานที่ไหนเลยตลอดชีวิต เพียงแค่ห้ามไว้เฉพาะในช่วง 2 ปีแรกหลังจากเกษียณหรือออกจากราชการแล้ว เพราะเกรงในเรื่องของการเอื้อต่อการก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ถ้าพ้นระยะเวลา 2 ปีไปแล้ว จะไปทำที่ไหน ก็ไม่ได้มีกฎหมายห้ามไว้
เพียงแต่ในส่วนขององค์กรเอกชนก็ควรยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ แสดงความโปร่งใสขององค์กร ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน เช่นว่า มีประกาศอย่างเปิดเผยว่าได้ว่าจ้างนายคนนั้น อดีตข้าราชการกระทรวงนี้ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาขององค์กรตั้งแต่นี้ เป็นต้น
ประเทศไทยก็มีคนที่มีความรู้ความสามารถ และประสบความสำเร็จในหน้าทีการงานจำนวนมาก ถ้าไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเวลาที่ยังได้ ก็ย่อมน่าเสียดายหากจะทิ้งคนเหล่านี้ให้หายไปเฉย ๆ กับกาลเวลา อีกอย่างหนึ่ง คนที่เคยทำงาน ส่วนใหญ่ก็ยังเต็มใจที่จะทำงานต่อ แต่เบาลงกว่าที่เคยทำในช่วงที่ยังอยู่ในราชการ ซึ่งก็ดีกว่าอยู่บ้านเฉย ๆ ให้หมดเรี่ยวหมดแรงไปวัน ๆ แต่ได้นำมันสมองและประสบการณ์มาปรับช่วยให้ภาคเอกชน ซึ่งมีศักยภาพหลายด้านในการเป็นตัวขับเคลื่อนความเจริญให้กับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้มากกว่าภาครัฐ
ในต่างประเทศหลายแห่ง คนที่มีความรู้ความสามารถเหล่านี้จำนวนไน้อยจะเข้าไปทำงานในสถาบันที่เป็นคลังสมองของประเทศ ในการให้คำแนะนำด้านการค้นคว้า ศึกษา วิจัย วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ หรือภารกิจในการแก้ไขปัญหา และแสวงหาความริเริ่มเชิงนโยบายใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะสั้นและระยะยาว แต่ในประเทศไทยสถาบันเหล่านี้ยังมีน้อยมาก ดังนั้น คนที่มีความรู้ความสามารถจึงมักจะพาตัวเองไปอยู่ในส่วนของภาคเอกชนกันมาก
แต่ไม่ว่าจะวัยไหน หรือไปอยู่ส่วนไหน หากได้ใช้ความรู้ ประสบการณ์ ไปสร้างคุณค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอยู่ไม่น้อย
สนับสนุนข้าราชการเกษียณต่อยอดสร้างคุณค่าในภาคเอกชน
ในกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็ไม่ได้ห้ามข้าราชการที่เกษียณแล้วไปทำงานที่ไหนเลยตลอดชีวิต เพียงแค่ห้ามไว้เฉพาะในช่วง 2 ปีแรกหลังจากเกษียณหรือออกจากราชการแล้ว เพราะเกรงในเรื่องของการเอื้อต่อการก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ถ้าพ้นระยะเวลา 2 ปีไปแล้ว จะไปทำที่ไหน ก็ไม่ได้มีกฎหมายห้ามไว้
เพียงแต่ในส่วนขององค์กรเอกชนก็ควรยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ แสดงความโปร่งใสขององค์กร ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน เช่นว่า มีประกาศอย่างเปิดเผยว่าได้ว่าจ้างนายคนนั้น อดีตข้าราชการกระทรวงนี้ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาขององค์กรตั้งแต่นี้ เป็นต้น
ในต่างประเทศหลายแห่ง คนที่มีความรู้ความสามารถเหล่านี้จำนวนไน้อยจะเข้าไปทำงานในสถาบันที่เป็นคลังสมองของประเทศ ในการให้คำแนะนำด้านการค้นคว้า ศึกษา วิจัย วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ หรือภารกิจในการแก้ไขปัญหา และแสวงหาความริเริ่มเชิงนโยบายใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะสั้นและระยะยาว แต่ในประเทศไทยสถาบันเหล่านี้ยังมีน้อยมาก ดังนั้น คนที่มีความรู้ความสามารถจึงมักจะพาตัวเองไปอยู่ในส่วนของภาคเอกชนกันมาก
แต่ไม่ว่าจะวัยไหน หรือไปอยู่ส่วนไหน หากได้ใช้ความรู้ ประสบการณ์ ไปสร้างคุณค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอยู่ไม่น้อย