หลังจากได้ลองรีวิวหนังสือเล่มแรกไปแล้วนั้น ผลที่ตอบรับออกมาก็ค่อนข้างจะดี (ในความคิดผมนะ 555) แต่ ผลตอบรับบางส่วน เช่นว่า บกพร่อมส่วนไหนหรือไม่ รู้สึกสนใจรึป่าว อะไรประมาณนี้น่ะครับ ซึ่งที่ผมได้รับมันยังไม่ชัดเจน 555 อาจมาจาก หนังสือที่ผมรีวิวเล่มแรกนั้นส่วนใหญ่คนอาจจะไม่รู้จัก มันเก่าเกินไปรึยังไง ไกลตัวไปหน่อย หรือยังไงก็แล้วแต่ ผมเลยลองมารีวิวหนังสือที่ค่อนข้างจะใกล้ตัวและเป็นกระแสสังคมในขณะนี้ อย่างเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองไทย 555 แต่หนังสือเล่มนี้ไม่ธรรมดานะขอบอก เพราะเป็นหนังสือที่ได้รางวัลซีไรต์ด้วย อาจจะมีคนที่ไม่เคยอ่านแล้วบอกว่าจะน่าเบื่อบอกเลยว่าผิดถนัดเลยครับ เพราะมีการแต่งเรื่องราวเสริมสร้างมาผสมกับเรื่องจริงด้วยซึ่ีงลงตัวมาก หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน"
เรื่องย่อ
เป็นนวนิยายประเภทบันทึกเหตุการณ์จริงของประวัติศาสตร์การเมืองไทยในระยะเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2535 ผู้เขียนใช้จินตนาการ สร้างตัวละครเอกขึ้น 2 ตัวเป็นแกนกลางร่วมรับรู้เหตุการณ์เฝ้าดูวิกฤตการณ์ต่อสู้ทางการเมืองโดยกำหนดให้ตัวละครตัวหนึ่งเป็นผู้อยู่ในระบบ และตัวละครอีกตัวหนึ่งอยู่นอกระบบ ตัวละครทั้งสองตัวต่างต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตามอุดมการณ์ของตน ภายในกรอบจำกัดและเงื่อนไขของสังคม แต่ผลสุดท้ายเมื่อล่วงกาลผ่านวัยผ่านประสบการณ์ที่เข้มข้นขมขื่นมายาวนาน ทั้งสองต่างยอมรับว่าแม้จะอยู่บนวิถีทางที่เป็นเส้นขนานกันก็ตาม แต่ก็มุ่งร่วมกันไปสู่อุดมการณ์แห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่สนุกมากเรื่องหนึ่ง ให้เนื้อหาและสาระได้อย่างเต็มเปี่ยม สามารถผูกเรื่องในจินตนาการที่ทางผู้เขียนสร้างสรรค์มารวมไว้กับเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์ของไทยได้อย่างลงตัว และสิ่งที่โดนใจผมสุดๆคือคุณวินทร์สามารถสร้างตัวละครเอก2ตัว ที่มีอุดมการณ์ต่างกันเป็นศัตรูกันทางความคิด,การเมืองและสังคม แต่ก็นับถือ,เคารพและให้เกียรติกัน (น้ำมิตรลูกผู้ชาย) นั้นคือ
เสือย้อย (หลวงกฤษดาวินิจ) อดีตนายทหารที่ตกต่ำเพราะพิษทางการเมือง
ตุ้ย พันเข็ม นายตำรวจที่ชีวิตรุ่งโรจน์เพราะผลงานทางการเมือง
ซึ่งทั้ง 2 ตัวละครนี้ต่างก็มีบทบาท Character ที่เท่และมีเสน่ห์พอกัน ตัวละครมีความเป็นมนุษย์เดินดินบนโลกความเป็นจริง เป็นสีเทา มีการเชือดเฉือนทางความคิดและอุดมการณ์ประหนึ่ง รพินทร์และแงซาย แห่งนวนิยายผจญภัยในป่ากว้างยอดนิยม อย่าง
เพชรพระอุมา
ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือสำนวนการบรรยายเล่าเรื่องของคุณวินทร์ที่มีลีลาเอกลักษ์เฉพาะตัว นั่นคือการใช้สำนวนเล่าเรื่องอย่างนิยายกำลังภายในอย่างโกวเล้งที่แสดงให้ภาพชัดเจน ใช้วิธีเล่าเรื่องที่ไม่ได้เน้นการ พรรณนาหรือบรรยายที่ยืดยาว แต่จะเป็นการใช้บทสนทนาเล่าเรื่องเสียมากกว่า ซึ่งในบทสนทนาก็ใช้คำสั้น กะทัดรัด แต่กินใจ อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการตีความสักหน่อยในการอ่านเพราะมีการแฝงปรัชญาเข้ามาด้วย (ความจริงไม่ได้อ่านยากขนาดนั้นหรอก 555) จะมีการแฝงลักษณะคล้ายคำคมข้อคิดสะกิดใจไว้ในแต่ละบท แนวปรัชญา ใช้เทคนิคการดำเนินเรื่องแบบเรื่องสั้นจบในตอน(มีหักมุม)ซึ่งแต่ละตอนก็ล้วนเชื่อมโยงกัน ไล่เรียงตามปีตามเหตุการณ์ บางทีตอนอ่านอาจรู้สึกว่ากำลังอ่านนิยายเรื่องยาวได้เลย
อีกส่วนที่สำคัญคุณวินทร์ใช้วิธีเขียนแบบเป็นกลางทำให้เข้าอกเข้าใจของทั้ง 2 ฝั่งตรงข้ามทางการเมือง รู้สึกว่าบางครั้งคนที่ว่าร้ายๆก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ได้มีข้อดีเลย บางทีก็รู้สึกว่าอำนาจทางการเมืองมันสามารถบันดาลให้เพื่อนร่วมอุดมการณ์ คนที่รักนับถือกันอย่างพี่กับน้อง เจ้านายที่เคารพรักและลูกน้องมือสำคัญคนสนิท ก็สามารถหักหลังหักล้าง ฆ่าแกงกันได้อย่างเลือดเย็น เพื่อจะได้ดอมดมกลิ่นอันหอมหวานของอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องทางกฎหมายและศีลธรรม
สุดท้ายนี้ของฝากคำคมจากในเรื่องที่รับรองแทงใจสุดๆ
- ประวัติศาสตร์มันก็เดินซ้ำรอยเดิมอยู่เรื่อยแหละ ตราบใดที่ธรรมชาติคนเรายังไม่เคยเปลี่ยน ไม่ว่ายุคสมัยไหนมันก็ยังมีคนที่กระหายอยากได้อำนาจ มีคนที่อยากปลดแอก มีคนที่อยากเปลี่ยนแปลง อยากปฏิวัติอยู่ตลอดเวลา
-
คนแพ้กลายเป็กบฏ คนชนะกลายเป็นเจ้าของประเทศ มันต่างกันตรงไหน? .. มันต่างกันตรงที่คุณยืนอยู่กับฝ่ายที่แพ้หรือชนะต่างหาก
-
การเมืองทำให้เราเห็นธาตุแท้ของคนมากกว่า มันทำให้เราตาสว่าง
- การเมืองและอำนาจไม่เคยเข้าใครออกใคร และไม่มีอะไรแน่นอน ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับมันก็อาจมีจุดจบอย่างไม่คาดฝัน
- วงการเมืองยิ่งไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน มิตรศัตรูก็ย่อมเปลี่ยน
[CR] (รีวิวบ้านๆ) อ่านแล้วมาเล่า [2] : ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของ วินทร์ เลียววาริณ
เสือย้อย (หลวงกฤษดาวินิจ) อดีตนายทหารที่ตกต่ำเพราะพิษทางการเมือง
ตุ้ย พันเข็ม นายตำรวจที่ชีวิตรุ่งโรจน์เพราะผลงานทางการเมือง
ซึ่งทั้ง 2 ตัวละครนี้ต่างก็มีบทบาท Character ที่เท่และมีเสน่ห์พอกัน ตัวละครมีความเป็นมนุษย์เดินดินบนโลกความเป็นจริง เป็นสีเทา มีการเชือดเฉือนทางความคิดและอุดมการณ์ประหนึ่ง รพินทร์และแงซาย แห่งนวนิยายผจญภัยในป่ากว้างยอดนิยม อย่าง เพชรพระอุมา
ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือสำนวนการบรรยายเล่าเรื่องของคุณวินทร์ที่มีลีลาเอกลักษ์เฉพาะตัว นั่นคือการใช้สำนวนเล่าเรื่องอย่างนิยายกำลังภายในอย่างโกวเล้งที่แสดงให้ภาพชัดเจน ใช้วิธีเล่าเรื่องที่ไม่ได้เน้นการ พรรณนาหรือบรรยายที่ยืดยาว แต่จะเป็นการใช้บทสนทนาเล่าเรื่องเสียมากกว่า ซึ่งในบทสนทนาก็ใช้คำสั้น กะทัดรัด แต่กินใจ อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการตีความสักหน่อยในการอ่านเพราะมีการแฝงปรัชญาเข้ามาด้วย (ความจริงไม่ได้อ่านยากขนาดนั้นหรอก 555) จะมีการแฝงลักษณะคล้ายคำคมข้อคิดสะกิดใจไว้ในแต่ละบท แนวปรัชญา ใช้เทคนิคการดำเนินเรื่องแบบเรื่องสั้นจบในตอน(มีหักมุม)ซึ่งแต่ละตอนก็ล้วนเชื่อมโยงกัน ไล่เรียงตามปีตามเหตุการณ์ บางทีตอนอ่านอาจรู้สึกว่ากำลังอ่านนิยายเรื่องยาวได้เลย
อีกส่วนที่สำคัญคุณวินทร์ใช้วิธีเขียนแบบเป็นกลางทำให้เข้าอกเข้าใจของทั้ง 2 ฝั่งตรงข้ามทางการเมือง รู้สึกว่าบางครั้งคนที่ว่าร้ายๆก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ได้มีข้อดีเลย บางทีก็รู้สึกว่าอำนาจทางการเมืองมันสามารถบันดาลให้เพื่อนร่วมอุดมการณ์ คนที่รักนับถือกันอย่างพี่กับน้อง เจ้านายที่เคารพรักและลูกน้องมือสำคัญคนสนิท ก็สามารถหักหลังหักล้าง ฆ่าแกงกันได้อย่างเลือดเย็น เพื่อจะได้ดอมดมกลิ่นอันหอมหวานของอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องทางกฎหมายและศีลธรรม
สุดท้ายนี้ของฝากคำคมจากในเรื่องที่รับรองแทงใจสุดๆ
- ประวัติศาสตร์มันก็เดินซ้ำรอยเดิมอยู่เรื่อยแหละ ตราบใดที่ธรรมชาติคนเรายังไม่เคยเปลี่ยน ไม่ว่ายุคสมัยไหนมันก็ยังมีคนที่กระหายอยากได้อำนาจ มีคนที่อยากปลดแอก มีคนที่อยากเปลี่ยนแปลง อยากปฏิวัติอยู่ตลอดเวลา
- คนแพ้กลายเป็กบฏ คนชนะกลายเป็นเจ้าของประเทศ มันต่างกันตรงไหน? .. มันต่างกันตรงที่คุณยืนอยู่กับฝ่ายที่แพ้หรือชนะต่างหาก
- การเมืองทำให้เราเห็นธาตุแท้ของคนมากกว่า มันทำให้เราตาสว่าง
- การเมืองและอำนาจไม่เคยเข้าใครออกใคร และไม่มีอะไรแน่นอน ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับมันก็อาจมีจุดจบอย่างไม่คาดฝัน
- วงการเมืองยิ่งไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน มิตรศัตรูก็ย่อมเปลี่ยน
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้