การจัดคอนเสริตของวง KPOP ในญี่ปุ่น (Dome tour & Nissan stadium)

สวัสดีค่ะ  เป็นคนชอบเพลงช้าของ KPOP โดยเฉพาะฝั่งญี่ปุ่น และค่อนข้างชอบวงที่เน้นทั้งเต้นเก่งและร้องสด วงที่ชอบและติดตามมากสุดก็ Tohoshinki วงอื่นก็มี Shinee NCT (เตนล์) และล่าสุด Jr NUEST ชอบอ่านการกระทู้ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ KPOP ในญี่ปุ่นของพันทิปมาก   แต่เล่นโซเชียลไม่เก่งเลยไม่ได้สมัครสมาชิก (ชอบอ่านอย่างเดียว) ทีนี้เกิดสงสัยการจัดคอนของวง KPOP ซึ่งขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

1. การเล่นคอนเสริตสเกลโดมของญี่ปุ่น ต้องจัดกี่โดมถึงจะเรียกได้ว่า โดมทัวร์ เพราะเหมือนเคยอ่านในพันทิปนานมากแล้วที่โดมทัวร์ต้องจัด 5 หรือ 6 โดมในจังหวัดต่างๆนี้แหละ หรือจัดแค่ 2-3 โดมหลักๆก็เรียกว่าโดมทัวร์ได้แล้ว อยากทราบเกณฑ์การเรียกจริงๆน่ะค่ะ และมีวงไหนบ้างที่เคยจัดโดมทัวร์ นอกจาก Tohoshinki

2. ติดตามข่าวจัดอันดับจำนวนคนเข้าชมคอนเสริต KPOP ในญี่ปุ่น ซึ่งก็มีหลายวงดังๆที่ติด ทีนี้อยากทราบว่า ใน 1 ทัวร์ของแต่ละวงนี่คนเต็ม บัตรหมดทุกรอบเลยหรือเปล่าคะ มีที่ไม่หมดแล้วต้องคลุมผ้าดำบ้างมั้ย ยกตัวอย่างวงเมนอย่าง Tohoshinki และ Shinee ก็ได้ค่ะ รวมทั้งอยากรู้ของวงที่ดังในญี่ปุ่นมากๆ อย่าง Bigbang  2PM Kara  Twice  หรือวงอื่นๆ ด้วยนะคะ (หลังๆไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านพันทิปเลย) และสมมติถ้าคนไม่เต็ม ตอนรายงานข่าวเค้ายึดจากจำนวนผู้ชมจริงๆหรือความจุของสถานที่จัดคะ

3. ศิลปิน KPOP ที่ดังมากในญี่ปุ่นหลายๆวง โดยเฉพาะวงที่ยกตัวอย่างในข้อ 3 ทำไมไม่จัดคอนที่นิสสันเหมือน Tohoshinki (จัดครั้งแรกตั้งแต่ปี 2013 และออกจากกรมมาจัดอีกทีในปี 2018) เช่น มีปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้ยังไม่จัด  รบกวนช่วยแชร์ข้อมูลและอธิบายเหตุผลด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
เอาจริงๆจะจัดโดมไหนกี่โดม ก็เรียกโดมทัวร์ได้ล่ะค่ะ เพราะความหมายมันก็ไม่ได้ผิด คือมีทัวร์คอนเสิร์ทที่โดม
แต่ไอ้ 5 โดมที่เป็นประเด็นนั่น เวลาสื่อญี่ปุ่นออกข่าวเค้าจะใช้คำว่า 5大ドーム แปลตรงตัวคือ 5 โดมใหญ่
เวลาใครจัดได้ มันจะดูดี ดูดังกว่าจัดโดมอื่นๆทั่วๆไป ค่ายก็เอามาโปรโมทโชว์ ตัวศิลปินเองก็ภูมิใจ
อันนี้กล้าพูดเพราะวงที่เราตามนี่ล่ะค่ะ ที่เป็นวงแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเลยที่จัด 5大ドーム
5大ドーム จัดครั้งแรกก็ตอนปี 2001 พอวงเราจัดได้ก็เอามาโปรโมทในสื่อจนจุดติดกลายเป็นมาตรฐานไปซะ
หลังจากนั้น วงไหนจัดแบบนี้มั่งก็เลยกลายเป็นข่าว เพราะมันทำให้ดูดีดูดังดูอลังการ ว่าจัดแบบ SMAP ได้
พอผ่านไปนานๆเข้าคำว่า 5大ドーム มันก็จุดติดด้วยตัวของมันเองว่ามันต้องดังในระดับหนึ่งถึงจะจัดได้
กับวงไอดอลญี่ปุ่นในสื่อญี่ปุ่นเอง หลายๆครั้งก็ใช้คำว่าโดมทัวร์เป็นคำย่อๆของ 5大ドーム สลับกันไปมา
ซึ่งจริงๆ 5大ドーム มันก็คือโดมทัวร์แบบหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าให้จัดอันดับก็จะดูเป็นโดมทัวร์ขั้นสุดยอดกว่าโดมทัวร์แบบอื่นๆ
พอมีคนประกาศจัดโดมทัวร์ สมัยก่อนพวกชาวเนทญี่ปุ่นก็จะมาขิงกันต่อว่า วงชั้นเต็มรูปแบบกว่าเพราะชั้นจัด 5 โดมซึ่งมันยากมาก
หลังๆเลยเห็นหลายๆคนโดยเฉพาะแฟน K-POP ที่พึ่งมาติดตาม เลยยึดติดและเข้าใจไปว่ามันต้อง 5 โดมนี้เท่านั้นคือโดมทัวร์
บางวงพอมีการจัดที่โดมอื่นเพิ่มจาก 5 โดมนี้ ก็เห็นมีการเอามาเรียกหรูๆเพิ่มเป็นคอน 6 โดมอะไรเข้าไปด้วย

สรุปง่ายๆ จัดกี่โดมก็นับเป็นโดมทัวร์ จะโดมไหนก็ได้ กี่โดมก็ได้ค่ะเพราะมันคือการทัวร์คอนเสิร์ทที่โดม
แต่ไอ้ทัวร์ 5 โดมใหญ่มันคือโดมทัวร์ที่โดน media play ซะตั้งแต่วงแรกที่จัด (วงเมนเราเอง) จนมันกลายเป็นมาตรฐาน
พอวงเกาหลีเข้าไปบุกญี่ปุ่นก็ไปติดกับดักไอ้ 5 โดมนี้ด้วย เอามาใช้เป็น milestone ว่าวงชั้นทำได้ นี่คือโดมทัวร์แบบเต็มรูปแบบ
ฉะนั้นคำว่า โดมทัวร์ ที่แฟนๆ K-POP คุยกัน มันก็เลยจะเป็นความหมายที่มองการทัวร์ที่ 5 โดมนี้เป็นเป้าหมาย
แต่ด้วยความหมายจริงๆในฝั่ง J แล้วนั้น ถ้าจัดที่โดม จะกี่โดมก็เรียกโดมทัวร์ได้แล้วค่ะ
ส่วนไอ้เรื่องต้องจัด 3 ใน 5 โดม หรือต้องจัดภายในทัวร์เดียวอะไรต่างๆถึงจะนับเป็นโดมทัวร์ได้
จากมุมของคนที่ตามสาย J เป็นหลักอย่างเรา เพิ่งเคยเห็นเป็นประเด็นก็แค่จากสาย K ที่คุยกันเรื่องไปทัวร์ในญี่ปุ่นนี่ล่ะค่ะ
เราเลยคิดว่าไอ้เกณฑ์เกี่ยวกับโดมทัวร์ในมุมของ K-POP มันคงเป็นความหมายเฉพาะที่ใครสักคน แฟนสักวงในฝั่ง K กำหนดมาตรฐานเอาไว้มั้งคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่