ก็ตามหัวข้อเลยค๊าาา คือว่าอาจารย์สั่งให้เราทำรายงานคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับภาษี แต่เราเรียนโลจิสติกส์แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องกฑหมาย หรือเรื่องภาษีอกรสักเท่าไหร่ (เพราะพึ่งเรียนอาทิตย์เดียวเอง อาจารย์ก็สั่งทำรายงานแล้วจ้า) โดยหัวข้อรายงายก็คือให้เราหาคำพากษาของศาลฎีกามา 1 ฉบับ แล้วให้วิเคราะห์ ซึ่งเราหามาแล้วจ้าาาาาา ส่วนหัวข้อการวิเคราะห์จะอยู่ท้ายคำพิพากษาน้าาาา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงการคลัง มีจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีและมีอำนาจกระทำการแทน โจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2545 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) สำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2545 ถึงเดือนภาษีกันยายน 2545 โดยนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนภาษีดังกล่าวมาหักจากภาษีขายและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินจำนวน 125,229.49 บาท ส่วนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้นโจทก์ผ่อนชำระจนครบถ้วนแล้วต่อมาเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบและประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงินจำนวน 204,067 บาท โจทก์อุทธรณ์การประเมินคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ แต่ให้งดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บทั้งหมด
ปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า โจทก์มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนภาษีมีนาคม 2545 ถึงเดือนภาษีกันยายน 2545 ก่อนที่โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 82/7 มาตรา 82/8 และมาตรา 82/16 ให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี” แม้บทบัญญัตินี้จะใช้คำว่า“ผู้ประกอบการ” มิได้ใช้คำว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน” แต่เมื่อภาษีขายหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อภาษีขายหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (17) และมาตรา 82/4 วรรคสามและภาษีซื้อหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (18) และมาตรา 82/4 วรรคสี่ คำว่า “ผู้ประกอบการ” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง จึงหมายถึงผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่อาจเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนเมื่อโจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ื โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนภาษีมีนาคมถึงเดือนภาษีกันยายน 2545 ก่อนที่โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว”
หัวข้อในการวิเคราะห์ก็มีดังนี้จ้า
1. คนเสียภาษีมองยังไง
2. ประเด็นของโจทก์
3. ประเด็นสรรพากร
4. ประเด็นเอกชน
5. ศาลตึความยังไง / ตัดสินยังไง
6. ใช้หลักอะไรในการตัดสิน
รบกวนคนที่รู้ช่วยวิเคราะห์หน่อยนะคะ พลีสสสสสสสส
ใครพอทราบเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย ช่วยหน่อยจ้าาาา ช่วยเราวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับภาษีหน่อยค่ะ
ปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า โจทก์มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนภาษีมีนาคม 2545 ถึงเดือนภาษีกันยายน 2545 ก่อนที่โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 82/7 มาตรา 82/8 และมาตรา 82/16 ให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี” แม้บทบัญญัตินี้จะใช้คำว่า“ผู้ประกอบการ” มิได้ใช้คำว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน” แต่เมื่อภาษีขายหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อภาษีขายหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (17) และมาตรา 82/4 วรรคสามและภาษีซื้อหมายถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (18) และมาตรา 82/4 วรรคสี่ คำว่า “ผู้ประกอบการ” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง จึงหมายถึงผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่อาจเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนเมื่อโจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ื โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนภาษีมีนาคมถึงเดือนภาษีกันยายน 2545 ก่อนที่โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว”
1. คนเสียภาษีมองยังไง
2. ประเด็นของโจทก์
3. ประเด็นสรรพากร
4. ประเด็นเอกชน
5. ศาลตึความยังไง / ตัดสินยังไง
6. ใช้หลักอะไรในการตัดสิน