งานมอบรางวัลวรรณกรรมรางวัล“แว่นแก้ว”ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561



นานมีบุ๊คส์ จัดงานมอบรางวัลโครงการประกวดวรรณกรรมแว่นแก้ว ครั้งที่ 14

เผยโฉม12 ผลงานเขียนสำหรับเยาวชนอันทรงคุณค่า




เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562- นานมีบุ๊คส์ จัดงานประกาศผลและมอบรางวัลวรรณกรรมรางวัล“แว่นแก้ว”ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561เผยโฉม 12ผลงานเขียนสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัลใน 4 ประเภทงานเขียน โดยมี 3 ผลงานที่ได้รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ จระเข้ตัวเล็กนิดเดียว โดย ไอริณอิสริยะเนตรชนะเลิศประเภทนิทานภาพส่งเสริมคุณธรรม ปลูกดอกไม้กับช้างตุ้ย โดย อัญชลีอารีย์วงศ์ ชนะเลิศประเภทหนังสือภาพเสริมความรู้ และวันเกิดของเค้าโมงโดยจันทรังสิ์ ชนะเลิศ ประเภทนวนิยายสำหรับเยาวชน พร้อมเปิดโครงการประกวดวรรณกรรมแว่นแก้วครั้งที่15 ปรับโฉมหัวข้อการประกวด และไม่จำกัดอายุผู้ส่ง

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ประธานกรรมการโครงการประกวดวรรณกรรมรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นประธานเปิดงาน ร่วมกับ สุวดี จงสถิตย์วัฒนาประธานบริษัทนานมีบุ๊คส์ มอบรางวัล ให้กับ15นักเขียนคุณภาพ พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ อาทิชมัยภรแสงกระจ่าง, โตมรศุขปรีชาผศ.ดร. ผดุงพรมมูลฯลฯ ร่วมเปิดวงเสวนาพูดคุยถึงเบื้องหลังการคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัลทั้ง 4 ประเภท พร้อมเปิดใจผู้สร้างสรรค์ 12 ผลงานเขียนถึงที่มาและแรงบันดาลใจที่สามารถชนะใจคณะกรรมการจนคว้ารางวัลไปครองณ อาคารนานมีบุ๊คส์ สุขุมวิท 31


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คุณสุวดี จงสถิตย์วัฒนา ประธานบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด กล่าวรายงานความสำเร็จของโครงการวรรณกรรมแว่นแก้ว ครั้งที่ 14



สุวดี จงสถิตย์วัฒนา ประธานบริษัท นานมีบุ๊คส์ กล่าวว่า ...

ดิฉันภาคภูมิใจที่ได้ร่วมผลิตและสร้างสรรค์ผลงานเขียนคุณภาพ สู่วงการสิ่งพิมพ์ของประเทศผ่านโครงการประกวดวรรณกรรมรางวัล “แว่นแก้ว” อย่างต่อเนื่อง โดยยึดมั่นและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการอ่านซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนในปัจจุบันที่ควรต้องมีวรรณกรรมที่เหมาะสมและมีคุณค่าใช้ในการอ่านเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเขียน และคิดวิเคราะห์ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญของเด็กในศตวรรษที่ 21 นี้จะเติบโตไปสู่อนาคต ซึ่งในปี 2561ดิฉันและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ร่วมกันคัดสรรผลงานคุณภาพรวมทั้งสิ้น 12 ผลงานใน 4 ประเภทงานเขียนซึ่งได้มีการจัดพิมพ์และมอบรางวัลเพื่อแสดงความยินดีกับผู้สร้างสรรค์ผลงานทั้ง 15 ท่านในครั้งนี้ และในปี 2562 เรายังคงจัดการประกวดอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ครั้งที่ 15 ซึ่งปีนี้ได้ปรับโฉมหัวข้อการประกวดทั้ง 4 ประเภทโดย ประกอบไปด้วยนิทานภาพส่งเสริมคุณธรรม 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) หัวข้อ “Active Citizen (เติบโตเป็นคนเก่ง คนดี รับผิดชอบตัวเองและสังคม)” หนังสือภาพเสริมความรู้ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) หัวข้อ “รู้จักวัฒนธรรมไทยในภูมิภาคต่างๆ” นวนิยายสำหรับเยาวชน ไม่จำกัดหัวข้อ และสารคดีสำหรับเยาวชน หัวข้อ “ประวัติศาสตร์”ในปีนี้โครงการไม่จำกัดอายุผู้ส่ง เพื่อให้เกิดงานเขียนที่หลากหลายแง่มุมจากทั้งนักเขียนมืออาชีพและนักเขียนหน้าใหม่ ดิฉันจึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมสนับสนุนผลงานของนักเขียนไทย รวมถึงร่วมส่งผลงานเข้าประกวดในครั้งต่อไปเพื่อปลูกสร้างสังคมแห่งการอ่านเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของเยาวชนรุ่นหลังสืบต่อไป”






คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ประธานโครงการประกวดวรรณกรรมรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 14 กล่าวแสดงความยินดีกับนักเขียนที่ได้รับรางวัล



ผลการประกวดวรรณกรรมรางวัล “แว่นแก้ว”ครั้งที่14ทั้ง4 ประเภท ประกอบด้วย

ประเภทนิทานภาพส่งเสริมคุณธรรม 4 รางวัล ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เรื่อง “จระเข้ตัวเล็กนิดเดียว” โดย ไอริณอิสริยะเนตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่เรื่อง “ทำแบบนี้ดีไหมนะ” โดย ณิชา พีชวณิชย์ (เรื่อง) หมีบี้(ภาพ) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่เรื่อง “ดินดื้อ”โดย นภัสสร ไชยมโนวงศ์ และ รางวัลชมเชย ได้แก่เรื่อง “ช ช้างอยากเชียร์” โดย พิมพ์หทัย เครือแก้ว(เรื่อง) และ ณัฐรดา กิติคุณเดชา(ภาพ)




ประเภทหนังสือภาพเสริมความรู้ 3 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เรื่อง “ปลูกดอกไม้กับช้างตุ้ย” โดย อัญชลี อารีย์วงศ์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่เรื่อง “คุณกระต่ายกับไข่ปริศนา โดย พิศิษฐ รัตนวงศ์รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 คณะกรรมการมีมติว่าไม่มีหนังสือเล่มใดควรได้รับรางวัล และรางวัลชมเชย ได้แก่เรื่อง “โป้งจ๋า” โดย กิตติยา ลี้ครองสกุล(เรื่องและภาพ)และร่มรัฐ ปรมาธิกุล(เรื่องและภาพ)





ประเภทนวนิยายสำหรับเยาวชน 4 รางวัล ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ เรื่อง “วันเกิดของเค้าโมง” โดย จันทรังสิ์รางวัล รองชนะเลิศอันดับ ได้แก่เรื่อง “น้ำตาแม่มด” โดย คีตาญชลี แสงสังข์  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่เรื่อง “เด็กชายต้นไม้" โดย เสาวรส มิตราปิยานุรักษ์ และรางวัลชมเชย ได้แก่เรื่อง “กระรอกแดงแห่งสวนกว้าง” โดย ศาตพจี รินสุวรรณ




ประเภทสารคดีสำหรับเยาวชน 1 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลชมเชยได้แก่เรื่อง “นิโก้...เด็กแสบแห่งเจดีย์ซูเล” โดย สาคร พูลสุขรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 1 และรองชนะเลิศ อันดับ 2 คณะกรรมการมีมติว่าไม่มีหนังสือเล่มใดควรได้รับรางวัล





พาพันชอบพาพันซนพาพันขยัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่