พวกผลิตภัณฑ์ เช่น ถังใส่น้ำแข็งหรือกระติกสุญญากาศ เก็บความร้อน/เย็น เหล่านี้... รักษาอุณภูมิได้อย่างไรครับ ??

อยากทราบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำงานอย่างไรครับ... ไปเริ่มกันเลย...

๑.

ถังใส่น้ำแข็งหรือ Cooler Box เก็บอุณหภูมิน้ำแข็งได้อย่างไร...??

ให้ผมเดาเบื้องต้นคือ มีฉนวนกันความร้อน... แต่ไม่แน่ใจว่าใช้เป็นวัสดุ... อาจจะเป็นโฟมอยู่ข้างในก็ได้ครับ...
ถ้าใช่... ถังแช่ที่พ่อค้าแม่ขายใช้กัน ก็น่าจะหลักการเดียวกันครับ... (แต่ยังไม่แน่ใจว่าใช้วัสดุอะไรนะครับ)

๒.

แก้วเก็บความเย็น เช่น พวกแก้วเยติไรงี้... เก็บน้ำแข็งได้นานข้ามคืนได้อย่างไร?? และสามารถเก็บความร้อนได้ไหมครับ??

๓.

กระบอกน้ำสุญญากาศ ผมเข้าใจว่าเก็บอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็นครับ... ที่สงสัยก็เรื่องเดิมครับ... ทำได้อย่างไร??
เกี่ยวอะไรกับคุณสมบัติสุญญากาศรึเปล่าครับ...

ขอบคุณทุกท่านสำหรับการเข้ามาแบ่งปันความรู้ครับ
ขอบคุณคร้าบ : )
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ความร้อนเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะถ่ายเทจากแหล่งที่มีความร้อนสูงไปยังแหล่งที่มีความร้อนต่ำ โดยวัตถุที่มีความร้อนสูง โมเลกุลของวัตถุนั้นมีการสั่นสะเทือนมาก ความร้อนต่ำ โมเลกุลก็สั่นน้อย
หลักการถ่ายเทความร้อนมี 3 แบบ
1. การนำความร้อน คือตัววัสดุเองกระจายความร้อนโดยตัวมันเอง ด้วยการสั่นของโมเลกุลส่งให้โมเลกุลข้างเคียงสั่นไปด้วย อย่างการที่เราจุ่มช้อนโลหะในน้ำร้อน ทิ้งไว้ไม่นาน ปลายด้านที่ไม่ถูกน้ำร้อนก็ร้อนขึ้นมาด้วย
2. การพาความร้อน คือความร้อนถูกนำไปด้วยตัวกลางที่เคลื่อนที่ เช่น น้ำระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ไปที่แผงระบายความร้อน
3. การแผ่รังสีความร้อน คือความร้อนซึ่งเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านอินฟราเรด เคลื่อนที่ไปยังวัตถุอื่นๆ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง อย่างเช่น โลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์

ภาชนะที่เก็บความเย็นหรือความร้อนได้ ก็คือการที่มันใช้ฉนวนกันความร้อน เช่น ช่องว่างที่มีอากาศถูกกักไว้ หรือเป็นสุญญากาศ อย่างพวกโฟมที่ใช้ในตู้เย็น กล่องแช่เย็น (ป้องการการถ่ายเทความร้อนด้วยการนำ และการพาความร้อน) และฟิลม์โลหะเงาเพื่อสะท้อนคลื่นอินฟราเรดกลับออกไป ซึ่งกระติกน้ำร้อน/เย็น ใช้ทั้งสองนี้ โดยทำขวดแก้ว 2 ชั้นที่ตรงกลางเป็นสุญญากาศ และเคลือบผิวด้านในด้วยฟิลม์โลหะ ทำให้เก็บน้ำร้อนหรือน้ำเย็นได้นานข้ามวัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่