... คำถามที่เกี่ยวกับ " โรคพิษสุนัขบ้า " เป็นคำถามที่มักมีการตั้งกระทู้ถามในพันทิพกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ
อันบ่งบอกถึงความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างแพร่หลาย
หากมองแต่เพียงชื่อโรคเป็นสำคัญ ก็อาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่ามีแต่สุนัขเท่านั้นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้
ทั้งๆที่ยังมีสัตว์ชนิดอื่นอีกหลายชนิด ที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน
ความซับซ้อนของการให้การรักษามีตั้งแต่...
** ๑. การล้างแผลที่ถูกต้องและรวดเร็วเมื่อมีการสัมผัสโรค ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากประการแรก **
๑.๑ ล้างแผลด้วยน้ำ ฟอกด้วยสบู่หลายๆครั้งทันที
๑.๒ ล้างทุกแผล และล้างให้ลึกถึงก้นแผลนานอย่างน้อย ๑๕ นาที อย่าให้แผลช้ำ
๑.๓ เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Povidone Iodine หรือHibitane in Water
( ถ้าไม่มี ให้ใช้ 70% Alcohol )
๒. การให้ยาปฏิชีวนะ
๓. การให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
๔. การแยกระดับการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าขององค์การอนามัยโลก( WHO Category )
ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ( Category I , ll และ III )
๕. การให้วัคซีนแบบก่อนการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ( Pre - exposure Rabies Prophylaxis )
ซึ่งมี ๒ สูตรคือ ...
๕.๑ การฉีดเข้ากล้าม ( Intramuscular Regimen : IM )
๕.๒ การฉีดเข้าในหนัง ( Intradermal Regimen : ID )
๖. การตรวจสมองสัตว์ ( Fluorescent Antibody : FA Test )
๗. การรักษาภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ( Post - exposure Prophylaxis )
ซึ่งมี ๒ สูตรคือ ...
๗.๑ การฉีดเข้ากล้าม ( Intramuscular Regimen : IM )
๗.๒ การฉีดเข้าในหนัง ( Intradermal Regimen : ID )
นอกจากนี้ยังมีการให้ อิมมูโนโกลบุลิน ซึ่งมีทั้ง ERIG หรือ HRIG ตามความเหมาะสมด้วย
การรักษาภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้านี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น...
ผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน และผู้ที่เคยได้รับการฉีดมาแล้ว
รวมทั้งผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เช่น เด็ก และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง เป็นต้น
ซึ่งก็มีสูตรการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม...
จะเห็นว่ามีความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้การรักษามากมาย จึงไม่แปลกที่แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์
บางท่านก็อาจมีความสับสนได้เช่นเดียวกัน
ทางสถานเสาวภา สภากาชาดไทย จึงได้ออกคู่มือ ( PDF File )มาชื่อว่า...
" แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า สถานเสาวภา สภากาชาดไทย พ.ศ.2561 และคำถามที่พบบ่อย "
https://drive.google.com/file/d/1SjrdahUr-bnJo7PAxz1LA9ykaPoZBjdY/view
https://cupnp.wordpress.com/2018/09/27/2018-09-27-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89/
นอกจากนี้ยังมีทางสถานเสาวภา สภากาชาดไทยยังได้ทำการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ ในเรื่อง...
" ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับประชาชน "
http://www.saovabha.com/th/clinicrabies.asp?nTopic=4
หวังว่าผู้ที่สนใจคงได้รับประโยชน์ตามสมควรจากข้อมูลดังกล่าว
โดยเฉพาะฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้...
*** สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชนทั่วไปหากโดนสุนัขหรือสัตว์อื่นที่น่าสงสัยว่ามีโรคพิษสุนัขบ้ากัดคือ
การล้างแผลอย่างรวดเร็วที่สุดและถูกต้อง จากนั้นให้รีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดให้เร็วที่สุด
" แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า สถานเสาวภา สภากาชาดไทย พ.ศ.2561 และคำถามที่พบบ่อย "
อันบ่งบอกถึงความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างแพร่หลาย
หากมองแต่เพียงชื่อโรคเป็นสำคัญ ก็อาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่ามีแต่สุนัขเท่านั้นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้
ทั้งๆที่ยังมีสัตว์ชนิดอื่นอีกหลายชนิด ที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน
ความซับซ้อนของการให้การรักษามีตั้งแต่...
** ๑. การล้างแผลที่ถูกต้องและรวดเร็วเมื่อมีการสัมผัสโรค ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากประการแรก **
๑.๑ ล้างแผลด้วยน้ำ ฟอกด้วยสบู่หลายๆครั้งทันที
๑.๒ ล้างทุกแผล และล้างให้ลึกถึงก้นแผลนานอย่างน้อย ๑๕ นาที อย่าให้แผลช้ำ
๑.๓ เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Povidone Iodine หรือHibitane in Water
( ถ้าไม่มี ให้ใช้ 70% Alcohol )
๒. การให้ยาปฏิชีวนะ
๓. การให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
๔. การแยกระดับการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าขององค์การอนามัยโลก( WHO Category )
ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ( Category I , ll และ III )
๕. การให้วัคซีนแบบก่อนการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ( Pre - exposure Rabies Prophylaxis )
ซึ่งมี ๒ สูตรคือ ...
๕.๑ การฉีดเข้ากล้าม ( Intramuscular Regimen : IM )
๕.๒ การฉีดเข้าในหนัง ( Intradermal Regimen : ID )
๖. การตรวจสมองสัตว์ ( Fluorescent Antibody : FA Test )
๗. การรักษาภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ( Post - exposure Prophylaxis )
ซึ่งมี ๒ สูตรคือ ...
๗.๑ การฉีดเข้ากล้าม ( Intramuscular Regimen : IM )
๗.๒ การฉีดเข้าในหนัง ( Intradermal Regimen : ID )
นอกจากนี้ยังมีการให้ อิมมูโนโกลบุลิน ซึ่งมีทั้ง ERIG หรือ HRIG ตามความเหมาะสมด้วย
การรักษาภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้านี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น...
ผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน และผู้ที่เคยได้รับการฉีดมาแล้ว
รวมทั้งผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เช่น เด็ก และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง เป็นต้น
ซึ่งก็มีสูตรการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม...
จะเห็นว่ามีความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้การรักษามากมาย จึงไม่แปลกที่แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์
บางท่านก็อาจมีความสับสนได้เช่นเดียวกัน
ทางสถานเสาวภา สภากาชาดไทย จึงได้ออกคู่มือ ( PDF File )มาชื่อว่า...
" แนวทางการดูแลรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า สถานเสาวภา สภากาชาดไทย พ.ศ.2561 และคำถามที่พบบ่อย "
https://drive.google.com/file/d/1SjrdahUr-bnJo7PAxz1LA9ykaPoZBjdY/view
https://cupnp.wordpress.com/2018/09/27/2018-09-27-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89/
นอกจากนี้ยังมีทางสถานเสาวภา สภากาชาดไทยยังได้ทำการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ ในเรื่อง...
" ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับประชาชน "
http://www.saovabha.com/th/clinicrabies.asp?nTopic=4
หวังว่าผู้ที่สนใจคงได้รับประโยชน์ตามสมควรจากข้อมูลดังกล่าว
โดยเฉพาะฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้...
*** สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชนทั่วไปหากโดนสุนัขหรือสัตว์อื่นที่น่าสงสัยว่ามีโรคพิษสุนัขบ้ากัดคือ
การล้างแผลอย่างรวดเร็วที่สุดและถูกต้อง จากนั้นให้รีบไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดให้เร็วที่สุด