โครงการก่อสร้างตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม ศูนย์ปฏิบัติธรรมและศูนย์บรรเทาสาธารณภัย
ด้วยมูลนิธิประชาร่วมใจ องค์การสถานสาธารณกุศล ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2525 ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่งเสริมทุนการศึกษา การศาสนา และสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์มาโดยตลอด ต่อมามูลนิธิฯ ได้ขยายงานด้านบรรเทาสาธารณภัย โดยหน่วยบรรเทาสาธารณภัยมูลนิธิฯ ได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยต่าง ๆ ณ ที่เกิดเหตุ เช่น ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล หากผู้บาดเจ็บประสบเคราะห์กรรมถึงแก่ชีวิต มูลนิธิฯ จะนำศพส่งโรงพยาบาล หรือส่งกลับภูมิลำเนาเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา กรณีศพไม่มีญาติ ทางมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการฌาปนกิจศพให้ด้วย ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2532 เป็นต้นมา
ในการดำเนินการด้านบรรเทาสาธารณภัยของมูลนิธิฯ แม้จะมีผู้บริจาคเงินสนับสนุนตลอดมา แต่ก็ไม่เพียงพอเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ประกอบกับมูลนิธิฯ ได้รับบริจาคเงินในการจัดซื้อที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 112436 เล่มที่ 1125 หน้า 36 เลขที่ดิน 881.2 หน้าสำรวจ 13237 เนื้อที่ 10 ไร่ (16,000 ตารางเมตร) ตั้งอยู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ หมู่ที่ 2 ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
มูลนิธิฯ จึงมีโครงการก่อสร้าง “ตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม ศูนย์ปฏิบัติธรรมและศูนย์บรรเทาสาธารณภัย” (สถาปนิกโครงการโดย นายสนธยา คงชัย) เพื่อจะใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม จัดกิจกรรมที่สามารถทำประโยชน์ แก่ประชาชนและเยาวชนในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป รวมถึงจัดการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง ให้แก่เยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์การก่อสร้างดังนี้
1. เพื่อสร้างตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
2. เพื่อสร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติธรรม และศูนย์การเรียนรู้แก่ประชาชนและเยาวชน
3. เพื่อสร้างเป็นสำนักงานถาวร ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมูลนิธิประชาร่วมใจ
4. เพื่อให้มูลนิธิฯ สามารถขยายงานด้านบรรเทาสาธารณภัย และกิจกรรมอื่น ๆ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง
5. เพื่อเป็นสถานที่สำคัญแห่งใหม่ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการกราบไหว้บูชาจากชาวจีนทั่วทุกมุมโลก เป็นพระผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาต่อสรรพสัตว์ เป็นพระผู้เปี่ยมด้วยความกตัญญู และเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตาการุณย์เพื่อโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงทุกข์ ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
พระบุญฤทธิ์ หงส์ประสาธน์ จึงสร้าง พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม ปางประทานพรองค์นี้ขึ้นมา โดยฝีมือช่างประติมากรชาวจีน ชื่อ นายหลิว ต้า เหว่ย (MR. Liu Da Wei) ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และมี นาย กู้ ซื่อ หยวน (MR.Gu Shi Yuan) เป็นที่ปรึกษาโครงการ
พิธีเททอง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2539 เวลา 09.09 น. ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยได้รับเกียรติจาก นายสาธร วานิชเสถียร อัครราชทูต พาณิชย์ไทย ประจำประเทศจีน เป็นประธานในพิธี ภายในงานมีพระภิกษุสงฆ์จีนประกอบพิธี และผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมาก ขั้นตอนการหล่อ แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฐานกลีบบัวหงาย 3 ชั้น 1 ส่วน กับส่วนองค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม อีก 1 ส่วน มีความสูงรวมฐานบัว 200 เซนติเมตร หน้าตัก กว้าง 97 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1 ตัน ใช้ทองสัมฤทธิ์(โลหะทองเหลืองผสมดีบุก)
พิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เวลา 10.00 น. ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ในพิธีมีพระภิกษุสงฆ์จีนจำนวน 10 รูป จาก วัด หน่ำ หว่า จี๋ ประเทศจีน โดยได้รับเกียรติจาก นายชลิต มานิตยกุล กงสุลใหญ่ไทย ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกพร้อมด้วยประชาชนชาวจีนจำนวนมาก
http://pracharuamchai.org
ตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารกลุ่มคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 32.5 เมตร ยาว 44.5 เมตร สูง 27.7 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 3,174.5 ตารางเมตร ประกอบด้วยวิหารพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม และอาคารประกอบด้านซ้าย 1 หลัง ด้านขวา 1 หลัง ตั้งอยู่บนฐานภูเขาจำลอง ภายในฐานด้านล่างเป็นส่วนของสำนักงานมูลนิธิฯ(สถาปนิกโครงการโดย นายสนธยา คงชัย)
งบประมาณการก่อสร้างจำนวน 50,784,000 บาท(ห้าสิบล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นสี่พันบาท) คิดเป็นตารางเมตรละ 16,000 บาท(หนึ่งหมื่นหกพันบาท) ประมาณการ ราคา ณ ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขอรับความอนุเคราะห์จากผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนก่อสร้าง เมื่อดำเนินการก่อสร้างตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิมหลังนี้สำเร็จลุล่วงแล้ว จะได้อัญเชิญองค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมไปประดิษฐานเพื่อให้ประชาชนที่มีความศรัทธาและเคารพนับถือได้กราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคลต่อไป
ซุ้มประตู
ซุ้มประตู ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย ซุ้มประตูทางเข้า-ออกหลัก มี 3 ประตู ประตูกลางกว้าง 8 เมตร สูง 6 เมตร ประตูเล็กกว้าง 2 เมตร ทั้งสองด้าน ศิลปะแบบจีนร่วมสมัย โดยประตูทางเข้ากลางสำหรับรถเข้า-ออก และประตูเล็กด้านข้างทั้ง 2 ประตูเป็นทางเดินเข้า-ออก
อาคารประชาสัมพันธ์
อาคารประชาสัมพันธ์ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร สูง 8.7 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 45 ตารางเมตร ใช้เป็นสำนักงานประชาสัมพันธ์ พร้อมห้องน้ำจำนวน 2 ห้อง
ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารประชาสัมพันธ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2556 เวลา 09.49น.ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโครงการนี้ โดยได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธานในพิธี
--------------------------------------------
อาคารปฏิบัติธรรมและหอประชุม
อาคารปฏิบัติธรรมและหอประชุม ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 18 เมตร ยาว 40 เมตร สูง 36 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 1,440 ตารางเมตร ชั้นล่างเป็นสถานที่สำหรับประชุมขนาดความจุ 300 คน ชั้นบนเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชน
อาคารรับรอง 1 และ 2
อาคารรับรอง 1 และ 2 ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น จำนวน 2 อาคาร กว้าง 14.5 เมตร ยาว 36 เมตร สูง 23.8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 1,566 ตารางเมตร ชั้นที่ 1 เป็นที่พักอาคันตุกะ พร้อมห้องน้ำภายในห้อง ชั้นที่ 2 และ 3 เป็นห้องพักแบบรวมมีห้องน้ำด้านข้างของอาคารแต่ละชั้น
อาคารโรงอาหาร
อาคารโรงอาหาร ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 8.5 เมตร ยาว 36 เมตร สูง 15.8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 612 ตารางเมตร ชั้นล่างประกอบด้วยห้องครัวและห้องรับประทานอาหารขนาดความจุ 100 คน ชั้นบนเป็นห้องรับประทานอาหาร ขนาดความจุ 200 คน
พลับพลา
พลับพลา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นเดียว กว้าง 5 เมตร ยาว 35 เมตร สูง 6 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 175 ตารางเมตร ตัวอาคารเปิดโล่งตลอดอาคาร ใช้สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของมูลนิธิฯ
อาคารบรรเทาสาธารณภัย
อาคารบรรเทาสาธารณภัย ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร สูง 12 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 660 ตารางเมตร ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนสำนักงานและห้องเก็บอุปกรณ์กู้ภัย ด้านหน้าเป็นที่จอดรถกู้ภัยและเรือท้องแบน ชั้นบนเป็นห้องพักเจ้าหน้าที่และเป็นสถานีวิทยุคมนาคมควบคุมข่ายสื่อสาร ในกิจการเพื่อสาธารณกุศล จ.นครศรีธรรมราช และ สถานีวิทยุกระจายเสียง
อาคารห้องสุขา ชาย, หญิง
อาคารห้องสุขา ชาย, หญิง ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวจำนวน 2 หลัง กว้าง 6 เมตร ยาว 35 เมตร สูง 5 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 210 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องสุขาจำนวน 16 ห้องต่อหลัง
อาคารพัสดุ
อาคารพัสดุ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว มีประตูเหล็กม้วน 3 ด้าน เปิดโล่งตลอดอาคาร กว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร สูง 8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 480 ตารางเมตร
ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเงินสบทบทุนก่อสร้างได้ดังนี้
1. บริจาคโดยตรงด้วยตัวเองที่ มูลนิธิประชาร่วมใจ องค์การสถานสาธารณกุศล(สำนักงานชั่วคราว) วัดบูรณาราม ถ.ราชดำเนิน ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์. 075-345599
2. บริจาคเงินผ่านทางธนาคารหรือตู้เอทีเอ็ม โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี
“มูลนิธิประชาร่วมใจ เพื่อก่อสร้างอาคาร”
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครศรีธรรมราช เลขที่บัญชี 553-2-69413-9
ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาเพชรเกษม ซอย18กรุงเทพ ฯ เลขที่บัญชี 070-2-16896-8
3. เช็คสั่งจ่าย ในนาม “มูลนิธิประชาร่วมใจ เพื่อก่อสร้างอาคาร”
ผู้บริจาคตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป จะได้รับการจารึกชื่อบนแผ่นศิลา เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล
สำนักงาน(ชั่วคราว) วัดบูรณาราม 1192/1 ถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์. 075-345599, 075-318833, 081-1734633 Email:pracharuamchai@gmail.com
แจ้งเหตุร้าย
แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
191
กองปราบปราม
1195
ตำรวจทางหลวง
1193
ตำรวจท่องเที่ยว
1155
ศูนย์เตือนภัยพิบัติ
1860
ศูนย์ จส.100
1137
แจ้งไฟฟ้าขัดข้อง
1129
กรมอุตุนิยมวิทยา
0-2399-4568
เจ็บป่วยฉุกเฉิน/สุขภาพ
ศูนย์นเรนทร
1669
พยาบาลกรมตำรวจ
1691
หน่วยแพทย์กู้ชีพ
1554
สายด่วนผู้บริโภค
1556
สายด่วนร้องทุกข์
1166
สรรพากร
0-2272-8000
ศูนย์สวัสดิภาพเด็ก
0-2282 3892
การขนส่ง
ศูนย์ควบคุมการจราจร
197, 0-2247-6610-6
บริการเท็กซี่ สาธารณะ
1545 , 1661 , 1681
โครงการก่อสร้างตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม ศูนย์ปฏิบัติธรรมและศูนย์บรรเทาสาธารณภัย
ด้วยมูลนิธิประชาร่วมใจ องค์การสถานสาธารณกุศล ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2525 ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่งเสริมทุนการศึกษา การศาสนา และสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์มาโดยตลอด ต่อมามูลนิธิฯ ได้ขยายงานด้านบรรเทาสาธารณภัย โดยหน่วยบรรเทาสาธารณภัยมูลนิธิฯ ได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยต่าง ๆ ณ ที่เกิดเหตุ เช่น ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล หากผู้บาดเจ็บประสบเคราะห์กรรมถึงแก่ชีวิต มูลนิธิฯ จะนำศพส่งโรงพยาบาล หรือส่งกลับภูมิลำเนาเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา กรณีศพไม่มีญาติ ทางมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการฌาปนกิจศพให้ด้วย ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2532 เป็นต้นมา
ในการดำเนินการด้านบรรเทาสาธารณภัยของมูลนิธิฯ แม้จะมีผู้บริจาคเงินสนับสนุนตลอดมา แต่ก็ไม่เพียงพอเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ประกอบกับมูลนิธิฯ ได้รับบริจาคเงินในการจัดซื้อที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ 112436 เล่มที่ 1125 หน้า 36 เลขที่ดิน 881.2 หน้าสำรวจ 13237 เนื้อที่ 10 ไร่ (16,000 ตารางเมตร) ตั้งอยู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ หมู่ที่ 2 ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
มูลนิธิฯ จึงมีโครงการก่อสร้าง “ตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม ศูนย์ปฏิบัติธรรมและศูนย์บรรเทาสาธารณภัย” (สถาปนิกโครงการโดย นายสนธยา คงชัย) เพื่อจะใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม จัดกิจกรรมที่สามารถทำประโยชน์ แก่ประชาชนและเยาวชนในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป รวมถึงจัดการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง ให้แก่เยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์การก่อสร้างดังนี้
1. เพื่อสร้างตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
2. เพื่อสร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติธรรม และศูนย์การเรียนรู้แก่ประชาชนและเยาวชน
3. เพื่อสร้างเป็นสำนักงานถาวร ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมูลนิธิประชาร่วมใจ
4. เพื่อให้มูลนิธิฯ สามารถขยายงานด้านบรรเทาสาธารณภัย และกิจกรรมอื่น ๆ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง
5. เพื่อเป็นสถานที่สำคัญแห่งใหม่ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับการกราบไหว้บูชาจากชาวจีนทั่วทุกมุมโลก เป็นพระผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาต่อสรรพสัตว์ เป็นพระผู้เปี่ยมด้วยความกตัญญู และเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตาการุณย์เพื่อโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงทุกข์ ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ
พระบุญฤทธิ์ หงส์ประสาธน์ จึงสร้าง พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม ปางประทานพรองค์นี้ขึ้นมา โดยฝีมือช่างประติมากรชาวจีน ชื่อ นายหลิว ต้า เหว่ย (MR. Liu Da Wei) ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และมี นาย กู้ ซื่อ หยวน (MR.Gu Shi Yuan) เป็นที่ปรึกษาโครงการ
พิธีเททอง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2539 เวลา 09.09 น. ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยได้รับเกียรติจาก นายสาธร วานิชเสถียร อัครราชทูต พาณิชย์ไทย ประจำประเทศจีน เป็นประธานในพิธี ภายในงานมีพระภิกษุสงฆ์จีนประกอบพิธี และผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมาก ขั้นตอนการหล่อ แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฐานกลีบบัวหงาย 3 ชั้น 1 ส่วน กับส่วนองค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม อีก 1 ส่วน มีความสูงรวมฐานบัว 200 เซนติเมตร หน้าตัก กว้าง 97 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1 ตัน ใช้ทองสัมฤทธิ์(โลหะทองเหลืองผสมดีบุก)
พิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เวลา 10.00 น. ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ในพิธีมีพระภิกษุสงฆ์จีนจำนวน 10 รูป จาก วัด หน่ำ หว่า จี๋ ประเทศจีน โดยได้รับเกียรติจาก นายชลิต มานิตยกุล กงสุลใหญ่ไทย ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษกพร้อมด้วยประชาชนชาวจีนจำนวนมาก
http://pracharuamchai.org
ตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารกลุ่มคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 32.5 เมตร ยาว 44.5 เมตร สูง 27.7 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 3,174.5 ตารางเมตร ประกอบด้วยวิหารพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม และอาคารประกอบด้านซ้าย 1 หลัง ด้านขวา 1 หลัง ตั้งอยู่บนฐานภูเขาจำลอง ภายในฐานด้านล่างเป็นส่วนของสำนักงานมูลนิธิฯ(สถาปนิกโครงการโดย นายสนธยา คงชัย)
งบประมาณการก่อสร้างจำนวน 50,784,000 บาท(ห้าสิบล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นสี่พันบาท) คิดเป็นตารางเมตรละ 16,000 บาท(หนึ่งหมื่นหกพันบาท) ประมาณการ ราคา ณ ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขอรับความอนุเคราะห์จากผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนก่อสร้าง เมื่อดำเนินการก่อสร้างตำหนักพระมหาโพธิสัตว์กวนอิมหลังนี้สำเร็จลุล่วงแล้ว จะได้อัญเชิญองค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมไปประดิษฐานเพื่อให้ประชาชนที่มีความศรัทธาและเคารพนับถือได้กราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคลต่อไป
ซุ้มประตู
ซุ้มประตู ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย ซุ้มประตูทางเข้า-ออกหลัก มี 3 ประตู ประตูกลางกว้าง 8 เมตร สูง 6 เมตร ประตูเล็กกว้าง 2 เมตร ทั้งสองด้าน ศิลปะแบบจีนร่วมสมัย โดยประตูทางเข้ากลางสำหรับรถเข้า-ออก และประตูเล็กด้านข้างทั้ง 2 ประตูเป็นทางเดินเข้า-ออก
อาคารประชาสัมพันธ์
อาคารประชาสัมพันธ์ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร สูง 8.7 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 45 ตารางเมตร ใช้เป็นสำนักงานประชาสัมพันธ์ พร้อมห้องน้ำจำนวน 2 ห้อง
ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารประชาสัมพันธ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2556 เวลา 09.49น.ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของโครงการนี้ โดยได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธานในพิธี
--------------------------------------------
อาคารปฏิบัติธรรมและหอประชุม
อาคารปฏิบัติธรรมและหอประชุม ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 18 เมตร ยาว 40 เมตร สูง 36 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 1,440 ตารางเมตร ชั้นล่างเป็นสถานที่สำหรับประชุมขนาดความจุ 300 คน ชั้นบนเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับประชาชน
อาคารรับรอง 1 และ 2
อาคารรับรอง 1 และ 2 ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น จำนวน 2 อาคาร กว้าง 14.5 เมตร ยาว 36 เมตร สูง 23.8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 1,566 ตารางเมตร ชั้นที่ 1 เป็นที่พักอาคันตุกะ พร้อมห้องน้ำภายในห้อง ชั้นที่ 2 และ 3 เป็นห้องพักแบบรวมมีห้องน้ำด้านข้างของอาคารแต่ละชั้น
อาคารโรงอาหาร
อาคารโรงอาหาร ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 8.5 เมตร ยาว 36 เมตร สูง 15.8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 612 ตารางเมตร ชั้นล่างประกอบด้วยห้องครัวและห้องรับประทานอาหารขนาดความจุ 100 คน ชั้นบนเป็นห้องรับประทานอาหาร ขนาดความจุ 200 คน
พลับพลา
พลับพลา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นเดียว กว้าง 5 เมตร ยาว 35 เมตร สูง 6 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 175 ตารางเมตร ตัวอาคารเปิดโล่งตลอดอาคาร ใช้สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ ของมูลนิธิฯ
อาคารบรรเทาสาธารณภัย
อาคารบรรเทาสาธารณภัย ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร สูง 12 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 660 ตารางเมตร ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนสำนักงานและห้องเก็บอุปกรณ์กู้ภัย ด้านหน้าเป็นที่จอดรถกู้ภัยและเรือท้องแบน ชั้นบนเป็นห้องพักเจ้าหน้าที่และเป็นสถานีวิทยุคมนาคมควบคุมข่ายสื่อสาร ในกิจการเพื่อสาธารณกุศล จ.นครศรีธรรมราช และ สถานีวิทยุกระจายเสียง
อาคารห้องสุขา ชาย, หญิง
อาคารห้องสุขา ชาย, หญิง ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวจำนวน 2 หลัง กว้าง 6 เมตร ยาว 35 เมตร สูง 5 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 210 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องสุขาจำนวน 16 ห้องต่อหลัง
อาคารพัสดุ
อาคารพัสดุ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนร่วมสมัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว มีประตูเหล็กม้วน 3 ด้าน เปิดโล่งตลอดอาคาร กว้าง 12 เมตร ยาว 40 เมตร สูง 8 เมตร พื้นที่ใช้สอยรวม 480 ตารางเมตร
ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคเงินสบทบทุนก่อสร้างได้ดังนี้
1. บริจาคโดยตรงด้วยตัวเองที่ มูลนิธิประชาร่วมใจ องค์การสถานสาธารณกุศล(สำนักงานชั่วคราว) วัดบูรณาราม ถ.ราชดำเนิน ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทรศัพท์. 075-345599
2. บริจาคเงินผ่านทางธนาคารหรือตู้เอทีเอ็ม โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี
“มูลนิธิประชาร่วมใจ เพื่อก่อสร้างอาคาร”
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครศรีธรรมราช เลขที่บัญชี 553-2-69413-9
ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาเพชรเกษม ซอย18กรุงเทพ ฯ เลขที่บัญชี 070-2-16896-8
3. เช็คสั่งจ่าย ในนาม “มูลนิธิประชาร่วมใจ เพื่อก่อสร้างอาคาร”
ผู้บริจาคตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป จะได้รับการจารึกชื่อบนแผ่นศิลา เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล
สำนักงาน(ชั่วคราว) วัดบูรณาราม 1192/1 ถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์. 075-345599, 075-318833, 081-1734633 Email:pracharuamchai@gmail.com
แจ้งเหตุร้าย
แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
191
กองปราบปราม
1195
ตำรวจทางหลวง
1193
ตำรวจท่องเที่ยว
1155
ศูนย์เตือนภัยพิบัติ
1860
ศูนย์ จส.100
1137
แจ้งไฟฟ้าขัดข้อง
1129
กรมอุตุนิยมวิทยา
0-2399-4568
เจ็บป่วยฉุกเฉิน/สุขภาพ
ศูนย์นเรนทร
1669
พยาบาลกรมตำรวจ
1691
หน่วยแพทย์กู้ชีพ
1554
สายด่วนผู้บริโภค
1556
สายด่วนร้องทุกข์
1166
สรรพากร
0-2272-8000
ศูนย์สวัสดิภาพเด็ก
0-2282 3892
การขนส่ง
ศูนย์ควบคุมการจราจร
197, 0-2247-6610-6
บริการเท็กซี่ สาธารณะ
1545 , 1661 , 1681