งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 17 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 7 เมษายน 2562 นี้ จะเป็นการจัดงานครั้งสุดท้ายที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ก่อนที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์จะปิดปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปี จะเป็นการจัดงานภายใต้แนวคิด #รักคนอ่าน
ดังนั้นเพื่อเป็นการบันทึกถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งสุดท้ายนี้ ผมขอนำเสนอรายละเอียดจากเวทีเสวนาในหัวข้อ “ #รักคนอ่าน ... จากสนามหลวงถึงศูนย์ฯ สิริกิติ์ ” ที่จัดขึ้นในงานแถลงข่าวงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 47 เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา เวลา 13.00 -15.30 น. ณ ห้อง meeting room 2 ภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผมขอนำรายละเอียดจากเวทีเสวนานี้นำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้ท่านได้รับทราบ และเพื่อเป็นการเชิญชวนไว้ล่วงหน้าให้ท่านไปเดินเลือกหาซื้อหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือฯ ครั้งสุดท้ายที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ปลายเดือนนี้
(สำหรับรายละเอียดที่ผมนำเสนอนี้ เป็นเพียงบางส่วนจากเวทีเสวนานี้ โดยผมไม่ได้นำทุกคำพูด,ทุกประโยคที่ท่านวิทยากรพูดบนเวทีเสวนามานำเสนอ แต่ผมนำข้อความมาเพียงบางส่วนเพื่อใช้เรียบเรียงให้ท่านอ่านแล้วพอเห็นภาพโดยรวมได้ ดังนั้นถ้ามีข้อความใดหรือข้อมูลใดที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง หรือไม่ต้องตามคำพูดของท่านวิทยากร ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ)
สำหรับงานหนังสือในบ้านเราจัดมาแล้วเป็นระยะเวลา 58 ปี โดยมีการจัดไปทั้งหมด 7 สถานที่ คือ 1. สังคีตศาลา โรงละครแห่งชาติ 2. เวทีลีลาศสวนลุมพินี 3. หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4.โรงเรียนหอวัง 5. คุรุสภา ที่ถนนลูกหลวง 6. สนามหลวง และ 7. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
การจัดงานสัปดาห์หนังสือเป็นการสร้างสังคมการอ่านได้อย่างครบวงจรที่สุด ทำให้ประเทศไทยมีงานสัปดาห์ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ วันนี้เรามาฟังเรื่องราวของการอ่าน เรื่องราวของความรักในการอ่านหนังสือ จากเวทีเสวนาในหัวข้อ “ #รักคนอ่าน ... จากสนามหลวงถึงศูนย์ฯ สิริกิติ์” เป็นการพูดคุยถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน และความคาดหวังในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติต่อสังคมการอ่านไทยในอนาคต
โดยมีท่านวิทยากรร่วมเสวนาดังนี้ คุณนิดา หงส์วิวัฒน์ อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ , คุณสุวดี จงสถิตย์วัฒนา อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ , คุณสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ คนปัจจุบัน และคุณนิวัต พุทธประสาท กรรมการสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ปัจจุบัน โดยมีพิธีกรนำเสวนาคือคุณโอปอล ณัฐมณฑ์ พูลพิพัฒนันท์ พิธีกรสาวสวยประจำงานหนังสือ
คุณนิดา หงส์วิวัฒน์ อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ
-ตอนที่ดิฉันป็นนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ตอนนั้นทางสมาคมฯ ยังจนอยู่มาก ตอนที่ดิฉันป็นนายกอยู่นั้น งานสัปดาห์หนังสือยังจัดอยู่ที่คุรุสภา จัดอยู่ริมคลองซึ่งอากาศร้อนมากๆ แต่ก็ยังมีคนมากันเยอะมาก เราจึงตัดสินใจกันว่าเราจะทำเปลี่ยนแปลง(ไม่ให้ร้อน)
-ในปี 2539 เราจัดงานสัปดาห์หนังสือเป็นบูธติดแอร์ แต่ก็มีปัญหาว่าทางการไฟฟ้าไม่สามารถเอาเครื่องจ่ายไฟเครื่องใหญ่มาติดตั้งให้ได้ เพราะว่าทางสมาคมฯ ไม่มีเงินไปมัดจำเขาจำนวน 2 ล้านบาท ตอนนั้นสมาคมฯ มีเงินแค่ 6 แสนบาทเอง จึงจำเป็นต้องคุยกับกรรมการว่าต้องนำเงินของตัวเองมาเพิ่มเพื่อเอาไปมัดจำการไฟฟ้าไว้ก่อน
-ในสมัยนั้น การประชุมต่างๆ ของสมาคมฯ ไม่ได้หรูหราเหมือนอย่างทุกวันนี้ ตอนนั้นทางสมาชิกที่มาประชุมต้องใช้จ่ายเงินของตัวเองตลอด กินข้าวก็ต้องจ่ายกันเอง ไม่มีเบี้ยประชุม ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แต่พอเราเห็นการตอบรับของการติดตั้งแอร์ครั้งแรก เห็นว่าคนที่มาในงานรู้สึกมีความสุข แต่ละคนมีความสนุก อากาศไม่ร้อนแล้วเราก็ดีใจมีความสุขไปด้วย และการที่เราติดแอร์ก็เพราะเราต้องรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ ที่จะเสด็จมาในงานนี้ด้วย
-เมื่อเห็นว่าคนสนใจหนังสือมากขนาดนี้แล้ว เราจึงคิดกันว่าทำไมต้องต้องจดจ่ออยู่กับการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดเพียงแค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น เราจึงคิดที่จะจัดงานเพิ่มขึ้นมาอีก 1 งาน โดยคิดกันอยู่นานมากว่าจะใช้ชื่องานว่าอะไรดี? จะใช้คำว่าอะไรดีที่มีคำว่า “แห่งชาติ” ต่อท้ายได้ด้วย จนมาได้คำว่า “มหกรรมหนังสือ” ขึ้นมา
-พอเป็นงานมหกรรมหนังสือฯ แล้ว ในครั้งแรกเรารู้สึกว่าเราอยากจะติดแอร์แล้ว เราไม่อยากขายหนังสือแบกะดินแล้ว งานมหกรรมหนังสือครั้งแรกจึงไปจัดที่ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอร์แลนด์ (รามอินทรา) โดยเอานักเขียนทั้งหมดมาเปิดงาน โดยให้นักเขียนยืนเรียงกันเป็นแถวเพื่อป็นการเปิดงาน ซึ่งในงานนี้ทางสมาคมผู้จัดฯ เริ่มมีกำไรขึ้นมาบ้างแล้ว ทำให้คณะกรรมการที่มาประชุมไม่ต้องจ่ายเงินกันเอง ทางสมาคมฯ เริ่มมีเงินออกให้ได้แล้ว
-พอมาถึงงานมหกรรมหนังสือฯ ปีที่ 2 เราก็คิดว่า ทางแฟชั่นไอร์แลนด์มันแคบแต่ก็มีคนไปเดินหาซื้อหนังสือกันเยอะ ทางคณะกรรมการจึงเริ่มคิดกันว่า ทำไมไม่จัดที่สนามหลวงล่ะ? จึงกลายมาป็นมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นกลางสนามหลวง แล้วได้กิมมิคของงานว่า “มิดไนท์เซลล์” ตอนนั้นสำนักพิมพ์ดอกหญ้ามาร่วมกับเรา ทางดอกหญ้าบอกว่าจะเอาวงดนตรีลูกทุ่งมาร้องให้ในงานด้วย จะได้ดึงคนให้มาถึงเที่ยงคืนด้วย แล้วหนังสือมันก็ขายได้ถึงเที่ยงคืนจริงๆ ด้วย
-แต่หลังจากนั้นเราก็เข็ดขยาดที่สนามหลวง เพราะว่าที่สนามหลวงมีมิจจาชีพ (พวกขโมยของ,ล้วงระเป๋า) แฝงปะปนเข้ามาในงานด้วย แล้วปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือ พอเลิกจัดงานแล้วพื้นสนามหญ้าของสนามหลวงพังเสียหายหมด หญ้าตายหมดเพราะโดนคนเหยียบ ตอนนั้นผู้ว่ากรุงเทพมหานครคือคุณกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา บอกให้สมาคมฯ เอาเงินมาปูหญ้าให้ใหม่ ซึ่งทางสมาคมฯ ต้องหมดเงินไปกับการปูหญ้าเป็นล้านบาทเลย
-แต่เรายังมีความรู้สึกว่า “รักคนอ่าน” เพราะว่ามีคนมาเดินในงานเยอะมาก เด็กเล็กสนุกสนานกันมากด้วย เราจึงคิดกันว่าอยากจะมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์แทน เป็นการจัดงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 3 แล้วเราก็คุยกับคุณศักดิ์ชัย (คุณศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์) ต่อรองราคากับคุณศักดิ์ชัยว่า ขอจัดงาน 10 วันในราคา 1 ล้านบาท
-งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติจึงได้จัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อย่างยิ่งใหญ่มากมาตลอด หลังจากนั้นเราพยายามคิดกันว่า ต้องหาทางให้งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเข้ามาที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ด้วยให้ได้ แต่พอดีว่าตัวดิฉันหมดวาระในปี 2543 ไปเสียก่อน
-ส่วนงานที่ทางสมาคมฯ เป็นผู้บุกเบิกเพื่อก้าวออกไปสู่สากลคืองาน แฟรงเฟิร์ตบุ๊คแฟร์ โดยร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เพื่อที่จะให้เรามีบูธอยู่ในงานแฟรงเฟิร์ตบุ๊คแฟร์ ซึ่งก็ก้าวหน้ามาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้
#รักคนอ่าน ... จากสนามหลวงถึงศูนย์ฯ สิริกิติ์
(สำหรับรายละเอียดที่ผมนำเสนอนี้ เป็นเพียงบางส่วนจากเวทีเสวนานี้ โดยผมไม่ได้นำทุกคำพูด,ทุกประโยคที่ท่านวิทยากรพูดบนเวทีเสวนามานำเสนอ แต่ผมนำข้อความมาเพียงบางส่วนเพื่อใช้เรียบเรียงให้ท่านอ่านแล้วพอเห็นภาพโดยรวมได้ ดังนั้นถ้ามีข้อความใดหรือข้อมูลใดที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง หรือไม่ต้องตามคำพูดของท่านวิทยากร ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ)
การจัดงานสัปดาห์หนังสือเป็นการสร้างสังคมการอ่านได้อย่างครบวงจรที่สุด ทำให้ประเทศไทยมีงานสัปดาห์ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ วันนี้เรามาฟังเรื่องราวของการอ่าน เรื่องราวของความรักในการอ่านหนังสือ จากเวทีเสวนาในหัวข้อ “ #รักคนอ่าน ... จากสนามหลวงถึงศูนย์ฯ สิริกิติ์” เป็นการพูดคุยถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน และความคาดหวังในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติต่อสังคมการอ่านไทยในอนาคต
-ตอนที่ดิฉันป็นนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ตอนนั้นทางสมาคมฯ ยังจนอยู่มาก ตอนที่ดิฉันป็นนายกอยู่นั้น งานสัปดาห์หนังสือยังจัดอยู่ที่คุรุสภา จัดอยู่ริมคลองซึ่งอากาศร้อนมากๆ แต่ก็ยังมีคนมากันเยอะมาก เราจึงตัดสินใจกันว่าเราจะทำเปลี่ยนแปลง(ไม่ให้ร้อน)
-ในปี 2539 เราจัดงานสัปดาห์หนังสือเป็นบูธติดแอร์ แต่ก็มีปัญหาว่าทางการไฟฟ้าไม่สามารถเอาเครื่องจ่ายไฟเครื่องใหญ่มาติดตั้งให้ได้ เพราะว่าทางสมาคมฯ ไม่มีเงินไปมัดจำเขาจำนวน 2 ล้านบาท ตอนนั้นสมาคมฯ มีเงินแค่ 6 แสนบาทเอง จึงจำเป็นต้องคุยกับกรรมการว่าต้องนำเงินของตัวเองมาเพิ่มเพื่อเอาไปมัดจำการไฟฟ้าไว้ก่อน
-ในสมัยนั้น การประชุมต่างๆ ของสมาคมฯ ไม่ได้หรูหราเหมือนอย่างทุกวันนี้ ตอนนั้นทางสมาชิกที่มาประชุมต้องใช้จ่ายเงินของตัวเองตลอด กินข้าวก็ต้องจ่ายกันเอง ไม่มีเบี้ยประชุม ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แต่พอเราเห็นการตอบรับของการติดตั้งแอร์ครั้งแรก เห็นว่าคนที่มาในงานรู้สึกมีความสุข แต่ละคนมีความสนุก อากาศไม่ร้อนแล้วเราก็ดีใจมีความสุขไปด้วย และการที่เราติดแอร์ก็เพราะเราต้องรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ ที่จะเสด็จมาในงานนี้ด้วย
-เมื่อเห็นว่าคนสนใจหนังสือมากขนาดนี้แล้ว เราจึงคิดกันว่าทำไมต้องต้องจดจ่ออยู่กับการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดเพียงแค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น เราจึงคิดที่จะจัดงานเพิ่มขึ้นมาอีก 1 งาน โดยคิดกันอยู่นานมากว่าจะใช้ชื่องานว่าอะไรดี? จะใช้คำว่าอะไรดีที่มีคำว่า “แห่งชาติ” ต่อท้ายได้ด้วย จนมาได้คำว่า “มหกรรมหนังสือ” ขึ้นมา
-พอเป็นงานมหกรรมหนังสือฯ แล้ว ในครั้งแรกเรารู้สึกว่าเราอยากจะติดแอร์แล้ว เราไม่อยากขายหนังสือแบกะดินแล้ว งานมหกรรมหนังสือครั้งแรกจึงไปจัดที่ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอร์แลนด์ (รามอินทรา) โดยเอานักเขียนทั้งหมดมาเปิดงาน โดยให้นักเขียนยืนเรียงกันเป็นแถวเพื่อป็นการเปิดงาน ซึ่งในงานนี้ทางสมาคมผู้จัดฯ เริ่มมีกำไรขึ้นมาบ้างแล้ว ทำให้คณะกรรมการที่มาประชุมไม่ต้องจ่ายเงินกันเอง ทางสมาคมฯ เริ่มมีเงินออกให้ได้แล้ว
-พอมาถึงงานมหกรรมหนังสือฯ ปีที่ 2 เราก็คิดว่า ทางแฟชั่นไอร์แลนด์มันแคบแต่ก็มีคนไปเดินหาซื้อหนังสือกันเยอะ ทางคณะกรรมการจึงเริ่มคิดกันว่า ทำไมไม่จัดที่สนามหลวงล่ะ? จึงกลายมาป็นมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นกลางสนามหลวง แล้วได้กิมมิคของงานว่า “มิดไนท์เซลล์” ตอนนั้นสำนักพิมพ์ดอกหญ้ามาร่วมกับเรา ทางดอกหญ้าบอกว่าจะเอาวงดนตรีลูกทุ่งมาร้องให้ในงานด้วย จะได้ดึงคนให้มาถึงเที่ยงคืนด้วย แล้วหนังสือมันก็ขายได้ถึงเที่ยงคืนจริงๆ ด้วย
-แต่หลังจากนั้นเราก็เข็ดขยาดที่สนามหลวง เพราะว่าที่สนามหลวงมีมิจจาชีพ (พวกขโมยของ,ล้วงระเป๋า) แฝงปะปนเข้ามาในงานด้วย แล้วปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือ พอเลิกจัดงานแล้วพื้นสนามหญ้าของสนามหลวงพังเสียหายหมด หญ้าตายหมดเพราะโดนคนเหยียบ ตอนนั้นผู้ว่ากรุงเทพมหานครคือคุณกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา บอกให้สมาคมฯ เอาเงินมาปูหญ้าให้ใหม่ ซึ่งทางสมาคมฯ ต้องหมดเงินไปกับการปูหญ้าเป็นล้านบาทเลย
-แต่เรายังมีความรู้สึกว่า “รักคนอ่าน” เพราะว่ามีคนมาเดินในงานเยอะมาก เด็กเล็กสนุกสนานกันมากด้วย เราจึงคิดกันว่าอยากจะมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์แทน เป็นการจัดงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 3 แล้วเราก็คุยกับคุณศักดิ์ชัย (คุณศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์) ต่อรองราคากับคุณศักดิ์ชัยว่า ขอจัดงาน 10 วันในราคา 1 ล้านบาท
-งานมหกรรมหนังสือแห่งชาติจึงได้จัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อย่างยิ่งใหญ่มากมาตลอด หลังจากนั้นเราพยายามคิดกันว่า ต้องหาทางให้งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเข้ามาที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ด้วยให้ได้ แต่พอดีว่าตัวดิฉันหมดวาระในปี 2543 ไปเสียก่อน
-ส่วนงานที่ทางสมาคมฯ เป็นผู้บุกเบิกเพื่อก้าวออกไปสู่สากลคืองาน แฟรงเฟิร์ตบุ๊คแฟร์ โดยร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เพื่อที่จะให้เรามีบูธอยู่ในงานแฟรงเฟิร์ตบุ๊คแฟร์ ซึ่งก็ก้าวหน้ามาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้