เผยแพร่: 20 มี.ค. 2562 19:54 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย!?
หนุ่มขอระบายความในใจลงโซเชียลฯ หลังภรรยาตั้งท้องแก่โดยสารรถไฟฟ้า แต่ไม่มีใครลุกให้นั่ง ทั้งที่บีทีเอสมีโครงการ “ติดเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้อง-ทำที่นั่งพิเศษ-ทำสติ๊กเกอร์ติดพนักพิง” แต่ไม่ช่วยแถมไม่ตอบโจทย์! ด้านกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกัน 'ติดเข็มกลัดไปก็ไม่ช่วยอะไร ถ้าจิตสำนึกไม่มี!'
ไม่ได้อยู่ที่เข็มกลัด แต่อยู่ที่จิตใต้สำนึก!
คนไร้น้ำใจหรือที่นั่งสำรองพิเศษไม่เพียงพอกันแน่! เสียงครวญจากคุณพ่อรายหนึ่ง ตั้งคำถามต่อจิตใต้สำนึกของคนในสังคม เมื่อภรรยาที่ตั้งครรภ์ขึ้นรถโดยสารบีทีเอสไปทำงานทุกวัน แต่กลับไม่มีคนลุกให้นั่งทั้งที่ท้องแก่จนเห็นได้ชัด!
“ขอโพสต์ระบายหน่อยละกัน ตอนนี้แฟนผมท้อง 6-7 เดือน ต้องนั่งรถเมล์ ต่อด้วย BTS แล้วก็วินมอเตอร์ไซค์ จนถึงที่ทำงาน จากห้องพักซอยเพชรเกษม112 จนไปถึงที่ทำงาน ธ.กรุงไทย สาขาพระรามสี่ คือแฟนก็บ่นให้ฟังบ่อยๆ ว่า ไม่ค่อยมีคนลุกให้นั่งเลย
ทั้งรถเมล์ และ BTS ผมก็สงสารแฟน แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าสังคมไทยทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก คนไร้น้ำใจหรือเป็นเพราะเทคโนโลยีที่ทำให้ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาดูจอของตนเอง จนลืมหันมองคนรอบข้าง ส่วนตัวผมเองก็ไม่รู้จะช่วยแฟนยังไง เพราะต่างคนต่างทำงาน
ตัวผมเองก็ทำงานเป็นกะ จะให้ไปรับไปส่งตลอดก็คงไม่ได้ และอีกอย่างเข็มกลัดคนท้องBTS ต้องลงทะเบียนเอาใบรับรองแพทย์ไปยืนรับ
จะมีกี่คนที่รู้จัก หรือรู้แล้วแกล้งทำเป็นไม่เห็น หรือ สังคมไทยการเสียเปรียบเป็นเรื่องยอมกันไม่ได้ แม้แค่ลุกให้คนท้องนั่ง”
หลังจากที่ข้อความระบายความในใจถูกเผยแพร่ออกไปก็นำมาสู่เสียงวิจารณ์อย่างครุกรุ่น โดยเฉพาะความคิดเห็นจากกลุ่มคนท้องที่หลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก แถมยังย้ำอีกว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการติดเข็มกลัดคนท้องตามโครงการของบีทีเอส ไม่ช่วยอำนวยความสะดวกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์!
“วันนี้ตอนนี้เจอเองกับตัว ท้อง5เดือนกว่าท้องก็ไม่เล็กนะ ห้อยป้าย พุงยื่นก้อไม่เห็นมีใครลุกเลยคะ มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกของคนไทยแท้ๆ เพราะเอาท้องไปยื่นแทงหน้าเก้าอี้ที่สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา คนพิการ คนที่นั่งก็นั่งไม่สนใจโลก จริงๆ ควรมีโบกี้เฉพาะไปเลย เพราะคนไทยสมัยนี้ต่อให้จะห้อยป้าย หรือมีเสียงประกาศ สำนึกไม่มีหรอกค่ะ”
“ปัญหาคือทุกคนก้มมองแต่โทรศัพท์ ต้องรณรงค์เมื่อถึงสถานี ให้หยุดก้มมองโทรศัพท์ หันขึ้นมามองคนที่ขึ้นมา และมีความจำเป็นต้องนั่ง หรือมองหาที่ว่างแล้วขยับเข้าข้างในครับ”
“การแก้ปัญหาโดยการติดเข็มกลัดคนท้องแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น หรือทำสติกเกอร์พนักพิงก็ไม่มีประโยชน์หรอกค่ะ ถ้าคนนั่งไม่สละที่นั่งซะอย่าง
มันอยู่ที่จิตสำนึกคนจริงๆ ซึ่งการปลูกจิตสำนึกคนมันอาจจะใช้เวลานาน แต่ถ้าทำได้มันจะมีผลดีในระยะยาวต่อผู้ร่วมทางทุกคนค่ะ”
ทั้งนี้ เสียงวิพากษ์วิจารณ์อีกด้านหนึ่งมองว่าในบางสถานการณ์ผู้ที่โดยสารขบวนเดียวกันนั้นไม่อาจรู้หรือมองเห็นได้ว่ามีผู้ที่ต้องการที่นั่งอยู่ โดยมีการเสนอแนะว่าหากต้องการที่นั่ง ควรเอ่ยปากขอที่นั่งสำหรับโซน Priority Seat น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีอีกทางหนึ่ง
“คนท้อง และคนป่วยไม่ว่าจะเพศชาย-หญิง ถ้าไม่ไหว ก็เดินไปที่นั่ง Priority Seat แล้วเอ่ยปากขอเลยก็ได้ เราว่าบางคนไม่ได้ตั้งใจจะไม่ลุก แต่บางทีเขาไม่รู้ว่าคุณต้องการ บางคนก็แค่ก้มหน้าอ่านหนังสือ เล่นมือถือจนไม่ได้เงยหน้า
ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร หรือ เค้าไม่ได้สังเกต บางคนเคยลุกให้คนท้อง คนท้องดันบอกว่าไม่นั่ง (เขินไปอีก) บางทีก็โดนสวนว่าไม่ได้ท้องค่ะ (หน้าแหกอีก)
เพราะงั้น ถ้าป่วย ถ้าท้อง ถ้าไม่ไหว ก็เดินไปบอกเลยว่าจะนั่ง ส่งเสียงดังๆ ก็ได้ว่า ขอที่นั่งหน่อย ไม่ไหวแล้ว นั่งกันเป็นสิบ ก็ต้องมีคนลุกให้สักคน คนไทยไม่ได้ไร้น้ำใจขนาดนั้น”
ส่องต่างแดน 'วัฒนธรรมลุกให้นั่ง'
จากกรณีที่เกิดขึ้นนำมาสู่คำถามที่ตามมาคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะระบบอำนวยความสะดวกของรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือการไร้จิตสำนึกของคนในสังคมกันแน่ เพราะหากเป็นที่จิตสำนึกที่บกพร่อง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็คงมีปัญหาอยู่ดี!
แน่นอนว่าก่อนหน้านี้ทางบีทีเอสเองก็มีการแก้ไขเรื่องนี้จากที่ได้มีกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ออกมาเรียกร้องเรื่องที่นั่งสำรองพิเศษในขบวนรถโดยสาร จนนำมาสู่โครงการ
'ติดเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้อง' โดยให้สุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์มารับเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้องได้ฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี
โดยนำไปติดแสดงตนระหว่างเดินทาง เพื่อให้ผู้โดยสารท่านอื่นๆ ทราบ และช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างเดินทาง
ทั้งการสละที่นั่งให้ หลีกทางเมื่อเข้าออกขบวนรถ หรือเมื่อใช้งานลิฟต์ และบันไดเลื่อน นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์เมื่อต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะประเภทอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
จากตรงนี้แม้โครงการนี้จะเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นที่ดีในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่ม
'Priority Case' อย่าง
เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้บาดเจ็บที่ยืนไม่สะดวก
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาการไม่ลุกให้นั่งยังมีให้เห็นอยู่เสมอ นี่จึงนำมาสู่การตั้งข้อสงสัยว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในไทยไม่ได้ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายขึ้นจริงหรือไม่ ขณะที่ประเทศอื่น โดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการคมนาคมและอำนวยความสะดวกกับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและดีเยี่ยม!
เพื่อหาคำตอบของประเด็นนี้ ทีมข่าวได้ติดต่อไปยัง
'ปริพนธ์ นำพบสันติ' เจ้าของแฟนเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามเกือบแสนคน
'JapanPerspective' ว่าด้วยเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่นในมุมมองที่แตกต่าง
โดยเจ้าของเพจได้ให้คำตอบกับทีมข่าวว่า ระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการใช้ Priority Seat (ที่นั่งสำรองพิเศษ) ในประเทศญี่ปุ่นถือว่าสมบูรณ์แบบมาก
“ก่อนอื่นผมต้องขอแยกออกเป็นสองประเด็น นั่นคือ ประเด็น 'การจัดให้มี' ในรถไฟฟ้าญี่ปุ่นจะแบ่งโซนชัดเจนว่าเป็นโซน Priority Seat รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ คนชรา หรือคนพิการ จะมีการแบ่งพื้นที่ในตู้รถไฟฟ้าชัดเจนเลย
ส่วนที่นั่งจะมีการทาสี รวมถึงราวจับด้านบนด้วย ที่ต้องทาสีเพื่อให้สะดุดตาแก่คนชราที่การมองเห็นไม่ค่อยดี ซึ่งโดยรวมการจัดให้มีของที่ญี่ปุ่นผมว่าค่อนข้างดีเลย
อีกจุดหนึ่งที่ผมประทับใจคือการมีบริการดูแลคนที่ต้องการความช่วยเหลือ แบบ
Free Service
ตั้งแต่ก่อนเข้าสถานีจะมีลิฟต์สำหรับขึ้น-ลง มีการทำทางลาดทั้งพื้นทางเดินและเสริมที่บันได ถ้าคุณเป็นคนตาบอด หรือเป็นคนที่ต้องนั่งรถเข็น จะสามารถเดินทาง-ซื้อตั๋ว-ขึ้นรถไฟได้ เช่น
คนที่นั่งรถเข็นเดินทางไม่สะดวกก็สามารถไปบอกเจ้าหน้าที่สถานีได้ เขาจะดูแลตั้งแต่พาเราไปที่ชานชาลา ขึ้นรถไฟ และส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ปลายทางที่รออยู่เลย”
ขณะที่อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น ซึ่งในสายตาของผู้ที่หลงใหลดินแดนปลาดิบ เปิดใจว่า
'วัฒนธรรมการลุกให้นั่ง' ของคนญี่ปุ่นแทบไม่ต่างจากคนไทย ทั้งนี้เพราะสังคมญี่ปุ่นจะถูกปลูกฝังว่าให้เข้มแข็ง ไม่ว่าใครก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน
ภาพ FB: JapanPerspective
“ส่วนอีกเรื่องที่อยากพูดถึงคือ 'วัฒนธรรมญี่ปุ่น' ซึ่งเราอาจจะมองว่าที่ญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยหรือมารยาทดี แต่ในความเห็นของผมในเรื่องการลุกให้นั่งก็ค่อนข้างมีปัญหาเหมือนกันนะครับ มันมีหลายมุมมอง เช่น คนที่นั่งอยู่กลัวว่าถ้าลุกให้คนชรานั่งก็อาจทำให้คนที่ยืนอยู่รู้สึกเสียหน้าว่าเขาแก่หรือเปล่า
เพราะคนสูงอายุที่ญี่ปุ่นต่อให้อายุ 60-70 ปีขึ้นไป แต่มีร่างกายแข็งแรงมาก ทางกายภาพยังเดินเหินได้ปกติ เขาไม่ได้มองว่าเขาจะต้องนั่ง แต่เขาสามารถยืนปกติได้
ส่วนประเด็นเรื่องการไม่ลุกให้นั่งผมว่าตรงนี้อาจจะเป็นข้อบกพร่องของสังคมญี่ปุ่นก็ได้ครับ เพราะถ้าลองเสิร์ชดูในโซเชียลฯ
จริงๆ จะมีการตั้งกระทู้เกี่ยวกับการไม่ลุกให้นั่งของคนญี่ปุ่นด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่แค่กับประเทศไทย แต่ผมมองว่าอยู่ที่จิตสำนึกของคนในสังคมด้วย
ส่วนในบ้านเรา สำหรับกรณีที่เกิดขึ้น การติดเข็มกลัดที่ช่วยให้ผู้โดยสารคนอื่นมองเห็นก็อาจไม่ทั่วถึง ผมอยากเสริมเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงมากกว่าว่าบ้านเราน่าจะพัฒนาและทำได้ดีกว่านี้
คิดว่าน่าจะยังมีช่องโหว่ช่องใหญ่ที่ควรปรับปรุงอยู่ เช่น ลิฟต์ขึ้น-ลง ที่เราก็เห็นว่ามีกลุ่มผู้พิการ หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ ออกมาเรียกร้องกันเยอะมาก
แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับการใช้งานได้จริงๆ เสียที ต้องไม่ใช่แค่ 'มี' แต่ใช้งานได้ 'ไม่ดี' แบบนี้”
ข่าวโดย ทีมข่าว MGR Live
แฉช่องโหว่ที่นั่งบีทีเอส “ป้ายคนท้อง” ไม่ช่วยกระตุ้นจิตสำนึก!!
เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย!?
หนุ่มขอระบายความในใจลงโซเชียลฯ หลังภรรยาตั้งท้องแก่โดยสารรถไฟฟ้า แต่ไม่มีใครลุกให้นั่ง ทั้งที่บีทีเอสมีโครงการ “ติดเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้อง-ทำที่นั่งพิเศษ-ทำสติ๊กเกอร์ติดพนักพิง” แต่ไม่ช่วยแถมไม่ตอบโจทย์! ด้านกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกัน 'ติดเข็มกลัดไปก็ไม่ช่วยอะไร ถ้าจิตสำนึกไม่มี!'
ไม่ได้อยู่ที่เข็มกลัด แต่อยู่ที่จิตใต้สำนึก!
คนไร้น้ำใจหรือที่นั่งสำรองพิเศษไม่เพียงพอกันแน่! เสียงครวญจากคุณพ่อรายหนึ่ง ตั้งคำถามต่อจิตใต้สำนึกของคนในสังคม เมื่อภรรยาที่ตั้งครรภ์ขึ้นรถโดยสารบีทีเอสไปทำงานทุกวัน แต่กลับไม่มีคนลุกให้นั่งทั้งที่ท้องแก่จนเห็นได้ชัด!
“ขอโพสต์ระบายหน่อยละกัน ตอนนี้แฟนผมท้อง 6-7 เดือน ต้องนั่งรถเมล์ ต่อด้วย BTS แล้วก็วินมอเตอร์ไซค์ จนถึงที่ทำงาน จากห้องพักซอยเพชรเกษม112 จนไปถึงที่ทำงาน ธ.กรุงไทย สาขาพระรามสี่ คือแฟนก็บ่นให้ฟังบ่อยๆ ว่า ไม่ค่อยมีคนลุกให้นั่งเลย
ทั้งรถเมล์ และ BTS ผมก็สงสารแฟน แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าสังคมไทยทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก คนไร้น้ำใจหรือเป็นเพราะเทคโนโลยีที่ทำให้ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาดูจอของตนเอง จนลืมหันมองคนรอบข้าง ส่วนตัวผมเองก็ไม่รู้จะช่วยแฟนยังไง เพราะต่างคนต่างทำงาน
ตัวผมเองก็ทำงานเป็นกะ จะให้ไปรับไปส่งตลอดก็คงไม่ได้ และอีกอย่างเข็มกลัดคนท้องBTS ต้องลงทะเบียนเอาใบรับรองแพทย์ไปยืนรับ จะมีกี่คนที่รู้จัก หรือรู้แล้วแกล้งทำเป็นไม่เห็น หรือ สังคมไทยการเสียเปรียบเป็นเรื่องยอมกันไม่ได้ แม้แค่ลุกให้คนท้องนั่ง”
หลังจากที่ข้อความระบายความในใจถูกเผยแพร่ออกไปก็นำมาสู่เสียงวิจารณ์อย่างครุกรุ่น โดยเฉพาะความคิดเห็นจากกลุ่มคนท้องที่หลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก แถมยังย้ำอีกว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการติดเข็มกลัดคนท้องตามโครงการของบีทีเอส ไม่ช่วยอำนวยความสะดวกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์!
“วันนี้ตอนนี้เจอเองกับตัว ท้อง5เดือนกว่าท้องก็ไม่เล็กนะ ห้อยป้าย พุงยื่นก้อไม่เห็นมีใครลุกเลยคะ มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกของคนไทยแท้ๆ เพราะเอาท้องไปยื่นแทงหน้าเก้าอี้ที่สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา คนพิการ คนที่นั่งก็นั่งไม่สนใจโลก จริงๆ ควรมีโบกี้เฉพาะไปเลย เพราะคนไทยสมัยนี้ต่อให้จะห้อยป้าย หรือมีเสียงประกาศ สำนึกไม่มีหรอกค่ะ”
“ปัญหาคือทุกคนก้มมองแต่โทรศัพท์ ต้องรณรงค์เมื่อถึงสถานี ให้หยุดก้มมองโทรศัพท์ หันขึ้นมามองคนที่ขึ้นมา และมีความจำเป็นต้องนั่ง หรือมองหาที่ว่างแล้วขยับเข้าข้างในครับ”
“การแก้ปัญหาโดยการติดเข็มกลัดคนท้องแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น หรือทำสติกเกอร์พนักพิงก็ไม่มีประโยชน์หรอกค่ะ ถ้าคนนั่งไม่สละที่นั่งซะอย่าง มันอยู่ที่จิตสำนึกคนจริงๆ ซึ่งการปลูกจิตสำนึกคนมันอาจจะใช้เวลานาน แต่ถ้าทำได้มันจะมีผลดีในระยะยาวต่อผู้ร่วมทางทุกคนค่ะ”
ทั้งนี้ เสียงวิพากษ์วิจารณ์อีกด้านหนึ่งมองว่าในบางสถานการณ์ผู้ที่โดยสารขบวนเดียวกันนั้นไม่อาจรู้หรือมองเห็นได้ว่ามีผู้ที่ต้องการที่นั่งอยู่ โดยมีการเสนอแนะว่าหากต้องการที่นั่ง ควรเอ่ยปากขอที่นั่งสำหรับโซน Priority Seat น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีอีกทางหนึ่ง
“คนท้อง และคนป่วยไม่ว่าจะเพศชาย-หญิง ถ้าไม่ไหว ก็เดินไปที่นั่ง Priority Seat แล้วเอ่ยปากขอเลยก็ได้ เราว่าบางคนไม่ได้ตั้งใจจะไม่ลุก แต่บางทีเขาไม่รู้ว่าคุณต้องการ บางคนก็แค่ก้มหน้าอ่านหนังสือ เล่นมือถือจนไม่ได้เงยหน้า
ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร หรือ เค้าไม่ได้สังเกต บางคนเคยลุกให้คนท้อง คนท้องดันบอกว่าไม่นั่ง (เขินไปอีก) บางทีก็โดนสวนว่าไม่ได้ท้องค่ะ (หน้าแหกอีก)
เพราะงั้น ถ้าป่วย ถ้าท้อง ถ้าไม่ไหว ก็เดินไปบอกเลยว่าจะนั่ง ส่งเสียงดังๆ ก็ได้ว่า ขอที่นั่งหน่อย ไม่ไหวแล้ว นั่งกันเป็นสิบ ก็ต้องมีคนลุกให้สักคน คนไทยไม่ได้ไร้น้ำใจขนาดนั้น”
ส่องต่างแดน 'วัฒนธรรมลุกให้นั่ง'
จากกรณีที่เกิดขึ้นนำมาสู่คำถามที่ตามมาคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะระบบอำนวยความสะดวกของรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือการไร้จิตสำนึกของคนในสังคมกันแน่ เพราะหากเป็นที่จิตสำนึกที่บกพร่อง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็คงมีปัญหาอยู่ดี!
แน่นอนว่าก่อนหน้านี้ทางบีทีเอสเองก็มีการแก้ไขเรื่องนี้จากที่ได้มีกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ออกมาเรียกร้องเรื่องที่นั่งสำรองพิเศษในขบวนรถโดยสาร จนนำมาสู่โครงการ 'ติดเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้อง' โดยให้สุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์มารับเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้องได้ฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี
โดยนำไปติดแสดงตนระหว่างเดินทาง เพื่อให้ผู้โดยสารท่านอื่นๆ ทราบ และช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างเดินทาง ทั้งการสละที่นั่งให้ หลีกทางเมื่อเข้าออกขบวนรถ หรือเมื่อใช้งานลิฟต์ และบันไดเลื่อน นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์เมื่อต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะประเภทอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
จากตรงนี้แม้โครงการนี้จะเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นที่ดีในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่ม 'Priority Case' อย่างเด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้บาดเจ็บที่ยืนไม่สะดวก
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาการไม่ลุกให้นั่งยังมีให้เห็นอยู่เสมอ นี่จึงนำมาสู่การตั้งข้อสงสัยว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในไทยไม่ได้ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายขึ้นจริงหรือไม่ ขณะที่ประเทศอื่น โดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการคมนาคมและอำนวยความสะดวกกับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและดีเยี่ยม!
เพื่อหาคำตอบของประเด็นนี้ ทีมข่าวได้ติดต่อไปยัง 'ปริพนธ์ นำพบสันติ' เจ้าของแฟนเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามเกือบแสนคน 'JapanPerspective' ว่าด้วยเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่นในมุมมองที่แตกต่าง
โดยเจ้าของเพจได้ให้คำตอบกับทีมข่าวว่า ระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการใช้ Priority Seat (ที่นั่งสำรองพิเศษ) ในประเทศญี่ปุ่นถือว่าสมบูรณ์แบบมาก
“ก่อนอื่นผมต้องขอแยกออกเป็นสองประเด็น นั่นคือ ประเด็น 'การจัดให้มี' ในรถไฟฟ้าญี่ปุ่นจะแบ่งโซนชัดเจนว่าเป็นโซน Priority Seat รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ คนชรา หรือคนพิการ จะมีการแบ่งพื้นที่ในตู้รถไฟฟ้าชัดเจนเลย
ส่วนที่นั่งจะมีการทาสี รวมถึงราวจับด้านบนด้วย ที่ต้องทาสีเพื่อให้สะดุดตาแก่คนชราที่การมองเห็นไม่ค่อยดี ซึ่งโดยรวมการจัดให้มีของที่ญี่ปุ่นผมว่าค่อนข้างดีเลย อีกจุดหนึ่งที่ผมประทับใจคือการมีบริการดูแลคนที่ต้องการความช่วยเหลือ แบบ Free Service
ตั้งแต่ก่อนเข้าสถานีจะมีลิฟต์สำหรับขึ้น-ลง มีการทำทางลาดทั้งพื้นทางเดินและเสริมที่บันได ถ้าคุณเป็นคนตาบอด หรือเป็นคนที่ต้องนั่งรถเข็น จะสามารถเดินทาง-ซื้อตั๋ว-ขึ้นรถไฟได้ เช่น คนที่นั่งรถเข็นเดินทางไม่สะดวกก็สามารถไปบอกเจ้าหน้าที่สถานีได้ เขาจะดูแลตั้งแต่พาเราไปที่ชานชาลา ขึ้นรถไฟ และส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ปลายทางที่รออยู่เลย”
ขณะที่อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น ซึ่งในสายตาของผู้ที่หลงใหลดินแดนปลาดิบ เปิดใจว่า 'วัฒนธรรมการลุกให้นั่ง' ของคนญี่ปุ่นแทบไม่ต่างจากคนไทย ทั้งนี้เพราะสังคมญี่ปุ่นจะถูกปลูกฝังว่าให้เข้มแข็ง ไม่ว่าใครก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน
ภาพ FB: JapanPerspective
“ส่วนอีกเรื่องที่อยากพูดถึงคือ 'วัฒนธรรมญี่ปุ่น' ซึ่งเราอาจจะมองว่าที่ญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยหรือมารยาทดี แต่ในความเห็นของผมในเรื่องการลุกให้นั่งก็ค่อนข้างมีปัญหาเหมือนกันนะครับ มันมีหลายมุมมอง เช่น คนที่นั่งอยู่กลัวว่าถ้าลุกให้คนชรานั่งก็อาจทำให้คนที่ยืนอยู่รู้สึกเสียหน้าว่าเขาแก่หรือเปล่า
เพราะคนสูงอายุที่ญี่ปุ่นต่อให้อายุ 60-70 ปีขึ้นไป แต่มีร่างกายแข็งแรงมาก ทางกายภาพยังเดินเหินได้ปกติ เขาไม่ได้มองว่าเขาจะต้องนั่ง แต่เขาสามารถยืนปกติได้
ส่วนประเด็นเรื่องการไม่ลุกให้นั่งผมว่าตรงนี้อาจจะเป็นข้อบกพร่องของสังคมญี่ปุ่นก็ได้ครับ เพราะถ้าลองเสิร์ชดูในโซเชียลฯ จริงๆ จะมีการตั้งกระทู้เกี่ยวกับการไม่ลุกให้นั่งของคนญี่ปุ่นด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่แค่กับประเทศไทย แต่ผมมองว่าอยู่ที่จิตสำนึกของคนในสังคมด้วย
ส่วนในบ้านเรา สำหรับกรณีที่เกิดขึ้น การติดเข็มกลัดที่ช่วยให้ผู้โดยสารคนอื่นมองเห็นก็อาจไม่ทั่วถึง ผมอยากเสริมเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงมากกว่าว่าบ้านเราน่าจะพัฒนาและทำได้ดีกว่านี้
คิดว่าน่าจะยังมีช่องโหว่ช่องใหญ่ที่ควรปรับปรุงอยู่ เช่น ลิฟต์ขึ้น-ลง ที่เราก็เห็นว่ามีกลุ่มผู้พิการ หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ ออกมาเรียกร้องกันเยอะมาก แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับการใช้งานได้จริงๆ เสียที ต้องไม่ใช่แค่ 'มี' แต่ใช้งานได้ 'ไม่ดี' แบบนี้”
ข่าวโดย ทีมข่าว MGR Live