เจาะลึก ดิวตี้ฟรี สัมปทานแบบหมวดหมู่สินค้า ระบบสัมปทานบนหน้ากระดาษที่ไม่อาจทำได้จริง!

     
ดูเหมือนยิ่งใกล้เรื่องขายซองทีโออาร์ประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและพื้นที่ร้านค้าปลอดอากรเข้ามามากเท่าไร การแข่งขันก็ยิ่งดเดือดอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องร้านค้าปลอดอากรที่มีผู้แข่งขันเข้ามาร่วมชิงเค้กก้อนนี้กันอย่างคับคั่ง แต่ละรายก็มีจุดเด่น จุดแข็งที่หยิบยกขึ้นมาถกกันเต็มพื้นที่ข่าว เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่ข่าวที่สามารถช่วงชิงพื้นที่สื่อในช่วงเลือกตั้งนี้ได้ โดยมีประเด็นหลักๆที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันอย่างมากคือประเด็นที่ ทอท. เลือกใช้รูปแบบเปิดประมูล แบบสัญญาเดียว และรวบสัญญาดิวตี้ฟรีท่าอากาศยานทั้ง 4 แห่ง เป็นสัญญาเดียว                

ซึ่งจากเนื้อข่าวหลายๆฝ่าย (หรือ ฝ่ายเดียวแต่มีหลายบริษัทรวมตัวกันเป็นรูปแบบ “สมาคม” ) ได้มองว่าการเปิดประมูลแบบสัญญาเดียวนี้จะทำให้เกิดการผูกขาดขึ้น ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วโดยส่วนตัว จขกท. ทีแรกก็แอบคิดเหมือนกันว่าการเปิดประมูลแบบสัญญาเดียวนี่มันผูกขาดจริงรึเปล่า? และอยากฟังเหตุผลของการเปิดประมูลแบบสัญญาเดียวว่ามันดีกว่าการเปิดประมูลแบบอื่นๆอย่างไร แล้วรูปแบบอื่นที่ว่ามันมีข้อเสียกว่าแบบสัญญาเดียวอย่างไร                
โดยการเปิดประมูลแบบอื่นที่คิดว่าน่านำมาใช้แทนระบบสัญญาเดียวนี้มาจาก “สมาคมผู้ค้าปลีกไทย” ซึ่งเบื้องหลังเบื้องลึกคือ ห้างสรรพสินค้าชื่อดัง 1 ในคู่แข่งในการประมูลครั้งนี้ โดยให้สมาคมออกหน้าชกเรื่องรูปแบบการเปิดประมูลแบบอื่น โดยรูปแบบที่ว่าคือ “ระบบสัมปทานแบบหมวดหมู่สินค้า” หรือที่เรียกกันว่า by category  เช่น หมวดเครื่องสำอาง หมวดสุราและบุหรี่ หมวดสินค้าแฟชั่นฯ เพราะจะทำให้มีความหลากหลายของสินค้า ทำให้สินค้าไม่ถูกจำกัด นักท่องเที่ยวมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าที่ตัวเองถูกใจได้มากขึ้น                

ยอมรับตรงๆว่าครั้งแรกที่ได้ยินระบบสัมปทานแบบหมวดหมู่สินค้านี้ก็แอบงงเหมือนกันนะว่ามันคืออะไรแล้วพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิที่ใหญ่โตขนาดนั้นจะกำหนดพื้นที่ให้แต่ละหมวดหมู่สินค้าอย่างไร ซึ่งในส่วนของพื้นที่นี้แหละคือปัญหาหลักๆของระบบนี้ เพราะหากได้พื้นที่ดี มีนักท่องเที่ยวเดินผ่านเยอะจะทำให้เกิดข้อได้เปรียบในเรื่องจำนวนผู้โดยสาร ปริมาณการขาย รายได้ การลงทุนสต๊อกสินค้าที่แตกต่างกันแน่นอน                

ยิ่งพอมาอ่านเจอนักวิชาการรวมถึงผู้ประกอบการหลายๆรายมาช่วยวิเคราะห์ด้วยแล้วเมื่อมองลึกลงไปอีก ถึงเหตุผลที่มีการรวมสัญญาพื้นที่ดิวตี้ฟรีของ 4 สนามบินคือ สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่, ภูเก็ต และ หาดใหญ่ แล้ว ทำให้เข้าใจโดยทันทีว่า นี่คือการกระจายความเสี่ยงในเชิงธุรกิจ เพราะสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ12,000-15,000 ตารางเมตร มีส่วนแบ่งของยอดขายประมาณ 80 กว่าเปอร์เซนต์ ขณะที่อีก 3 สนามบินที่เหลือ มีพื้นที่ขนาดเล็ก ประมาณ 1,000-1,200 ตารางเมตร มียอดขายน้อย ยกตัวอย่าง สนามบินเชียงใหม่กับภูเก็ต มียอดขายรวมกันประมาณ 18% ส่วนสนามบินหาดใหญ่ไม่ต้องพูดถึง มีน้อยมาก แค่ 0.04% หากว่ากันตรงๆ ก็คือ ใครประมูลได้ก็เข้าเนื้อ รอขาดทุนแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่ผู้โดยสารที่ใช้สนามบินเหล่านี้ จะได้ซื้อสินค้าแบรนด์เนมชื่อดังก็เป็นศูนย์ การรวม 4 สนามบินเข้าด้วยกัน จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้ และเปิดโอกาสให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการ ได้รับโอกาสที่ทัดเทียมกัน                  

พอหาข้อมูลจากหลายๆที่แล้ว การประมูลแบบสัญญาเดียวให้ผลลัพธ์ทางการแข่งขันที่ดีกว่า ในขณะที่รูปแบบสัมปทานแบบหมวดหมู่สินค้านี่มีความเป็นไปได้ในการทำน้อยมาก เพราะช่องโหว่ในเชิงการแข่งขันของพื้นที่สูง หากได้พื้นที่ไม่ดีเปอร์เซ็นต์ขาดทุนสูงมากแน่นอน ซึ่งพอข่าวจากหลายๆที่ออกมา แสดงให้เห็นถึง “กึ๋น” ของ ทอท. ว่าทำการบ้านเรื่องระบบนี้มาเป็นอย่างดี และในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึง “ความไม่ประสีประสา” และ “ขาดประสบการณ์” ของผู้เสนอสัมปทานรูปแบบนี้ เพราะอาจใช้ได้จริงในพื้นที่อื่น แต่รูปแบบที่ถูกต้องควรใช้ปัจจัยหลายๆอย่าง เช่นปัจจัยพื้นที่ มาให้วิเคราะห์ด้วยว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ เอาเป็นว่าถ้าข้อมูลเท่าที่มีตอนนี้ จขกท.คนนึงที่ยกมือให้รูปแบบสัญญาเดียวแน่นอน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่