ล่าสุดทางด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซี.พี.) กล่าวว่า
“พันธมิตรทั้งไทย และต่างประเทศ ยังไม่มีกลุ่มใดตัดสินใจถอนตัวออกจากโครงการนี้ เพียงแต่อาจจะมีข้อกังวลบ้างเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยอะไรได้จริงๆ”
จากแหล่งข่าวของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ระบุว่า
"12 พันธมิตรที่ “ซี.พี.” จะต้องกล่อม มีทั้งระดับแถวหน้าของประเทศไทย และระดับโลก ได้แก่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า คอนสตรักชั่น คอร์ปอเรชั่น จากประเทศจีน, บมจ.ช.การช่าง, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM, กลุ่มองค์กรความร่วมมือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการพัฒนาเมืองในต่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ JOIN, บจ.ซิติกกรุ๊ป จากประเทศจีน, บจ.ไชน่า รีเสิร์ช (โฮลดิ้งส์) จากประเทศจีน, บจ.ซีเมนส์ จากประเทศเยอรมนี, บจ.ฮุนได จากประเทศเกาหลี, บจ.Ferrovie dello Stato Italiane (FS) จากประเทศอิตาลี, บจ.CRRC-Sifang จากประเทศจีน และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC ประเทศญี่ปุ่น"
ทำให้หลายคนที่รอลุ้นโครงการนี้ตัวโก่งว่า ทางซีพีจะเอา หรือไม่เอาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) กันแน่ เพราะตั้งแต่ที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือรฟท. เปิดเผยรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกซองที่ 3 ทั้ง กลุ่มบริษัทร่วมค้า เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร และกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture : BSR JV) ที่มี BTS เป็นแกนนำตั้งแต่เมื่อปลายปี 2561
ในวันนี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมาจากทั้งสองกลุ่ม ที่ทางรฟท. ประกาศว่าผ่านข้อเสนอในซองที่ 1, 2 และ 3 ทั้งคู่
(ตามข่าวลือ อ้างว่า) ทางกลุ่มซีพี เสนอขอเงินให้รัฐบาลสนับสนุนเพียง 117,227 ล้านบาท
ต่ำกว่าที่รัฐบาลเสนอให้ 2,198 ล้านบาท (รัฐอนุมัติไว้ที่ 119,425 ล้านบาท)
(ตามข่าวลือ อ้างว่า) กลุ่ม BSR เสนอให้รัฐสนับสนุนที่ 169,934 ล้านบาท
สูงกว่าที่รัฐเสนอ 50,509 ล้านบาท (รัฐอนุมัติไว้ที่ 119,425 ล้านบาท)
ล่าสุด สำนักข่าวหลายสำนักได้ตั้งข้อสังเกตถึง
ข่าวลือ ที่หลุดออกมาจากห้องประชุมในช่วงก่อนหน้านี้ และประเด็นดังกล่าวได้ถูกสังคมนำไปวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา ทั้งที่ข้อมูลในห้องประชุมควรจะเป็นความลับระหว่างผู้เจรจาทั้งสองฝ่ายเท่านั้น แต่ทำไมถึงมีข้อมูลเรื่องตัวเลข และข้อเสนอต่างๆ หลุดออกมาได้
บางสื่อก็ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า "การที่จะเรียกกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ซึ่งเสนอให้รัฐสนับสนุนเกินกว่ากรอบที่กำหนดนั้น ทำไมถึงผ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทน (ซองที่ 3) จะถือว่าผิดเงื่อนไข TOR หรือไม่" เพราะการคำนวณผลประโยชน์ที่ภาครัฐได้รับ และการขอรับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ เป็นหนึ่งในข้อกำหนดตามเอกสารเชิญชวนของทางการรถไฟแห่งประเทศไทย
ซึ่งโครงการในระดับเมกะโปรเจคระดับโลกครั้งแรกของไทยมูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ที่มีความเสี่ยงในเรื่องของระยะเวลาสัมปทานที่รัฐยื่นเสนอให้ 50 ปี แต่เวลาที่เอกชนจะได้ทุนค่าก่อสร้างคืนก็เกือบปีที่ 30 - 40 (จากกรณีของรถไฟความเร็วสูงของประเทศไต้หวัน) หากบริหารผู้โดยสารได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้เท่านั้น
ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตา คือ การเจรจาดีลสุดท้ายวันที่ 19 มีนาคมนี้ ระหว่าง ร.ฟ.ท.กับ กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ผลจะออกมาเป็นอย่างไร
แต่สิ่งที่ทุกฝ่ายควรตระหนัก คือ โครงการที่เกิดขึ้นเพื่อประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ
EEC - นับถอยหลังไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ไปต่อ หรือต้องพับโครงการ ?
“พันธมิตรทั้งไทย และต่างประเทศ ยังไม่มีกลุ่มใดตัดสินใจถอนตัวออกจากโครงการนี้ เพียงแต่อาจจะมีข้อกังวลบ้างเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยอะไรได้จริงๆ”
จากแหล่งข่าวของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ระบุว่า
"12 พันธมิตรที่ “ซี.พี.” จะต้องกล่อม มีทั้งระดับแถวหน้าของประเทศไทย และระดับโลก ได้แก่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า คอนสตรักชั่น คอร์ปอเรชั่น จากประเทศจีน, บมจ.ช.การช่าง, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM, กลุ่มองค์กรความร่วมมือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการพัฒนาเมืองในต่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ JOIN, บจ.ซิติกกรุ๊ป จากประเทศจีน, บจ.ไชน่า รีเสิร์ช (โฮลดิ้งส์) จากประเทศจีน, บจ.ซีเมนส์ จากประเทศเยอรมนี, บจ.ฮุนได จากประเทศเกาหลี, บจ.Ferrovie dello Stato Italiane (FS) จากประเทศอิตาลี, บจ.CRRC-Sifang จากประเทศจีน และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC ประเทศญี่ปุ่น"
ทำให้หลายคนที่รอลุ้นโครงการนี้ตัวโก่งว่า ทางซีพีจะเอา หรือไม่เอาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) กันแน่ เพราะตั้งแต่ที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือรฟท. เปิดเผยรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกซองที่ 3 ทั้ง กลุ่มบริษัทร่วมค้า เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร และกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture : BSR JV) ที่มี BTS เป็นแกนนำตั้งแต่เมื่อปลายปี 2561
ในวันนี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมาจากทั้งสองกลุ่ม ที่ทางรฟท. ประกาศว่าผ่านข้อเสนอในซองที่ 1, 2 และ 3 ทั้งคู่
(ตามข่าวลือ อ้างว่า) ทางกลุ่มซีพี เสนอขอเงินให้รัฐบาลสนับสนุนเพียง 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่าที่รัฐบาลเสนอให้ 2,198 ล้านบาท (รัฐอนุมัติไว้ที่ 119,425 ล้านบาท)
(ตามข่าวลือ อ้างว่า) กลุ่ม BSR เสนอให้รัฐสนับสนุนที่ 169,934 ล้านบาท สูงกว่าที่รัฐเสนอ 50,509 ล้านบาท (รัฐอนุมัติไว้ที่ 119,425 ล้านบาท)
ล่าสุด สำนักข่าวหลายสำนักได้ตั้งข้อสังเกตถึง ข่าวลือ ที่หลุดออกมาจากห้องประชุมในช่วงก่อนหน้านี้ และประเด็นดังกล่าวได้ถูกสังคมนำไปวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา ทั้งที่ข้อมูลในห้องประชุมควรจะเป็นความลับระหว่างผู้เจรจาทั้งสองฝ่ายเท่านั้น แต่ทำไมถึงมีข้อมูลเรื่องตัวเลข และข้อเสนอต่างๆ หลุดออกมาได้
บางสื่อก็ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า "การที่จะเรียกกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ซึ่งเสนอให้รัฐสนับสนุนเกินกว่ากรอบที่กำหนดนั้น ทำไมถึงผ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทน (ซองที่ 3) จะถือว่าผิดเงื่อนไข TOR หรือไม่" เพราะการคำนวณผลประโยชน์ที่ภาครัฐได้รับ และการขอรับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ เป็นหนึ่งในข้อกำหนดตามเอกสารเชิญชวนของทางการรถไฟแห่งประเทศไทย
ซึ่งโครงการในระดับเมกะโปรเจคระดับโลกครั้งแรกของไทยมูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ที่มีความเสี่ยงในเรื่องของระยะเวลาสัมปทานที่รัฐยื่นเสนอให้ 50 ปี แต่เวลาที่เอกชนจะได้ทุนค่าก่อสร้างคืนก็เกือบปีที่ 30 - 40 (จากกรณีของรถไฟความเร็วสูงของประเทศไต้หวัน) หากบริหารผู้โดยสารได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้เท่านั้น
ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตา คือ การเจรจาดีลสุดท้ายวันที่ 19 มีนาคมนี้ ระหว่าง ร.ฟ.ท.กับ กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี ผลจะออกมาเป็นอย่างไร