คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
มีทฤษฎียุทธศาสตร์การควบคุมเศรษฐกิจโลก ว่าใครสามารถครอบครองศูนย์กลางการคมนาคม คนนั้นคือผู้กุมเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงเกิดยุทธศาสตร์แยกเป็นสองสายคือ Rim land กับ Heart land
Rim land คือการครอบครองเส้นทางขนส่งทางทะเล และมีอิทธิพลเหนือดินแดนรัฐชายฝั่งส่วนใหญ่ ผู้ที่ดำเนินตามยุทธศาสตร์นี้คือ สหรัฐ
Heart land คือการครอบครองเส้นทางขนส่งใจกลางทวีป โดยมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐชายฝั่งส่วนใหญ่ เหมาะกับรัสเซียสมัยสหภาพโซเวียต
จริงๆแล้ว Heart land ได้เปรียบ Rim land เพราะการขนส่งทางบกมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการขนส่งทางเรือ เนื่องจากเป็น door to door โดยตรง จึงมีค่าขนส่งที่แท้จริงต่ำกว่า ส่วนการขนส่งทางเรือนั้น ออกจากต้นทาง ต้องขึ้นรถไปลงเรือ แล่นเรืออ้อมไปอ้อมมาตามชายฝั่ง จากเรือขึ้นรถไปส่งปลายทาง เสียทั้งเวลาและค่าเปลี่ยนถ่ายพาหนะหลายทอด มีท่าเรือเป็นคอขวดอุปสรรค จึงมีค่าขนส่งที่แท้จริงสูงกว่าการขนส่งทางบก Heart land จึงได้เปรียบ แต่ทว่าไม่มีการพัฒนา เพราะโซเวียตไม่ค่อยมีหัวคิดทางด้านการบริหาร สหรัฐที่ควบคุม Rim Land อยู่ก็เลยยังไม่มีคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามตอนนี้จีนกำลังเริ่มยุทธศาสตร์ Heart land เป็นโครงการใหญ่ โดยคิดจะทำทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อเครือข่ายประเทศชายฝั่งเอเชียทั้งหมดเข้าหากันโดยมีจีนเป็นจุดศูนย์กลางของเอเชียตะวันออก เชื่อมต่อเข้ากับรัสเซีย และมีแผนจะเชื่อมต่อถึงสหรัฐโดยอุโมงค์ใต้ทะเลลอดช่องแคบแบริ่งไปสู่อลาสก้า ถ้าจีนพัฒนาได้ตามฝัน ต่อไปสินค้าจากโรงงานไทยจะส่งทางรถไฟได้จนถึงลอนดอนหรือนิวยอร์คในเวลาที่สั้นกว่าเรืออย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า
ส่วนไทยก็มีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ Heart land ในระดับภูมิภาคอินโดจีน ใครๆก็รู้ว่าประเทศของเรามีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบ แต่เรากลับไปหลงเดินตามก้นสหรัฐที่เป็นยุทธศาสตร์ Rim land เราไปงมงายอยู่กับคอคอดกระ ท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่ง เพื่อผูกประเทศเข้าอยู่ในเครือข่าย Rim land ของสหรัฐ อย่างไรก็พอถึงยุคทักษิณ รัฐบาลก็เริ่มเปลี่ยนเข้าหายุทธศาสตร์ Heart land โดยผลักดันนโยบาย Land bridge ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน พ่วงต่อเข้ากับจีนที่เป็น hub ใหญ่ของเอเชียตะวันออก และต่อเข้ากับรัสเซียที่เป็น hub ใหญ่ของยุโรป-เอเชีย แต่ถูกปฏิวัติเสียก่อน
หลังจากทักษิณถูกปฏิวัติไม่นาน สิงคโปร์ก็พยายามจะดำเนินยุทธศาสตร์ Land bridge แทนที่ไทย โดยยกระดับขึ้นเป็นศูนย์กลางระดับอาเซียน คือรวมฟิลิปปินส์ อินโดฯ บรูไนเข้าไปด้วย โดยจะทำเทอมินัลเฟอรรี่ตู้โบกี้รถไฟ คือรถไฟทั้งตู้โบกี้วิ่งลงเรือเฟอรี่ ที่สร้างเพื่อการขนส่งโบกี้รถไฟโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องถ่ายโดนสินค้าขึ้นลงผ่านท่าเรือ
สรุปคือจริงๆแล้วการขนส่งทางบกนั้นดีกว่าการขนส่งทางทะเล เพียงแต่เครือข่ายการขนส่งทางบกของโลกยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเพียงพอ เรียกว่าเพิ่งจะตั้งไข่ด้วยซ้ำ การขนส่งทางทะเลเลยดูเหมือนดีกว่า เพราะยังไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบ
ดังนั้นถึงแม้จะไม่มีทางออกทะเล แต่ถ้ามีทำเลที่ตั้งเป็น Heart land อาจจะดีกว่าประเทศชายฝั่งซึ่งเป็นได้แค่เครือข่ายของ Rim land
Rim land คือการครอบครองเส้นทางขนส่งทางทะเล และมีอิทธิพลเหนือดินแดนรัฐชายฝั่งส่วนใหญ่ ผู้ที่ดำเนินตามยุทธศาสตร์นี้คือ สหรัฐ
Heart land คือการครอบครองเส้นทางขนส่งใจกลางทวีป โดยมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐชายฝั่งส่วนใหญ่ เหมาะกับรัสเซียสมัยสหภาพโซเวียต
จริงๆแล้ว Heart land ได้เปรียบ Rim land เพราะการขนส่งทางบกมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการขนส่งทางเรือ เนื่องจากเป็น door to door โดยตรง จึงมีค่าขนส่งที่แท้จริงต่ำกว่า ส่วนการขนส่งทางเรือนั้น ออกจากต้นทาง ต้องขึ้นรถไปลงเรือ แล่นเรืออ้อมไปอ้อมมาตามชายฝั่ง จากเรือขึ้นรถไปส่งปลายทาง เสียทั้งเวลาและค่าเปลี่ยนถ่ายพาหนะหลายทอด มีท่าเรือเป็นคอขวดอุปสรรค จึงมีค่าขนส่งที่แท้จริงสูงกว่าการขนส่งทางบก Heart land จึงได้เปรียบ แต่ทว่าไม่มีการพัฒนา เพราะโซเวียตไม่ค่อยมีหัวคิดทางด้านการบริหาร สหรัฐที่ควบคุม Rim Land อยู่ก็เลยยังไม่มีคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามตอนนี้จีนกำลังเริ่มยุทธศาสตร์ Heart land เป็นโครงการใหญ่ โดยคิดจะทำทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อเครือข่ายประเทศชายฝั่งเอเชียทั้งหมดเข้าหากันโดยมีจีนเป็นจุดศูนย์กลางของเอเชียตะวันออก เชื่อมต่อเข้ากับรัสเซีย และมีแผนจะเชื่อมต่อถึงสหรัฐโดยอุโมงค์ใต้ทะเลลอดช่องแคบแบริ่งไปสู่อลาสก้า ถ้าจีนพัฒนาได้ตามฝัน ต่อไปสินค้าจากโรงงานไทยจะส่งทางรถไฟได้จนถึงลอนดอนหรือนิวยอร์คในเวลาที่สั้นกว่าเรืออย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า
ส่วนไทยก็มีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ Heart land ในระดับภูมิภาคอินโดจีน ใครๆก็รู้ว่าประเทศของเรามีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบ แต่เรากลับไปหลงเดินตามก้นสหรัฐที่เป็นยุทธศาสตร์ Rim land เราไปงมงายอยู่กับคอคอดกระ ท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่ง เพื่อผูกประเทศเข้าอยู่ในเครือข่าย Rim land ของสหรัฐ อย่างไรก็พอถึงยุคทักษิณ รัฐบาลก็เริ่มเปลี่ยนเข้าหายุทธศาสตร์ Heart land โดยผลักดันนโยบาย Land bridge ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน พ่วงต่อเข้ากับจีนที่เป็น hub ใหญ่ของเอเชียตะวันออก และต่อเข้ากับรัสเซียที่เป็น hub ใหญ่ของยุโรป-เอเชีย แต่ถูกปฏิวัติเสียก่อน
หลังจากทักษิณถูกปฏิวัติไม่นาน สิงคโปร์ก็พยายามจะดำเนินยุทธศาสตร์ Land bridge แทนที่ไทย โดยยกระดับขึ้นเป็นศูนย์กลางระดับอาเซียน คือรวมฟิลิปปินส์ อินโดฯ บรูไนเข้าไปด้วย โดยจะทำเทอมินัลเฟอรรี่ตู้โบกี้รถไฟ คือรถไฟทั้งตู้โบกี้วิ่งลงเรือเฟอรี่ ที่สร้างเพื่อการขนส่งโบกี้รถไฟโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องถ่ายโดนสินค้าขึ้นลงผ่านท่าเรือ
สรุปคือจริงๆแล้วการขนส่งทางบกนั้นดีกว่าการขนส่งทางทะเล เพียงแต่เครือข่ายการขนส่งทางบกของโลกยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเพียงพอ เรียกว่าเพิ่งจะตั้งไข่ด้วยซ้ำ การขนส่งทางทะเลเลยดูเหมือนดีกว่า เพราะยังไม่มีอะไรมาเปรียบเทียบ
ดังนั้นถึงแม้จะไม่มีทางออกทะเล แต่ถ้ามีทำเลที่ตั้งเป็น Heart land อาจจะดีกว่าประเทศชายฝั่งซึ่งเป็นได้แค่เครือข่ายของ Rim land
แสดงความคิดเห็น
ประเทศ ที่ไม่มีทางออกทะเล ,ไม่ติดทะเล ถือว่าเสียเปรียบประเทศอื่นๆปะครับ
เสียเปรียบ การนำเข้าของทะเลอาหาร สัตว์น้ำที่ราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ