คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
วันนี้มาขอลงรายละเอียด วิธีการสมัคร + เลือกโรงเรียนก่อนนะครับ
อันนี้ผมว่าใช้ได้กับทุกโรงเรียน MBA ที่เราอยากจะเข้าเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิธีการเลือกโรงเรียน MBA ที่เหมาะสมกับเรา
ขั้นแรกคือ List โรงเรียนที่เราอยากเข้าไว้ก่อนเลยครับ ยังไม่ต้องนึกทั้งนั้นว่า เราจะเข้าได้ไหม
เขาจะรับเราไหม เอาเท่าที่เรานึกออกเลยครับ ด้านล่างเป็นลิสต์ที่ผมทำไว้เอง เอาจริงๆ มันยาวกว่านี้ครับ
ใส่ข้อมูลที่จำเป็นไว้ทั้งหมดเท่าที่จะสามารถทำได้ครับ เวลามาดูจะได้ไม่ต้องไปเสิชหาซ้ำ ๆ
หลายคนสงสัยทำไมต้องลิสต์อันที่เราเอื้อมไม่ถึงไว้ด้วยล่ะ
--- อันนี้เพื่อที่ให้เราขุดความพยายามออกมาครับ ว่าเราอยากเข้า ทำไมไม่ลองสักตั้ง ผมว่าทุกคนมีไฟในตัวครับ เราอย่าให้ไฟมอด
พอได้ลิสต์บางส่วนมาแล้วมาดูเกณฑ์ที่เราสามารถเข้ากับโรงเรียนกัน
โดยทั่วไปแล้วเนี่ย โปรแกรม MBA ดูคุณสมบัติพื้นฐาน 6 อย่าง + + (ข้อกำหนดอื่นอย่าง เรื่องความหลากหลายขอแยกไว้คิดอีกส่วนครับ เพราะขึ้นกกับแต่ละโรงเรียน)
คือ
1. อายุ อายุของผู้สมัครเอง เปรียบเทียบกับอายุเฉลี่ยของนักเรียนที่จะเข้าเรียน อายุมาก ๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
2. ประสบการณ์การทำงาน เป็นประสบการณืที่สร้างประโยชน์ หรือมีความสามารถที่จะทำชื่อเสียงให้โรงเรียนได้ในอนาคต
3. การสัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารได้หรือไม่ หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมแล้วสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมชั้นได้หรือไม่
4. เรียงความ มีความคิดเหมาะสมกับโรงเรียนหรือไม่ มีความสามารถในการเล่าเรื่องหรือทำให้คนสนใจได้มากแค่ไหน ความสามารถในการเขียนการบ้านส่งหลังจากเข้าเรียนแล้ว
5. GPA ที่ผ่านมามีผลการเรียนอย่างไร ถ้าได้ไม่เยอะมาก จำเป็นต้องอธิบายในการสัมภาษณ์หรือ การเขียนเรียงความ หลังจากนี้ใช้ประเมินว่าจะเข้ามาแล้วเรียนตามเพื่อนหรือเรียน coursework ได้ทันไหม
6. GMAT ความสามารถพื้นฐานก่อนเข้าเรียน มีมากน้อยแค่ไหน ความเข้าใจด้านการคำนวณ และตรรกะความคิด
ปล. สำหรับเรานักเรียนต่างด้าว และไม่ค่อยเทพภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่
7. (อันนี้เพิ่มเอง )ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS / TOEFL ไม่สามารถใช้ TOEIC ได้ครับ
โรงเรียนของแต่ละที่มีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน แต่จะพอเข้าใจได้สองแบบคือ
1. US จะให้คะแนนกับ GMAT เยอะมาก ๆ เพราะคลาสใหญ่ รับคนเยอะ + อายุน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่น ๆ
2. Non-US ให้คะแนนประสบการณ์ อายุ และ การสัมภาษณ์มากกว่า ไม่ค่อยสน GMAT มากนัก
ในรูปตรงกลางเราก็จะทำของเราออกมาเปรียบเทียบว่าโปรไฟล์ของเรามันFit กับฝั่งไหนมากกว่ากันครับ
จะเห็นได้ชัดเลยว่า ของคน ๆ นี้เหมาะกับโรงเรียนฝั่ง NON-US มากกว่า
หลังจากที่เราเลือกฝั่งและรู้คุณสมบัติที่ต้องการคร่าว ๆ แล้ว เราจะมา Shape โปรไฟล์ของเราให้ตรงกับความต้องการของมหาวิทยาลัยกันครับ
บางคนใช้เวลา 1-2 ปีเพื่อสร้างตัวตนให้ตรงกับโรงเรียนครับ
ข้อสำคัญตรงนี้เราห้ามข้ามขั้นตอนครับ ให้มองเห็นเป้าหมายที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น เคลียร์ทีละอย่าง เหมือนเราขึ้นภูเขาทีละลูก
ที่ผมแนะนำคือ
1. สอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษ →เราจะไม่สามารถไปต่อได้เลยถ้าความสามารถภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ
2. สอบ GMAT → เราจะไม่สามารถfocus เรื่องราวที่อยากนำเสนอให้โรงเรียนได้ถ้าเราไม่ผ่านเงื่อนไข
3. การเขียนESSAY, SOP ขั้นตอนนี้ใช้เวลามาก เพราะมันคือตัวตนของเรา จะอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเขียนละเอียดทีหลังครับ
4. การสอบสัมภาษณ์ เตรียมหลังจากเราส่ง ESSAY ให้โรงเรียนแล้ว โรงเรียนมักจะถามคำถามจาก ESSAY เรา แต่คำถามที่ไม่เกี่ยวเลยก็มี
แน่นอนว่าการที่เราจะไต่ภูเขาแต่ละลูก เราจำเป็นต้องมีเวลา และเครื่องมือ คราวหน้าผมจะมาต่อครับ
อันนี้ผมว่าใช้ได้กับทุกโรงเรียน MBA ที่เราอยากจะเข้าเลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิธีการเลือกโรงเรียน MBA ที่เหมาะสมกับเรา
ขั้นแรกคือ List โรงเรียนที่เราอยากเข้าไว้ก่อนเลยครับ ยังไม่ต้องนึกทั้งนั้นว่า เราจะเข้าได้ไหม
เขาจะรับเราไหม เอาเท่าที่เรานึกออกเลยครับ ด้านล่างเป็นลิสต์ที่ผมทำไว้เอง เอาจริงๆ มันยาวกว่านี้ครับ
ใส่ข้อมูลที่จำเป็นไว้ทั้งหมดเท่าที่จะสามารถทำได้ครับ เวลามาดูจะได้ไม่ต้องไปเสิชหาซ้ำ ๆ
หลายคนสงสัยทำไมต้องลิสต์อันที่เราเอื้อมไม่ถึงไว้ด้วยล่ะ
--- อันนี้เพื่อที่ให้เราขุดความพยายามออกมาครับ ว่าเราอยากเข้า ทำไมไม่ลองสักตั้ง ผมว่าทุกคนมีไฟในตัวครับ เราอย่าให้ไฟมอด
พอได้ลิสต์บางส่วนมาแล้วมาดูเกณฑ์ที่เราสามารถเข้ากับโรงเรียนกัน
โดยทั่วไปแล้วเนี่ย โปรแกรม MBA ดูคุณสมบัติพื้นฐาน 6 อย่าง + + (ข้อกำหนดอื่นอย่าง เรื่องความหลากหลายขอแยกไว้คิดอีกส่วนครับ เพราะขึ้นกกับแต่ละโรงเรียน)
คือ
1. อายุ อายุของผู้สมัครเอง เปรียบเทียบกับอายุเฉลี่ยของนักเรียนที่จะเข้าเรียน อายุมาก ๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
2. ประสบการณ์การทำงาน เป็นประสบการณืที่สร้างประโยชน์ หรือมีความสามารถที่จะทำชื่อเสียงให้โรงเรียนได้ในอนาคต
3. การสัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารได้หรือไม่ หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมแล้วสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมชั้นได้หรือไม่
4. เรียงความ มีความคิดเหมาะสมกับโรงเรียนหรือไม่ มีความสามารถในการเล่าเรื่องหรือทำให้คนสนใจได้มากแค่ไหน ความสามารถในการเขียนการบ้านส่งหลังจากเข้าเรียนแล้ว
5. GPA ที่ผ่านมามีผลการเรียนอย่างไร ถ้าได้ไม่เยอะมาก จำเป็นต้องอธิบายในการสัมภาษณ์หรือ การเขียนเรียงความ หลังจากนี้ใช้ประเมินว่าจะเข้ามาแล้วเรียนตามเพื่อนหรือเรียน coursework ได้ทันไหม
6. GMAT ความสามารถพื้นฐานก่อนเข้าเรียน มีมากน้อยแค่ไหน ความเข้าใจด้านการคำนวณ และตรรกะความคิด
ปล. สำหรับเรานักเรียนต่างด้าว และไม่ค่อยเทพภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่
7. (อันนี้เพิ่มเอง )ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS / TOEFL ไม่สามารถใช้ TOEIC ได้ครับ
โรงเรียนของแต่ละที่มีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน แต่จะพอเข้าใจได้สองแบบคือ
1. US จะให้คะแนนกับ GMAT เยอะมาก ๆ เพราะคลาสใหญ่ รับคนเยอะ + อายุน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่น ๆ
2. Non-US ให้คะแนนประสบการณ์ อายุ และ การสัมภาษณ์มากกว่า ไม่ค่อยสน GMAT มากนัก
ในรูปตรงกลางเราก็จะทำของเราออกมาเปรียบเทียบว่าโปรไฟล์ของเรามันFit กับฝั่งไหนมากกว่ากันครับ
จะเห็นได้ชัดเลยว่า ของคน ๆ นี้เหมาะกับโรงเรียนฝั่ง NON-US มากกว่า
หลังจากที่เราเลือกฝั่งและรู้คุณสมบัติที่ต้องการคร่าว ๆ แล้ว เราจะมา Shape โปรไฟล์ของเราให้ตรงกับความต้องการของมหาวิทยาลัยกันครับ
บางคนใช้เวลา 1-2 ปีเพื่อสร้างตัวตนให้ตรงกับโรงเรียนครับ
ข้อสำคัญตรงนี้เราห้ามข้ามขั้นตอนครับ ให้มองเห็นเป้าหมายที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น เคลียร์ทีละอย่าง เหมือนเราขึ้นภูเขาทีละลูก
ที่ผมแนะนำคือ
1. สอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษ →เราจะไม่สามารถไปต่อได้เลยถ้าความสามารถภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ
2. สอบ GMAT → เราจะไม่สามารถfocus เรื่องราวที่อยากนำเสนอให้โรงเรียนได้ถ้าเราไม่ผ่านเงื่อนไข
3. การเขียนESSAY, SOP ขั้นตอนนี้ใช้เวลามาก เพราะมันคือตัวตนของเรา จะอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเขียนละเอียดทีหลังครับ
4. การสอบสัมภาษณ์ เตรียมหลังจากเราส่ง ESSAY ให้โรงเรียนแล้ว โรงเรียนมักจะถามคำถามจาก ESSAY เรา แต่คำถามที่ไม่เกี่ยวเลยก็มี
แน่นอนว่าการที่เราจะไต่ภูเขาแต่ละลูก เราจำเป็นต้องมีเวลา และเครื่องมือ คราวหน้าผมจะมาต่อครับ
แสดงความคิดเห็น
รีวิวสมัครและสอบ MBA ในญี่ปุ่น + รายละเอียดเพื่อขอทุน MEXT แบบ University Recommendation
เนื่องจากว่าช่วงก่อน หาข้อมูล หาอ่านรีวิประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้น้อยเลยอยากจะแชร์ของตัวเองครับ
เหตุผลที่ตัดสินใจอยากเรียนต่อ MBA เลยมีอย่างเดียวครับ คือ เพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกย่อ ๆ ว่า Career UP
จากเท่าที่ทำงานในญี่ปุ่นมา จริงอยู่ที่ว่าองค์กรญี่ปุ่นส่วนมากให้ความสำคัญกับผลงาน มากกว่าการเลื่อนตำแหน่งโดยการย้ายงาน แต่ในยุคปัจจุบันความคิดในเรื่องนี้เริ่มลดน้อยลงไปมากครับ บริษัทจัดหางานก็ผุดขึ้นมามากมาย คนใช้บริการ คนที่เปลี่ยนงานมีมากขึ้นเป็นประวัติการณ์
พอคิดว่าอยากเรียนต่อ ก็เริ่มหาข้อมูลครับ
1. คำถามแรกคือจะเลือกเรียนที่ไหน ?
จริง ๆ แล้วผมหาไว้หลายที่ครับ ลิสต์ทุกที่ ๆ เรานึกออก
แต่ในญี่ปุ่นผมแยกไว้สองส่วน
ฝั่งคันโต - ง่ายต่อการทำคอนเนคชั่นทางธุรกิจที่สุด จุดศูนย์กลางเศรษฐกิจ ของเอเชียรองจากปักกิ่ง
1. มหาวิทยาลัยเคโอ
2. มหาวิทยาลัยฮิโตทสึบาชิ
3. มหาวิทยาลัยวาเซดะ
ฝั่งอื่น ๆ นอกจากคันโต - ความเป็นอยู่ดี เมืองไม่วุ่นวาย คมนาคมที่ญี่ปุ่นสะดวกอยู่แล้ว อยู่ไกลหน่อยก็ไม่เป็นปัญหา
1. มหาวิทยาลัยเกียวโต
2. มหาวิทยาลัยโกเบ
ควรจะเลือกมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงครับ เพราะ 1. ทุนเยอะ 2. ศิษย์เก่าเยอะ 3. โอกาสเยอะ 4.เน็ตเวิร์ค
2. จากนั้น มาดูว่าอยากได้เรียนเป็นภาษาอะไร ภาษาญี่ปุ่น หรือ ภาษาอังกฤษ
หากต้องการเรียนภาษาญี่ปุ่น เราควรจะมี JLPT ขั้นต่ำ N1 ครับ
มหาวิทยาลัยแต่ละมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์การรับไม่เหมือนกันครับ บางมหาวิทยาลัยก็จะรับเหมือนคนญี่ปุ่น
แต่มากกว่า 90 % เป็นเกณฑ์การรับแบบพิเศษ
ตัวผมเอง เลือกเรียนแบบภาษาอังกฤษครับ อย่างน้อยการคัดเลือกเข้าไปใช้เกณฑ์แบบเดียวกัน
แล้วก็รู้สึกเข้าใจในเนื้อหามากกว่า แถมในอนาคตอยากทำงานในระดับที่เป็น Global มากขึ้น
3. มหาวิทยาลัยที่เรียนเป็น มหาวิทยาลัยรัฐ - เอกชน
ค่าเทอมของมหาวิทยาลัยรัฐบาลตกปีละ 677,500 เยน ตกประมาณ 190,000 บาท ต่อปี
ค่าเทอมของมหาวิทยาลัยเอกชนตกปีละ 1,863,300 เยน ตกประมาณ 520,000 บาท ต่อปี
เนื่องจากเบี้ยน้อย คงต้องเรียน มหาวิทยาลัยรัฐ ซืงมหาวิทยาลัยรัฐมี 2 ที่ ที่เปิดเป็นภาษาอังกฤษคือ ม.เกียวโต กับ ม.ฮิโตะทสึบาชิ (ขอย่อเหลือฮิโต)
โปรแกรมของ ม.เกียวโตเด่นทางด้าน Project Management
ส่วนของฮิโตเป็นด้าน Strategy ก็หาข้อมูลมาเพิ่มเติม เพราะสนใจฮิโตเป็นพิเศษ
ข้อดีคือ
1. อยู่กลางโตเกียว ที่ Chiyoda-Ku เลยครับ เดินจากสถานีโตเกียว 10 นาที
2. เป็นม.ด้านสังคมศาสตร์เต็มตัว อารมณ์ LSE ของญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยด้านบริหารการค้า และเศรษฐศาสตร์ แรกของญี่ปุ่น
3. เป็น ม.รัฐ ค่าเรียนถูกกว่า เพิ่มนิดหน่อยจากเรียน มธ หรือ พอ ๆ กันกับ ABAC ในไทย
4. จำนวนนักเรียนรับเข้าในแต่ละปีอยู่ที่ 35-50 คน นักเรียนกว่าครึ่งเป็นนักเรียนทุน YLP ของ MEXT
(ทุนนี้ให้เดือนละ 260,000 เยนต่อเดือนเลยทีเดียว) ที่มาจากแต่ละประเทศ
5. อัตราส่วนต่ออาจารย์ที่ปรึกษาน้อย
6. ความมีตัวตนของBschool ของฮิโต มีมากกว่าเพราะเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่อยู่ใน GNAM (เครือข่ายโรงเรียนด้าน Business ทั่วโลก) การจัดอันดับ QS ล่าสุด ก็เป็น อันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น (อันดับที่ 14 ของเอเชีย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
7. ยืดหยุ่น จะเรียนจบภายใน 1 ปี หรือจะเรียน 2 ปี เพื่อหา Internship / Double degree (ตอนนี้มีโค 3 ที่ คือ Seoul National University, Peking University, Yale University)ต่อได้ หรือจะทำ Exchange ต่อพร้อม internship ก็ได้
รวมถึงลองไปเข้าร่วมกิจกรรม OPEN CAMPUS และ Class Observation แล้ว
ผมจึงตัดสินใจเลือกสมัครของ ฮิโตทสึบาชิครับ
ใครสนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิ้งค์ของโรงเรียนได้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลังจากเลือกโรงเรียนแล้ว ต่อไปก็เป็นการยื่นสมัครเข้าเรียน
ทางเลือกสำหรับคนไทยเลยก็มี 2 แบบ คือ
1. สมัครเข้าทุน YLP มาจากไทย
2. สมัครกับมหาลัยโดยตรง แล้วขอทุนทีหลัง
แน่นอนครับว่าผมเลือกตัวเลือกที่ 2 เพราะทุน YLP ทุนนี้ไทยเรามีโควต้า แค่ 1 ทุน ถึงเราอยู่ไทยเราก็ไม่ได้แน่นอน
เพราะเกณฑ์ของสถานฑูตไทยคือต้องเรียนตรงสายเดิมที่จบตอนปริญญาตรีมา ผมไม่ได้จบสายตรงด้านบริหารมา
ยังไงจะให้ตรงข้อนี้น่าจะยาก แถมได้เรียนแค่ 1 ปี เรียนก็หนัก คิดว่าน่าจะเที่ยวได้น้อย จะหางานต่อ ทำงานต่อที่ญี่ปุ่นก็ทำได้ยากครับ
(เพราะแค่เรียนก็ยากแล้ว ยิ่งหาเวลาไปสัมภาษณ์งาน เตรียมเอกสารสมัครงานก็ไม่ใช่ง่าย ๆ ครับ)
ส่วนข้อสองนั้น ลองสมัครเองดูเลย คนที่ประเมินก็เป็นคนจากโรงเรียนเอง ซึ่งเป็นจุดที่บอกทุกอย่างว่าสุดท้ายเราเหมาะสมกับโรงเรียนหรือเปล่า
แถมได้สิทธิ์เลือกโปรแกรม 2 ปีได้ด้วย ได้ใบตอบรับแล้วเราค่อยไปไฟท์ขอทุนอื่นอีกที
สิ่งที่สำคัญเลยก็หนีไม่พ้น Work Experience ขั้นต่ำ 3 ปี หรือ 36 เดือนถ้ามีไม่พอก็ต้องรอเท่านั้นครับ
เน้นที่ต้องมีเพิ่มเติมนอกจากพวกใบเกรด เอกสารสมัครนะครับ
1. คะแนน GMAT - ไม่มีขั้นต่ำ แต่ควรมากกว่า 600
2. ผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL IBT 100 หรือ IELTS 7.0 ขึ้นไป
3. เรียงความ ขึ้นอยู่กับโรงเรียน คำถามเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี มีประกาศคำถามตั้งแต่ก่อนรับสมัคร
4. จดหมายแนะนำ จากหัวหน้า หรืออาจารย์ 2 ฉบับ ทางมหาวิทยาลัยมีฟอร์ม คล้ายแบบสอบถามให้ครับ
ฟอร์มไม่มีการเปลี่ยนแปลงครับ
5. ไม่มีกำหนดเรื่อง GPA
6. ค่าสมัครสอบ 30,000 เยน
ฮิโตจะเปิดให้สมัคร 2 รอบ
รอบที่ 1 Deadline วันศุกร์ทำการแรกของเดือนมกรา
ประกาศผลรอบเอกสารกลางเดือน และสัมภาษณ์ 2 สัปดาห์หลังจากประกาศผลครับ
ผลFinal Decision กลางเดือน กุมภา
รอบที่ 2 Deadline วันศุกร์ทำการแรกของเดือนมีนา
ประกาศผลรอบเอกสารกลางเดือน และสัมภาษณ์ 2 สัปดาห์หลังจากประกาศผลครับ
ผลFinal Decision กลางเดือน เมษา
เริ่มเรียน Fall Term ต้นเดือนกันยายนครับ
**แนะนำให้สมัครในรอบแรก เพราะเราจำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำหรับยื่นทุนครับ
และผลFinal Decision รอบ 2 จะไม่ทันรอบการพิจารณาทุนของ MEXT ครับ
มหาลัยในญี่ปุ่นทุกมหาวิทยาลัยจะยื่นรายชื่อนักเรียนที่ต้องการให้ทุน ภายในต้นเดือนเมษายนครับ
ทางมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องตรวจสอบเอกสารขอทุนการศึกษาก่อนในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนา
คราวหน้าจะมาแชร์เรื่องวิธีการเตรียมเอกสารต่าง ๆ การเขียนเรียงความ และการเตรียมตัวสัมภาษณ์ครับ
ใครมีคำถามเพิ่มเติมถามได้เลยครับ ไม่ต้องเกรงใจ และยินดีแบ่งปันประสบการณ์ครับ
ตอนนี้รอผล MEXT รอบ University Recommendation อยู่ครับ ผลออกเดือน กค. คาดการณ์น่าจะช่วงกลางเดือนครับ
วันหลังจะมาแชร์เกี่ยวกับการเตรียมเอกสารต่าง ๆ การเตรียมตัวสัมภาษณ์ การเตรียมเอกสารทุน University Recommendation