การมาเยือนประเทศไทยของ นายทาดาชิ มาเอดะ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ เจบิก (Japan Bank for International Cooperation: JBIC) ในครั้งนี้ ได้พบปะหารือกับทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี รวมถึงรัฐมนตรีหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น กระทรวงคมนาคม ถือว่าเป็นการมาที่มีความหมายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี หลัก ๆ ก็คือ
1. เป็นการมาในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ขณะที่การเจรจาต่อรองในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกำลังถึงจุดไคลแม็กซ์ จากการที่ฝ่ายรัฐโดยรฟท. กำลังบีบซีพีต้องให้คำตอบว่าจะยอมรับความเสี่ยงทำโครงการนี้ หรือจะถอนตัว
- การที่เจบิกออกตัวยืนยันว่า พร้อมให้การสนับสนุนทางการเงินกับโครงการนี้ตามเงื่อนไขในร่าง TOR เท่ากับเป็นการชี้ทางออกของปัญหา (หากคุยกันดี ๆ หรือรัฐออกหน้าให้ เจบิกมีสิทธิลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมให้กับซีพี ในอัตราที่เท่ากับหรือพอ ๆ กับอัตราที่รัฐกู้เองด้วยซ้ำไป ถือเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของซีพีก็ว่าได้ และกลาย ๆ ว่าเป็นการเปิดทางให้รัฐแสดงศักยภาพของความร่วมมือแบบ PPP ด้วย)
- เจบิกเสนอตั้งกองทุนสำรองฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน และแนวทางการบริหารโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) เป็นการเสนอทางออกที่เหมาะสมสำหรับการทำโครงการใหญ่ ๆ ในระดับสากล เพราะให้ความเชื่อมั่นกับเอกชนและพันธมิตรผู้ร่วมทุนที่จะเข้ามาทำโครงการ ไม่ต้องกลัวล้ม และให้ความมั่นใจกับรัฐว่าโครงการจะไปได้ โดยที่รัฐไม่ต้องหวาดหวั่นกับการเสียผลประโยชน์ของชาติ
- เป็นการให้เครดิตกับทั้งฝ่ายรัฐและเอกชนไทย โดยให้ความเชื่อมั่นและเชื่อใจเอกชนอย่างซีพี ซึ่งจะเป็นผู้กู้รายใหญ่ของเจบิก รวมถึงให้ความเชื่อมั่นกับรัฐบาล ตลอดจนการลงทุนในประเทศไทยด้วย
2. เจบิกบอกว่า นอกจากพร้อมสนับสนุนการลงทุนในโครงการไฮสปีดแล้ว ยังจะให้การสนับสนุนโครงการอื่น ๆ ในอีอีซีอีกด้วย เช่น เมืองอัจฉริยะ และผู้ประกอบการ SMEs ไทย นั่นหมายความว่า รัฐกำลังได้ชิ้นปลามัน ซึ่งทำให้ประเทศได้ประโยชน์ จากการที่สถาบันการเงินต่างประเทศมาช่วยลงทุน อย่างน้อยก็เป็นการผ่อนภาระให้กับสถาบันการเงินในประเทศได้มาก เพราะการลงทุนในโครงการใหญ่ขนาดนี้ การได้แรงหนุนจากสถาบันการเงินต่างประเทศเป็นกำลังสำคัญมาก สถาบันการเงินในประเทศก็จะเบาไปเยอะ และสามารถไปโฟกัสกับส่วนอืน ๆ เช่น รายย่อย สตาร์ทอัพ แถม SMEs ไทยก็มีโอกาสทองของการพัฒนาศักยภาพด้วย
3. เป็นภาพความร่วมมือกันอย่างแท้จริง ระหว่างสองขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งเป็นโครงแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับรัฐบาลจีน ทำการลงทุนในประเทศที่ 3 ซึ่งทั้งสองประเทศเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ผ่านโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เรียกว่าเป็น WIN-WIN strategy ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง (ประวัติศาสตร์อาจต้องจารึกไว้ เพราะที่ผ่านมาญี่ปุ่นกับจีน แทบจะหายใจเอาอากาศเดียวกันเข้าปอดไม่ได้ เหมือนน้ำกับน้ำมันที่ทำยังไงก็ไม่เข้ากัน แต่ต่อจากนี้ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยนไปสู่ความร่วมมือกัน โดยมีไทยเป็นจุดเชื่อมประสาน ที่ยังไม่นับรวมถึงว่า ไทยเราได้อยู่ใน safety zone ทางการเมืองไปโดยปริยายอีกด้วย)
4. สถาบันการเงินระดับโลกอย่างเจบิกมาเอง นอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นต่อการลงทุนในไทยแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั่วโลกด้วย
หากข่าวลือที่ว่ามีมือที่มองไม่เห็นพยายามเดินหมากเขี่ยซีพีให้พ้นทาง เพื่อจะหามหมู เชื่อว่าตอนนี้มือที่ว่านั้นคงต้องทบทวนท่าทีแล้วว่า ที่ผ่านมาเดินหมากผิดกระดานอยู่หรือเปล่า จะเอาผลประโยชน์หรือความสัมพันธ์อันน้อยนิดส่วนตัว ไปแลกกับผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ จะคุ้มกันหรือ ประเทศต้องเดินหน้า ต้องมองภาพใหญ่ภาพรวมของความยั่งยืน ไม่ใช่มัวแต่อยู่ในโลกแคบ ๆ เท่ากะลาของตัวเองอีกต่อไป ที่สำคัญตอนนี้มีคนเห็นเงาของมือนั้นแล้ว ยังจะกล้าชักใยต่ออยู่อีกหรือ
-------------------------
เจรจาไฮสปีด...รัฐเสียประโยชน์หรือใครได้ประโยชน์?!?
https://mgronline.com/business/detail/9620000022237
สยบข่าวลือ! ผู้ว่าฯ ธนาคารเจบิกพบ “บิ๊กตู่” ยันญี่ปุ่น-จีนสนับสนุนซีพีเต็มที่
https://mgronline.com/business/detail/9620000023264
เครดิต: คนกระทรวง
-------------------------
ที่มา OKNATION
เจบิกเปิดกะลาปัญหาเจรจาไฮสปีด 3 สนามบิน
1. เป็นการมาในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ขณะที่การเจรจาต่อรองในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกำลังถึงจุดไคลแม็กซ์ จากการที่ฝ่ายรัฐโดยรฟท. กำลังบีบซีพีต้องให้คำตอบว่าจะยอมรับความเสี่ยงทำโครงการนี้ หรือจะถอนตัว
- การที่เจบิกออกตัวยืนยันว่า พร้อมให้การสนับสนุนทางการเงินกับโครงการนี้ตามเงื่อนไขในร่าง TOR เท่ากับเป็นการชี้ทางออกของปัญหา (หากคุยกันดี ๆ หรือรัฐออกหน้าให้ เจบิกมีสิทธิลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมให้กับซีพี ในอัตราที่เท่ากับหรือพอ ๆ กับอัตราที่รัฐกู้เองด้วยซ้ำไป ถือเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของซีพีก็ว่าได้ และกลาย ๆ ว่าเป็นการเปิดทางให้รัฐแสดงศักยภาพของความร่วมมือแบบ PPP ด้วย)
- เจบิกเสนอตั้งกองทุนสำรองฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน และแนวทางการบริหารโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) เป็นการเสนอทางออกที่เหมาะสมสำหรับการทำโครงการใหญ่ ๆ ในระดับสากล เพราะให้ความเชื่อมั่นกับเอกชนและพันธมิตรผู้ร่วมทุนที่จะเข้ามาทำโครงการ ไม่ต้องกลัวล้ม และให้ความมั่นใจกับรัฐว่าโครงการจะไปได้ โดยที่รัฐไม่ต้องหวาดหวั่นกับการเสียผลประโยชน์ของชาติ
- เป็นการให้เครดิตกับทั้งฝ่ายรัฐและเอกชนไทย โดยให้ความเชื่อมั่นและเชื่อใจเอกชนอย่างซีพี ซึ่งจะเป็นผู้กู้รายใหญ่ของเจบิก รวมถึงให้ความเชื่อมั่นกับรัฐบาล ตลอดจนการลงทุนในประเทศไทยด้วย
2. เจบิกบอกว่า นอกจากพร้อมสนับสนุนการลงทุนในโครงการไฮสปีดแล้ว ยังจะให้การสนับสนุนโครงการอื่น ๆ ในอีอีซีอีกด้วย เช่น เมืองอัจฉริยะ และผู้ประกอบการ SMEs ไทย นั่นหมายความว่า รัฐกำลังได้ชิ้นปลามัน ซึ่งทำให้ประเทศได้ประโยชน์ จากการที่สถาบันการเงินต่างประเทศมาช่วยลงทุน อย่างน้อยก็เป็นการผ่อนภาระให้กับสถาบันการเงินในประเทศได้มาก เพราะการลงทุนในโครงการใหญ่ขนาดนี้ การได้แรงหนุนจากสถาบันการเงินต่างประเทศเป็นกำลังสำคัญมาก สถาบันการเงินในประเทศก็จะเบาไปเยอะ และสามารถไปโฟกัสกับส่วนอืน ๆ เช่น รายย่อย สตาร์ทอัพ แถม SMEs ไทยก็มีโอกาสทองของการพัฒนาศักยภาพด้วย
3. เป็นภาพความร่วมมือกันอย่างแท้จริง ระหว่างสองขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งเป็นโครงแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับรัฐบาลจีน ทำการลงทุนในประเทศที่ 3 ซึ่งทั้งสองประเทศเลือกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ผ่านโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เรียกว่าเป็น WIN-WIN strategy ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง (ประวัติศาสตร์อาจต้องจารึกไว้ เพราะที่ผ่านมาญี่ปุ่นกับจีน แทบจะหายใจเอาอากาศเดียวกันเข้าปอดไม่ได้ เหมือนน้ำกับน้ำมันที่ทำยังไงก็ไม่เข้ากัน แต่ต่อจากนี้ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยนไปสู่ความร่วมมือกัน โดยมีไทยเป็นจุดเชื่อมประสาน ที่ยังไม่นับรวมถึงว่า ไทยเราได้อยู่ใน safety zone ทางการเมืองไปโดยปริยายอีกด้วย)
4. สถาบันการเงินระดับโลกอย่างเจบิกมาเอง นอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นต่อการลงทุนในไทยแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั่วโลกด้วย
หากข่าวลือที่ว่ามีมือที่มองไม่เห็นพยายามเดินหมากเขี่ยซีพีให้พ้นทาง เพื่อจะหามหมู เชื่อว่าตอนนี้มือที่ว่านั้นคงต้องทบทวนท่าทีแล้วว่า ที่ผ่านมาเดินหมากผิดกระดานอยู่หรือเปล่า จะเอาผลประโยชน์หรือความสัมพันธ์อันน้อยนิดส่วนตัว ไปแลกกับผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ จะคุ้มกันหรือ ประเทศต้องเดินหน้า ต้องมองภาพใหญ่ภาพรวมของความยั่งยืน ไม่ใช่มัวแต่อยู่ในโลกแคบ ๆ เท่ากะลาของตัวเองอีกต่อไป ที่สำคัญตอนนี้มีคนเห็นเงาของมือนั้นแล้ว ยังจะกล้าชักใยต่ออยู่อีกหรือ
-------------------------
เจรจาไฮสปีด...รัฐเสียประโยชน์หรือใครได้ประโยชน์?!?
https://mgronline.com/business/detail/9620000022237
สยบข่าวลือ! ผู้ว่าฯ ธนาคารเจบิกพบ “บิ๊กตู่” ยันญี่ปุ่น-จีนสนับสนุนซีพีเต็มที่
https://mgronline.com/business/detail/9620000023264
เครดิต: คนกระทรวง
-------------------------
ที่มา OKNATION