ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ หากจะขัดแย้งอย่างไรขอให้เหตุผลอยู่เหนืออารมณ์นะครับ
..
..
.. ผมรู้สึกว่าสมัยก่อนๆ โน้นที่ยังมีระบบ entrance ก็จะมี 2 รอบคือเอ็นทรานซ์ตั้งแต่ ม.5 ก็ได้ ถ้าติดก็ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้เลย อีกรอบก็คือ ม.6 ที่เป็นช่วงสุดท้ายของการเรียนม.ปลาย ซึ่งสามารถเลือกได้ 4 คณะจากทั่วประเทศ ผมไม่แน่ใจว่ามีการสอบตรงก่อนสอบเอ็นทรานซ์รึเปล่านะครับ แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะมี และถ้าย้อนกลับไปก่อนระบบเลือก 4 อันดับก็จะมีการเลือก 8 อันดับคณะที่อยากเรียน (ถูกผิดยังไงขออภัยด้วยครับ) ก็จะมีคณิต 1 สำหรับเด็กสายวิทย์ และคณิต2 สำหรับเด็กสายศิลป์ รหัสเป็น 01 02 03 04 05 06 07 08 09 แล้วก็รหัสภาษาต่างประเทศแยกออกไป ซึ่งผมคิดว่าในสมัยก่อนมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยังไม่ผุดออกมาเยอะขนาดนี้ และระบบการรับเข้าก็มีแค่ไม่กี่รอบ จึงทำให้เด็กม.ปลายที่อยากเข้าเรียนอุดมศึกษาจริงๆ จะตั้งใจกันมากเป็นพิเศษสำหรับการเอ็นทรานซ์ (เพราะเอ็นทรานซ์คือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยรอบสุดท้าย) เพราะรู้สึกว่าหากพลาดรอบนี้ไปก็จะไม่มีรอบ 2 รอบ 3 รอบ 4 เหมือนในตอนนี้ ในสมัยก่อนถ้าพลาดสอบไม่ติดในปีนั้นก็จะต้องรอปีถัดไป นั่นก็หมายความว่าต้องเสียเวลาไป 1 ปีเต็มๆ จึงทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสมัยก่อนมีคุณภาพ มหาวิทยาลัยก็มีคุณภาพ นักศึกษาก็ตั้งใจเพราะกดดันสูง หลังจากนั้นพอระบบ entrance ถูกยกเลิกก็เป็นระบบ o-net a-net (ซึ่งตัวผมเองอยู่ในยุคนี้) ตอนนั้นก็จะมีการสอบตรงของแต่ละภาค รอบโควตาของมหาวิทยาลัยต่างๆ และรอบสุดท้ายก็เป็นการสอบ o-net a-net ซึ่งโอเน็ตในตอนนั้นมี 5 วิชาคือ ไทย สังคม อังกฤษ คณิต วิทย์ ส่วนเอเน็ตก็มีคล้ายโอเน็ตแต่เพิ่มความยากอีกระดับนึง วิชาภาษาที่สามก็จะเป็นส่วนของเอเน็ต และการเลือกคณะก็มี 4 อันดับเช่นกัน ในตอนนั้นมหาวิทยาลัยไทยก็ยังไม่ผุดเยอะมากขนาดนี้เช่นกัน ต่อมาก็ยกเลิกระบบโอเน็ต เอเน็ต เปลี่ยนเป็นโอเน็ต 9 วิชา แล้วก็ 7 วิชาสามัญ เพิ่ม gat pat เข้าไปอีก จนผมนึกสงสารน้องๆ ม.ปลายว่าเขาต้องอ่านหนังสือเยอะขนาดไหน สอบเยอะขนาดไหนหรอถึงจะได้เรียนในสิ่งที่น้องอยากเรียน แล้วตอนนี้มหาวิทยาลัยไทยก็ผุดขึ้นมาเยอะแยะเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเอกชนหรือรัฐบาล บางจังหวัดก็ยุบวิทยาลัยต่างๆ สายอาชีพต่างๆ ที่อยู่คนละที่ยุบรวมเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกัน เหตุผลคือเพื่อการบริหารที่สะดวกกว่า ง่ายกว่า ทำให้เป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น แต่นักศึกษาไม่ได้มีแรงบันดาลใจมากในวิชาชีพที่ตัวเองเรียน ก็เรียนบ้างเล่นบ้าง คิดว่าเรียนง่าย จบออกมาก็ง่ายๆ จนตอนนี้ทำให้มีบัณฑิตป.ตรีเดินเตะฝุ่นเต็มไปหมด การรับเข้าของมหาวิทยาลัยก็แย่งเด็กกันไปเรียน ไม่ว่าจะเปิดรอบรับตรงหลายๆ รอบ การรับในระบบแอดมิชชั่นที่รับจำนวนเพิ่มขึ้น การรับโครงการต่างๆ นานา รอบนั้นรอบนี้ตามที่อยากจะรับ หรือการเปิดโครงการพิเศษออกมามากมาย จนทำให้ผมหมดศรัทธาในความเป็นตลาดวิชาสำหรับผู้ใฝ่เรียน เพราะบางคนไม่ได้ตั้งใจจะมาเรียนคณะหรือสาขานี้ แต่มาเรียนเพราะคะแนนบังเอิญติด มาเรียนเพราะไม่รู้จะเรียนอะไร มาเรียนเพราะไม่รู้จะไปไหน เพราะไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร จนตอนนี้ผมสามารถพูดได้มั้ยครับว่าการศึกษาไทยล่มสลายไปแล้ว ทำไมมหาวิทยาลัยต้องผุดขึ้นมาเยอะมากขนาดนี้ ค่าเทอมก็แพงขึ้น แต่รายได้ประชาชนชั้นกลางถึงชั้นล่างเกือบทั้งประเทศกระเตื้องไม่ทันค่าเทอมบุตรหลาน ค่าครองชีพก็สูงไม่สอดคล้องกับรายรับ ทำไมประเทศไทยอะไรๆ ก็ไม่เป็นเหตุเป็นผลได้ขนาดนี้ มหาวิทยาลัยเปิดเยอะขึ้น รับนักเรียนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเกณฑ์การประเมินอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็หนักหน่วงมากขึ้น อาจารย์ทั้งต้องสอนนักศึกษาที่มากขึ้น บวกกับแบกภาระการประเมินที่มีตำแหน่งอาชีพเป็นเดิมพัน อาจารย์ไม่มีเวลาทำวิจัยเพื่อการประเมิน จนบางครั้งต้องงดคลาสบ้างเพื่อเอาเวลาไปทำวิจัย เพราะถ้าไม่ทำตัวเองก็ไม่รอด แต่ถ้าไม่สอนเลย นักศึกษาก็ไม่ได้ความรู้ ผมหาความพอดีในการศึกษาไทยไม่เจอจริงๆ ครับ
..
..
.. สิ่งที่ผมมองตอนนี้คือปัญหาการศึกษาไทยก็เป็นปัญหาหลักไม่แพ้ปัญหาอื่นๆ ในบ้านเมือง เยาวชนต้องการการศึกษาที่ดี ผมคิดว่ามีมหาวิทยาลัยเยอะเกินไปก็ทำให้เด็กไม่ตื่นตัว เพราะคิดว่าพลาดที่นี่ก็ยังมีที่นั่น พลาดที่นั่นก็เรียนที่อื่นก็ได้ มันอาจจะส่งผลให้คุณภาพเด็กๆ ต่ำลงเรื่อยๆ ไม่รู้ผู้ใหญ่ที่มีสิทธิ์ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเขามองเหมือนผมรึเปล่า แล้วคนส่วนใหญ่มองเหมือนผมรึเปล่า หรือผมมองของผมแบบนี้อยู่คนเดียว
..
.. ป.ล. ย้ำอีกครั้งนะครับว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ถ้าไม่เห็นด้วยอย่างไร รบกวนแสดงเหตุผลอย่างสุภาพครับ ขอบคุณครับ
[.. ประเทศของเราจำเป็นต้องมีมหาวิทยาลัยเกิดใหม่เยอะขนาดนี้มั้ยครับ ..]
..
..
.. ผมรู้สึกว่าสมัยก่อนๆ โน้นที่ยังมีระบบ entrance ก็จะมี 2 รอบคือเอ็นทรานซ์ตั้งแต่ ม.5 ก็ได้ ถ้าติดก็ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้เลย อีกรอบก็คือ ม.6 ที่เป็นช่วงสุดท้ายของการเรียนม.ปลาย ซึ่งสามารถเลือกได้ 4 คณะจากทั่วประเทศ ผมไม่แน่ใจว่ามีการสอบตรงก่อนสอบเอ็นทรานซ์รึเปล่านะครับ แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะมี และถ้าย้อนกลับไปก่อนระบบเลือก 4 อันดับก็จะมีการเลือก 8 อันดับคณะที่อยากเรียน (ถูกผิดยังไงขออภัยด้วยครับ) ก็จะมีคณิต 1 สำหรับเด็กสายวิทย์ และคณิต2 สำหรับเด็กสายศิลป์ รหัสเป็น 01 02 03 04 05 06 07 08 09 แล้วก็รหัสภาษาต่างประเทศแยกออกไป ซึ่งผมคิดว่าในสมัยก่อนมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยังไม่ผุดออกมาเยอะขนาดนี้ และระบบการรับเข้าก็มีแค่ไม่กี่รอบ จึงทำให้เด็กม.ปลายที่อยากเข้าเรียนอุดมศึกษาจริงๆ จะตั้งใจกันมากเป็นพิเศษสำหรับการเอ็นทรานซ์ (เพราะเอ็นทรานซ์คือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยรอบสุดท้าย) เพราะรู้สึกว่าหากพลาดรอบนี้ไปก็จะไม่มีรอบ 2 รอบ 3 รอบ 4 เหมือนในตอนนี้ ในสมัยก่อนถ้าพลาดสอบไม่ติดในปีนั้นก็จะต้องรอปีถัดไป นั่นก็หมายความว่าต้องเสียเวลาไป 1 ปีเต็มๆ จึงทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสมัยก่อนมีคุณภาพ มหาวิทยาลัยก็มีคุณภาพ นักศึกษาก็ตั้งใจเพราะกดดันสูง หลังจากนั้นพอระบบ entrance ถูกยกเลิกก็เป็นระบบ o-net a-net (ซึ่งตัวผมเองอยู่ในยุคนี้) ตอนนั้นก็จะมีการสอบตรงของแต่ละภาค รอบโควตาของมหาวิทยาลัยต่างๆ และรอบสุดท้ายก็เป็นการสอบ o-net a-net ซึ่งโอเน็ตในตอนนั้นมี 5 วิชาคือ ไทย สังคม อังกฤษ คณิต วิทย์ ส่วนเอเน็ตก็มีคล้ายโอเน็ตแต่เพิ่มความยากอีกระดับนึง วิชาภาษาที่สามก็จะเป็นส่วนของเอเน็ต และการเลือกคณะก็มี 4 อันดับเช่นกัน ในตอนนั้นมหาวิทยาลัยไทยก็ยังไม่ผุดเยอะมากขนาดนี้เช่นกัน ต่อมาก็ยกเลิกระบบโอเน็ต เอเน็ต เปลี่ยนเป็นโอเน็ต 9 วิชา แล้วก็ 7 วิชาสามัญ เพิ่ม gat pat เข้าไปอีก จนผมนึกสงสารน้องๆ ม.ปลายว่าเขาต้องอ่านหนังสือเยอะขนาดไหน สอบเยอะขนาดไหนหรอถึงจะได้เรียนในสิ่งที่น้องอยากเรียน แล้วตอนนี้มหาวิทยาลัยไทยก็ผุดขึ้นมาเยอะแยะเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเอกชนหรือรัฐบาล บางจังหวัดก็ยุบวิทยาลัยต่างๆ สายอาชีพต่างๆ ที่อยู่คนละที่ยุบรวมเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกัน เหตุผลคือเพื่อการบริหารที่สะดวกกว่า ง่ายกว่า ทำให้เป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่น แต่นักศึกษาไม่ได้มีแรงบันดาลใจมากในวิชาชีพที่ตัวเองเรียน ก็เรียนบ้างเล่นบ้าง คิดว่าเรียนง่าย จบออกมาก็ง่ายๆ จนตอนนี้ทำให้มีบัณฑิตป.ตรีเดินเตะฝุ่นเต็มไปหมด การรับเข้าของมหาวิทยาลัยก็แย่งเด็กกันไปเรียน ไม่ว่าจะเปิดรอบรับตรงหลายๆ รอบ การรับในระบบแอดมิชชั่นที่รับจำนวนเพิ่มขึ้น การรับโครงการต่างๆ นานา รอบนั้นรอบนี้ตามที่อยากจะรับ หรือการเปิดโครงการพิเศษออกมามากมาย จนทำให้ผมหมดศรัทธาในความเป็นตลาดวิชาสำหรับผู้ใฝ่เรียน เพราะบางคนไม่ได้ตั้งใจจะมาเรียนคณะหรือสาขานี้ แต่มาเรียนเพราะคะแนนบังเอิญติด มาเรียนเพราะไม่รู้จะเรียนอะไร มาเรียนเพราะไม่รู้จะไปไหน เพราะไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร จนตอนนี้ผมสามารถพูดได้มั้ยครับว่าการศึกษาไทยล่มสลายไปแล้ว ทำไมมหาวิทยาลัยต้องผุดขึ้นมาเยอะมากขนาดนี้ ค่าเทอมก็แพงขึ้น แต่รายได้ประชาชนชั้นกลางถึงชั้นล่างเกือบทั้งประเทศกระเตื้องไม่ทันค่าเทอมบุตรหลาน ค่าครองชีพก็สูงไม่สอดคล้องกับรายรับ ทำไมประเทศไทยอะไรๆ ก็ไม่เป็นเหตุเป็นผลได้ขนาดนี้ มหาวิทยาลัยเปิดเยอะขึ้น รับนักเรียนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเกณฑ์การประเมินอาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็หนักหน่วงมากขึ้น อาจารย์ทั้งต้องสอนนักศึกษาที่มากขึ้น บวกกับแบกภาระการประเมินที่มีตำแหน่งอาชีพเป็นเดิมพัน อาจารย์ไม่มีเวลาทำวิจัยเพื่อการประเมิน จนบางครั้งต้องงดคลาสบ้างเพื่อเอาเวลาไปทำวิจัย เพราะถ้าไม่ทำตัวเองก็ไม่รอด แต่ถ้าไม่สอนเลย นักศึกษาก็ไม่ได้ความรู้ ผมหาความพอดีในการศึกษาไทยไม่เจอจริงๆ ครับ
..
..
.. สิ่งที่ผมมองตอนนี้คือปัญหาการศึกษาไทยก็เป็นปัญหาหลักไม่แพ้ปัญหาอื่นๆ ในบ้านเมือง เยาวชนต้องการการศึกษาที่ดี ผมคิดว่ามีมหาวิทยาลัยเยอะเกินไปก็ทำให้เด็กไม่ตื่นตัว เพราะคิดว่าพลาดที่นี่ก็ยังมีที่นั่น พลาดที่นั่นก็เรียนที่อื่นก็ได้ มันอาจจะส่งผลให้คุณภาพเด็กๆ ต่ำลงเรื่อยๆ ไม่รู้ผู้ใหญ่ที่มีสิทธิ์ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเขามองเหมือนผมรึเปล่า แล้วคนส่วนใหญ่มองเหมือนผมรึเปล่า หรือผมมองของผมแบบนี้อยู่คนเดียว
..
.. ป.ล. ย้ำอีกครั้งนะครับว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ถ้าไม่เห็นด้วยอย่างไร รบกวนแสดงเหตุผลอย่างสุภาพครับ ขอบคุณครับ