*มือใหม่หัดแปล พอดีเห็นข่าวน่าสนใจเลยมาแชร์ค่ะ*
แฟนๆต่างตื่นเต้นเวลาชมไอดอลคนโปรดขึ้นแสดงในรายการเพลงต่างๆ เช่น M!Countdown, Music Bank, Inkigayo, Show Champion, Show! Music Core และ The Show
ถึงแม้ว่ารายการเพลงเหล่านี้จะทำเรตติ้งวนเวียนอยู่แค่ 3% แต่เหล่าไอดอลก็ยังพาเหรดกันขึ้นแสดงอยู่ดี Yoo Sung Woon ผู้แต่งหนังสือ "เศรษฐศาสตร์เกิร์ลกรุ๊ป" (ชื่อหนังสือแปลตามตัวอักษร) อธิบายถึงวิธีที่เกิร์ลกรุ๊ปครองตลาด และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคด้วยการใช้ Scarcity , Desire for Collecting (ไม่แน่ใจบริบทในหนังสือค่ะ ยังไม่มีเวอร์ชันอังกฤษ เราเลยขอไม่แปล 2 คำนี้นะคะ) และความภักดีของแฟนคลับ (Loyalty)
ก่อนหน้าที่ Yoo Sung Woon จะเข้าพบค่ายต่างๆ เขาเคยคิดว่าไอดอลทุกคนชอบออกรายการเพลง แต่เอาเข้าจริงแล้วการขึ้นรายการเพลงไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดคือค่าใช้จ่ายซึ่งคิดเป็นเงินราว 10 ล้านวอน (ประมาณ $8,868/THB280k) ประกอบด้วยค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าขึ้นแสดง ค่าจ้างสไตลิสต์ และค่าน้ำมัน ค่าเสื้อผ้าคิดเป็นจำนวนเงินมากโขที่สุดในรายจ่ายทั้งหมด
Yoo ยังเล่าว่าโปรดิวเซอร์รายการเพลงไม่ชอบให้ไอดอลสวมเสื้อผ้าซ้ำกับรายการเพลงอื่น เมมเบอร์แต่ละคนจึงต้องมีเสื้อผ้าขึ้นโชว์อย่างน้อย 4 ชุด คิดเป็นเงินตั้งแต่แสนถึงหลายล้านวอน และในกรณีเกิร์ลกรุ๊ปที่มีเมมเบอร์ถึง 9 คนอย่าง TWICE จะได้รับค่าตัวกลับมาเพียง 200,000-500,000 วอน (ประมาณ $117-443/THB5k-14k*) ซึ่งพอจ่ายแค่ค่าน้ำมันเท่านั้น
แต่เงินก็ยังไม่ใช่ประเด็นหลัก เหตุผลที่ไอดอลบางส่วนไม่อยากไปออกรายการเพลงคือ เรตติ้งที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน Music Bank จากช่อง KBS ทำเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ต่ำกว่า 1% ตอนที่ออกฉายเมื่อเดือนก.ค.ปี 2017 ทำเรตติ้งได้เพียง 0.9% เท่ากับเรตติ้งตอนเคารพธงชาติ แล้วถ้าเทียบกับสมัยก่อนถือว่าตกลงฮวบฮาบ เพราะรายการเคยทำได้สูงถึง 20-30% ตอนล่าสุดซึ่งออกอากาศไปเมื่อวันที 1 มี.ค.2019 ทำเรตติ้งได้ 1.4% ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูงแล้ว
และถึงแม้เรตติ้งจะตก ค่าใช้จ่ายการขึ้นแสดงก็ไม่ได้ลดลงตาม และค่าตัวยังคงเป็นเรตเดียวกันกับเมื่อ 20 ปีก่อน ผู้อำนวยการค่ายเพลงเล่าว่า "ถ้าวัดรายได้กันจริงๆแล้ว การออกอีเวนท์ทำเงินดีกว่าออกทีวีมาก" แต่เอาจริงมันต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้นว่าทำไมไอดอลยังต้องขึ้นโชว์
Yoo อธิบายด้วย "Buffet Effect" เราจะเห็นคำนี้ตามหน้าธุรกิจของหนังสือพิมพ์ ใช้อธิบายการพุ่งขึ้นของมูลค่าหุ้นเพียงเพราะแค่ Warren Buffet เปรยๆถึงธุรกิจหนึ่งหรือกระดิกนิ้วลงทุนในธุรกิจนั้นๆ Yoo ยืมคำนี้มาอธิบายว่าทำไมไอดอลยังต้องขึ้นแสดง จากสถิติในอุตสาหกรรมดนตรี พบว่าราคาค่าตัวการออกอีเวนท์พุ่งขึ้น 3-4 เท่าหลังจากไปออกรายการเพลง สตาฟที่ทำงานให้เกิร์ลกรุ๊ปเมมเบอร์ 5 คนเล่าว่า "ปกติเราจะได้เรตค่าตัวราว 2-3 ล้านวอน ($1,774-2,66/THB56k-84k) ต่อหนึ่งอีเวนท์ แต่หลังจากขึ้นแสดงในรายการเพลง เราจะได้สูงถึง 10ล้านวอน (ประมาณ $8,869/THB 280k)"
ทว่าการออกรายการวาไรตี้ไม่ได้ส่งผลกลับมาที่วงเหมือนการออกรายการเพลง** ค่ายเพลงทุกค่ายเห็นตรงกันว่า การชนะถ้วยรายการเพลงสร้างอิมแพคให้ตัววงมากกว่าไปออกวาไรตี้ ผู้อำนวยการค่ายเพลงอธิบายว่า "ถ้าคุณได้ถ้วยในรายการเพลง ค่าตัวออกอีเวนท์จะพุ่งเป็น 10เท่า"
ตัวอย่างที่ดีคือ Girl's Day ที่กว่าจะได้เฟิร์สวินจาก Music Bank ก็ปาไปปีที่ 3 แต่โฆษณาเข้าทันที จาก4 ตัวเป็น 20 ตัว ยอดขายของ Dream T Entertainment (ค่ายของ Girl's Day) เพิ่มจาก 3.19พันล้านวอน (ประมาณ $2.8m/THB89m)ในปี 2013 เป็น 6.17 พันล้าน (ประมาณ$5.47m/THB173m) ในปี 2014
ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดนตรียังมองว่าการได้เฟิร์สวินไม่ได้เป็นประโยชน์แค่การทำเงิน แต่ยังสร้างความภาคภูมิใจในฐานะนักร้องให้เกิร์ลกรุ๊ป และเป็นตัวชี้วัดสำคัญของอาชีพไอดอลในระยะยาว
*ค่าเงินไทยเราเพิ่มให้เองค่ะ ต้นฉบับไม่มี ยึดเรตวันนี้เลย เลยอาจดูต่ำกว่าเรตทั่วไปหรือเปล่าคะ*
**เราแปลจาก soompi แต่ในบทความจาก Koreaboo มีเปรียบเลยว่า ระหว่างได้ถ้วยจากรายการเพลงที่เรตติ้งต่ำกับออกรายการวาไรตี้ดังๆอย่าง 2days and 1 night อะไรสร้างอิมแพคมากกว่า ค่ายเพลงตอบเป็นเอกฉันท์ว่าควรออกรายการเพลงมากกว่า ไม่ว่าจะเพียรไปออกวาไรตี้แค่ไหนก็ไม่เท่าการขึ้นโชว์ในรายการเพลงซึ่งจะทำเงินและคุ้มค่ากว่าในระยะยาว แม้ว่าระยะสั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล**
แปลภาษาอังกฤษเป็นไทยจากบทความของ S.Park
Source : https://www.soompi.com/article/1307221wpp/important-reasons-why-idol-groups-still-appear-on-music-shows-despite-low-ratings-and-large-expenses
ต้นฉบับภาษาเกาหลี : http://bc.kyobobook.co.kr/front/subscribe/detailCotents.ink?contents_no=2947
*ผิดพลาดตรงไหนขออภัย+ท้วงติง ขอบคุณที่อ่านค่ะ*
[K-Pop] ทำไมไอดอลกรุ๊ปยังต้องออกรายการเพลงแม้ว่าเรตติ้งจะต่ำเตี้ยเรี่ยดินและต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล?
ถึงแม้ว่ารายการเพลงเหล่านี้จะทำเรตติ้งวนเวียนอยู่แค่ 3% แต่เหล่าไอดอลก็ยังพาเหรดกันขึ้นแสดงอยู่ดี Yoo Sung Woon ผู้แต่งหนังสือ "เศรษฐศาสตร์เกิร์ลกรุ๊ป" (ชื่อหนังสือแปลตามตัวอักษร) อธิบายถึงวิธีที่เกิร์ลกรุ๊ปครองตลาด และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคด้วยการใช้ Scarcity , Desire for Collecting (ไม่แน่ใจบริบทในหนังสือค่ะ ยังไม่มีเวอร์ชันอังกฤษ เราเลยขอไม่แปล 2 คำนี้นะคะ) และความภักดีของแฟนคลับ (Loyalty)
ก่อนหน้าที่ Yoo Sung Woon จะเข้าพบค่ายต่างๆ เขาเคยคิดว่าไอดอลทุกคนชอบออกรายการเพลง แต่เอาเข้าจริงแล้วการขึ้นรายการเพลงไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดคือค่าใช้จ่ายซึ่งคิดเป็นเงินราว 10 ล้านวอน (ประมาณ $8,868/THB280k) ประกอบด้วยค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าขึ้นแสดง ค่าจ้างสไตลิสต์ และค่าน้ำมัน ค่าเสื้อผ้าคิดเป็นจำนวนเงินมากโขที่สุดในรายจ่ายทั้งหมด
Yoo ยังเล่าว่าโปรดิวเซอร์รายการเพลงไม่ชอบให้ไอดอลสวมเสื้อผ้าซ้ำกับรายการเพลงอื่น เมมเบอร์แต่ละคนจึงต้องมีเสื้อผ้าขึ้นโชว์อย่างน้อย 4 ชุด คิดเป็นเงินตั้งแต่แสนถึงหลายล้านวอน และในกรณีเกิร์ลกรุ๊ปที่มีเมมเบอร์ถึง 9 คนอย่าง TWICE จะได้รับค่าตัวกลับมาเพียง 200,000-500,000 วอน (ประมาณ $117-443/THB5k-14k*) ซึ่งพอจ่ายแค่ค่าน้ำมันเท่านั้น
แต่เงินก็ยังไม่ใช่ประเด็นหลัก เหตุผลที่ไอดอลบางส่วนไม่อยากไปออกรายการเพลงคือ เรตติ้งที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน Music Bank จากช่อง KBS ทำเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ต่ำกว่า 1% ตอนที่ออกฉายเมื่อเดือนก.ค.ปี 2017 ทำเรตติ้งได้เพียง 0.9% เท่ากับเรตติ้งตอนเคารพธงชาติ แล้วถ้าเทียบกับสมัยก่อนถือว่าตกลงฮวบฮาบ เพราะรายการเคยทำได้สูงถึง 20-30% ตอนล่าสุดซึ่งออกอากาศไปเมื่อวันที 1 มี.ค.2019 ทำเรตติ้งได้ 1.4% ซึ่งนับว่าค่อนข้างสูงแล้ว
และถึงแม้เรตติ้งจะตก ค่าใช้จ่ายการขึ้นแสดงก็ไม่ได้ลดลงตาม และค่าตัวยังคงเป็นเรตเดียวกันกับเมื่อ 20 ปีก่อน ผู้อำนวยการค่ายเพลงเล่าว่า "ถ้าวัดรายได้กันจริงๆแล้ว การออกอีเวนท์ทำเงินดีกว่าออกทีวีมาก" แต่เอาจริงมันต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้นว่าทำไมไอดอลยังต้องขึ้นโชว์
Yoo อธิบายด้วย "Buffet Effect" เราจะเห็นคำนี้ตามหน้าธุรกิจของหนังสือพิมพ์ ใช้อธิบายการพุ่งขึ้นของมูลค่าหุ้นเพียงเพราะแค่ Warren Buffet เปรยๆถึงธุรกิจหนึ่งหรือกระดิกนิ้วลงทุนในธุรกิจนั้นๆ Yoo ยืมคำนี้มาอธิบายว่าทำไมไอดอลยังต้องขึ้นแสดง จากสถิติในอุตสาหกรรมดนตรี พบว่าราคาค่าตัวการออกอีเวนท์พุ่งขึ้น 3-4 เท่าหลังจากไปออกรายการเพลง สตาฟที่ทำงานให้เกิร์ลกรุ๊ปเมมเบอร์ 5 คนเล่าว่า "ปกติเราจะได้เรตค่าตัวราว 2-3 ล้านวอน ($1,774-2,66/THB56k-84k) ต่อหนึ่งอีเวนท์ แต่หลังจากขึ้นแสดงในรายการเพลง เราจะได้สูงถึง 10ล้านวอน (ประมาณ $8,869/THB 280k)"
ตัวอย่างที่ดีคือ Girl's Day ที่กว่าจะได้เฟิร์สวินจาก Music Bank ก็ปาไปปีที่ 3 แต่โฆษณาเข้าทันที จาก4 ตัวเป็น 20 ตัว ยอดขายของ Dream T Entertainment (ค่ายของ Girl's Day) เพิ่มจาก 3.19พันล้านวอน (ประมาณ $2.8m/THB89m)ในปี 2013 เป็น 6.17 พันล้าน (ประมาณ$5.47m/THB173m) ในปี 2014
ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดนตรียังมองว่าการได้เฟิร์สวินไม่ได้เป็นประโยชน์แค่การทำเงิน แต่ยังสร้างความภาคภูมิใจในฐานะนักร้องให้เกิร์ลกรุ๊ป และเป็นตัวชี้วัดสำคัญของอาชีพไอดอลในระยะยาว
*ค่าเงินไทยเราเพิ่มให้เองค่ะ ต้นฉบับไม่มี ยึดเรตวันนี้เลย เลยอาจดูต่ำกว่าเรตทั่วไปหรือเปล่าคะ*
**เราแปลจาก soompi แต่ในบทความจาก Koreaboo มีเปรียบเลยว่า ระหว่างได้ถ้วยจากรายการเพลงที่เรตติ้งต่ำกับออกรายการวาไรตี้ดังๆอย่าง 2days and 1 night อะไรสร้างอิมแพคมากกว่า ค่ายเพลงตอบเป็นเอกฉันท์ว่าควรออกรายการเพลงมากกว่า ไม่ว่าจะเพียรไปออกวาไรตี้แค่ไหนก็ไม่เท่าการขึ้นโชว์ในรายการเพลงซึ่งจะทำเงินและคุ้มค่ากว่าในระยะยาว แม้ว่าระยะสั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล**
แปลภาษาอังกฤษเป็นไทยจากบทความของ S.Park
Source : https://www.soompi.com/article/1307221wpp/important-reasons-why-idol-groups-still-appear-on-music-shows-despite-low-ratings-and-large-expenses
ต้นฉบับภาษาเกาหลี : http://bc.kyobobook.co.kr/front/subscribe/detailCotents.ink?contents_no=2947
*ผิดพลาดตรงไหนขออภัย+ท้วงติง ขอบคุณที่อ่านค่ะ*