“นาง (ร้าย)”
การหลีกหนีความจริง สู่โลกอีกใบที่ให้ความบันเทิง
----------
“นี่มันบัลลังก์ของข้า!”
“นี่มันตำแหน่งของฉัน!”
“นี่มันเก้าอี้ของดิฉัน!”
----------
“รัญญา ศิยานนท์” --- อาญารัก, เรือนเสน่หา, ล่า ฯลฯ
“ศิรพันธ์ วัฒนจินดา” --- บ่วง, ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด, บ่วงเสน่หา ฯลฯ
“อรัชพร โภคินภากร” --- HORMONE วัยว้าวุ่น, O-Negative รักออกแบบไม่ได้ ฯลฯ
----------
หากเอ่ยถึงชื่อชื่อนักแสดงทั้งสามท่านนี้ คอละครโทรทัศน์คงรู้ถึงกิตติศัพท์ ความสามารถทางการแสดงของพวกเธอเป็นอย่างดี และอยากใครชื่นชอบการดูละคร เป็นคอละครไทย ติดใจรสชาติเผ็ด แซ่บ ถึงพริกถึงขิง และอยากดูพวกเธอแสดงสดให้ดูต่อหน้าต่อตา คุณต้องไม่พลาดละครเวทีกึ่งสารคดีตีแผ่วงการบันเทิงทั้งจอแก้วและจอเงินอย่าง “นาง (ร้าย)”
----------
นี่เป็นการชมละครโรงเล็กเป็นเรื่องแรกของเรา ตอนจองบัตรก็ไม่คิดว่าจะเล็กเบอร์นี้ (ทั้งโรงละครมีประมาณ 5 แถวได้) เรานั่งแถวที่สาม โรงละครก็เล็กพอแล้ว แต่การแสดงของสามสาวไม่ได้เล็กตามขนาดโรงละครเลย เพียงแค่ซีนแรกที่คุณบุ๋ม รัญญา ปรากฏตัว เรายังอดรู้สึกไม่ได้ว่าเธอกำลังพุ่งเข้ามาตบเรา!
----------
นาง (ร้าย) คือการรวบรวมวีรกรรมของนางร้ายในละครไทยมาบอกเล่าเป็นซีนสั้นๆ แล้วร้อยเรียงต่อกัน ผ่านการแสดงของนักแสดงนำทั้งสามท่าน ที่ล้วนผ่านการรับบทนางร้ายมาแล้วทั้งสิ้น เรียกได้ว่าวีรกรรมนางร้ายที่คุณคุ้นเคย การกรี๊ดกร๊าด ตาทะลัก การแต่งกายที่อยู่บนดาวอังคารก็ยังรู้ว่าเจ๊คนนี้ไม่ใช่คนดี เจ๊คือนางร้าย! ละครฟอร์มเล็ก แต่พลังการแสดงและความคุ้มค่าที่ไม่เล็กตามอย่าง นาง (ร้าย) จึงพาคนดูทุกท่านย้อนรำลึกไปถึงอดีต
----------
เกิดอะไรขึ้นในวงการละครไทยบ้าง มากกว่า 6 ทศวรรษที่ผ่านมา บทนางร้ายประเภทไหนที่ถูกอกถูกใจคนไทย นางร้ายประเภทไหนที่จนถึงทุกวันนี้ เมื่อเปิดละครไทยคุณก็ยังพบเห็นได้อยู่ดี สำหรับเราที่ติดตามละครไทยกับแม่มาตั้งแต่เด็ก ละครไทยคือส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา เราดูละครเรื่องนี้ด้วยความสุข ทึ่งในความสามารถของนักแสดง การแสดงที่ทรงพลัง ไม่ใช่หาดู (สดๆ) ได้ง่ายๆ มันทำให้เรายิ่งรักละครไทยเข้าไปใหญ่!
----------
บรรยากาศในโรงละครเป็นไปตามที่นักแสดงพาไป จะสุข จะทุกข์ จะหัวเราะ จะเป็นงานแต่งงาน จะเป็นห้องประชุม จะเป็นบ้านท่านเจ้าสัว จะเป็นวัง ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ สุดแล้วแต่ที่คุณบุ๋ม คุณนุ่น และคุณก้อยจะพาเราไปเลย ยิ่งการฉายโปรเจ็คเตอร์ด้วยการซูมไปทีสีหน้า แววตา รอยยิ้มที่คมบาดของนักแสดง ยิ่งทำให้คนดูอย่างเราอินกับความร้ายของเธอ ทึ่งว่าคนอะไรจะร้ายได้เบอร์นี้ และแน่นอน เมื่อมาแสดงกันสดๆ ปล่อยพลังกันสดๆ ทั้งร้าย ทั้งบ้ากันสดๆ ...คนดูอดที่จะหัวเราะไม่ได้หรอก!
----------
----------
เริ่มตั้งแต่ซีนแรกที่รัญญา ศิยานนท์ เล่นคนเดียว กับการรับบทเป็นแฟนสาวที่ถูกทอดทิ้ง เมื่อผู้หญิงที่มาทีหลังเป็นนางเอก หล่อนจึงได้หัวใจของ “ชาติ” ไป รัญญาจึงมาทวงสิทธิ์ของเธอ มาประกาศความร้าวรานของเธอด้วยชุดสีดำ และดอกไม้แสดงความยินดีที่เรารู้จักกันในชื่อ “พวงหรีด” นี่เป็นอีกซีนที่เราชอบมากเป็นอันดับต้นๆ ความเจ๋งของซีนนี้คือรัญญาแสดงคนเดียว จินตนาการว่าเธอกำลังคุยกับเจ้าบ่าว กำลังคุยกับเจ้าสาว กำลังคุยกับครอบครัวเจ้าบ่าว...แม่ผัวตัวร้าย ความเจ๋งของมันคือการที่ละครถ่ายทอดแค่ประโยคที่รัญญาพูด ทำให้คนดูได้ยินเพียงแค่ประโยคที่รัญญาโต้ตอบ แต่เรากลับเดาได้ว่าแฟนเก่า เจ้าสาว และแม่ผัวพูดกับรัญญาว่าอะไร มันคือบทพูดแบบเดิมๆ ที่เราพบเห็นและคุ้นเคยเป็นอย่างดีในละครไทย ราวกับละครกำลังจะบอกเรา ว่าแพทเทิร์นแบบนี้ เรื่องราวทำนองนี้ เล่นแค่คนเดียว คนดูก็รับรู้และเข้าใจสารได้ไม่ยาก
----------
เมื่อพูดถึงการแสดงของรัญญา คงต้องบอกว่า รัญญาก็คือรัญญา ผู้หญิงตัวเล็ก แต่การแสดงโคตรใหญ่ สีหน้า แววตา ทุกอย่างสอดรับกันเป็นอย่างดี ใครอย่าได้ไปมีเรื่องกับเธอเชียว แต่เมื่อเปลี่ยนซีน ก็ต้องเปลี่ยนบทบาท จากนางร้ายกรี๊ดกร๊าด โรคจิต ก็กลายเป็นบ่าวไพร่น็อตหลุดบ้าง กลายเป็นคุณนายใหญ่ผู้ร้ายได้อย่างน้ำนิ่งไหลลึกบ้าง ซึ่งบทบาทที่หลากหลายอารมณ์ ต้องเปลี่ยนไปเป็นคนละครในระยะเวลาอันสั้น แต่รัญญากลับทำได้ดีมากๆ นี่คือสปิริต นี่คือความเป็นนักแสดงมืออาชีพ
----------
นักแสดงนำคนต่อมาคือศิรพันธ์ วัฒนจินดา นุ่นเป็นนางร้ายที่แสดงบทร้ายลึก ร้ายเก็บอาการ ร้ายผ่านคำพูดที่ไม่ต้องตะโกนแผดเสียงแต่ก็เชือดเฉือนถึงใจได้ดี ซีนของเธอที่เราชอบที่สุดจึงหนีไม่พ้นบทนางร้ายคุณนายรองที่แอบไปดูงิ้ว เพียงถ้อยคำที่เธอระบายถึงความรโหฐานแต่อับจนความสุขในคฤหาสน์หลังนี้ ก็ทำให้เราอดเห็นใจนางร้าย (ด้วยความจำเป็น) ผู้นี้ไม่ได้ ซึ่งพอเปลี่ยนมาเป็นเลขาสุดแซ่บ นุ่นก็เล่นได้ร้าย แรง เซ็กซี่ จัดจ้านในแบบของเธอ
----------
ส่วนอรัชพร โภคินภากร คนนี้ชัดเจนมากว่ามาเป็นนางร้ายสายฮา นางร้ายสายตลก คือความร้ายของก้อยมันเป็นร้ายแต่ล้น ร้ายแต่บ้าๆ บอๆ ที่ทำให้คนดูรู้สึกหมั่นไส้ เอ็นดู และหัวเราะมากกว่าที่จะเกลียด จะซีนเมียน้อยขี้อิจฉาที่มีบ่าวไพร่คอยรองรับอารมณ์ มาจนถึงซีนพนักงานที่อยากจะร้าย แต่สิ่งที่มีมากกว่าความร้ายดันเป็นความโง่ซื่อ ด้วยแล้วหลงรักอะ เชื่อว่าถ้ารับงานละครต่อไป ก้อยจะเป็นนางร้ายที่เรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้อย่างท่วมท้น (ความเล่นใหญ่แต่พาขำของเธอ ทำเอาเรานึกถึงพี่กิ๊ก สุวัจนี ถึงก้อยจะตาโตไม่เท่า แต่ด้วยสีหน้า แววตา ท่าทาง น้ำเสียง มันพารั่วไปทุกส่วน เป็นความรั่วที่ดูเกินๆ แต่สุดท้ายเมื่อมันอยู่ในโรงละครแห่งนี้ เมื่อมันอยู่ในละครเรื่องนี้ มันคือความลงตัว)
----------
บทละครเรื่องนี้ เมื่อมองในแง่ของละครไทยหลายเรื่องๆ นี่ก็เป็นเพียงการหยิบยกอนุภาคของนางร้ายในละครไทยมาผสมรวมกัน คนดูบางคนอาจคาดเดาได้ว่าจะมีอนุภาคอะไรบ้าง แต่งชุดดำมางานแต่งงาน, ชิงรักหักสวาท, เมียหลวงหลอกใช้เมียน้อย, เมียน้อยริษยาอาฆาต, พินัยกรรม ชิงสมบัติ บลาๆๆ อาจดูไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ หรือสร้างสรรค์ แต่สำหรับเรา เมื่อมันกลายเป็น “นาง (ร้าย)” ที่หยิบยกวีรกรรมของพวกนางมาเล่าเป็นฉากๆ มาร้อยเรียงให้ต่อเนื่องกัน ด้วยฉาก ด้วยสิ่งของ แสง สี นี่จึงเป็นไอเดียที่เรารู้สึกว่ามันสร้างสรรค์ และคุ้มค่ามากๆ ที่ได้มาชมละครเรื่องนี้
----------
ความคุ้มค่าของ “นาง (ร้าย)” คือการได้มาดูนางร้ายสามคน สามสาว สามสไตล์ ซีนสุดท้ายในพาร์ตละคร จึงเป็นซีนที่เราชอบมากที่สุด กับการใช้เก้าอี้เป็นสัญลักษณ์สำคัญ เก้าอี้ที่แทนตำแหน่งแห่งที่ที่ใครหลายคนหมายปอง ใครหลายคนต้องการครอบครอง นางร้ายคนหนึ่งคือองค์ราชินีที่ต้องการครองบัลลังก์ นางร้ายคนหนึ่งคือนางงามที่ต้องการตำแหน่งแชมป์ นางร้ายคนหนึ่งคือคนทำงานที่ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สามเป้าหมาย สามความต้องการ แต่สามสิ่งนี้ดันเป็นเพียงเก้าอี้ตัวเดียวที่อยู่ข้างหน้า...ท้ายสุดจึงจบลงด้วยการแย่งชิง เป็นการจบที่สวยงาม การจบที่สื่อว่าความร้ายกาจนั้นอยู่ในทุกแวดวงจริงๆ
----------
พาร์ตละครจบ แต่การแสดงยังไม่จบ คราวนี้จะเริ่มเข้าสู่โหมดสารคดี เล่าเบื้องหลังการแต่งหน้าทำผมของนักแสดง การถ่ายทำภาพยนตร์ไทยแบบสมัยก่อน และจบลงด้วยการอัดรายการ ซึ่งจากความรู้สึกเป็นผู้ชมละคร ก็ได้กลายเป็นผู้ชมในห้องส่งแทน
----------
ตัดภาพไปที่ห้องแต่งตัว เราได้ยินเหล่านางร้ายทั้งสามคุยกันว่าในชีวิตจริงคงไม่มีใครร้ายได้ขนาดนี้ ร้ายได้เหมือนกับบทบาทที่พวกเธอรับ ซึ่งก็ทำให้เราย้อนกลับมาดูตัว ย้อนกลับมาดูสังคมที่เราอยู่ เออจริง...ไม่มีใครหรอกที่ทาปากแดงแจ๊ดตลอดเวลา ไม่มีใครหรอกที่ตาถลกตลอดเวลา ไม่มีใครหรอกที่กรี๊ดกร๊าดราวกับเสียสติอยู่ตลอดเวลา ไม่มีใครหรอกที่เปลี่ยนสีหน้ากล้องหนึ่งที กล้องสองสามสี่ทีได้ตลอดเวลา และคนที่ร้ายที่สุดในชีวิตจริง ก็คือคนที่ไม่แสดงออกให้เรารู้ว่าร้าย
----------
ปฏิเสธไม่ได้ว่า นางร้ายในละครเรื่อง “นาง (ร้าย)” และนางร้ายในละครไทยหลายเรื่อง คือด้านมืดของคนเรา คือการกระทำที่คนเราไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง แม้ว่าจะอยากทำในสถานการณ์ที่ไม่เป็นดังใจหวังสักแค่ไหนก็ตามที ท้ายสุดแล้วบทนางร้ายเหล่านี้ ที่ยังคงได้รับความนิยมตลอดมา อาจเป็นการหลีกหนีความจริง หนีมาเพื่อหลบอยู่ในโลกแห่งจินตนาการนี้ โลกที่สามารถทำอะไรก็ได้ หลบเพื่อมีความสุข หลบเพื่อพักผ่อนเพื่อความบันเทิง เมื่อพร้อมแล้วจึงหันกลับไปสู้กับชีวิตในโลกปัจจุบันต่อไป
----------
การหลีกหนีความจริงผ่านสื่อบันเทิงที่ชื่อว่าละคร ผ่านคาแรคเตอร์ที่ถูกตราว่าเป็นนางร้าย จึงเป็นความสุขในรูปแบบหนึ่ง และเราเชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่ ที่เลือกเสพความสุขในรูปแบบนี้ย่อมมีวิจารณญาณ มีมากพอที่จะคิดสอนตัวเองได้ว่าการกระทำเหล่านี้ก็อยู่ได้แค่ในโลกของละครเท่านั้น เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็ไม่มีอะไรเสียหาย
----------
สำหรับเราแล้ว ช่วงเวลา 80 นาที ที่ได้หลีกหนีความจริงเพื่อมาชมละครเรื่องร้ายๆ อย่าง “นาง (ร้าย)” นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ได้ความสุข ความเพลิดเพลินอีกช่วง นับเป็นอีกช่วงเวลาที่น่าจดจำและอยากบอกต่อ.
#อุ้มสม
----------
ปล. เอารายละเอียดการแสดงละครเวทีเรื่องนี้มาฝากคนที่มาอ่านรีวิวเราแล้วเกิดสนใจนะครับ ยังมีเวลาอยู่ และบัตรราคาย่อมเยามากๆ ได้ชมแล้วมาคุยกันนะครับ
----------
ละครเวที นาง(ร้าย) Siamese Femme Fatales ละครเวทีเมโลดราม่าเชิงสารคดี เพื่อสำรวจพื้นที่ทับซ้อนระหว่างภาพตายตัวของตัวละครและตัวตนของนักแสดงทั้งบนพื้นที่สื่อและชีวิตส่วนตัว จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2562 และ 1-3, 8-10 มีนาคม 2562 (วันศุกร์และเสาร์ รอบ 20.00 น. วันอาทิตย์ รอบ 16.00 น.) ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ ชั้น 6 อาคารแปลนเนรมิต สาทรซอย 10 (BTS สถานีช่องนนทรี) ราคาบัตรเริ่มต้นที่ 650-850-1,000 บาท สามารถจองบัตรได้แล้วที่www.ticketmelon.com/apropos/nangrai
----------
--- หากชื่นชอบการเขียนรีวิวของเรา สามารถไปกดไลก์แฟนเพจ “อุ้มสม” ของเราได้ ซึ่งในเพจจะมีทั้งการรีวิวนิยาย ละคร ละครเวทีสลับกันไป
https://www.facebook.com/aumsomjakkri/?ref=br_rs
[SR] รีวิว ::: นาง (ร้าย) : หลีกหนีความจริงสู่โลกอีกใบที่ให้ความบันเทิง
การหลีกหนีความจริง สู่โลกอีกใบที่ให้ความบันเทิง
----------
“นี่มันบัลลังก์ของข้า!”
“นี่มันตำแหน่งของฉัน!”
“นี่มันเก้าอี้ของดิฉัน!”
----------
“รัญญา ศิยานนท์” --- อาญารัก, เรือนเสน่หา, ล่า ฯลฯ
“ศิรพันธ์ วัฒนจินดา” --- บ่วง, ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด, บ่วงเสน่หา ฯลฯ
“อรัชพร โภคินภากร” --- HORMONE วัยว้าวุ่น, O-Negative รักออกแบบไม่ได้ ฯลฯ
----------
หากเอ่ยถึงชื่อชื่อนักแสดงทั้งสามท่านนี้ คอละครโทรทัศน์คงรู้ถึงกิตติศัพท์ ความสามารถทางการแสดงของพวกเธอเป็นอย่างดี และอยากใครชื่นชอบการดูละคร เป็นคอละครไทย ติดใจรสชาติเผ็ด แซ่บ ถึงพริกถึงขิง และอยากดูพวกเธอแสดงสดให้ดูต่อหน้าต่อตา คุณต้องไม่พลาดละครเวทีกึ่งสารคดีตีแผ่วงการบันเทิงทั้งจอแก้วและจอเงินอย่าง “นาง (ร้าย)”
----------
นี่เป็นการชมละครโรงเล็กเป็นเรื่องแรกของเรา ตอนจองบัตรก็ไม่คิดว่าจะเล็กเบอร์นี้ (ทั้งโรงละครมีประมาณ 5 แถวได้) เรานั่งแถวที่สาม โรงละครก็เล็กพอแล้ว แต่การแสดงของสามสาวไม่ได้เล็กตามขนาดโรงละครเลย เพียงแค่ซีนแรกที่คุณบุ๋ม รัญญา ปรากฏตัว เรายังอดรู้สึกไม่ได้ว่าเธอกำลังพุ่งเข้ามาตบเรา!
----------
นาง (ร้าย) คือการรวบรวมวีรกรรมของนางร้ายในละครไทยมาบอกเล่าเป็นซีนสั้นๆ แล้วร้อยเรียงต่อกัน ผ่านการแสดงของนักแสดงนำทั้งสามท่าน ที่ล้วนผ่านการรับบทนางร้ายมาแล้วทั้งสิ้น เรียกได้ว่าวีรกรรมนางร้ายที่คุณคุ้นเคย การกรี๊ดกร๊าด ตาทะลัก การแต่งกายที่อยู่บนดาวอังคารก็ยังรู้ว่าเจ๊คนนี้ไม่ใช่คนดี เจ๊คือนางร้าย! ละครฟอร์มเล็ก แต่พลังการแสดงและความคุ้มค่าที่ไม่เล็กตามอย่าง นาง (ร้าย) จึงพาคนดูทุกท่านย้อนรำลึกไปถึงอดีต
----------
เกิดอะไรขึ้นในวงการละครไทยบ้าง มากกว่า 6 ทศวรรษที่ผ่านมา บทนางร้ายประเภทไหนที่ถูกอกถูกใจคนไทย นางร้ายประเภทไหนที่จนถึงทุกวันนี้ เมื่อเปิดละครไทยคุณก็ยังพบเห็นได้อยู่ดี สำหรับเราที่ติดตามละครไทยกับแม่มาตั้งแต่เด็ก ละครไทยคือส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา เราดูละครเรื่องนี้ด้วยความสุข ทึ่งในความสามารถของนักแสดง การแสดงที่ทรงพลัง ไม่ใช่หาดู (สดๆ) ได้ง่ายๆ มันทำให้เรายิ่งรักละครไทยเข้าไปใหญ่!
----------
บรรยากาศในโรงละครเป็นไปตามที่นักแสดงพาไป จะสุข จะทุกข์ จะหัวเราะ จะเป็นงานแต่งงาน จะเป็นห้องประชุม จะเป็นบ้านท่านเจ้าสัว จะเป็นวัง ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ สุดแล้วแต่ที่คุณบุ๋ม คุณนุ่น และคุณก้อยจะพาเราไปเลย ยิ่งการฉายโปรเจ็คเตอร์ด้วยการซูมไปทีสีหน้า แววตา รอยยิ้มที่คมบาดของนักแสดง ยิ่งทำให้คนดูอย่างเราอินกับความร้ายของเธอ ทึ่งว่าคนอะไรจะร้ายได้เบอร์นี้ และแน่นอน เมื่อมาแสดงกันสดๆ ปล่อยพลังกันสดๆ ทั้งร้าย ทั้งบ้ากันสดๆ ...คนดูอดที่จะหัวเราะไม่ได้หรอก!
----------
----------
เริ่มตั้งแต่ซีนแรกที่รัญญา ศิยานนท์ เล่นคนเดียว กับการรับบทเป็นแฟนสาวที่ถูกทอดทิ้ง เมื่อผู้หญิงที่มาทีหลังเป็นนางเอก หล่อนจึงได้หัวใจของ “ชาติ” ไป รัญญาจึงมาทวงสิทธิ์ของเธอ มาประกาศความร้าวรานของเธอด้วยชุดสีดำ และดอกไม้แสดงความยินดีที่เรารู้จักกันในชื่อ “พวงหรีด” นี่เป็นอีกซีนที่เราชอบมากเป็นอันดับต้นๆ ความเจ๋งของซีนนี้คือรัญญาแสดงคนเดียว จินตนาการว่าเธอกำลังคุยกับเจ้าบ่าว กำลังคุยกับเจ้าสาว กำลังคุยกับครอบครัวเจ้าบ่าว...แม่ผัวตัวร้าย ความเจ๋งของมันคือการที่ละครถ่ายทอดแค่ประโยคที่รัญญาพูด ทำให้คนดูได้ยินเพียงแค่ประโยคที่รัญญาโต้ตอบ แต่เรากลับเดาได้ว่าแฟนเก่า เจ้าสาว และแม่ผัวพูดกับรัญญาว่าอะไร มันคือบทพูดแบบเดิมๆ ที่เราพบเห็นและคุ้นเคยเป็นอย่างดีในละครไทย ราวกับละครกำลังจะบอกเรา ว่าแพทเทิร์นแบบนี้ เรื่องราวทำนองนี้ เล่นแค่คนเดียว คนดูก็รับรู้และเข้าใจสารได้ไม่ยาก
----------
เมื่อพูดถึงการแสดงของรัญญา คงต้องบอกว่า รัญญาก็คือรัญญา ผู้หญิงตัวเล็ก แต่การแสดงโคตรใหญ่ สีหน้า แววตา ทุกอย่างสอดรับกันเป็นอย่างดี ใครอย่าได้ไปมีเรื่องกับเธอเชียว แต่เมื่อเปลี่ยนซีน ก็ต้องเปลี่ยนบทบาท จากนางร้ายกรี๊ดกร๊าด โรคจิต ก็กลายเป็นบ่าวไพร่น็อตหลุดบ้าง กลายเป็นคุณนายใหญ่ผู้ร้ายได้อย่างน้ำนิ่งไหลลึกบ้าง ซึ่งบทบาทที่หลากหลายอารมณ์ ต้องเปลี่ยนไปเป็นคนละครในระยะเวลาอันสั้น แต่รัญญากลับทำได้ดีมากๆ นี่คือสปิริต นี่คือความเป็นนักแสดงมืออาชีพ
----------
นักแสดงนำคนต่อมาคือศิรพันธ์ วัฒนจินดา นุ่นเป็นนางร้ายที่แสดงบทร้ายลึก ร้ายเก็บอาการ ร้ายผ่านคำพูดที่ไม่ต้องตะโกนแผดเสียงแต่ก็เชือดเฉือนถึงใจได้ดี ซีนของเธอที่เราชอบที่สุดจึงหนีไม่พ้นบทนางร้ายคุณนายรองที่แอบไปดูงิ้ว เพียงถ้อยคำที่เธอระบายถึงความรโหฐานแต่อับจนความสุขในคฤหาสน์หลังนี้ ก็ทำให้เราอดเห็นใจนางร้าย (ด้วยความจำเป็น) ผู้นี้ไม่ได้ ซึ่งพอเปลี่ยนมาเป็นเลขาสุดแซ่บ นุ่นก็เล่นได้ร้าย แรง เซ็กซี่ จัดจ้านในแบบของเธอ
----------
ส่วนอรัชพร โภคินภากร คนนี้ชัดเจนมากว่ามาเป็นนางร้ายสายฮา นางร้ายสายตลก คือความร้ายของก้อยมันเป็นร้ายแต่ล้น ร้ายแต่บ้าๆ บอๆ ที่ทำให้คนดูรู้สึกหมั่นไส้ เอ็นดู และหัวเราะมากกว่าที่จะเกลียด จะซีนเมียน้อยขี้อิจฉาที่มีบ่าวไพร่คอยรองรับอารมณ์ มาจนถึงซีนพนักงานที่อยากจะร้าย แต่สิ่งที่มีมากกว่าความร้ายดันเป็นความโง่ซื่อ ด้วยแล้วหลงรักอะ เชื่อว่าถ้ารับงานละครต่อไป ก้อยจะเป็นนางร้ายที่เรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้อย่างท่วมท้น (ความเล่นใหญ่แต่พาขำของเธอ ทำเอาเรานึกถึงพี่กิ๊ก สุวัจนี ถึงก้อยจะตาโตไม่เท่า แต่ด้วยสีหน้า แววตา ท่าทาง น้ำเสียง มันพารั่วไปทุกส่วน เป็นความรั่วที่ดูเกินๆ แต่สุดท้ายเมื่อมันอยู่ในโรงละครแห่งนี้ เมื่อมันอยู่ในละครเรื่องนี้ มันคือความลงตัว)
----------
บทละครเรื่องนี้ เมื่อมองในแง่ของละครไทยหลายเรื่องๆ นี่ก็เป็นเพียงการหยิบยกอนุภาคของนางร้ายในละครไทยมาผสมรวมกัน คนดูบางคนอาจคาดเดาได้ว่าจะมีอนุภาคอะไรบ้าง แต่งชุดดำมางานแต่งงาน, ชิงรักหักสวาท, เมียหลวงหลอกใช้เมียน้อย, เมียน้อยริษยาอาฆาต, พินัยกรรม ชิงสมบัติ บลาๆๆ อาจดูไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ หรือสร้างสรรค์ แต่สำหรับเรา เมื่อมันกลายเป็น “นาง (ร้าย)” ที่หยิบยกวีรกรรมของพวกนางมาเล่าเป็นฉากๆ มาร้อยเรียงให้ต่อเนื่องกัน ด้วยฉาก ด้วยสิ่งของ แสง สี นี่จึงเป็นไอเดียที่เรารู้สึกว่ามันสร้างสรรค์ และคุ้มค่ามากๆ ที่ได้มาชมละครเรื่องนี้
----------
ความคุ้มค่าของ “นาง (ร้าย)” คือการได้มาดูนางร้ายสามคน สามสาว สามสไตล์ ซีนสุดท้ายในพาร์ตละคร จึงเป็นซีนที่เราชอบมากที่สุด กับการใช้เก้าอี้เป็นสัญลักษณ์สำคัญ เก้าอี้ที่แทนตำแหน่งแห่งที่ที่ใครหลายคนหมายปอง ใครหลายคนต้องการครอบครอง นางร้ายคนหนึ่งคือองค์ราชินีที่ต้องการครองบัลลังก์ นางร้ายคนหนึ่งคือนางงามที่ต้องการตำแหน่งแชมป์ นางร้ายคนหนึ่งคือคนทำงานที่ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สามเป้าหมาย สามความต้องการ แต่สามสิ่งนี้ดันเป็นเพียงเก้าอี้ตัวเดียวที่อยู่ข้างหน้า...ท้ายสุดจึงจบลงด้วยการแย่งชิง เป็นการจบที่สวยงาม การจบที่สื่อว่าความร้ายกาจนั้นอยู่ในทุกแวดวงจริงๆ
----------
พาร์ตละครจบ แต่การแสดงยังไม่จบ คราวนี้จะเริ่มเข้าสู่โหมดสารคดี เล่าเบื้องหลังการแต่งหน้าทำผมของนักแสดง การถ่ายทำภาพยนตร์ไทยแบบสมัยก่อน และจบลงด้วยการอัดรายการ ซึ่งจากความรู้สึกเป็นผู้ชมละคร ก็ได้กลายเป็นผู้ชมในห้องส่งแทน
----------
ตัดภาพไปที่ห้องแต่งตัว เราได้ยินเหล่านางร้ายทั้งสามคุยกันว่าในชีวิตจริงคงไม่มีใครร้ายได้ขนาดนี้ ร้ายได้เหมือนกับบทบาทที่พวกเธอรับ ซึ่งก็ทำให้เราย้อนกลับมาดูตัว ย้อนกลับมาดูสังคมที่เราอยู่ เออจริง...ไม่มีใครหรอกที่ทาปากแดงแจ๊ดตลอดเวลา ไม่มีใครหรอกที่ตาถลกตลอดเวลา ไม่มีใครหรอกที่กรี๊ดกร๊าดราวกับเสียสติอยู่ตลอดเวลา ไม่มีใครหรอกที่เปลี่ยนสีหน้ากล้องหนึ่งที กล้องสองสามสี่ทีได้ตลอดเวลา และคนที่ร้ายที่สุดในชีวิตจริง ก็คือคนที่ไม่แสดงออกให้เรารู้ว่าร้าย
----------
ปฏิเสธไม่ได้ว่า นางร้ายในละครเรื่อง “นาง (ร้าย)” และนางร้ายในละครไทยหลายเรื่อง คือด้านมืดของคนเรา คือการกระทำที่คนเราไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง แม้ว่าจะอยากทำในสถานการณ์ที่ไม่เป็นดังใจหวังสักแค่ไหนก็ตามที ท้ายสุดแล้วบทนางร้ายเหล่านี้ ที่ยังคงได้รับความนิยมตลอดมา อาจเป็นการหลีกหนีความจริง หนีมาเพื่อหลบอยู่ในโลกแห่งจินตนาการนี้ โลกที่สามารถทำอะไรก็ได้ หลบเพื่อมีความสุข หลบเพื่อพักผ่อนเพื่อความบันเทิง เมื่อพร้อมแล้วจึงหันกลับไปสู้กับชีวิตในโลกปัจจุบันต่อไป
----------
การหลีกหนีความจริงผ่านสื่อบันเทิงที่ชื่อว่าละคร ผ่านคาแรคเตอร์ที่ถูกตราว่าเป็นนางร้าย จึงเป็นความสุขในรูปแบบหนึ่ง และเราเชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่ ที่เลือกเสพความสุขในรูปแบบนี้ย่อมมีวิจารณญาณ มีมากพอที่จะคิดสอนตัวเองได้ว่าการกระทำเหล่านี้ก็อยู่ได้แค่ในโลกของละครเท่านั้น เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็ไม่มีอะไรเสียหาย
----------
สำหรับเราแล้ว ช่วงเวลา 80 นาที ที่ได้หลีกหนีความจริงเพื่อมาชมละครเรื่องร้ายๆ อย่าง “นาง (ร้าย)” นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ได้ความสุข ความเพลิดเพลินอีกช่วง นับเป็นอีกช่วงเวลาที่น่าจดจำและอยากบอกต่อ.
#อุ้มสม
----------
ปล. เอารายละเอียดการแสดงละครเวทีเรื่องนี้มาฝากคนที่มาอ่านรีวิวเราแล้วเกิดสนใจนะครับ ยังมีเวลาอยู่ และบัตรราคาย่อมเยามากๆ ได้ชมแล้วมาคุยกันนะครับ
----------
ละครเวที นาง(ร้าย) Siamese Femme Fatales ละครเวทีเมโลดราม่าเชิงสารคดี เพื่อสำรวจพื้นที่ทับซ้อนระหว่างภาพตายตัวของตัวละครและตัวตนของนักแสดงทั้งบนพื้นที่สื่อและชีวิตส่วนตัว จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2562 และ 1-3, 8-10 มีนาคม 2562 (วันศุกร์และเสาร์ รอบ 20.00 น. วันอาทิตย์ รอบ 16.00 น.) ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ ชั้น 6 อาคารแปลนเนรมิต สาทรซอย 10 (BTS สถานีช่องนนทรี) ราคาบัตรเริ่มต้นที่ 650-850-1,000 บาท สามารถจองบัตรได้แล้วที่www.ticketmelon.com/apropos/nangrai
----------
--- หากชื่นชอบการเขียนรีวิวของเรา สามารถไปกดไลก์แฟนเพจ “อุ้มสม” ของเราได้ ซึ่งในเพจจะมีทั้งการรีวิวนิยาย ละคร ละครเวทีสลับกันไป https://www.facebook.com/aumsomjakkri/?ref=br_rs
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้