งานบุญใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ ๑๒ ณ ลานหน้าอาคารจามจุรีสแควร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เช้าวันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๒ ลานหน้าอาคารจามจุรีสแควร์ จุฬาฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ ๑๒" ขึ้น เพื่อสานต่อโครงการใส่บาตรหนังสือที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

สำหรับในปีนี้ได้เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมทำบุญใส่บาตรหนังสือใหม่ หรือจตุปัจจัยให้กับพระสงฆ์และสามเณร นักการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน ๖๒ รูป จากวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และวัดยานนาวา พร้อมฟังปาฐกถาธรรมในหัวข้อ “จิตอาสาพัฒนาชาติ” โดย พระราชญาณกวี (ปิยโสภณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และร่วมกันสวดมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

 
 
 
 
พระราชญาณกวี (ปิยโสภณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กล่าวถึงความสำคัญของการมีจิตอาสาโดยมีการยกตัวอย่างว่า คนไทยเป็นคนใจบุญโดยปกติ ไม่เคยมีการทำอะไรต้องว่าจ้างกันมานานนับร้อยๆ ปีทุกอย่างจะพึ่งพาอาศัยกันตลอดมา เพียงแต่ในช่วงที่ผ่านมา             โลกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีการว่าจ้างแรงงานจากชนบทเข้าสู่ในเมือง ทำให้วัฒนธรรมการว่าจ้างติดตัวไปด้วยเมื่อกลับสู่บ้านเกิด จากที่เคยร่วมแรงร่วมใจลงแขกเกี่ยวข้าว ก็กลายเป็นต้องจ้างวานกัน ทำให้แรงงานแบบบุญกุศลในสมัยก่อนนั้นเลือนหายไป”

“จิตอาสา จึงเปรียบเสมือนจิตที่อาสางานบุญ เหมือนเราเอาอาหารไปใส่บาตร เอากับข้าวไปวัด เหมือนไปทอดผ้าป่าสร้างโบสถ์ สร้างเจดีย์ นี่แหละคือจิตอาสา มีโรงทาน ทุกคนเตรียมอาหารมา ไม่ต้องไปว่าจ้างใคร หรือหวังสิ่งใดตอบแทน เป็นต้น”

รศ.ดร.พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “กิจกรรมใส่บาตรหนังสือเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยตระหนักดีว่า หนังสือเปรียบเสมือนอาหารทางปัญญา ที่จะช่วยให้พระภิกษุ และสามเณร สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทั้งทางธรรมและสายสามัญได้ อันเป็นการก่อให้เกิดศาสนทายาทที่จะช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้มีความยั่งยืน และในวันนี้ยังถือเป็นโอกาสดีในการเปิดศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาจามจุรีสแควร์ (โฉมใหม่) ซึ่งเป็นศูนย์รวมความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทุกเพศทุกวัย
 
 
 
การใส่บาตรหนังสือจึงแตกต่างจากการใส่บาตรข้าวปลาอาหาร เพราะหนังสือเปรียบเสมือนอาหารสมองที่ต้องบ่มเพาะผ่านการอ่าน จนก่อให้เกิดขุมทรัพย์ทางปัญญาที่มีคุณค่า การให้หนังสือจึงเปรียบได้กับการให้ปัญญา ที่ก่อให้เกิดความอิ่มเอมใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้พระภิกษุ สามเณร สามารถเข้าถึงแหล่งการศึกษาที่ยั่งยืนทั้งทางธรรมและสายสามัญ ก่อให้เกิดศาสนทายาทที่จะช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป"

 
ถวายสังฆทานหนังสือแก่พระภิกษุสงฆ์ ๙ รูป
(โดยประธานในพิธี ผู้บริหารจุฬาฯ คณาจารย์ สำนักพิมพ์)
 
 
 
ถวายคูปอง(สำหรับซื้อหนังสือในศูนย์หนังสือจุฬาฯ) แก่พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ๖๒ รูป
(โดยศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
 
 
 
พิธีใส่บาตรหนังสือ แก่พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ๖๒ รูป
(โดยแขกผู้มีเกียรติและผู้ร่วมงาน)
 
 
 
พาพันชอบพาพันอาบน้ำพาพันรักสัตว์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่