คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
คาบสมุทรเกาหลีกับจีนมีการติดต่อกันก่อนยุคสามก๊กยาวนานมากครับ ตั้งแต่ยุคอาณาจักรโบราณของเกาหลีอย่างโชซอนโบราณมีปรากฏกล่าวถึงในหลักฐานของจีนตั้งแต่สมัยชุนชิวว่ามีการติดต่อกับรัฐฉี (齊) ตั้งแต่เมื่อเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล และก็ได้นำวัฒนธรรมของจีนเข้ามายังคาบสมุทรเกาหลีด้วย
ผ่านมาถึง ค.ศ. 108 รัชสมัยฮั่นอู่ตี้ (漢武帝) ราชสำนักฮั่นได้ยกทัพไปตีอาณาจักรโชซอนโบราณแตก ได้แบ่งการปกครองออกเป็นสี่จังหวัดคือ เล่อล่าง (樂浪郡) เสฺวียนถู (玄菟郡) หลินถุน (臨屯郡) เจินฟาน (真番郡) ขึ้นตรงกับราชสำนักฮั่น กินพื้นที่บริเวณเกาหลีเหนือในปัจจุบัน แต่หลินถุนกับเจินฟานถูกยุบรวมกับอีกสองจังหวัดที่เหลือหลังจากนั้นแค่ราว 20 ปี ส่วนทางใต้ลงไปจากหัวเมืองเหล่านี้เป็นพื้นที่ของอาณาจักรโคกูรยอ (高句麗, 고구려) รวมไปถึงรัฐอื่นๆ ในคาบสมุทรเกาหลี โคกูรยอทำสงครามบุกตีหัวเมืองของฮั่นอยู่เนืองๆ แพ้บ้างชนะบ้าง
ผ่านมาถึงสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นและสามก๊กก็มีเหตุเกี่ยวข้องกับดินแดนในคาบสมุทรเกาหลีอยู่หลายครั้ง
ในช่วงที่ตั๋งโต๊ะยึดอำนาจในราชสำนักฮั่น ได้แต่งตั้งกงซุนตู้ (公孫度 กองซุนตู้) ชาวเสฺวียนถู อดีตผู้ตรวจการมณฑลจี้โจว (冀州 กิจิ๋ว) เป็นเจ้าเมืองเหลียวตง (遼東 เลียวตั๋ง) ซึ่งอยู่ติดต่อกับคาบสมุทรเกาหลี กงซุนตู้ได้โจมตีอาณาจักรโคกูรยอทางตะวันออก และโจมตีดินแดนของชนเผ่าอูหวน (烏桓) ทางตะวันตก แผ่ขยายอำนาจไปทั่วคาบสมุทรเกาหลีตอนบนรวมถึงเมืองเล่อล่างและเสฺวียนถู
กงซุนตู้เห็นว่าราชวงศ์ฮั่นเสื่อมทรามแล้ว จึงตั้งตัวเป็นใหญ่ โดยแบ่งจังหวัดของเหลียวตงมาเป็นจังหวัดใหม่คือ เหลียวซี (遼西) และ จงเหลียว (中遼) แล้วตั้งคนไปปกครอง จากนั้นก็ยกทัพเรือไปตีจังหวัดตงไหล (東萊) ได้หลายอำเภอ ตั้งขึ้นเป็นมณฑลอิ๋งโจว (營州) หลังจากนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นเหลียวตงโหว (遼東侯) หรือพระยาเหลียวตง ควบตำแหน่งผู้ว่าราชการมณฑลผิงโจว (平州牧) ซึ่งก็คือดินแดนในปกครองของตนเอง
นอกจากนี้ยังตั้งศาลพระเทพบิดรของฮั่นเกาจู่และฮั่นกวงอู่ขึ้น ตั้งแท่นบวงสรวงทางทิศใต้ของเมืองเซียงผิงสำหรับสักการะฟ้าดิน นั่งราชรถลายหงส์เทียมม้าสี่ตัว สวมเหมี่ยนกวนห้อยระย้าเก้าสายเสมือนเจ้านครรัฐ ทำพิธีแรกนาขวัญ กองทหารม้ารักษาพระองค์อวี่หลิน (羽林) ถือธงขนวัวเหมือนในราชสำนัก แสดงให้เห็นเจตนาที่จะตั้งตนเป็นเจ้าอย่างชัดเจน
เมื่อโจโฉได้ครองอำนาจในราชสำนัก เห็นว่ากงซุนตู้มีอิทธิพลมาก จึงตั้งให้กงซุนตู้มีตำแหน่งเป็นขุนพลยุทธเดช (武威將軍 อู่เวยเจียงจวิน) มีบรรดาศักดิ์เป็นหย่งหนิงเซียงโหว (永寧鄉侯) คือกินส่วยเขตหนึ่งในอำเภอหย่งหนิง แต่กงซุนตู้ไม่รับบรรดาศักดิ์ กล่าวว่า "ข้าเป็นกษัตริย์แห่งเหลียวตง อะไรคือหย่งหนิง" แต่ก็เก็บตราตั้งที่ได้รับไว้ในคลัง
ภาพเขียนศิลปะสมัยฮั่นตะวันออกในสุสานเมืองเล่อล่าง (樂浪) ประเทศเกาหลีเหนือ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงโซล
รัชศกเจี้ยนอานปีที่ 9 (ค.ศ. 204) กงซุนตู้ตาย กงซุนคัง (公孫康 กองซุนของ) บุตรชายได้สืบทอดอำนาจในเหลียวตงต่อมา ยกบรรดาศักดิ์หย่งหนิงเซียงโหวให้ กงซุนกง (公孫恭) น้องชาย
รัชศกเจี้ยนอานปีที่ 12 (ค.ศ. 207) ในช่วงนั้นโจโฉรบชนะอ้วนเสี้ยวและยกทัพไปทางตะวันออกเพื่อปราบชนเผ่าอูหวน อ้วนซง (袁尚) กับอ้วนฮี (袁熙) หนีไปพึ่งกงซุนคังที่เหลียวตง แต่กงซุนคังตัดศีรษะทั้งสองรวมถึงหัวหน้าชนเผ่าอูหวนมอบให้โจโฉเพื่อแสดงว่าตนเองยอมอ่อนน้อมต่อราชสำนักฮั่น โจโฉจึงเลื่อนตำแหน่งให้เป็นขุนพลฝ่ายซ้าย (左將軍 จั่วเจียงจวิน) มีบรรดาศักดิ์เซียงผิงโหว (襄平侯) โดยนิตินัยกงซุนคังเป็นขุนนางในราชสำนักฮั่น แต่ด้วยความที่เหลียวตงอยู่ห่างไกลจงหยวนมากทำให้ตระกูลกงซุนมีอิสระในการปกครองมาก ขึ้นกับฮั่นแบบหลวมๆ เท่านั้น
ต่อมากงซุนคังก็ยกทัพไปทำสงครามกับโคกูรยอได้ชัยชนะ บังคับให้พระเจ้าซันซัง (山上王; 산상왕) แห่งโคกูรยอยอมขึ้นกับราชสำนักฮั่นและบังคับให้ย้ายราชธานีไปยังเมืองฮวันโด (丸都; 환도) นอกจากนี้ยังจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองเกาหลีอีกหลายประการ เช่น แบ่งจังหวัดเล่อล่างตั้งเป็นจังหวัดไต้ฟาง (帶方) ในหลักฐานสมัยฮั่นและสามก๊กได้รวมเล่อล่าง เสฺวียนถู และไต้ฟางเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลโยวโจว (幽州 อิวจิ๋ว)
เมื่อกงซุนคังตาย ลูกชายทั้งสองยังเด็กอยู่ กงซุนกง น้องชายจึงสืบทอดอำนาจในเหลียวตง
หลังเว่ยเหวินตี้ (魏文帝 โจผี) สถาปนาวุยขึ้นแทนฮั่น ในรัชศกหวงชูปีที่ 2 (ค.ศ. 221) เลื่อนกงซุนกงเป็นขุนพลทหารม้ารถศึก (車騎將軍 จวีจี้เจียงจวิน) ได้รับคฑาอาญาสิทธิ์ (假節) มีบรรดาศักดิ์ผิงกัวโหว (平郭侯) อวยยศย้อนหลังให้กงซุนคังเป็น ต้าซือหม่า (大司馬) จอมพลผู้บัญชาการทหารสูงสุด สูงเหนือกว่าซานกง และมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจวิน)
ผ่านมาถึงสมัยเว่ยหมิงตี้ (魏明帝 โจยอย) กงซุนกงป่วยเป็นโรคที่อัณฑะจนต้องตัดอวัยวะเพศทำให้ร่างกายอ่อนแอลงปกครองไม่ได้ รัชศกไท่เหอปีที่ 2 (ค.ศ. 228) กงซุนยวน (公孫淵 กองซุนเอี๋ยน) บุตรกงซุนคังได้แย่งอำนาจจากกงซุนกง เว่ยหมิงตี้จึงตั้งให้เป็นขุนพลอนุภาพขจร (揚烈將軍 หยางเลี่ยเจียงจวิน) และผู้ว่าราชการจังหวัดเหลียวตง
รัชศกไท่เหอปีที่ 4 (ค.ศ. 230) เลื่อนกงซุนยวนเป็น ขุนพลทหารม้ารถศึก
รัชศกชิงหลงปีที่ 1 (ค.ศ. 233) แต่กงซุนยวนเริ่มหันไปผูกมิตรกับซุนกวนแห่งง่อแทน โดยซุนกวนเสนอให้ร่วมมือกันตีวุยก๊กสองทาง รวมถึงเสนอตำแหน่งเยียนหวัง (燕王) หรืออ๋องแห่งรัฐเยียนให้พร้อมกับให้สิทธิพิเศษในการซื้อขายม้าศึก แต่กงซุนยวนเปลี่ยนใจกลับมาเข้าข้างวุย แล้วจับคณะทูตง่อส่งไปวุยทั้งหมด เว่ยหมิงตี้จึงเลื่อนตำแหน่งให้เป็นต้าซือหม่า พร้อมบรรดาศักดิ์เป็นเล่อล่างกง (樂浪公) หรือ เจ้าพระยาเล่อล่าง ถือคฑาอาญาสิทธิ์ปกครองเหลียวตงตามเดิม
ฝ่ายโคกูรยอไม่ชอบใจตระกูลกงซุนมาตั้งแต่แรก พระเจ้าดองชอน (東川王, 동천왕 ) กษัตริย์โคกูรยอจึงหันไปร่วมมือกับง่อก๊กเพื่อต่อต้านตระกูลกงซุน แต่ภายหลังก็เปลี่ยนใจมาผูกมิตรกับวุยแทน
ภายหลังวุยเริ่มระแวงอิทธิพลที่มีมากเกินไปของตระกูลกงซุน บวกกับท่าทีทีเคยเอนเอียงกลับไปกลับมา เว่ยหมิงตี้จึงส่งก้วนชิวเจี่ยน (毌丘儉 บู๊ขิวเขียม) ผู้ว่าราชการมณฑลโยวโจวไปตีเหลียวตงแต่ไม่สำเร็จ กงซุนยวนจึงตั้งตนเป็นกบฏ สถาปนาตนเองเป็นเยียนหวัง ตั้งปีรัชศกว่าเซ่าฮั่น (紹漢 สืบต่อจากราชวงศ์ฮั่น) แสดงเจตจำนงที่จะแยกตนเป็นอิสระและต่อต้านวุยอย่างชัดเจน
รัชศกจิ่งชูปีที่ 1 (ค.ศ. 237) ราชสำนักวุยส่งสุมาอี้ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นไท่เว่ย (太尉 สมุหพระกลาโหม) ยกทัพใหญ่สี่หมื่นไปปราบเหลียวตงพร้อมกับก้วนชิวเจี่ยน โดยได้รับการสนับสนุนจากโคกูรยอด้วย สุมาอี้ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม สามารถยึดครองเหลียวตง เล่อล่าง เสฺวียนถู ไต้ฟางได้ทั้งสิ้น กงซุนยวนตายในการรบ สุมาอี้สั่งประหารข้าราชการที่เข้าร่วมกับกบฏมากกว่าพันคน รวมถึงทหารกองทัพเหลียวตงที่อายุมากกว่า 14 ปีทั้งหมดราว 7,000 คน จับเชลยได้มากกว่า 300,000 คน กวาดต้อนประชากรกลับไปเมืองจีนจำนวนมาก ฐานอำนาจของตระกูลกงซุนในคาบสมุทรเกาหลีถูกทำลายลง แต่ก็ทำให้ประชากรชาวฮั่นในคาบสมุทรเกาหลีตอนบนเบาบางลงมาก
ส่วนหนึ่งของจารึกของก้วนชิวเจี่ยน (毌丘儉紀功碑) กล่าวถึงความสำเร็จในการรบของโคกูรยอ
ผ่านมาไม่กีปี โพระเจ้าดองชอนก็เริ่มขยายอำนาจขึ้นไปยังเหลียวตง ฝ่ายวุยเห็นว่าเป็นภัยคุกคามจึงส่งก้วนชิวเจี่ยนไปปราบปรามจนบุกยึดเมืองฮวันโดราชธานีของโคกูรยอได้ จากนั้นทัพวุยนำโดยแม่ทัพหวังฉี (王頎 อองกิ๋น) เจ้าเมืองเสฺวียนถูได้เคลื่อนทัพลงใต้เพื่อไล่ล่าพระเจ้าดองชอนที่หลบหนีต่อไป แม้ว่าจะจับตัวพระเจ้าดองชอนไม่ได้ แต่ก็สามารถยึดหัวเมืองของโคกูรยอได้หลายแห่งทั้งแคว้นอกจอ (沃沮, 옥저) ในตอนกลางของคาบสมุทรเกาหลี ทำให้แคว้นพูยอ (夫餘, 부여) ทางตอนเหนือยอมสวามิภักดิ์ และยังส่งทัพไปตีกับแคว้นเย (濊, 예) ที่เป็นพันธมิตรของโครกูรยอได้สำเร็จ ประชากรในคาบสมุทรเกาหลีถูกกวาดต้อนไปยังแผ่นดินจีนอีกจำนวนมาก ทำให้วุยได้ครองอำนาจในคาบสมุทรเกาหลีตอนบนไปอีกหลายสิบปี
โคกูรยออ่อนแอลงมาก ต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นตัว จนถึงสมัยต้นราชวงศ์จิ้นที่แผ่นดินจีนเป็นจลาจลจากแปดอ๋องชิงอำนาจจนทำให้ชนเผ่านอกด่านทั้งห้า (五胡) เข้ามาก่อความวุ่นวาย โคกูรยอจึงได้ฉวยโอกาลยกทัพไปตีเล่อล่างและไต้ฟางมาจากจีนได้สำเร็จ และเริ่มขยายอำนาจขึ้นไปยังคาบสมุทรเหลียวตง
ผ่านมาถึง ค.ศ. 108 รัชสมัยฮั่นอู่ตี้ (漢武帝) ราชสำนักฮั่นได้ยกทัพไปตีอาณาจักรโชซอนโบราณแตก ได้แบ่งการปกครองออกเป็นสี่จังหวัดคือ เล่อล่าง (樂浪郡) เสฺวียนถู (玄菟郡) หลินถุน (臨屯郡) เจินฟาน (真番郡) ขึ้นตรงกับราชสำนักฮั่น กินพื้นที่บริเวณเกาหลีเหนือในปัจจุบัน แต่หลินถุนกับเจินฟานถูกยุบรวมกับอีกสองจังหวัดที่เหลือหลังจากนั้นแค่ราว 20 ปี ส่วนทางใต้ลงไปจากหัวเมืองเหล่านี้เป็นพื้นที่ของอาณาจักรโคกูรยอ (高句麗, 고구려) รวมไปถึงรัฐอื่นๆ ในคาบสมุทรเกาหลี โคกูรยอทำสงครามบุกตีหัวเมืองของฮั่นอยู่เนืองๆ แพ้บ้างชนะบ้าง
ผ่านมาถึงสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นและสามก๊กก็มีเหตุเกี่ยวข้องกับดินแดนในคาบสมุทรเกาหลีอยู่หลายครั้ง
ในช่วงที่ตั๋งโต๊ะยึดอำนาจในราชสำนักฮั่น ได้แต่งตั้งกงซุนตู้ (公孫度 กองซุนตู้) ชาวเสฺวียนถู อดีตผู้ตรวจการมณฑลจี้โจว (冀州 กิจิ๋ว) เป็นเจ้าเมืองเหลียวตง (遼東 เลียวตั๋ง) ซึ่งอยู่ติดต่อกับคาบสมุทรเกาหลี กงซุนตู้ได้โจมตีอาณาจักรโคกูรยอทางตะวันออก และโจมตีดินแดนของชนเผ่าอูหวน (烏桓) ทางตะวันตก แผ่ขยายอำนาจไปทั่วคาบสมุทรเกาหลีตอนบนรวมถึงเมืองเล่อล่างและเสฺวียนถู
กงซุนตู้เห็นว่าราชวงศ์ฮั่นเสื่อมทรามแล้ว จึงตั้งตัวเป็นใหญ่ โดยแบ่งจังหวัดของเหลียวตงมาเป็นจังหวัดใหม่คือ เหลียวซี (遼西) และ จงเหลียว (中遼) แล้วตั้งคนไปปกครอง จากนั้นก็ยกทัพเรือไปตีจังหวัดตงไหล (東萊) ได้หลายอำเภอ ตั้งขึ้นเป็นมณฑลอิ๋งโจว (營州) หลังจากนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นเหลียวตงโหว (遼東侯) หรือพระยาเหลียวตง ควบตำแหน่งผู้ว่าราชการมณฑลผิงโจว (平州牧) ซึ่งก็คือดินแดนในปกครองของตนเอง
นอกจากนี้ยังตั้งศาลพระเทพบิดรของฮั่นเกาจู่และฮั่นกวงอู่ขึ้น ตั้งแท่นบวงสรวงทางทิศใต้ของเมืองเซียงผิงสำหรับสักการะฟ้าดิน นั่งราชรถลายหงส์เทียมม้าสี่ตัว สวมเหมี่ยนกวนห้อยระย้าเก้าสายเสมือนเจ้านครรัฐ ทำพิธีแรกนาขวัญ กองทหารม้ารักษาพระองค์อวี่หลิน (羽林) ถือธงขนวัวเหมือนในราชสำนัก แสดงให้เห็นเจตนาที่จะตั้งตนเป็นเจ้าอย่างชัดเจน
เมื่อโจโฉได้ครองอำนาจในราชสำนัก เห็นว่ากงซุนตู้มีอิทธิพลมาก จึงตั้งให้กงซุนตู้มีตำแหน่งเป็นขุนพลยุทธเดช (武威將軍 อู่เวยเจียงจวิน) มีบรรดาศักดิ์เป็นหย่งหนิงเซียงโหว (永寧鄉侯) คือกินส่วยเขตหนึ่งในอำเภอหย่งหนิง แต่กงซุนตู้ไม่รับบรรดาศักดิ์ กล่าวว่า "ข้าเป็นกษัตริย์แห่งเหลียวตง อะไรคือหย่งหนิง" แต่ก็เก็บตราตั้งที่ได้รับไว้ในคลัง
ภาพเขียนศิลปะสมัยฮั่นตะวันออกในสุสานเมืองเล่อล่าง (樂浪) ประเทศเกาหลีเหนือ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงโซล
รัชศกเจี้ยนอานปีที่ 9 (ค.ศ. 204) กงซุนตู้ตาย กงซุนคัง (公孫康 กองซุนของ) บุตรชายได้สืบทอดอำนาจในเหลียวตงต่อมา ยกบรรดาศักดิ์หย่งหนิงเซียงโหวให้ กงซุนกง (公孫恭) น้องชาย
รัชศกเจี้ยนอานปีที่ 12 (ค.ศ. 207) ในช่วงนั้นโจโฉรบชนะอ้วนเสี้ยวและยกทัพไปทางตะวันออกเพื่อปราบชนเผ่าอูหวน อ้วนซง (袁尚) กับอ้วนฮี (袁熙) หนีไปพึ่งกงซุนคังที่เหลียวตง แต่กงซุนคังตัดศีรษะทั้งสองรวมถึงหัวหน้าชนเผ่าอูหวนมอบให้โจโฉเพื่อแสดงว่าตนเองยอมอ่อนน้อมต่อราชสำนักฮั่น โจโฉจึงเลื่อนตำแหน่งให้เป็นขุนพลฝ่ายซ้าย (左將軍 จั่วเจียงจวิน) มีบรรดาศักดิ์เซียงผิงโหว (襄平侯) โดยนิตินัยกงซุนคังเป็นขุนนางในราชสำนักฮั่น แต่ด้วยความที่เหลียวตงอยู่ห่างไกลจงหยวนมากทำให้ตระกูลกงซุนมีอิสระในการปกครองมาก ขึ้นกับฮั่นแบบหลวมๆ เท่านั้น
ต่อมากงซุนคังก็ยกทัพไปทำสงครามกับโคกูรยอได้ชัยชนะ บังคับให้พระเจ้าซันซัง (山上王; 산상왕) แห่งโคกูรยอยอมขึ้นกับราชสำนักฮั่นและบังคับให้ย้ายราชธานีไปยังเมืองฮวันโด (丸都; 환도) นอกจากนี้ยังจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองเกาหลีอีกหลายประการ เช่น แบ่งจังหวัดเล่อล่างตั้งเป็นจังหวัดไต้ฟาง (帶方) ในหลักฐานสมัยฮั่นและสามก๊กได้รวมเล่อล่าง เสฺวียนถู และไต้ฟางเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลโยวโจว (幽州 อิวจิ๋ว)
เมื่อกงซุนคังตาย ลูกชายทั้งสองยังเด็กอยู่ กงซุนกง น้องชายจึงสืบทอดอำนาจในเหลียวตง
หลังเว่ยเหวินตี้ (魏文帝 โจผี) สถาปนาวุยขึ้นแทนฮั่น ในรัชศกหวงชูปีที่ 2 (ค.ศ. 221) เลื่อนกงซุนกงเป็นขุนพลทหารม้ารถศึก (車騎將軍 จวีจี้เจียงจวิน) ได้รับคฑาอาญาสิทธิ์ (假節) มีบรรดาศักดิ์ผิงกัวโหว (平郭侯) อวยยศย้อนหลังให้กงซุนคังเป็น ต้าซือหม่า (大司馬) จอมพลผู้บัญชาการทหารสูงสุด สูงเหนือกว่าซานกง และมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจวิน)
ผ่านมาถึงสมัยเว่ยหมิงตี้ (魏明帝 โจยอย) กงซุนกงป่วยเป็นโรคที่อัณฑะจนต้องตัดอวัยวะเพศทำให้ร่างกายอ่อนแอลงปกครองไม่ได้ รัชศกไท่เหอปีที่ 2 (ค.ศ. 228) กงซุนยวน (公孫淵 กองซุนเอี๋ยน) บุตรกงซุนคังได้แย่งอำนาจจากกงซุนกง เว่ยหมิงตี้จึงตั้งให้เป็นขุนพลอนุภาพขจร (揚烈將軍 หยางเลี่ยเจียงจวิน) และผู้ว่าราชการจังหวัดเหลียวตง
รัชศกไท่เหอปีที่ 4 (ค.ศ. 230) เลื่อนกงซุนยวนเป็น ขุนพลทหารม้ารถศึก
รัชศกชิงหลงปีที่ 1 (ค.ศ. 233) แต่กงซุนยวนเริ่มหันไปผูกมิตรกับซุนกวนแห่งง่อแทน โดยซุนกวนเสนอให้ร่วมมือกันตีวุยก๊กสองทาง รวมถึงเสนอตำแหน่งเยียนหวัง (燕王) หรืออ๋องแห่งรัฐเยียนให้พร้อมกับให้สิทธิพิเศษในการซื้อขายม้าศึก แต่กงซุนยวนเปลี่ยนใจกลับมาเข้าข้างวุย แล้วจับคณะทูตง่อส่งไปวุยทั้งหมด เว่ยหมิงตี้จึงเลื่อนตำแหน่งให้เป็นต้าซือหม่า พร้อมบรรดาศักดิ์เป็นเล่อล่างกง (樂浪公) หรือ เจ้าพระยาเล่อล่าง ถือคฑาอาญาสิทธิ์ปกครองเหลียวตงตามเดิม
ฝ่ายโคกูรยอไม่ชอบใจตระกูลกงซุนมาตั้งแต่แรก พระเจ้าดองชอน (東川王, 동천왕 ) กษัตริย์โคกูรยอจึงหันไปร่วมมือกับง่อก๊กเพื่อต่อต้านตระกูลกงซุน แต่ภายหลังก็เปลี่ยนใจมาผูกมิตรกับวุยแทน
ภายหลังวุยเริ่มระแวงอิทธิพลที่มีมากเกินไปของตระกูลกงซุน บวกกับท่าทีทีเคยเอนเอียงกลับไปกลับมา เว่ยหมิงตี้จึงส่งก้วนชิวเจี่ยน (毌丘儉 บู๊ขิวเขียม) ผู้ว่าราชการมณฑลโยวโจวไปตีเหลียวตงแต่ไม่สำเร็จ กงซุนยวนจึงตั้งตนเป็นกบฏ สถาปนาตนเองเป็นเยียนหวัง ตั้งปีรัชศกว่าเซ่าฮั่น (紹漢 สืบต่อจากราชวงศ์ฮั่น) แสดงเจตจำนงที่จะแยกตนเป็นอิสระและต่อต้านวุยอย่างชัดเจน
รัชศกจิ่งชูปีที่ 1 (ค.ศ. 237) ราชสำนักวุยส่งสุมาอี้ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นไท่เว่ย (太尉 สมุหพระกลาโหม) ยกทัพใหญ่สี่หมื่นไปปราบเหลียวตงพร้อมกับก้วนชิวเจี่ยน โดยได้รับการสนับสนุนจากโคกูรยอด้วย สุมาอี้ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม สามารถยึดครองเหลียวตง เล่อล่าง เสฺวียนถู ไต้ฟางได้ทั้งสิ้น กงซุนยวนตายในการรบ สุมาอี้สั่งประหารข้าราชการที่เข้าร่วมกับกบฏมากกว่าพันคน รวมถึงทหารกองทัพเหลียวตงที่อายุมากกว่า 14 ปีทั้งหมดราว 7,000 คน จับเชลยได้มากกว่า 300,000 คน กวาดต้อนประชากรกลับไปเมืองจีนจำนวนมาก ฐานอำนาจของตระกูลกงซุนในคาบสมุทรเกาหลีถูกทำลายลง แต่ก็ทำให้ประชากรชาวฮั่นในคาบสมุทรเกาหลีตอนบนเบาบางลงมาก
ส่วนหนึ่งของจารึกของก้วนชิวเจี่ยน (毌丘儉紀功碑) กล่าวถึงความสำเร็จในการรบของโคกูรยอ
ผ่านมาไม่กีปี โพระเจ้าดองชอนก็เริ่มขยายอำนาจขึ้นไปยังเหลียวตง ฝ่ายวุยเห็นว่าเป็นภัยคุกคามจึงส่งก้วนชิวเจี่ยนไปปราบปรามจนบุกยึดเมืองฮวันโดราชธานีของโคกูรยอได้ จากนั้นทัพวุยนำโดยแม่ทัพหวังฉี (王頎 อองกิ๋น) เจ้าเมืองเสฺวียนถูได้เคลื่อนทัพลงใต้เพื่อไล่ล่าพระเจ้าดองชอนที่หลบหนีต่อไป แม้ว่าจะจับตัวพระเจ้าดองชอนไม่ได้ แต่ก็สามารถยึดหัวเมืองของโคกูรยอได้หลายแห่งทั้งแคว้นอกจอ (沃沮, 옥저) ในตอนกลางของคาบสมุทรเกาหลี ทำให้แคว้นพูยอ (夫餘, 부여) ทางตอนเหนือยอมสวามิภักดิ์ และยังส่งทัพไปตีกับแคว้นเย (濊, 예) ที่เป็นพันธมิตรของโครกูรยอได้สำเร็จ ประชากรในคาบสมุทรเกาหลีถูกกวาดต้อนไปยังแผ่นดินจีนอีกจำนวนมาก ทำให้วุยได้ครองอำนาจในคาบสมุทรเกาหลีตอนบนไปอีกหลายสิบปี
โคกูรยออ่อนแอลงมาก ต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นตัว จนถึงสมัยต้นราชวงศ์จิ้นที่แผ่นดินจีนเป็นจลาจลจากแปดอ๋องชิงอำนาจจนทำให้ชนเผ่านอกด่านทั้งห้า (五胡) เข้ามาก่อความวุ่นวาย โคกูรยอจึงได้ฉวยโอกาลยกทัพไปตีเล่อล่างและไต้ฟางมาจากจีนได้สำเร็จ และเริ่มขยายอำนาจขึ้นไปยังคาบสมุทรเหลียวตง
แสดงความคิดเห็น
ยุคสามก๊ก จีนรู้จักเกาหลีหรือยังครับ
เคยเห็นแต่วุยก๊กพยายามขยายอาณาจักรไปทางภาคใต้กับภาคตะวันตก ไม่เคยเห็นขยายไปทางภาคตะวันออก (อาณาจักรเกาหลี) เพราะเหตุใดครับ ?
- เพราะเทคโนโลยีการเดินเรือสมัยนั้นยังไม่สามารถข้ามทะเลเหลืองไปฝั่งเกาหลีได้เหรอ ?
- เพราะเส้นทางไปเกาหลีทางบก ไกลและกันดารมาก จนไม่สามารถเดินทางไปได้เหรอ ? (จำได้ว่าตอนก๊กอ้วนเสี้ยวแตก อ้วนเสี้ยวหนีขึ้นเหนือไปแล้วโจโฉยกทัพตาม แต่เส้นทางกันดารมาก ถึงขนาดทหารตายกลางทางไปเยอะรวมทั้ง กุยแก ที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉด้วย)
หรือเพราะอย่างอื่น