The Favourite: เกมริษยา
[spoiler alert มีสปอยล์บ้างแต่คิดว่าเซฟไว้เยอะแล้ว และไม่ได้ทำให้เสียอรรถรสขนาดนั้น]
ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ (โอลิเวีย โคลแมน) สงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสก่อตัวขึ้นบนสนามรบ ในที่ ๆ ชายฉกรรจ์นับพันนับหมื่นถูกเกณฑ์ทัพไปร่มทัพ ในขณะเดียวกันนั้นเอง สงครามเล็ก ๆ ก็เริ่มก่อเค้าลางขึ้นในพระราชวัง ก่อร่างขึ้นพ้อมกับการมาถึงของเลดี้บ้านนาอย่างอบิเกล ฮิลล์ (เอ็มม่า สโตน) นางกำนัลสนองพระโอษฐ์คนสนิทของพระราชินีผู้รั้งตำแหน่งเลดี้แห่งมาห์ลบะระอย่าง ซาราห์ เชอร์ชิล (เรเชล ไวซ์) ผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังราชสำนักไม่รู้ตัวหรอกว่ากำลังจะมีการต่อสู้เกิดขึ้น พวกผู้ชายถูกส่งไปสู้ในสนามรบ ทว่าลานต่อสู้แห่งใหม่ก็กำลังถูกสร้างขึ้นในพระราชวังเช่นกัน เป็นสนามรบระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง อบิเกล ฮิลล์ กับซาราห์ เชอร์ชิล กำลังจะต้องชิงไหวชิงพริบกันบนสมรภูมิที่มีชื่อว่าควีนแอนน์
หลังจากโด่งดังมาจากหนังภาษากรีก Dogtooth และทำหนังพูดภาษาอังกฤษโดนใจเด็กแนวเรื่อง The Lobster ยอร์กอส ลานธิมอส ผู้กำกับชาวกรีกสุดเพี้ยนคนนี้ก็ได้เข้าชิงออสการ์ครั้งแรกในสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก The Favourite ซึ่งเป็นหนังเรื่องแรกที่เขาไม่ได้เขียนบทเอง น่าแปลกที่สไตล์เพี้ยนหลุดโลกของเขาเข้ากันได้ดีกับหนังที่หน้าหนังดูเป็นหนังพีเรียดคอสตูมดราม่าทั่วไป แต่ลองพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่าความสติแตกของยอร์กอส ลานธิมอสนั้น สอดรับกันดีกับความเน่าหนอนฟอนเฟะ แก่งแย่งแข่งขันกันในพระราชสำนัก และยิ่งน่าสนใจขึ้นอีกเมื่อหนังถูกเล่าด้วยอารมณ์ขันขื่นแบบตลกร้าย
แต่เดิมซาราห์ เชอร์ชิล เป็นพระสหายของควีนมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ไม่ใช่เรื่องยากที่เธอจะก้าวขึ้นไปเป็นคนสนิทของพระราชินี เลดี้แห่งมาห์ลบะระผู้นี้รู้วิธีที่จะรับมือกับควีนแอนน์เป็นอย่างดี และช่างเป็นโชคดีของเธอ แต่เป็นโชคร้ายของสมเด็จพระราชินีที่ประชวรด้วยหลายอาการ จะเสด็จไหนก็ต้องอาศัยไม้ค้ำหรือรถเข็น มิหนำซ้ำพระอารมณ์ยังขึ้น ๆ ลง ๆ นั่นจึงเป็นเหตุให้เลดี้ซาราห์ “ชักใย” องค์ราชินีได้ง่ายตามต้องการ เรียกได้ว่าประเทศจะไปทางไหนขึ้นอยู่กับคนสนิทอย่างเธอล้วน ๆ จะยืดสงครามให้ยาวนานเป็นละครช่องเจ็ดเพื่อขูดรีดภาษีไพร่ฟ้าหน้าใส ซาราห์ก็ทำได้อย่างสะดวกโยธิน
เรื่องราวเดินหน้าด้วยการมาถึงของเลดี้ตกอับชื่ออบิเกล ฮิลล์ ซาราห์ไม้รู้หรอกว่าญาติห่าง ๆ คนนี้จะนำความยุ่งยากมาแก่เธอในภายภาคหน้า ด้วยเห็นว่าหน้าตาใสซื่อ กิริยาท่าทางดูเปิ่น ๆ ซาราห์ไม่คิดว่าอบิเกลจะมีพิษสงอะไร จึงรับอบิเกลมาเป็นคนรับใช้ใกล้ชิดตัวเธอเอง หารู้ไม่ว่าสาวน้อยหน้าใสผู้นี้สวยแต่ไม่ได้โง่อย่างที่เธอคิด อบิเกลซึมซับคำสอนของซาราห์เพื่อที่จะอยู่รอดในพระราชสำนักในตอนแรก แต่เมื่อความรู้ของเธอก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ การลอบเรียนรู้วิธีการเป็นคนโปรดคนใหม่ของควีนแอนน์จากซาราห์ผู้แก่ประสบการณ์ไม่ใช่เรื่องยากเลย
เราจะได้เห็นว่าการเมืองในสภานั้นฉากหน้ามีผู้เล่นเป็นเพศชายล้วน ๆ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีซิดนีย์ โกโดลฟิน (เจมส์ สมิธ) หรือพรรคฝ่ายค้านอย่างโรเบิร์ต ฮาร์ลีย์ (นิโคลัส โฮลต์) ที่ฝ่ายแรกหนุนการสงครามและเก็บภาษีเพิ่ม และแน่นอนว่าฝ่ายหลังไม่ใคร่จะเห็นด้วย แต่การจะผลักดันความคิดของฝ่ายแรกจริง ๆ จำต้องมีการ “ล็อบบี้” เสียงของสมเด็จพระราชินีก่อน คนที่จะกระทำการชักจูงควีนได้ก็ไม่ใช่ใคร นอกจากนางสนองพระโอษฐ์อย่างซาราห์ เชอร์ชิล นั่นทำให้ขุนนางฝ่ายค้านเสียแต้มต่อในมือ เสียเปรียบในเกมการเมืองเกมนี้เป็นอย่างมาก กลับกันฝ่ายรัฐบาลนั้นทรงอำนาจเสียจนสามารถชักนำประเทศไปในทิศทางใดก็ได้ ในเมื่อพวกเขาได้กุมพระราชวินิจฉัยของควีนแอนน์ไว้ในกำมือแล้ว
การมาถึงของอบิเกลคือตัวพลิกเกม
ในพระราชวัง การต่อสู้ของผู้หญิงสามคนได้เริ่มขึ้น ส่วนบนหน้ากล้อง การฟาดฟันประชันบทบาทแบบไม่มีใครยอมใครก็คุกรุ่นไม่แพ้กัน โอลิเวีย โคลนแมน รับบทพระราชินีนาถแอนน์ที่พระสติคล้ายจะวิปลาสและพระอารมณ์ขึ้นลงราวรถไฟเหาะได้อย่างตลกร้ายกาจแต่ยังเต็มไปด้วยความเป็นมนุษย์ ส่วนเรเชล ไวซ์แสดงเป็นเลดี้ซาราห์ได้อย่างทรงอำนาจ ซับซ้อน น้อยแต่ได้มาก ในขณะที่ตัวละครที่มีพัฒนาการที่สุดในเรื่องอย่างอบิเกล ฮิลล์ นั้น เอ็มม่า สโตนก็รับบทบาทได้อย่างไร้ที่ติ ทว่าบนเวทีรางวัล มีเพียงโอลิเวีย โคลแมนที่อยู่ในฐานะบทนำ อีกสองสาวนั้นถูกพิจารณาในสาขาสมทบ แต่พอได้ดูหนังแล้วสามารถพูดได้เต็มปากว่าตัวละครทั้งสามตัวโดดเด่นและมีเส้นเรื่องเป็นของตัวเอง และที่จริงแล้วต่างก็ฟาดฟันกันในฐานะบทนำร่วมกันทั้งสิ้น
อบิเกล ฮิลล์ เป็นตัวละครที่ทำให้นึกถึงหนังยอดเยี่ยมรางวัลออสการ์ปี 1950 เรื่อง All About Eve ซึ่งมีตัวละครที่ชื่อ อีฟ แฮร์ริงตัน (แอนน์ แบกซ์เตอร์)
สาวหน้าใสที่เข้ามาทำงานรับใช้ มาร์โก้ แชนนิ่ง (เบตตี้ เดวิส) นักแสดงละครเวทีรุ่นใหญ่ที่เธอชื่นชม มองครั้งแรกเราอาจจะคิดว่าอีฟนั้นเทิดทูนบูชามาร์โก้เต็มประดา แต่แท้ที่จริงแล้วอีฟ “ศึกษา” มาร์โก้ เพื่อที่จะกลายเป็นดาราดวงใหม่… เพื่อเข้าไปแทนที่คนเก่า วัยสาวย่อมชนะ นั่นทำให้เราอาจตั้งชื่อเล่น ๆ ให้กับ The Favourite เสียใหม่ว่า All About Abigail ก็ได้ ในเมื่อหนังเรื่องนี้เล่าเส้นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับการขึ้นไปเป็นคนโปรดคนใหม่… เส้นทางการเถลิงอำนาจในราชสำนักของอบิเกล
เนื้อหาที่คิดว่าสปอยล์อยู่ในนี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แม้พระราชินีนาถแอนน์จะมีพระสติและพระอารมณ์ไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอย แต่เนื่องจากทรงพระราชฐานะเป็นประมุขของรัฐ การเข้าไปเป็นคนโปรดของพระองค์คือการได้อยู่เหนือเกาะอังกฤษ ซึ่งเลดี้ซาราห์รู้ความจริงข้อนี้ดี และยังรู้ด้วยว่าสิ่งที่พระองค์ต้องการคือความรัก เธอจึงปันสิ่งนี้ที่สมเด็จพระราชินีทรงกระหายให้ตลอด ในขณะเดียวกันเธอก็เกาะกุมบังเหียนที่จะควบคุมพระองค์ได้อย่างช่ำชอง อบิเกลที่ได้เข้ามาเห็นกรรมวิธีการ “เชิดหุ่น” นี้ก็ได้ทำการวิเคราะห์ ศึกษา วิจัย และเข้าใจวิถีทางการเป็นที่รักของพระราชินี และเมื่อถึงเวลา อบิเกลก็พร้อมที่จะเล่นเกม เธอเข้าไปพะเน้าพะนอเอาใจมากกว่า เธอเข้าไปให้ความรักที่มากกว่า
เกมบนสนามรบอาจจะเป็นเกมของผู้ชาย เกมในสภาก็เป็นเกมของผู้ชาย แต่จริง ๆ แล้วฝ่ายรัฐบาลมั่นคงอยู่ได้เพราะอำนาจวาสนาของซาราห์ เชอร์ชิล การที่ฝ่ายค้านจะอัพเลเวลให้เป็นผู้เล่นที่ทัดเทียมกันจำจะต้องอาศัยการ์ดใบที่มีพลังทัดเทียมกัน ซึ่งก็คือนางสนองพระโอษฐ์คนใหม่อย่างอบิเกล เกมหลังม่านจริง ๆ คือเกมของผู้หญิง
การแก่งแย่งชิงดีสะท้อนความเหลวไหลไร้สาระภายในราชสำนักได้เป็นอย่างดี วัน ๆ ลุกขึ้นมาจับเป็ดวิ่งแข่งกัน อยู่ ๆ ก็จับผู้ชายมาแก้ผ้าแล้วปาส้มใส่ จัดงานเต้นรำที่มีที่เต้นฮิพฮอพผสมเข้าไปแบบเซอร์เรียล ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยเหล่านี้อยู่ได้ด้วยภาษีของประชาชนมิใช่หรือ? ทุกคนที่เข้ามาอยู่ในวังต่างก็เข้ามาตักตวงผลประโยชน์โดยแท้ แม้จะในวังจะประดับประดาสวยงาม แต่ความอัปลักษณ์นั้นแผ่รังสีออกมาชัดเจน วิธีที่หนังเลือกใช้เล่าที่แหลมคมมาก ๆ คือการเลือกใช้เลนส์ Fish Eyes เพื่อสร้างมิติภาพที่บิดเบี้ยวส่องสะท้อนความเบี้ยวบูดในจิตใจของตัวละครและความเพี้ยนวิกลจริตออกมา ซึ่งรับกับสไตล์การทำหนังของยอร์กอส ลานธิมอสได้เป็นอย่างดี
อีกสิ่งหนึ่งที่หนังตีความและออกแบบให้สอดรับกับสไตล์และโทนเรื่องที่ว่าด้วยความมืดมนในหัวใจของมนุษย์คือการออกแบบเครื่องแต่งกาย โดยประวัติศาสตร์จริง ๆ นั้น เครื่องแต่งกายในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ตามท้องเรื่องจะมีสีสันที่ฉูดฉาดมากกว่านี้ แต่ใน The Favourite เสื้อผ้าเหล่านี้ถูกลดทอนและคุมโทนให้เหลือสีส่วนใหญ่เป็นขาว-ดำ และยิ่งเข้ากันดีกับการเอากล้องเข่าไปถ่ายภาพในเงามืด สอดรับกับภาวะในใจตัวละครและอารมณ์ขันร้ายกาจแบบที่เรียกว่า Black Comedy (ซึ่งไม่ได้เน้นขำก๊าก หนังประเภทนี้ได้แก่ Fargo หรือ เรื่องตลก69)
อันที่จริงถ้าจะถามว่าซาราห์มุ่งใช้พระราชินีเป็นเครื่องมืออย่างเดียวหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่ ความรักและความผูกพันที่เธอถวายให้ควีนแอนน์ล้วนเป็นของจริง แต่สมเด็จพระราชินีทรงเหนื่อยหน่ายเหลือเกินกับการถูกบงการ มงกุฏที่ครอบพระเศียรยิ่งย้ำเตือนพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระองค์ว่าที่แท้แล้วไม่มีใครในเกาะบริเตนที่จะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์เอง การกำจัดซาราห์ออกไปหมายความว่าพระองค์หวังที่จะสะบัดหลุดจากการชักเชิดของคนสนิทหน้าเก่านั่นเอง จุดเล็ก ๆ ที่ทำให้องค์ราชินีเริ่มเอนเอียงไปใส่ใจอบิเกลมากกว่าคือกระต่ายทรงเลี้ยงที่พระองค์รักเสมือนลูก เพราะเป็นตัวแทนของโอรสธิดา 17 องค์ที่สูญเสียไป ซาราห์ไม่เคยแม้แต่จะสวมกอดหรือทักทายพวกมัน ในขณะที่อบิเกลคว้ากระต่ายเหล่านั้นมากอดด้วยท่าทีรักใคร่และพูดจาหวานหูราวกับพวกมันเป็นเด็กน้อย
ในขณะที่ซาราห์ยังอยู่ กระต่ายทั้ง 17 ตัวอาศัยอยู่ในกรงขังอย่างเป็นระเบียบ พอจะตีความได้ไหมว่าที่แท้แล้วซาราห์เป็นคนเดียวที่รักและเข้าใจพระราชินีอย่างแท้จริง? เธอควบคุมและเข้าใจพระราชอารมณ์และความเศร้าได้อย่างดี แต่ตอนจบที่น่าฉงนฉงายของ The Favourite ฉายภาพอบิเกลกำลังเหยียบกระต่ายของสมเด็จพระราชินีอย่างไม่แยแสเพราะเธอมาถึงจุดสูงสุดของอำนาจแล้ว พระราชินีเองก็รู้และหลังจากนั้นภาพกระต่ายจำนวนมากก็ฉายซ้อนขึ้นมาบนจอทาบทับกับใบหน้าของโอลิวเวีย โคลแมน และเอ็มม่า สโตน กระต่ายเหล่านั้นพอจะอุปมาถึงการไม่อาจควบคุมได้? ความยุ่งเหยิงในราชสำนักที่จะถาโถมมายิ่งกว่าเก่า?
ไม่บ่อยที่เราจะเห็นหนังพีเรียดการเมืองที่โฟกัสไปที่ตัวละครหญิงแบบเพียว ๆ 20 ปีก่อนอาจมีหนังเรื่อง Elizabeth ที่แสดงนำโดยเคต บลานเชตต์ แต่เกมการเมืองของพระราชินีนาถอลิซาเบธที่หนึ่งก็เป็นการเล่นในเกมชายเป็นใหญ่ แต่ The Favourite นั้นชูตัวละครหลักเป็นผู้หญิงถึงสามตัวละครและผลักตัวละครชายไปเป็นตัวประกอบ (อาจมีนิโคลัส โฮลต์ ที่โดดเด่นขึ้นมาบ้าง) นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้หนังเรื่องนี้ต้องรอถึง 20 ปีกว่าจะได้สร้าง เพราะความร้อนระอุในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศกำลังเป็นประเด็นระอุในฮอลลีวู้ด เห็นได้จากกระแส #MeToo (กรณีเดียวกับเรื่อง The Wife ที่แสดงนำโดยเกล็น โคลส ก็ต้องรอถึง 14 ปี) แม้เซนส์ของ The Favourite จะใกล้เคียงกับละครตบตีแบบไทยๆ อย่างนางทาส หรือเพลิงพระนาง แต่บทภาพยนตร์ของ The Favourite นั้นซับซ้อนและลงรายละเอียดให้กับตัวละครทั้งสามเป็นอย่างดี บวกกับอารมณ์ตลกร้ายที่เข้ากับสไตล์การกำกับแบบเพี้ยน ๆ ของยอร์กอส ลานธิมอสด้วยแล้ว ทำให้ The Favourite เป็นหนังที่เยี่ยมยอดและไม่ควรพลาดชม
100/100
ฝากติดตามเพจได้ที่นี่นะครับ:
https://www.facebook.com/TrustGuAndGoWatchIt/
[CR] [รีวิว] The Favourite: เกมริษยา
[spoiler alert มีสปอยล์บ้างแต่คิดว่าเซฟไว้เยอะแล้ว และไม่ได้ทำให้เสียอรรถรสขนาดนั้น]
ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ (โอลิเวีย โคลแมน) สงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสก่อตัวขึ้นบนสนามรบ ในที่ ๆ ชายฉกรรจ์นับพันนับหมื่นถูกเกณฑ์ทัพไปร่มทัพ ในขณะเดียวกันนั้นเอง สงครามเล็ก ๆ ก็เริ่มก่อเค้าลางขึ้นในพระราชวัง ก่อร่างขึ้นพ้อมกับการมาถึงของเลดี้บ้านนาอย่างอบิเกล ฮิลล์ (เอ็มม่า สโตน) นางกำนัลสนองพระโอษฐ์คนสนิทของพระราชินีผู้รั้งตำแหน่งเลดี้แห่งมาห์ลบะระอย่าง ซาราห์ เชอร์ชิล (เรเชล ไวซ์) ผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังราชสำนักไม่รู้ตัวหรอกว่ากำลังจะมีการต่อสู้เกิดขึ้น พวกผู้ชายถูกส่งไปสู้ในสนามรบ ทว่าลานต่อสู้แห่งใหม่ก็กำลังถูกสร้างขึ้นในพระราชวังเช่นกัน เป็นสนามรบระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง อบิเกล ฮิลล์ กับซาราห์ เชอร์ชิล กำลังจะต้องชิงไหวชิงพริบกันบนสมรภูมิที่มีชื่อว่าควีนแอนน์
หลังจากโด่งดังมาจากหนังภาษากรีก Dogtooth และทำหนังพูดภาษาอังกฤษโดนใจเด็กแนวเรื่อง The Lobster ยอร์กอส ลานธิมอส ผู้กำกับชาวกรีกสุดเพี้ยนคนนี้ก็ได้เข้าชิงออสการ์ครั้งแรกในสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก The Favourite ซึ่งเป็นหนังเรื่องแรกที่เขาไม่ได้เขียนบทเอง น่าแปลกที่สไตล์เพี้ยนหลุดโลกของเขาเข้ากันได้ดีกับหนังที่หน้าหนังดูเป็นหนังพีเรียดคอสตูมดราม่าทั่วไป แต่ลองพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่าความสติแตกของยอร์กอส ลานธิมอสนั้น สอดรับกันดีกับความเน่าหนอนฟอนเฟะ แก่งแย่งแข่งขันกันในพระราชสำนัก และยิ่งน่าสนใจขึ้นอีกเมื่อหนังถูกเล่าด้วยอารมณ์ขันขื่นแบบตลกร้าย
แต่เดิมซาราห์ เชอร์ชิล เป็นพระสหายของควีนมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ไม่ใช่เรื่องยากที่เธอจะก้าวขึ้นไปเป็นคนสนิทของพระราชินี เลดี้แห่งมาห์ลบะระผู้นี้รู้วิธีที่จะรับมือกับควีนแอนน์เป็นอย่างดี และช่างเป็นโชคดีของเธอ แต่เป็นโชคร้ายของสมเด็จพระราชินีที่ประชวรด้วยหลายอาการ จะเสด็จไหนก็ต้องอาศัยไม้ค้ำหรือรถเข็น มิหนำซ้ำพระอารมณ์ยังขึ้น ๆ ลง ๆ นั่นจึงเป็นเหตุให้เลดี้ซาราห์ “ชักใย” องค์ราชินีได้ง่ายตามต้องการ เรียกได้ว่าประเทศจะไปทางไหนขึ้นอยู่กับคนสนิทอย่างเธอล้วน ๆ จะยืดสงครามให้ยาวนานเป็นละครช่องเจ็ดเพื่อขูดรีดภาษีไพร่ฟ้าหน้าใส ซาราห์ก็ทำได้อย่างสะดวกโยธิน
เรื่องราวเดินหน้าด้วยการมาถึงของเลดี้ตกอับชื่ออบิเกล ฮิลล์ ซาราห์ไม้รู้หรอกว่าญาติห่าง ๆ คนนี้จะนำความยุ่งยากมาแก่เธอในภายภาคหน้า ด้วยเห็นว่าหน้าตาใสซื่อ กิริยาท่าทางดูเปิ่น ๆ ซาราห์ไม่คิดว่าอบิเกลจะมีพิษสงอะไร จึงรับอบิเกลมาเป็นคนรับใช้ใกล้ชิดตัวเธอเอง หารู้ไม่ว่าสาวน้อยหน้าใสผู้นี้สวยแต่ไม่ได้โง่อย่างที่เธอคิด อบิเกลซึมซับคำสอนของซาราห์เพื่อที่จะอยู่รอดในพระราชสำนักในตอนแรก แต่เมื่อความรู้ของเธอก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ การลอบเรียนรู้วิธีการเป็นคนโปรดคนใหม่ของควีนแอนน์จากซาราห์ผู้แก่ประสบการณ์ไม่ใช่เรื่องยากเลย
เราจะได้เห็นว่าการเมืองในสภานั้นฉากหน้ามีผู้เล่นเป็นเพศชายล้วน ๆ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีซิดนีย์ โกโดลฟิน (เจมส์ สมิธ) หรือพรรคฝ่ายค้านอย่างโรเบิร์ต ฮาร์ลีย์ (นิโคลัส โฮลต์) ที่ฝ่ายแรกหนุนการสงครามและเก็บภาษีเพิ่ม และแน่นอนว่าฝ่ายหลังไม่ใคร่จะเห็นด้วย แต่การจะผลักดันความคิดของฝ่ายแรกจริง ๆ จำต้องมีการ “ล็อบบี้” เสียงของสมเด็จพระราชินีก่อน คนที่จะกระทำการชักจูงควีนได้ก็ไม่ใช่ใคร นอกจากนางสนองพระโอษฐ์อย่างซาราห์ เชอร์ชิล นั่นทำให้ขุนนางฝ่ายค้านเสียแต้มต่อในมือ เสียเปรียบในเกมการเมืองเกมนี้เป็นอย่างมาก กลับกันฝ่ายรัฐบาลนั้นทรงอำนาจเสียจนสามารถชักนำประเทศไปในทิศทางใดก็ได้ ในเมื่อพวกเขาได้กุมพระราชวินิจฉัยของควีนแอนน์ไว้ในกำมือแล้ว
การมาถึงของอบิเกลคือตัวพลิกเกม
ในพระราชวัง การต่อสู้ของผู้หญิงสามคนได้เริ่มขึ้น ส่วนบนหน้ากล้อง การฟาดฟันประชันบทบาทแบบไม่มีใครยอมใครก็คุกรุ่นไม่แพ้กัน โอลิเวีย โคลนแมน รับบทพระราชินีนาถแอนน์ที่พระสติคล้ายจะวิปลาสและพระอารมณ์ขึ้นลงราวรถไฟเหาะได้อย่างตลกร้ายกาจแต่ยังเต็มไปด้วยความเป็นมนุษย์ ส่วนเรเชล ไวซ์แสดงเป็นเลดี้ซาราห์ได้อย่างทรงอำนาจ ซับซ้อน น้อยแต่ได้มาก ในขณะที่ตัวละครที่มีพัฒนาการที่สุดในเรื่องอย่างอบิเกล ฮิลล์ นั้น เอ็มม่า สโตนก็รับบทบาทได้อย่างไร้ที่ติ ทว่าบนเวทีรางวัล มีเพียงโอลิเวีย โคลแมนที่อยู่ในฐานะบทนำ อีกสองสาวนั้นถูกพิจารณาในสาขาสมทบ แต่พอได้ดูหนังแล้วสามารถพูดได้เต็มปากว่าตัวละครทั้งสามตัวโดดเด่นและมีเส้นเรื่องเป็นของตัวเอง และที่จริงแล้วต่างก็ฟาดฟันกันในฐานะบทนำร่วมกันทั้งสิ้น
อบิเกล ฮิลล์ เป็นตัวละครที่ทำให้นึกถึงหนังยอดเยี่ยมรางวัลออสการ์ปี 1950 เรื่อง All About Eve ซึ่งมีตัวละครที่ชื่อ อีฟ แฮร์ริงตัน (แอนน์ แบกซ์เตอร์)
สาวหน้าใสที่เข้ามาทำงานรับใช้ มาร์โก้ แชนนิ่ง (เบตตี้ เดวิส) นักแสดงละครเวทีรุ่นใหญ่ที่เธอชื่นชม มองครั้งแรกเราอาจจะคิดว่าอีฟนั้นเทิดทูนบูชามาร์โก้เต็มประดา แต่แท้ที่จริงแล้วอีฟ “ศึกษา” มาร์โก้ เพื่อที่จะกลายเป็นดาราดวงใหม่… เพื่อเข้าไปแทนที่คนเก่า วัยสาวย่อมชนะ นั่นทำให้เราอาจตั้งชื่อเล่น ๆ ให้กับ The Favourite เสียใหม่ว่า All About Abigail ก็ได้ ในเมื่อหนังเรื่องนี้เล่าเส้นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับการขึ้นไปเป็นคนโปรดคนใหม่… เส้นทางการเถลิงอำนาจในราชสำนักของอบิเกล
เนื้อหาที่คิดว่าสปอยล์อยู่ในนี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ไม่บ่อยที่เราจะเห็นหนังพีเรียดการเมืองที่โฟกัสไปที่ตัวละครหญิงแบบเพียว ๆ 20 ปีก่อนอาจมีหนังเรื่อง Elizabeth ที่แสดงนำโดยเคต บลานเชตต์ แต่เกมการเมืองของพระราชินีนาถอลิซาเบธที่หนึ่งก็เป็นการเล่นในเกมชายเป็นใหญ่ แต่ The Favourite นั้นชูตัวละครหลักเป็นผู้หญิงถึงสามตัวละครและผลักตัวละครชายไปเป็นตัวประกอบ (อาจมีนิโคลัส โฮลต์ ที่โดดเด่นขึ้นมาบ้าง) นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้หนังเรื่องนี้ต้องรอถึง 20 ปีกว่าจะได้สร้าง เพราะความร้อนระอุในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศกำลังเป็นประเด็นระอุในฮอลลีวู้ด เห็นได้จากกระแส #MeToo (กรณีเดียวกับเรื่อง The Wife ที่แสดงนำโดยเกล็น โคลส ก็ต้องรอถึง 14 ปี) แม้เซนส์ของ The Favourite จะใกล้เคียงกับละครตบตีแบบไทยๆ อย่างนางทาส หรือเพลิงพระนาง แต่บทภาพยนตร์ของ The Favourite นั้นซับซ้อนและลงรายละเอียดให้กับตัวละครทั้งสามเป็นอย่างดี บวกกับอารมณ์ตลกร้ายที่เข้ากับสไตล์การกำกับแบบเพี้ยน ๆ ของยอร์กอส ลานธิมอสด้วยแล้ว ทำให้ The Favourite เป็นหนังที่เยี่ยมยอดและไม่ควรพลาดชม
100/100
ฝากติดตามเพจได้ที่นี่นะครับ: https://www.facebook.com/TrustGuAndGoWatchIt/
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้