เมื่อสโมสรสีน้ำเงินโดนแบน

นานๆที ขอเขียนเรื่องสโมสรชาวบ้านหน่อย เรื่องสโมสรสีน้ำเงินน่ะครับ

สโมสรสีน้ำเงิน ถูกกล่าวหาว่า ทำผิดกฏข้อ 19 สำหรับนักเตะ 29 ราย ของฟีฟ่า ซึ่งระบุไว้ว่า การโยกย้ายผู้เล่นข้ามประเทศสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นมีอายุมากกว่า 18 ปี โดยมีข้อยกเว้นสามข้อ
1. พ่อแม่ของผู้เล่น ย้ายมายังประเทศเป้าหมาย โดยไม่เกี่ยวกับเหตุผลด้านฟุตบอล เช่น พ่อย้ายงานข้ามประเทศ ในกรณีนี้ลูกสามารถลงทะเบียนเป็นผู้เล่นได้ แต่จะไปสัญญาว่า ส่งลูกมาสิ เดี๋ยวเราหางานให้คุณทำ แบบนี้ไม่ได้
2. ผู้เล่นอายุมากกว่า 16 ปีและโยกย้ายภายในอียู
3. ผู้เล่นมีบ้านอยู่ห่างจากพรมแดนไม่เกิน 50 กิโลเมตร และ สโมสรอยู่ห่างจากพรมแดนไม่เกิน 50 กิโลเมตรเช่นกัน
ฟีฟ่าแจ้งอีกว่า สโมสรทำผิดกฏข้อ 18bis(เกี่ยวกับการมีอิทธิพลของบุคคลที่สาม) อีกสองกรณี โดยมีเวลาอุทธรณ์สามวัน และต้องแก้ไขให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน แถมด้วยแบนการซื้อขายสองช่วงตลาด และปรับอีก 6 แสนสวิสฟรังค์ ฟีฟ่าไม่ได้ระบุรายละเอียดของการกระทำผิด ดังนั้นก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะเดา ยิ้ม

สีน้ำเงินทำอะไรลงไป? การแก้ไขใน 90 วันแปลว่าอะไร? ทำไมต้องทำ และอะไรจะเกิดขึ้นต่อแต่นี้

เชื่อกันว่าคดีทั้งหมดเริ่มจาก เบอร์ทราน ตราโอเร่ กองหน้าบูกินาฟาโซ่
สีน้ำเงิน เจอเบอร์ทรานตั้งแต่อายุ 14 และอยากได้นักเตะคนนี้ สิ่งที่โดนแฉออกมาก็คือ
1. สีน้ำเงินจ่ายเงิน 150000 ปอนด์ สำหรับออฟชั่นที่จะเป็นสโมสรแรกที่จะได้ตัวนักเตะไป
2. เบอร์ทรานย้ายไปอยู่ในโรงเรียนฟุตบอลในวิมเบอร์ดันสองปี ซึ่งมี "คนรู้จักกัน" เป็นผู้บริหาร(ผมเชื่อว่านี่คือผิดกฏข้อ 18bis - จะต้องมีเงื่อนไขที่ทำให้โรงเรียนฟุตบอลส่งนักเตะกลับมาที่ทีมได้)
3.เบอร์ทรานมา "ทดสอบฝีเท้า" ระยะยาว ที่สีน้ำเงิน รวมถึงร่วมทัวร์ พรี ซีซั่นด้วย
แม้สโมสรอ้างว่า จะเซ็นสัญญานักเตะเมื่ออายุ 18 แล้ว แต่ก็ชัดเจนว่าน่าสงสัย
ผมคิดว่าทั้ง 29 รายน่าจะเกิดเหตุการณ์คล้ายๆกัน

การแก้ไขที่ฟีฟ่าว่าหมายถึงอะไร
กรณีเทียบเคียงดีที่สุด คือลามาเซีย ของบาเซโลน่าซึ่งเคยโดนแบนไปก่อนแล้ว ในตอนนั้นบาเซโลน่า ควานหานักเตะเยาวชนจากทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือเด็กญี่ปุ่นชื่อ ทาเคฟุสะ คุโบ อายุเพียงสิบปี คุโบเล่นในลามาเซียอยู่สามปี ก่อนบาซ่าจะโดนฟีฟ่าลงโทษ - ผลสรุปคือคุโบต้องกลับญี่ปุ่น บาซ่าต้องยกเลิกสัญญานักเตะลักษณะเดียวกันทั้งหมด ดังนั้นเราน่าจะสรุปได้ว่า ทีมสีน้ำเงินต้องปล่อยนักเตะเยาวชน 29 คนออกไป

ทำไมต้องทำ?
ทีมสีน้ำเงินเห็นๆกันอยู่ว่าไม่เคยใช้นักเตะเยาวชน - แต่คำถามคือทีมนี้อยู่รอดได้ยังไงในยุค FFP ที่ห้ามเจ้าของเติมเงินล่ะ? คำตอบคือขายและปล่อยยืมนักเตะครับ นี่เป็นสโมสรที่มีกำไรซื้อขายนักเตะสูงสุดใน EPL ส่วนหนึ่งก็มาจากกองทัพนักเตะเยาวชนนี่เอง

- สังเกตว่า EBITDA ไม่พอ Non cash flow expense ทีมมีงบกำไรขาดทุนเป็นบวกได้เพราะกำไรจากการขายนักเตะ
อะไรจะเกิดขึ้นต่อ?
เชื่อว่าสโมสรจะยื่นอุทธรณ์ ซึ่งน่าจะซื้อเวลาไปได้อย่างน้อย 1 ตลาดซื้อขาย โกลดอทคอมประเมินว่าคดีทั้งหมดอาจใช้เวลา 2-3 ปีก่อนจะสรุป นั่นหมายความว่าสโมสรยังพอมีเวลาหายใจ และน่าจะต้องถ่ายเลือดทีมทั้งชุดภายในตลาดถัดไปนี้เลย เพื่อความปลอดภัย สโมสรจะต้องวางแผนระยะยาวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยุคหลังของสโมสร
ทีมจะใช้ปีกเสือเหลืองได้หรือไม่? - ได้ครับ ซื้อแล้วจ่ายเงินแล้ว
นักเตะที่ยืมมาในปัจจุบัน? - น่าจะต้องรีบซื้อระหว่างอุทธรณ์ครับ
จะเสียปีกจอมแบกหรือไม่? - ผมเชื่อว่าขายครับ สถานะการเงินปัจจุบันไม่เอื้อให้ทีมยอมเสียนักเตะฟรีๆตอนหมดสัญญาได้ ยังไงก็ต้องขายแล้วหวังว่าจะหาตัวแทนได้ในฤดูกาลเดียวกัน
เชื่อกันว่ายังมีทีมอื่นๆใน EPL ที่รอโดนสอบสวนอยู่อีก ยังไม่รู้ว่าหวยจะลงทีมไหนเป็นอันดับถัดไปครับ


อ้างอิง
https://resources.fifa.com/image/upload/regulations-on-the-status-and-transfer-of-players-2018-2925437.pdf
https://www.belfasttelegraph.co.uk/sport/football/the-background-to-chelseas-transfer-ban-37842741.html
https://www.dailymail.co.uk/sport/football/article-6735697/Chelseas-transfer-tactics-highlighted-Bertrand-Traore-case.html
https://www.goal.com/en-tza/news/chelsea-transfer-ban-why-fifa-sanctioned-blues-what-appeal/tt4ejezxvltd1k8r5symf4rkn
https://www.telegraph.co.uk/football/2019/02/22/chelsea-transfer-ban-qa-has-fifa-intervened-does-mean-premier/
https://inews.co.uk/sport/football/premier-league/chelsea-transfer-ban-fifa-rule-explained-banned-signing-players-two-transfer-windows/
https://www.theguardian.com/football/2018/nov/15/premier-league-clubs-in-violation-fifa-rules-signing-players-under-18
https://www.independent.co.uk/sport/football/premier-league/chelsea-transfer-ban-fifa-two-window-minors-news-fine-the-fa-maurizio-sarri-eden-hazard-a8791571.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่