มโนมยิธิ มันคือการคิดไปเองหรือเปล่า

การฝึกมโนมยิธิ การการฝึกให้มองเห็นนรกสวรรค์ ปุถุชนธรรมดา ฝึกได้ไหม แล้วจะมองเห็นนรกสวรรค์ จริงหรือไม่ ซึ่งการฝึกต่างๆ มันเป็นปัจจตัง แต่เมื่อฝึกและปฏิบติแล้ว ไปเบียดเบียนเวลาของคนในครอบครัว ฝึกแล้วนอนดึก ลูก 4 ขวบต้องนอนดึกตามไปด้วย มันจะได้บุญหรือเป็นบาป

หากคำว่า "มโน" คือ การคิดไปเอง การฝึกแบบนี้เท่ากับ "คิดไปเอง" ใช่ไหม

แล้วคนฝึกจะต้องได้ฌาณเสียก่อน การได้ฌาณมันง่ายอย่างนั้นเลยหรือ หากยังรักษาศีลไม่ได้ สติและสมาธิก็ยังอ่อนอยู่

แล้วการเห็นแก่ตัวในการเอาเวลาไปสวดมนต์ นั่งสมาธิ โดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง คนรอบข้าง ยึดเอาตัวกูของกูเป็นหลัก แบบนี้จะได้อะไร

และถ้าฝึกสมาธิ สวดมนต์ เข้าวัดทำบุญ แุมำปสำนักทรงเจ้าเข้าผีด้วย แบบนี้ "มันสับสนในตัวเองหรือเปล่า"
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
มโนมยิทธิญาณ
             [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
@   เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ
@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๐๗๒-๑๙๑๙ หน้าที่ ๔๕-๗๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=9&siri=2
             ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91


ต้องการนิพพานต้องรู้ถูก
http://ppantip.com/topic/30134196/comment5

นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้


การเจริญสติปัฏฐาน
http://ppantip.com/topic/32588015/comment9

การอบรมสมาธิเพื่ออภิญญา
http://ppantip.com/topic/33524897/comment11

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

ฝากไว้พิจารณาครับ การจะฝึกสมาธิจนได้ฌาน และมีวสีแก่กล้า เพื่อเป็นฐานของอภิญญาจิต ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย

แล้วไปเจอ คำสอนที่แปลก ๆ ยิ่งจะหลงทางไปใหญ่

ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ คนจะมีอภิญญา ได้วิชา มโนมยิทธิ มากขึ้น จริงหรือ?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=32516
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่