หยั่งลึกปรัชญาเต๋า (道)

หยั่งลึกปรัชญาเต๋า (道)

ปรัชญาของเต๋า (道) อธิบายว่า มีด ๑ เล่ม ชูขึ้นมา สุดแต่เราจะทำอะไร ไม่ใช่ว่าสุดแต่เราจะทำอะไร ไม่ใช่สุดแต่มีดจะไปทำอะไร แต่...สุดแต่เราจะเอามีดไปทำอะไรได้

นิยามของเต๋ามันชัวร์แต่เราต้องไปขยายเอาเอง ทางเต๋าก็จะบอกว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของเรา หมายความว่า นิยามการอธิบายของเต๋า จะแปลยังไง? อธิบายยังไง? เต๋า (道) ก็จะยกเรื่องขึ้นมาหนึ่งเรื่องแล้วก็จะบอกว่าแปลได้ทุกอย่าง สุดแต่ภูมิของเราจะหยั่งถึงเท่าไหร่ ละเอียดเท่าไหร่

ปรัชญาเต๋า (道) ก็จะยกตัวอย่าง มีด ๑ ด้าม สุดแต่เราจะทำอะไร? แต่ไม่ใช่ว่าสุดแต่มีดจะทำอะไรได้ แต่เราจะไปทำอะไรได้

ยกตัวอย่าง ปากกา ๑ ด้าม ไม่ใช่ว่าปากกาจะทำอะไรได้ สุดแต่ว่าเราจะเอาปากกานี้ไปทำอะไร? ยังไง? อย่างไร? เราเอาปากกานี้ไปแทงคน คนก็ตายได้ เราจะเอาปากกานี้ไปเขียนคัมภีร์ ตำราช่วยเหลือคนก็ได้ ขึ้นอยู่กับเรา แต่ไม่ใช่ว่าปากกานี้จะทำประโยชน์อะไรได้ ต้องบอกว่าเราทำประโยชน์อะไรกับปากกาได้

ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ ขี้หมา ๑ ก้อน เราก็สามารถนำไปทำเป็นประโยชน์ได้ ต่อให้คนๆ นี้เป็นมาร ก็สามารถทำเป็นประโยชน์ได้ เพราะขึ้นอยู่กับเราเองว่าจะให้ไปในทางไหน

ฉะนั้น สรรพสิ่งไม่เป็นสรรพสิ่งของเขา เป็นสรรพสิ่งที่ว่าเราจะทำยังไงต่างหาก

แสงปรมาณูสามารถรักษาอาหารได้ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๙ เรื่องที่ ๓ การถนอมผลิตผลการเกษตร การถนอมอาหารโดยใช้รังสี (Food Preservation) รังสีที่ฉายลงไปในอาหาร รังสีแกมมา ซึ่งได้จากโคบอลต์-60 (Co-60) หรือซีเซียม-137 (Cs-137) รังสีเอกซ์ (X-rays) จะไปทำลาย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ หรือทำให้การเปลี่ยนแปลงทางเคมีลดลง ซึ่งมีผลทำให้การเก็บรักษาอาหารนั้น มีอายุยืนนาน โดยไม่เน่าเสีย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร และปริมาณรังสีที่อาหารได้รับ และวัตถุประสงค์ เพื่อถนอมอาหารในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

และรังสีปรมาณูก็สามารถรักษาโรคมะเร็ง โรคร้ายได้ และรังสีปรมาณูก็สามารถนำมาใช้ฆ่าคนได้เช่นกัน

ฉะนั้น อย่าไปมองว่าสิ่งนั้นมีประโยชน์ยังไง ต้องมองว่าสิ่งนี้เราสามารถทำประโยชน์ยังไง

นี่แหละ ให้เข้าใจขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง

คนจีนเขาเรียกว่า เต๋า (道) แต่ทางไทยเราเรียกว่า “ธรรมชาติ” เต๋า (道) ว่าด้วยเส้นทางแห่งธรรมชาติ

เต๋า (道) มี ๓ ระดับ ดังนี้

๑. เต๋าดำรง บ่อเก็ก (无极) คือ ขึ้นมาเป็นเต๋า จะเคลื่อนไหวอยู่กับที่ไม่ไปไหน เรียกว่า บ่อเก็ก (无极 : wú jí) () เป็นมากกว่าสุญญตา แม้แต่ตถตายังอยู่ในบ่อเก็ก คำว่า “ตถตา” ไปขยาย คำว่า บ่อเก็กเป็นเช่นนั้นเอง ตถาตาเป็นตัวแสดงตัวหนึ่งของบ่อเก็กเท่านั้นเอง

๒. ไท้เก็ก (太极: tài jí) () คือ พอเริ่มขึ้นมาเป็นไท้เก็ก มีการเคลื่อนไหวแล้ว คือ หยินหยาง (阴阳) จะอยู่ในไท้เก็ก

“ไท้” (太) แปลว่า ยิ่งขึ้นไป

“เก็ก” (极) แปลว่า ที่สุด

“ไท้เก็ก” (太极) ก็แปลว่า ยิ่งของที่สุด (แม้ว่ายิ่งใหญ่สักแค่ไหนก็ต้องอยู่ในบ่อเก็ก)

ส่วน “บ่อเก็ก” (无极) แปลว่า ไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด

ไท้เก็ก (太极) สิ่งที่สุด ๆ แต่มี “ภาพลักษณ์” “มายาธรรม” ให้รับรู้ได้ ไท้เก็กมี “การเคลื่อนไหว” ทำให้เกิด “พลังหยาง” เมื่อเคลื่อนไหวถึงที่สุดแล้ว ก็จะหยุดนิ่ง “การหยุดนิ่ง” ก็จะเกิด “พลังหยิน” เมื่อ “พลังหยิน” หยุดนิ่งจนสุด ๆ แล้ว ก็จะเกิด “การเคลื่อนไหว” อีกครั้งหนึ่ง เป็นเช่นนี้ตลอดไป

กฎของหยินยาง (阴阳) ปแบ่งออกได้เป็น ๔ ข้อคือ

๑. หยินหยางมี ๒ สิ่งที่ตรงข้ามกันเสมอ (阴阳对立)

๒. หยินหยางอาศัยซึ่งกันและกัน (阴阳互根)

๓. หยินหยางมีการขยายเพิ่มขึ้นและเสื่อมถอย (阴阳消长)

๔. หยินหยางมีการแปรเปลี่ยน (阴阳转化)

ฉะนั้น มีการดำรงและเคลื่อนไหวแล้ว ก็จะออกมาเป็นขั้ันที่ ๓

๓. โป๊ยข่วย (八卦) ก็จะออกมาเป็นโป๊ยข่วยก็จะบอกว่านี่เป็นอะไร ๘ อย่าง ได้แก่

๑) เฉียนเป็นฟ้า (乾為天 เฉียนเหวยเทียน)

๒) คุนเป็นพื้นดิน (坤為地 คุนเหวยตี้)

๓) เจิ้นเป็นฟ้าร้อง (震為雷 เจิ้นเหวยเหลย)

๔) ซวิ่นเป็นลม (巽為風 ซวิ่นเหวยเฟิง)

๕) ข่านเป็นน้ำ (坎為水 ข่านเหวยสุ่ย)

๖) หลีเป็นไฟ (離為火 หลีเหวยหั่ว)

๗) เกิ้นเป็นภูเขา (艮為山 เกิ้นเหวยซาน)

๘) ตุ้ยเป็นหนองน้ำ,สระน้ำ,บริเวณแหล่งที่มีน้ำชุมนุม (兌為澤 ตุ้ยเหวยเจ๋อ)

ทั้งหมดนี้ตั้งแต่ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๓ ก็จะเป็น เหี่ยง(玄) เปลี่ยนแปลงไม่มีที่สิ้นสุด แม้ เหี่ยงเทียงเสี่ยงตี่ (玄天上帝) ท่านดูแลความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งปวง แม้พลังแห่งพ่อศิวะมหาเทพ ไม่ใช่ เหี่ยง(玄) แต่อยู่ในหนึ่งของ เหี่ยง(玄) แม้ทั้งตรีมูรติทั้ง ๓ องค์ก็ยังอยู่ในเหี่ยง(玄) ฉะนั้น ตั่วเหล่าเอี๊ย (大老爷) ก็ยิ่งใหญ่มาก แต่ก็ไม่ใหญ่มาก เพียงแต่ว่าเขายกย่องให้ เพราะท่านมีหน้าที่ ไม่ถึงกับว่าใหญ่สุด เพราะใหญ่สุดต้องควบคุมทั้งหมด

๔. โหงวเฮ้ง (本相) รูปร่างภายนอก รูปลักษณะ “โหงวเฮ้ง (本相)” มาจากคำว่า “โหงว (本)” คือ ๕ และ “เฮ้ง (相)” มีความหมายว่า "สมดุล" หรือ "พอเหมาะพอดี"

ลักษณะทั้ง ๕ ให้เกิดความสมดุล ได้แก่

๑) อวัยวะทั้ง ๕ คือ หู ตา จมูก ปาก คิ้ว

๒) ภูเขาทั้ง ๕ คือ หน้าผาก จมูก โหนกแก้มซ้าย โหนกแก้มขวา และปลายคาง

๓) ๕ สั้น ๕ ยาว คือ ใบหน้า เรือนร่าง ศีรษะ แขน และขา

๔) ธาตุทั้ง ๕ คือ ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ และธาตุดิน

ในการพิจารณารายละเอียดมากขึ้นคือ

๕) ๔ แม่น้ำ คือ คิ้ว ตา จมูก ปาก

๖) ๓ วัง คือ วังฟ้า วังมนุษย์ วังดิน

๗) ๔ ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว

๘) วังทั้ง ๑๓

๙) ๑๒ ภพ

๕. ปัญจธาตุ (อู่สิง : 五行) คือ ๕ ธาตุ รูปร่างภายใน ได้แก่ ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ และธาตุดิน

๖. ฮวงจุ้ย (เฟิงสุ่ย : 風水) เป็นการนำโหวงเฮ้งกับ ๕ ธาตุ มารวมกัน คือ ต้องมีทั้งรูปและนาม พอรูปและนามรวมกันแล้วก็จะออกมาเป็นฮวงจุ้ย เช่น เราบอกว่าฮวงจุ้ยขุนเขาต้องมีรูปร่าง แล้วขุนเขาก็ยังมีพลังของขุนเขาเช่นเดียวกัน ถ้าขุนเขานี้หนักไปทางธาตุไหน เช่น ธาตุน้ำ ลม ไฟ ดิน ทอง เช่น ถ้าเป็นขุนเขาธาตุไฟ ใครอยู่ใกล้ก็จะร้อน เผาผลาญ

๗. สัตว์โลก ชีวิตคน นั่งแซ (人生) คือ การใช้ชีวิตให้มีจุดหมายในแต่ละขั้น แต่ละภูมิดังนี้

จุดมุ่งหมายของชีวิตระดับคนสามัญทั่วไป

๑) อยู่รอด คือ เกิดมาแล้วต้องให้อยู่รอด ไม่ตายก่อน

๒) อยู่ได้ คือ มีชีวิตอยู่ต่อไป

๓) อยู่ดี คือ พัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น

๔) อยู่ให้เป็น คือ อยู่อย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม

๕) อยู่ให้มีสาระ คือ ใช้ชีวิตอยู่ให้มีแก่นสาร สาระ เข้าใจ อยู่ให้มีอานิสงส์ มีประโยชน์

๖) มีเหลือ คือ มีชีวิตอยู่เหลือสิ่งดีๆให้กับสังคม โลก

จุดมุ่งหมายของชีวิตระดับปรมัตถ์

๗) อยู่ให้รู้ เข้าใจ

๘) ซึ้งประจักษ์

๙) สรุปแล้วทำ

๑๐) ตรวจสอบ ทำต่อเนื่อง

๑๑) ทำได้ บรรลุ ลุล่วง ดำรงรักษาไว้

๑๒) เข้าสู่ภาวะความจริงแท้นั้นๆ

๙. ชัยภูมิ (ตี่ลี่ฮวงจุ้ย : 地理風水) เช่น เฉพาะที่ น้ำมาแรงหรือไม่แรง "ตี้หลี่อู่เจวี๋ย 地理五訣" มีหลัก ๕ อย่างดังนี้

๑. เล้ง (龍;หลง) หมายถึง เส้นชีพจรของมังกร

๒. ฮุ่ย (穴;เสวีย) หมายถึง จุดรวมชี่ หรือพลังชี่มงคล

๓. ซัว (砂;ซา) หมายถึง การพิจารณาดูแยกแยะความอุดมสมบูรณ์คุณภาพและปริมาณของพิ้นดินเนื้อดิน และพลังการเก็บกักและรักษาพลังชี่ของเนื้อดิน

๔. จุ้ย (水;สุ่ย) หรือน้ำ คือ พลังที่นำพาชี่มาสู่ชัยภูมิและทำให้ทำให้ชี่หมุนเวียน ได้แก่ แหล่งน้ำต่างๆ สายน้ำ น้ำใหล หนอง บึง บ่อน้ำ

๕. เหี่ยง (向;เซี่ยน) ในกรณีนี้หมายถึง การใหลเวียนกักเก็บของพลังปราณชี่

๑๐. พลังปราณ (ชี่,คี่氣) คือ ในลมปราณจะมีพลัง พละ แรง

ยกตัวอย่าง เรากำมือ จะต้องมีชี่ (氣) ถ้าไม่มีชี่ (氣) ก็จะไม่มีแรง เขาเรียกว่า "พละ" ถ้าเราไม่มีปราณก็จะไม่เกิดพละ เราจะต้องมีปราณถึงจะเกิดพละ

พลัง แปลว่า มวลสารที่อยู่ในธรรม มีศักยภาพในการขับเคลื่อน อัด เกาะเหนี่ยว ขับเคลื่อน ก่อเกิดเป็นรูปธรรม เป็นอัตตา และทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่ สถิตย์ ดำรงอยู่ได้

จำแนกพลังตามลักษณะของการทำงาน

๑. พลังงานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง

๒. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น

๓. พลังงานสะสม (Stored Energy) เป็นพลังงานที่เก็บสะสมในวัสดุหรือสิ่งของต่างๆ เช่น พลังงานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลังงานดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือ สิ่งของนั้น ๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลังงานความร้อน

ลักษณะอาการของพลัง องค์ประกอบข้างในพลังมีดังนี้

๑. ถูกผลัก

๒. ถูกดึง

๓. ระเบิด ปะทะ เสียดสี

๔. กดดัน

ลักษณะอาการของพลังนี้ จะอยู่ในพลังตามลักษณะของการทำงานทั้ง ๓ อย่างคือ พลังงานศักย์ พลังงานจลน์ พลังงานสะสม (3x4 =12) และทั้ง ๑๒ พลังนี้จะเข้าไปอยู่ในพลังทั้ง ๕ เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับ (12x5 = 60) ซึ่งประกอบด้วยมหาพลังทั้ง ๗ ดังนี้

๑. พลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์

๒. พลังแห่งความมงคล

๓. พลังแห่งชีวิต

๔. พลังแห่งปัญญา

๕. พลังแห่งความสำเร็จ

๖. พลังก่อเกิดสร้างสรรค์

๗. พลังมหาจักรวาลทั้งปวง มหามงคลตลอดสัปปายะ สำเร็จ ทุกกาลและการณ์

รายการอ้างอิง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๙ เรื่องที่ ๓ การถนอมผลิตผลการเกษตร การถนอมอาหารโดยใช้รังสี

^_^ ..._/\_... ^_^

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์

เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่