คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
คำตอบคือแล้วแต่ศาลครับ
จากเพจกฎหมายน่ารู้ กับทนายแชมป์
กรณี ผู้ค้ำประกันตาย ก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้นั้น ถือว่ายังไม่มีหนี้ที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดกับเจ้าหนี้แต่อย่างใดเนื่องจากลูกหนี้ชั้นต้นยังมิได้ผิดนัด เช่นนี้ย่อมไม่มีหนี้ตามสัญญาค้ำประกันตกทอดไปถึงทายาทของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด และเมื่ีอผู้ค้ำประกันตายก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัด ก็ถือว่าสัญญาค้ำประกันระงับลง (ฎีกาที่ 6023/2538)
ถือว่าผู้ค้ำประกันมีหนี้ที่จะต้องชำระให้กับเจ้าหนี้แทนลูกหนี้นั้นแล้ว เมื่อผู้ค้ำประกันตายทายาทจึงต้องรับมรดกใช้หนี้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้ต่อไป แต่ทั้งนี้ไม่ต้องรับผิดชอบใช้หนี้เกินกว่ามรดกที่ตนได้รับมา
แต่ในปัจจุบันมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยไว้แตกต่างจากเดิม นั่นคือ ฎีกาที่ 1268/2555
กรณี ผู้ค้ำประกันตาย ก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ถ้าต่อมาปรากฏว่าภายหลังจากผู้ค้ำประกันตายไปแล้วลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องทายาทของผู้ค้ำประกันให้รับผิดได้
เนื่องจากสัญญาค้ำประกันมิใช่สัญญาเฉพาะตัวที่ทำขึ้นเพราะผู้ค้ำประกันมีคุณสมบัติหรือความสามารถเฉพาะตัวอันจะผูกพันเฉพาะตัวบุคคลที่ทำสัญญาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ค้ำประกันเข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ว่า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ตนจะยอมเข้าชำระหนี้นั้นให้กับเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ ความผูกพันดังกล่าวย่อมเป็นหนี้ตกทอดแก่ทายาทของผู้ค้ำประกันด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้จึงสามารถฟ้องให้ทายาทของผู้ค้ำประกันรับผิดได้
ส่วนตัวแล้วผมคิดว่า สัญญาค้ำประกัน เป็นการประกันด้วยตัวบุคคลโดยผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ ซึ่งว่าหากลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทนลูกหนี้ ซึ่งแตกต่างจากการประกันหนี้ในลักษณะอื่น เช่น จำนองหรือจำนำ โดยกรณีจำนองหรือจำนำนั้นผู้จำนองหรือผู้จำนำจะนำทรัพย์สินไปเป็นประกันหนี้
ดังนั้น หากลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ภายหลังที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายก่อนที่ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะเกิดขึ้น ทายาทของผู้ค้ำประกันไม่ควรต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เนื่องจากเหตุผล
1. เป็นบุคคล คนล่ะคนกัน
2. การค้ำประกัน เป็นการประกันด้วยตัวบุคคล เมื่อพ่อเสียชีวิต รู้ได้อย่างไรว่าถ้าเอาบุคคลอื่น เช่น ทายาทไปค้ำประกัน แล้วจะผ่านเงื่อนไขของธนาคารได้
3. สัญญาค้ำประกัน น่าจะเป็นสัญญาเฉพาะตัวบุคคล หากตัวบุคคลที่ค้ำประกันเสียชีวิตไปก่อนที่มูลหนี้จะเกิด สัญญาน่าจะระงับไปแล้ว เพราะผู้ค้ำประกันเสียชีวิต ไม่ควรสืบทอดมายังทายาท
กรณีนี้ถ้ามูลหนี้สูง ๆ คุณควรหาทนาย และสู้คดีครับ
จากเพจกฎหมายน่ารู้ กับทนายแชมป์
กรณี ผู้ค้ำประกันตาย ก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้นั้น ถือว่ายังไม่มีหนี้ที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดกับเจ้าหนี้แต่อย่างใดเนื่องจากลูกหนี้ชั้นต้นยังมิได้ผิดนัด เช่นนี้ย่อมไม่มีหนี้ตามสัญญาค้ำประกันตกทอดไปถึงทายาทของผู้ค้ำประกันแต่อย่างใด และเมื่ีอผู้ค้ำประกันตายก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัด ก็ถือว่าสัญญาค้ำประกันระงับลง (ฎีกาที่ 6023/2538)
ถือว่าผู้ค้ำประกันมีหนี้ที่จะต้องชำระให้กับเจ้าหนี้แทนลูกหนี้นั้นแล้ว เมื่อผู้ค้ำประกันตายทายาทจึงต้องรับมรดกใช้หนี้ดังกล่าวให้กับเจ้าหนี้ต่อไป แต่ทั้งนี้ไม่ต้องรับผิดชอบใช้หนี้เกินกว่ามรดกที่ตนได้รับมา
แต่ในปัจจุบันมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยไว้แตกต่างจากเดิม นั่นคือ ฎีกาที่ 1268/2555
กรณี ผู้ค้ำประกันตาย ก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ถ้าต่อมาปรากฏว่าภายหลังจากผู้ค้ำประกันตายไปแล้วลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องทายาทของผู้ค้ำประกันให้รับผิดได้
เนื่องจากสัญญาค้ำประกันมิใช่สัญญาเฉพาะตัวที่ทำขึ้นเพราะผู้ค้ำประกันมีคุณสมบัติหรือความสามารถเฉพาะตัวอันจะผูกพันเฉพาะตัวบุคคลที่ทำสัญญาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ค้ำประกันเข้าผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ว่า หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ตนจะยอมเข้าชำระหนี้นั้นให้กับเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ ความผูกพันดังกล่าวย่อมเป็นหนี้ตกทอดแก่ทายาทของผู้ค้ำประกันด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้จึงสามารถฟ้องให้ทายาทของผู้ค้ำประกันรับผิดได้
ส่วนตัวแล้วผมคิดว่า สัญญาค้ำประกัน เป็นการประกันด้วยตัวบุคคลโดยผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ ซึ่งว่าหากลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทนลูกหนี้ ซึ่งแตกต่างจากการประกันหนี้ในลักษณะอื่น เช่น จำนองหรือจำนำ โดยกรณีจำนองหรือจำนำนั้นผู้จำนองหรือผู้จำนำจะนำทรัพย์สินไปเป็นประกันหนี้
ดังนั้น หากลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ภายหลังที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายก่อนที่ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะเกิดขึ้น ทายาทของผู้ค้ำประกันไม่ควรต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เนื่องจากเหตุผล
1. เป็นบุคคล คนล่ะคนกัน
2. การค้ำประกัน เป็นการประกันด้วยตัวบุคคล เมื่อพ่อเสียชีวิต รู้ได้อย่างไรว่าถ้าเอาบุคคลอื่น เช่น ทายาทไปค้ำประกัน แล้วจะผ่านเงื่อนไขของธนาคารได้
3. สัญญาค้ำประกัน น่าจะเป็นสัญญาเฉพาะตัวบุคคล หากตัวบุคคลที่ค้ำประกันเสียชีวิตไปก่อนที่มูลหนี้จะเกิด สัญญาน่าจะระงับไปแล้ว เพราะผู้ค้ำประกันเสียชีวิต ไม่ควรสืบทอดมายังทายาท
กรณีนี้ถ้ามูลหนี้สูง ๆ คุณควรหาทนาย และสู้คดีครับ
แสดงความคิดเห็น
พ่อไปค้ำหนี้เเล้วพ่อเสีย ถัดมาลูกหนี้หนี !!!