ในมหากาพย์รามายณะ ภาษาสันสกฤตของวาลมิกิ (Valmiki) และ มหากาพย์ “รามาวาตารัม” (Ramavataram) หรือรามายณะฉบับภาษาทมิฬ ที่เขียนโดย “คามบัน” (Kamban) กวีชาวทมิฬ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ได้เล่าถึงกำเนิดของ “นางสีดา” (Sita) คล้ายคลึงกันว่า นางสีดานั้นเป็นธิดาของ “พระแม่ภูมิเทวี” (Bhūmi Devi ) (พระแม่แห่งแผ่นดิน - Goddess Earth - Mother Earth - Mother goddess (มีพระนามอื่นอีกมากมาย เช่น พระแม่ธรณี (Dharani), วสุธา (Vasudha) วสุนธรา (Vasundhara) พระปฤถิวี (Prithvi) ธรติ (Dharti) เอลร่า (Ella) เอลลาวาติ (Elavaani) ฯลฯ) เป็นมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน เทวีแห่งแผ่นดินผู้อำนวยความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ค้ำจุนสิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์อีกด้วย
แตกต่างไปจากรามเกียรติ์ และนิทานพื้นบ้านของอินเดียฉบับอื่น ๆ ที่บ้างก็เล่าว่านางสีดาเป็นอวตารของพระแม่ลักษมี ตามพระวิษณุลงมากำเนิดบนโลกครับ
บางฉบับก็เล่าว่านางสีดาเคยเป็นนางอัปสรานามว่า “เวทวดี” (Vedavati) (บุตรีของ “พรหมรรษี” (Brahmarishi) หลานของพระพฤหัส (Brihaspati) บิดาของนางใช้เวลาตลอดชีพสวดแต่พระเวท พระเวททุกบทนี้จึงบังเกิดรูปสตรีที่มิได้เกิดจากกามรมณ์ นางเวทวดีจึงเกิดมาด้วยความงามและความบริสุทธิ์ยิ่ง บิดานางไม่ยอมยกนางให้กับผู้ใด ตั้งใจถวายนางต่อพระวิษณุเพียงผู้เดียว นางจึงได้บำเพ็ญตนภาวนาเพื่อให้พระวิษณุมารับนางเป็นชายา
แต่ท้าวราพณ์ – ทศกัณฐ์ ได้มาพบและขืนใจนาง นางจึงตั้งตบะเผาร่างตนเองจนมอดไหม้ในระหว่างที่ท้าวราพณ์กำลังข่มเหง ก่อนนางจะเผาตนเองจนสิ้นนั้น นางได้เอ่ยปากว่านางไม่เคยคิดอยากสาปแช่งเพราะจะทำให้บารมีแห่งศักติที่อุตส่าห์บำเพ็ญมาลดน้อยถอยไปด้วยใจอาฆาต
ในนิทานพื้นบ้านอินเดียใต้กลับเล่าต่างกันไปว่า นางเวทวดีที่ถูกทศกัณฐ์ข่มขืนนั้นไม่ได้เผาตัวเองจนตาย แต่ตั้งครรภ์ คลอดลูกออกมาเป็นนางสีดา จึงฝากคำสาปล้างแค้นไว้ที่บุตรสาว
*** บางสำนวนก็เล่าว่า นางสีดาเป็นพระธิดาของพระชนก – (จานัก Janaka) โดยตรง ไม่ได้ถูกเก็บมาเลี้ยง บ้างก็อธิบายว่า เป็นธิดาของท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) กับนางวิทธยาธรมายา (Vidyadhara Maya) หรือนางมณโฑ (Mandodari) ทศกัณฑ์มีบุตรที่เกิดจากเมียแบบต่าง ๆ (คน สัตว์ อัปสรา เที่ยวข่มขืนสตรีทุกพันธุ์ที่พึงใจ) จำนวนมาก แต่ก็หามีพระธิดาไม่ นางมณโฑแค้นใจที่ทศกัณฐ์มากรัก รู้ใจว่าทศกัณฐ์อยากได้ลูกสาวมากจึงคิดแก้แค้น พอนางตั้งครรภ์ใหม่ สังหรณ์ว่าจะได้บุตรเป็นหญิงจึงไม่ได้บอกกับใคร ออกเดินทางทำทีเป็นกลับไปเยี่ยมบิดาของนาง แล้วได้แอบคลอดลูกฝากนางสีดาไว้ที่กับพระแม่แห่งแผ่นดิน ก่อนกลับมากรุงลงกา
ในรามายณะ ฉบับวาลมิกิ และคามบัน เล่าว่า นางสีดานั้นถูกพบโดย “ท้าวชนก” (Janaka) กษัตริย์แห่ง มิถิลา (Mithila) แคว้นวิเทหะ (Videha) พร้อมพระมเหสี “สุเนนา” (Sunaina - นางรัตนมณี ในรามเกียรติ์) ในระหว่างการไถหน้าดินพิธีแรกนาขวัญ พระแม่แห่งแผ่นดินภูมิเทวีได้มอบนางสีดาผ่านรอยแยกของ “รอยไถ” ขึ้นมา แปลตรงตัวในภาษาสันสกฤตว่า “สีตา - สีดา”
แต่ในฉบับ “รามเกียรติ์” ของไทยเล่าว่า เดิมนั้นนางสีดาถูกนำใส่ผอบลอยน้ำมาจากกรุงลงกา ตามคำนายของพิเภกว่าเป็น “กาลกิณี” จะทำลายเผ่าพงศ์ยักษ์จนพินาศ ผอบลอยทวนน้ำมายังอาศรมของฤๅษีชนก ฤๅษีพบพระธิดาสีดาก็ให้รักใครเอ็นดู เสกน้ำนมออกมาจากปลายนิ้วให้ดื่มกิน แต่ไม่นานนักก็ได้นำนางสีดาฝังไว้ในผอบดังเดิม นำไปฝากให้พระแม่ธรณี – ภูมิเทวี เป็นผู้ดูแล จนเวลาผ่านไป 16 ปี ฤๅษีชนกบำเพ็ญตบะไม่สำเร็จ จึงคิดกลับมาครองเมืองมิถิลา จึงได้ทำพิธีขอพระแม่ธรณี ไถผอบนางสีดากลับคืนมาเพื่อนำไปเลี้ยงเอง
“นางสีดา” ในรามายณะ จึงเป็นบุตรีของพระแม่แห่งโลก เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความงดงามและมั่งคั่งของมนุษย์ ที่มอบเป็นธิดาบุญธรรมแก่ท้าวชนก – จานักกะ อีกทีหนึ่ง นางสีดาในรามายณะจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธิดาแห่งท้าวชนก - "ชนกี" (Janaki) ครับ
ภายหลังจากที่ท้าวชนกได้รับนางสีดามาจากพระแม่ภูมิเทวี (Bhumi – Godness Earth) ทรงเลี้ยงดูนางสีดาจนเติบโตขึ้นเป็นสาวแรกรุ่น ที่มีความงดงามยิ่งกว่าหญิงนางใดในพิภพ ดังพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ได้บรรยายความงามของนางสีดาไว้ว่า
“ งามพักตร์ดั่งดวงศศิธร
งามขนงก่งงอนดั่งเลขา
งามเนตรดั่งเนตรมฤคา
งามนิสิกแฉล้มงามกรรณ
งามโอษฐ์โอษฐ์เอี่ยมดั่งจะแย้ม
งามทั้งสองแก้มงามถัน
งามจริตกิริยาวิลาวัณย์
สารพันพริ้มพร้อมทั้งกายา”
ครั้งเมื่อถึงเวลา ท้าวชนกเห็นว่านางสีดาถึงวัยที่ควรจะมีคู่ครองได้แล้ว จึงให้จัดพิธียกศร “มหาธนูโมลี” (พินากะ – Pinaka ในรามายณะ) อันเป็นอาวุธที่พระศิวะประทานให้แก่ท้าวชนก (มหาธนูโมลี พระศิวะเคยใช้ปราบอสูรตรีบูรัม และนำมาฝากไว้ที่เมืองมิถิลา เพื่อมอบแก่พระรามอวตาร "เมื่อถึงกาลอันควร คันศรนี้จะเผยตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ปราบยุคเข็ญออกมาให้ได้ทราบกัน") เพื่อหาผู้สมควรเป็นคู่ครองให้แก่พระราชธิดาของพระองค์ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ใครก็ตามที่สามารถยกธนูนี้ขึ้นได้ก็จะได้นางสีดาเป็นมเหสี โดยทรงอธิฐานขอให้มหาธนูหนักอึ้งดุจขุนเขา ผู้ที่เป็นเนื้อคู่ของนางสีดาเท่านั้นจึงจะยกขึ้นได้
ในพิธีนี้ “พระฤๅษีวิศวามิตร” (Vishvamitra) ได้แนะนำให้พระรามและพระลักษมณ์เข้าร่วมในงานพิธีดังกล่าว เมื่อพิธีเริ่มขึ้น มีกษัตริย์และเจ้าชายจากนครต่าง ๆ มาร่วมประลองยกคันศรกันเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถยกขึ้นมาได้เลยซักพระองค์
จนถึงจังหวะของท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) แห่งกรุงลงกา ที่แฝงตัวเข้ามาร่วมพิธีประลอง เมื่อกษัตริย์อสูรจับคันศรก็รู้สึกร้อนดังไฟเผาขึ้นมาทันที แต่ก็พยายามอดกลั้น กัดฟันยกคันศรขึ้นมาอย่างสุดแรง แต่คันศรนั้นก็หาได้เคลื่อนขยับ ท้าวราพณ์ยังไม่ยอมลดละ พยายามครั้งแล้วครั้งเล่าในท่วงท่าต่าง ๆ จนเป็นที่ขบขันแก่เหล่าผู้เข้าร่วมพิธี สร้างความอับอายให้แก่พญาอสูรเป็นยิ่งนัก
ในลำดับสุดท้ายของพิธี คือ พระราม (Rama) และพระลักษณ์ (Lakshmana) ในรามเกียรติ์เล่าว่า พระลักษณ์เข้ายกศรก่อน เพื่อหยั่งดูว่าหนักเพียงใด แต่เมื่อพระลักษณ์จับ คันศรก็ขยับสามารถยกได้เลยในทันที แต่พระลักษณ์ไม่ได้ยกขึ้นเอง ถอยกลับออกมาให้พระรามผู้เป็นเนื้อคู่ที่แท้จริงของนางสีดาเข้ามายก
ด้วยพระหัตถ์เพียงข้างเดียว พระรามก็สามารถก็ยกคันศรชูขึ้นได้อย่างง่ายดาย แล้วทรงน้าวศรสำแดงฤทธิ์ ดีดปล่อยสายธนู เกิดเสียงดังสนั่นกระจายไปทั่วพิภพและสวรรค์
ภาพสลักบนหน้าบันด้านใน ประตูเล็กข้างซุ้มประตูใหญ่ฝั่งทิศใต้ของอาคารหอพิธีกรรม/หอรามายณะ อาคารด้านหน้าสุดของ “หมู่ปราสาทบันทายฉมาร์” สลักเล่าเรื่องราวสำคัญสามตอน ของมหากาพย์รามายณะ ในภาพสลักเดียว โดยตอนแรกเป็นภาพของนางภูมิเทวี – พระแม่แห่งแผ่นดิน ประทับนั่งบนผืนดินเหนือพญานาค (ในความหมายของโลก แผ่นดิน ความอุดมสมบูรณ์) กำลังอุ้ม (เลี้ยงดู) นางสีดา มุมด้านล่างฝั่งซ้ายของภาพ เป็นภาพของพระนาง“สุเนนา” (นางรัตนมณี ในรามเกียรติ์) โดยมีภาพบุคคลไว้เครานั่งชันเข่าซ้อนอยู่ด้านหลัง (ผู้หญิงใส่ผ้าซิ่นชันเข่าไม่ได้) อันหมายถึง “ท้าวชนก” กษัตริย์แห่ง มิถิลา ทั้งสองถือเครื่องมือ ที่แสดงการแซะ หรือไถ ไปยังฐานแผ่นดินของพระแม่ภูมิเทวี อันเป็นเหตุการณ์ตอนได้นางสีดามาจากร่องไถ ในพระราชพิธีแรกนาขวัญ
ทางขวามือของหน้าบันในภาพ เป็นภาพสลักของพระรามและพระลักษณ์ โดยที่พระรามนั้นจะถือคันศรพรหมมาสตร์เป็นเอกลักษณ์ พระกรและพรหัตถ์ด้านขวา กำลังยกคันศรโมลี (พินากะ – Pinaka) เป็นเหตุการณ์ในรามายณะตอนพิธียกศรมหาธนูเพื่อเลือกคู่ครองของนางสีดานั่นเองครับ
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
https://www.facebook.com/EJeab.Academy/posts/515846698880037
กำเนิดนางสีดา ที่ปราสาทบันทายฉมาร์ Banteay Chhmar Temple ប្រាសាទបន្ទាយឆ្មារ
แตกต่างไปจากรามเกียรติ์ และนิทานพื้นบ้านของอินเดียฉบับอื่น ๆ ที่บ้างก็เล่าว่านางสีดาเป็นอวตารของพระแม่ลักษมี ตามพระวิษณุลงมากำเนิดบนโลกครับ
บางฉบับก็เล่าว่านางสีดาเคยเป็นนางอัปสรานามว่า “เวทวดี” (Vedavati) (บุตรีของ “พรหมรรษี” (Brahmarishi) หลานของพระพฤหัส (Brihaspati) บิดาของนางใช้เวลาตลอดชีพสวดแต่พระเวท พระเวททุกบทนี้จึงบังเกิดรูปสตรีที่มิได้เกิดจากกามรมณ์ นางเวทวดีจึงเกิดมาด้วยความงามและความบริสุทธิ์ยิ่ง บิดานางไม่ยอมยกนางให้กับผู้ใด ตั้งใจถวายนางต่อพระวิษณุเพียงผู้เดียว นางจึงได้บำเพ็ญตนภาวนาเพื่อให้พระวิษณุมารับนางเป็นชายา
แต่ท้าวราพณ์ – ทศกัณฐ์ ได้มาพบและขืนใจนาง นางจึงตั้งตบะเผาร่างตนเองจนมอดไหม้ในระหว่างที่ท้าวราพณ์กำลังข่มเหง ก่อนนางจะเผาตนเองจนสิ้นนั้น นางได้เอ่ยปากว่านางไม่เคยคิดอยากสาปแช่งเพราะจะทำให้บารมีแห่งศักติที่อุตส่าห์บำเพ็ญมาลดน้อยถอยไปด้วยใจอาฆาต
ในนิทานพื้นบ้านอินเดียใต้กลับเล่าต่างกันไปว่า นางเวทวดีที่ถูกทศกัณฐ์ข่มขืนนั้นไม่ได้เผาตัวเองจนตาย แต่ตั้งครรภ์ คลอดลูกออกมาเป็นนางสีดา จึงฝากคำสาปล้างแค้นไว้ที่บุตรสาว
*** บางสำนวนก็เล่าว่า นางสีดาเป็นพระธิดาของพระชนก – (จานัก Janaka) โดยตรง ไม่ได้ถูกเก็บมาเลี้ยง บ้างก็อธิบายว่า เป็นธิดาของท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) กับนางวิทธยาธรมายา (Vidyadhara Maya) หรือนางมณโฑ (Mandodari) ทศกัณฑ์มีบุตรที่เกิดจากเมียแบบต่าง ๆ (คน สัตว์ อัปสรา เที่ยวข่มขืนสตรีทุกพันธุ์ที่พึงใจ) จำนวนมาก แต่ก็หามีพระธิดาไม่ นางมณโฑแค้นใจที่ทศกัณฐ์มากรัก รู้ใจว่าทศกัณฐ์อยากได้ลูกสาวมากจึงคิดแก้แค้น พอนางตั้งครรภ์ใหม่ สังหรณ์ว่าจะได้บุตรเป็นหญิงจึงไม่ได้บอกกับใคร ออกเดินทางทำทีเป็นกลับไปเยี่ยมบิดาของนาง แล้วได้แอบคลอดลูกฝากนางสีดาไว้ที่กับพระแม่แห่งแผ่นดิน ก่อนกลับมากรุงลงกา
ในรามายณะ ฉบับวาลมิกิ และคามบัน เล่าว่า นางสีดานั้นถูกพบโดย “ท้าวชนก” (Janaka) กษัตริย์แห่ง มิถิลา (Mithila) แคว้นวิเทหะ (Videha) พร้อมพระมเหสี “สุเนนา” (Sunaina - นางรัตนมณี ในรามเกียรติ์) ในระหว่างการไถหน้าดินพิธีแรกนาขวัญ พระแม่แห่งแผ่นดินภูมิเทวีได้มอบนางสีดาผ่านรอยแยกของ “รอยไถ” ขึ้นมา แปลตรงตัวในภาษาสันสกฤตว่า “สีตา - สีดา”
แต่ในฉบับ “รามเกียรติ์” ของไทยเล่าว่า เดิมนั้นนางสีดาถูกนำใส่ผอบลอยน้ำมาจากกรุงลงกา ตามคำนายของพิเภกว่าเป็น “กาลกิณี” จะทำลายเผ่าพงศ์ยักษ์จนพินาศ ผอบลอยทวนน้ำมายังอาศรมของฤๅษีชนก ฤๅษีพบพระธิดาสีดาก็ให้รักใครเอ็นดู เสกน้ำนมออกมาจากปลายนิ้วให้ดื่มกิน แต่ไม่นานนักก็ได้นำนางสีดาฝังไว้ในผอบดังเดิม นำไปฝากให้พระแม่ธรณี – ภูมิเทวี เป็นผู้ดูแล จนเวลาผ่านไป 16 ปี ฤๅษีชนกบำเพ็ญตบะไม่สำเร็จ จึงคิดกลับมาครองเมืองมิถิลา จึงได้ทำพิธีขอพระแม่ธรณี ไถผอบนางสีดากลับคืนมาเพื่อนำไปเลี้ยงเอง
“นางสีดา” ในรามายณะ จึงเป็นบุตรีของพระแม่แห่งโลก เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความงดงามและมั่งคั่งของมนุษย์ ที่มอบเป็นธิดาบุญธรรมแก่ท้าวชนก – จานักกะ อีกทีหนึ่ง นางสีดาในรามายณะจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธิดาแห่งท้าวชนก - "ชนกี" (Janaki) ครับ
ภายหลังจากที่ท้าวชนกได้รับนางสีดามาจากพระแม่ภูมิเทวี (Bhumi – Godness Earth) ทรงเลี้ยงดูนางสีดาจนเติบโตขึ้นเป็นสาวแรกรุ่น ที่มีความงดงามยิ่งกว่าหญิงนางใดในพิภพ ดังพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ได้บรรยายความงามของนางสีดาไว้ว่า
“ งามพักตร์ดั่งดวงศศิธร
งามขนงก่งงอนดั่งเลขา
งามเนตรดั่งเนตรมฤคา
งามนิสิกแฉล้มงามกรรณ
งามโอษฐ์โอษฐ์เอี่ยมดั่งจะแย้ม
งามทั้งสองแก้มงามถัน
งามจริตกิริยาวิลาวัณย์
สารพันพริ้มพร้อมทั้งกายา”
ครั้งเมื่อถึงเวลา ท้าวชนกเห็นว่านางสีดาถึงวัยที่ควรจะมีคู่ครองได้แล้ว จึงให้จัดพิธียกศร “มหาธนูโมลี” (พินากะ – Pinaka ในรามายณะ) อันเป็นอาวุธที่พระศิวะประทานให้แก่ท้าวชนก (มหาธนูโมลี พระศิวะเคยใช้ปราบอสูรตรีบูรัม และนำมาฝากไว้ที่เมืองมิถิลา เพื่อมอบแก่พระรามอวตาร "เมื่อถึงกาลอันควร คันศรนี้จะเผยตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ปราบยุคเข็ญออกมาให้ได้ทราบกัน") เพื่อหาผู้สมควรเป็นคู่ครองให้แก่พระราชธิดาของพระองค์ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ใครก็ตามที่สามารถยกธนูนี้ขึ้นได้ก็จะได้นางสีดาเป็นมเหสี โดยทรงอธิฐานขอให้มหาธนูหนักอึ้งดุจขุนเขา ผู้ที่เป็นเนื้อคู่ของนางสีดาเท่านั้นจึงจะยกขึ้นได้
ในพิธีนี้ “พระฤๅษีวิศวามิตร” (Vishvamitra) ได้แนะนำให้พระรามและพระลักษมณ์เข้าร่วมในงานพิธีดังกล่าว เมื่อพิธีเริ่มขึ้น มีกษัตริย์และเจ้าชายจากนครต่าง ๆ มาร่วมประลองยกคันศรกันเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถยกขึ้นมาได้เลยซักพระองค์
จนถึงจังหวะของท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) แห่งกรุงลงกา ที่แฝงตัวเข้ามาร่วมพิธีประลอง เมื่อกษัตริย์อสูรจับคันศรก็รู้สึกร้อนดังไฟเผาขึ้นมาทันที แต่ก็พยายามอดกลั้น กัดฟันยกคันศรขึ้นมาอย่างสุดแรง แต่คันศรนั้นก็หาได้เคลื่อนขยับ ท้าวราพณ์ยังไม่ยอมลดละ พยายามครั้งแล้วครั้งเล่าในท่วงท่าต่าง ๆ จนเป็นที่ขบขันแก่เหล่าผู้เข้าร่วมพิธี สร้างความอับอายให้แก่พญาอสูรเป็นยิ่งนัก
ในลำดับสุดท้ายของพิธี คือ พระราม (Rama) และพระลักษณ์ (Lakshmana) ในรามเกียรติ์เล่าว่า พระลักษณ์เข้ายกศรก่อน เพื่อหยั่งดูว่าหนักเพียงใด แต่เมื่อพระลักษณ์จับ คันศรก็ขยับสามารถยกได้เลยในทันที แต่พระลักษณ์ไม่ได้ยกขึ้นเอง ถอยกลับออกมาให้พระรามผู้เป็นเนื้อคู่ที่แท้จริงของนางสีดาเข้ามายก
ด้วยพระหัตถ์เพียงข้างเดียว พระรามก็สามารถก็ยกคันศรชูขึ้นได้อย่างง่ายดาย แล้วทรงน้าวศรสำแดงฤทธิ์ ดีดปล่อยสายธนู เกิดเสียงดังสนั่นกระจายไปทั่วพิภพและสวรรค์
ภาพสลักบนหน้าบันด้านใน ประตูเล็กข้างซุ้มประตูใหญ่ฝั่งทิศใต้ของอาคารหอพิธีกรรม/หอรามายณะ อาคารด้านหน้าสุดของ “หมู่ปราสาทบันทายฉมาร์” สลักเล่าเรื่องราวสำคัญสามตอน ของมหากาพย์รามายณะ ในภาพสลักเดียว โดยตอนแรกเป็นภาพของนางภูมิเทวี – พระแม่แห่งแผ่นดิน ประทับนั่งบนผืนดินเหนือพญานาค (ในความหมายของโลก แผ่นดิน ความอุดมสมบูรณ์) กำลังอุ้ม (เลี้ยงดู) นางสีดา มุมด้านล่างฝั่งซ้ายของภาพ เป็นภาพของพระนาง“สุเนนา” (นางรัตนมณี ในรามเกียรติ์) โดยมีภาพบุคคลไว้เครานั่งชันเข่าซ้อนอยู่ด้านหลัง (ผู้หญิงใส่ผ้าซิ่นชันเข่าไม่ได้) อันหมายถึง “ท้าวชนก” กษัตริย์แห่ง มิถิลา ทั้งสองถือเครื่องมือ ที่แสดงการแซะ หรือไถ ไปยังฐานแผ่นดินของพระแม่ภูมิเทวี อันเป็นเหตุการณ์ตอนได้นางสีดามาจากร่องไถ ในพระราชพิธีแรกนาขวัญ
ทางขวามือของหน้าบันในภาพ เป็นภาพสลักของพระรามและพระลักษณ์ โดยที่พระรามนั้นจะถือคันศรพรหมมาสตร์เป็นเอกลักษณ์ พระกรและพรหัตถ์ด้านขวา กำลังยกคันศรโมลี (พินากะ – Pinaka) เป็นเหตุการณ์ในรามายณะตอนพิธียกศรมหาธนูเพื่อเลือกคู่ครองของนางสีดานั่นเองครับ
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
https://www.facebook.com/EJeab.Academy/posts/515846698880037