Bioscope Magazine /13/2/2562/ 11:35
จากบนรถไฟจนถึงเกาหลีใต้โบราณ Train to Busan และ Kingdom: วิพากษ์ทุนนิยมและชนชั้นด้วยซอมบี้
ย้อนกลับไปเมื่อสามปีก่อน Train to Busan (2016, ยอนซังโฮ) สร้างปรากฏการณ์ด้วยการกวาดรายได้ไปเกือบ 100 ล้านเหรียญฯ จากทุนเพียง 8 ล้านเหรียญฯ โดยการนำเอาเรื่องราวของ ‘ผีดิบ’ หรือซอมบี้มาเป็นประเด็นหลักของหนังที่ว่าด้วยพ่อลูกคู่หนึ่งต้องหนีตายจากซอมบี้บนรถไฟด่วน และในปีนี้ Kingdom ซีรีส์สัญชาติเกาหลีใต้ก็กำลังสร้างปรากฏการณ์ความนิยมในระดับเดียวกันทางเน็ตฟลิกซ์ เล่าถึงเกาหลีใต้ในรัชสมัยราชวงศ์โชซอนที่เกิดโรคระบาดทำให้ผู้คนมีสภาพเหมือนศพในเวลากลางวัน และออกมาไล่ล่าในเวลากลางคืน
ดูเหมือนว่าจุดร่วมอย่างหนึ่งของความฮิตจากหนังและซีรีส์ทั้งสองเรื่องจะเป็นการนำเอาผีดิบหรือซอมบี้ -ซึ่งเป็นตัวละครจากวัฒนธรรมการเล่าเรื่องแบบตะวันตก- มาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเนื้อเรื่อง หากแต่ความต่างที่น่าสนใจคือ ซอมบี้ใน Train to Busan นั้นคล้ายว่าจะทำหน้าที่วิพากษ์ลัทธิบริโภคนิยมอย่างเต้มขั้นผ่านเรื่องราวของสองพ่อลูก ขณะที่ซอมบี้ใน Kingdom กลับจับจ้องไปยังเรื่องราวความเหลื่อมล้ำและชนชั้นในสังคมของเกาหลียุคโบราณ …และบางทีนี่อาจเป็นหนึ่งในกลไกความสำเร็จของทั้งสองเรื่อง เมื่อซอมบี้ไม่ใช่แค่ตัวละครที่มีไว้เพื่อขับเน้นความตื่นเต้น หากแต่เพื่อวิพากษ์วิจารณ์บางอย่างด้วยต่างหาก!

ต้นกำเนิดภาพยนตร์ตระกูลซอมบี้ที่วิพากษ์ทุนนิยมนั้นเกิดขึ้นมาจาก จอร์จ เอ โรเมโร ที่นำเอาต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องการปลุกคนตายขึ้นมาเป็นทาสรับใช้จากพิธีกรรมวูดูเมื่อสมัยเก่าก่อน มาสร้างเป็น ไตรภาคแห่งความตาย หนังซอมบี้สามเรื่องรวดที่ประสบความสำเร็จมหาศาล และสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมป๊อปที่ส่งผลมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ Night of the Living Dead (1968) เมื่อศพเดินได้ลุกมากินสมองคนเป็นอย่างไม่มีเป้าหมาย กลายเป็นหนังสะท้อนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในยุคนั้นที่เต็มไปด้วยแรงขับเคลื่อนทางทุนนิยมที่ทำให้ผู้คนแห่ไปซื้อของตามๆ กันอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง ตามมาด้วย Dawn of the Dead (1978) และ Day of the Dead (1985) จนมันได้กลายเป็นหนังซอมบี้สามเรื่องที่สะท้อนภาพการเมือง สังคมและทุนนิยมของสหรัฐอเมริกาอย่างชัดแจ้ง “หนังซอมบี้แต่ละเรื่องของผมคือภาพสะท้อนของสังคมและการเมืองที่ต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย มันเหมือนเป็นการบันทึกส่วนเสี้ยงของประวัติศาสตร์ เป็นสมุดไดอารี่แบบภาพยนตร์ที่เล่าว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง” โรเมโรเคยกล่าวไว้เช่นนั้น
และหากมองภาพรวมแล้ว Train to Busan ก็ดูจะมีเป้าหมายอยู่ที่การวิพากษ์สังคมทุนนิยมไม่ต่างกัน ผ่านเรื่องราวของ ซอกวู (กงยู) นักธุรกิจในย่านกรุงโซลที่มุ่งกอบโกยผลประโยชน์อย่างหนักจนประสบความสำเร็จมหาศาล แต่ในทางกลับกันก็ไม่มีเวลาให้กับครอบครัวจนไม่สนิทกับลูกสาว ที่ขอให้เขาพาเธอกลับไปหาแม่ที่เมืองปูซานเพื่อเป็นของขวัญวันเกิดให้เธอ สองพ่อลูกจับรถไฟด่วนเพื่อเดินทางไปยังเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไปอีกหลายเมือง หากแต่ระหว่างนั้น กรุงโซลเกิดโรคระบาดประหลาดที่ทำให้ผู้คนหันมากัดกินกันเองอย่างดุเดือด เลวร้ายกว่านั้น หนึ่งในผู้ติดเชื้อได้เข้ามาอยู่ในรถไฟขบวนนี้ด้วย!
แน่นอนว่าหนังแทบจะเดินตามขนบหนังตระกูลซอมบี้หลายๆ เรื่องที่จับคนเป็นมาอยู่กับคนตายในพื้นที่จำกัด ในที่นี้คือขบวนรถไฟที่มีเพียงประตูกระจกกั้น กับคนเป็นที่เริ่มแสดงธาตุแท้ของมนุษย์ผู้ละโมบและเห็นแก่ตัวเมื่อถึงคราวจวนตัวขึ้นมา (ดังเช่นการกักกันไม่ให้คนนอกเข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยเพราะกลัวติดเชื้อ จนผลักคนเป็นด้วยกันออกไปสู่ความตายด้านนอก)
ก่อนนี้ ซังโฮเคยทำแอนิเมชั่นวิพากษ์ ‘สันดานดิบ’ ของมนุษย์มาก่อนแล้วใน The Fake (2013 -ชายผู้ออกแก้แค้นบาทหลวงที่ยักยอกเงินโบสถ์และหลอกลูกสาวเขาไปขายตัว), Senior Class (2016 -สาวดาวเด่นของโรงเรียนที่ขายตัวเอาเงินมาเรียนต่อ), Seoul Station (2016 -สาวขายบริการที่แตกหักกับพ่อและผัวจอมสูบเลือดสูบเนื้อ หนีเร่ร่อนออกมาเจอฝูงคนติดเชื้อไล่กัดคนเป็น) ซึ่งนี่เองที่เป็นปฐมบทของ Train to Busan ทั้งเขายังมีแรงบันดาลใจสำคัญเป็นคนทำหนังซอมบี้ฝั่งตะวันตกอย่าง แซ็ค ชไนเดอร์ (Dawn of the Dead), มาร์ก ฟอร์สเตอร์ (World War Z) และ แดนนี บอยล์ (28 Days Later) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนทำหนังที่สร้างหนังวิพากษ์สังคมในบริบทซอมบี้เกลื่อนเมืองด้วยกันทั้งสิ้น
“ซอมบี้นั้นเป็นจุดรวมความแตกต่างทางสังคมหลายๆ ประการได้ ซอมบี้ไม่ใช่สัตว์ประหลาดครับ พวกเขาคือมนุษย์เดินดินที่เต็มไปด้วยความโกรธเกรี้ยวเท่านั้น” ซังโฮกล่าว และประเด็นนี้สะท้อนผ่านหนังของเขาค่อนข้างชัดเจนทีเดียว โดยเฉพาะเหล่าตัวละครที่ผจญชะตากรรมเลวร้าย พวกเขาเป็นทั้งมนุษย์เงินเดือน นักธุรกิจ ตลอดจนคนเร่ร่อนที่ล้วนแล้วแต่โดนผลกระทบทางเศรษฐกิจกระหน่ำซัด พื้นที่เดียวที่หลอมรวมพวกเขาเข้าด้วยกันคือขบวนรถด่วนที่ปลายทางอยู่ที่เมืองปูซาน
ขณะที่ Kingdom นั้นซอมบี้กลายเป็นเครื่องมือในการวิพากษ์ระบบชนชั้นอันเข้มงวดของเกาหลีใต้โบราณ ดัดแปลงมาจากการ์ตูนเรื่อง The Kingdom of the Gods ของ คิม อึนฮี -ที่เขียนบทให้ซีรีส์ต่อจากนี้ด้วย- และกำกับโดย คิม ซองฮุน (A Hard Day, 2014 -นักสืบเผลอฆ่าคนตายเลยพยายามซ่อนศพเหยื่อไว้ในโลงศพของแม่ตัวเองก่อนวันฝัง!)
“เวลาพูดถึงซอมบี้แล้วคนมักจะกลัวกันนะคะ แต่ฉันว่าซอมบี้พวกนั้นเป็นสิ่งน่าเศร้าที่มีแรงขับแค่สัญชาติญาณในการหาอาหารเท่านั้น” อึนฮึเล่า “ตอนนั้นก็เลยคิดว่า ถ้าเอาไอ้ ‘โรคระบาด’ ที่ติดต่อกันได้นี้ไปอยู่ในยุคราชวงศ์โชซอน มันก็น่าจะได้เรื่องราวที่น่าสนใจดีนะ
“มันเป็นเรื่องราวของความหิวโหย ถ้าครอบครัวใหญ่ต้องเพื่อแย่งปลาตัวจิ๋วเดียวในอาหารสักมื้อ พวกเขาต้องเร็ว เพราะฉะนั้นเมื่อพวกเขากลายเป็นซอมบี้ พฤติกรรมนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ”
เกาหลีใต้ใน Kingdom กำลังอยู่ในช่วงระส่ำระสาย เมื่อกษัตริย์ล้มป่วยจนออกว่าราชการไม่ได้ด้วยโรคประหลาดที่ทำให้เขามีสภาพเหมือนศพในเวลากลางวัน และหิวโหยเนื้อมนุษย์ในเวลากลางคืน อำนาจการปกครองจึงตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าราชการใหญ่ โจ ฮัคจู ที่สะสมทรัพย์และกองทัพไว้ใต้บัญชาโดยไม่ใยดีประชาชนทั่วเมืองที่หิวโหยสุดขีดจนเกิดจลาจลและสงครามในหลายพื้นที่ ขณะที่สถานการณ์ในวังเองสั่นคลอนไม่น้อยเมื่อ อีชาง (จู จีฮุน) เจ้าชายที่เกิดจากนางสนมพยายามดิ้นรนชิงอำนาจตัวเองกลับมาจากการครอบงำของฮัคจูและพรรคพวก พร้อมกันนั้นก็ออกตามหาความจริงถึงโรคประหลาดที่พ่อของเขากำลังป่วยไข้

มันไม่เพียงแต่เป็นซีรีส์ธริลเลอร์ที่พูดถึงคนตายออกมาไล่ล่าคนเป็นเท่านั้น แต่มันยังเคลือบรสชาติดุเดือดของการเมืองและการชิงอำนาจทั้งในวังและนอกวัง ทั้งการพยายามหาพื้นที่ให้ตัวเองซึ่งเป็นลูกนางสนมของอีชาง, การเลี้ยงไข้กษัตริย์ป่วยให้อยู่ในสภาพกึ่งเป็นกึ่งตายเพื่อครอบงำอำนาจเบ็ดเสร็จของกลุ่มข้าราชการในวัง, ความอดอยากของประชาชนที่ก่อให้เกิดจลาจลขนาดใหญ่ขึ้นมา และยิ่งหายนะเมื่อพวกเขาติดเชื้อจนกลายสภาพเป็นซากศพที่วิ่งไล่กัดกินเนื้อคนเป็นในยามค่ำ ทางเดียวที่จะกำจัดพวกมันได้คือตัดหัวหรือเผาทิ้ง
ประเด็นทางชนชั้นถูกตอกย้ำเมื่อซีรีส์ชูธรรมเนียมการไม่อาจทำลายศพของชนชั้นสูง ดังนั้น ผีดิบ -หรือผู้ป่วย- ที่ถูกทำลายร่างกายส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงชนชั้นล่างไร้ปากเสียงที่ร่างกายถูกกลืนหายไปในเพลิง ขณะที่ร่างของชนชั้นสูงนั้นยังถูกเก็บอย่างดีเช่นเดียวกับร่างของกษัตริย์ผู้กลายมาเป็นหุ่นชักใยให้กลุ่มฮัคจู
ดังนั้น นี่จึงเป็นการเปลี่ยนผ่าน ‘นัยยะ’ ทางสังคมของซอมบี้ที่น่าจับตาในอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ หรืออาจจะหมายรวมถึงภาพรวมของกลุ่มหนังตะวันออก ที่เรื่องราวทางชนชั้นยังเข้มข้นกว่าโลกตะวันตก จนการหยิบเอาตัวละครจากฝั่งโน้นอย่างซอมบี้มาเป็นตัวแปรสำคัญของเรื่องเล่า ก็ดูจะเป็นหมุดหมายที่น่าสนใจ เพราะมันหมายถึงการละลายเอาวัฒนธรรมจากอีกฝั่งของโลกมาปรับสภาพให้กลายมาเป็นเรื่องราวและการวิพากษ์วิจารณ์แบบตะวันออกอย่างทรงพลังนั่นเอง
MTHAI
จากบนรถไฟจนถึงเกาหลีใต้โบราณ Train to Busan และ Kingdom
จากบนรถไฟจนถึงเกาหลีใต้โบราณ Train to Busan และ Kingdom: วิพากษ์ทุนนิยมและชนชั้นด้วยซอมบี้
ย้อนกลับไปเมื่อสามปีก่อน Train to Busan (2016, ยอนซังโฮ) สร้างปรากฏการณ์ด้วยการกวาดรายได้ไปเกือบ 100 ล้านเหรียญฯ จากทุนเพียง 8 ล้านเหรียญฯ โดยการนำเอาเรื่องราวของ ‘ผีดิบ’ หรือซอมบี้มาเป็นประเด็นหลักของหนังที่ว่าด้วยพ่อลูกคู่หนึ่งต้องหนีตายจากซอมบี้บนรถไฟด่วน และในปีนี้ Kingdom ซีรีส์สัญชาติเกาหลีใต้ก็กำลังสร้างปรากฏการณ์ความนิยมในระดับเดียวกันทางเน็ตฟลิกซ์ เล่าถึงเกาหลีใต้ในรัชสมัยราชวงศ์โชซอนที่เกิดโรคระบาดทำให้ผู้คนมีสภาพเหมือนศพในเวลากลางวัน และออกมาไล่ล่าในเวลากลางคืน
ดูเหมือนว่าจุดร่วมอย่างหนึ่งของความฮิตจากหนังและซีรีส์ทั้งสองเรื่องจะเป็นการนำเอาผีดิบหรือซอมบี้ -ซึ่งเป็นตัวละครจากวัฒนธรรมการเล่าเรื่องแบบตะวันตก- มาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเนื้อเรื่อง หากแต่ความต่างที่น่าสนใจคือ ซอมบี้ใน Train to Busan นั้นคล้ายว่าจะทำหน้าที่วิพากษ์ลัทธิบริโภคนิยมอย่างเต้มขั้นผ่านเรื่องราวของสองพ่อลูก ขณะที่ซอมบี้ใน Kingdom กลับจับจ้องไปยังเรื่องราวความเหลื่อมล้ำและชนชั้นในสังคมของเกาหลียุคโบราณ …และบางทีนี่อาจเป็นหนึ่งในกลไกความสำเร็จของทั้งสองเรื่อง เมื่อซอมบี้ไม่ใช่แค่ตัวละครที่มีไว้เพื่อขับเน้นความตื่นเต้น หากแต่เพื่อวิพากษ์วิจารณ์บางอย่างด้วยต่างหาก!
ต้นกำเนิดภาพยนตร์ตระกูลซอมบี้ที่วิพากษ์ทุนนิยมนั้นเกิดขึ้นมาจาก จอร์จ เอ โรเมโร ที่นำเอาต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องการปลุกคนตายขึ้นมาเป็นทาสรับใช้จากพิธีกรรมวูดูเมื่อสมัยเก่าก่อน มาสร้างเป็น ไตรภาคแห่งความตาย หนังซอมบี้สามเรื่องรวดที่ประสบความสำเร็จมหาศาล และสร้างแรงกระเพื่อมในวัฒนธรรมป๊อปที่ส่งผลมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ Night of the Living Dead (1968) เมื่อศพเดินได้ลุกมากินสมองคนเป็นอย่างไม่มีเป้าหมาย กลายเป็นหนังสะท้อนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในยุคนั้นที่เต็มไปด้วยแรงขับเคลื่อนทางทุนนิยมที่ทำให้ผู้คนแห่ไปซื้อของตามๆ กันอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง ตามมาด้วย Dawn of the Dead (1978) และ Day of the Dead (1985) จนมันได้กลายเป็นหนังซอมบี้สามเรื่องที่สะท้อนภาพการเมือง สังคมและทุนนิยมของสหรัฐอเมริกาอย่างชัดแจ้ง “หนังซอมบี้แต่ละเรื่องของผมคือภาพสะท้อนของสังคมและการเมืองที่ต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย มันเหมือนเป็นการบันทึกส่วนเสี้ยงของประวัติศาสตร์ เป็นสมุดไดอารี่แบบภาพยนตร์ที่เล่าว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง” โรเมโรเคยกล่าวไว้เช่นนั้น
และหากมองภาพรวมแล้ว Train to Busan ก็ดูจะมีเป้าหมายอยู่ที่การวิพากษ์สังคมทุนนิยมไม่ต่างกัน ผ่านเรื่องราวของ ซอกวู (กงยู) นักธุรกิจในย่านกรุงโซลที่มุ่งกอบโกยผลประโยชน์อย่างหนักจนประสบความสำเร็จมหาศาล แต่ในทางกลับกันก็ไม่มีเวลาให้กับครอบครัวจนไม่สนิทกับลูกสาว ที่ขอให้เขาพาเธอกลับไปหาแม่ที่เมืองปูซานเพื่อเป็นของขวัญวันเกิดให้เธอ สองพ่อลูกจับรถไฟด่วนเพื่อเดินทางไปยังเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไปอีกหลายเมือง หากแต่ระหว่างนั้น กรุงโซลเกิดโรคระบาดประหลาดที่ทำให้ผู้คนหันมากัดกินกันเองอย่างดุเดือด เลวร้ายกว่านั้น หนึ่งในผู้ติดเชื้อได้เข้ามาอยู่ในรถไฟขบวนนี้ด้วย!
แน่นอนว่าหนังแทบจะเดินตามขนบหนังตระกูลซอมบี้หลายๆ เรื่องที่จับคนเป็นมาอยู่กับคนตายในพื้นที่จำกัด ในที่นี้คือขบวนรถไฟที่มีเพียงประตูกระจกกั้น กับคนเป็นที่เริ่มแสดงธาตุแท้ของมนุษย์ผู้ละโมบและเห็นแก่ตัวเมื่อถึงคราวจวนตัวขึ้นมา (ดังเช่นการกักกันไม่ให้คนนอกเข้ามายังพื้นที่ปลอดภัยเพราะกลัวติดเชื้อ จนผลักคนเป็นด้วยกันออกไปสู่ความตายด้านนอก)
ก่อนนี้ ซังโฮเคยทำแอนิเมชั่นวิพากษ์ ‘สันดานดิบ’ ของมนุษย์มาก่อนแล้วใน The Fake (2013 -ชายผู้ออกแก้แค้นบาทหลวงที่ยักยอกเงินโบสถ์และหลอกลูกสาวเขาไปขายตัว), Senior Class (2016 -สาวดาวเด่นของโรงเรียนที่ขายตัวเอาเงินมาเรียนต่อ), Seoul Station (2016 -สาวขายบริการที่แตกหักกับพ่อและผัวจอมสูบเลือดสูบเนื้อ หนีเร่ร่อนออกมาเจอฝูงคนติดเชื้อไล่กัดคนเป็น) ซึ่งนี่เองที่เป็นปฐมบทของ Train to Busan ทั้งเขายังมีแรงบันดาลใจสำคัญเป็นคนทำหนังซอมบี้ฝั่งตะวันตกอย่าง แซ็ค ชไนเดอร์ (Dawn of the Dead), มาร์ก ฟอร์สเตอร์ (World War Z) และ แดนนี บอยล์ (28 Days Later) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนทำหนังที่สร้างหนังวิพากษ์สังคมในบริบทซอมบี้เกลื่อนเมืองด้วยกันทั้งสิ้น
“ซอมบี้นั้นเป็นจุดรวมความแตกต่างทางสังคมหลายๆ ประการได้ ซอมบี้ไม่ใช่สัตว์ประหลาดครับ พวกเขาคือมนุษย์เดินดินที่เต็มไปด้วยความโกรธเกรี้ยวเท่านั้น” ซังโฮกล่าว และประเด็นนี้สะท้อนผ่านหนังของเขาค่อนข้างชัดเจนทีเดียว โดยเฉพาะเหล่าตัวละครที่ผจญชะตากรรมเลวร้าย พวกเขาเป็นทั้งมนุษย์เงินเดือน นักธุรกิจ ตลอดจนคนเร่ร่อนที่ล้วนแล้วแต่โดนผลกระทบทางเศรษฐกิจกระหน่ำซัด พื้นที่เดียวที่หลอมรวมพวกเขาเข้าด้วยกันคือขบวนรถด่วนที่ปลายทางอยู่ที่เมืองปูซาน
ขณะที่ Kingdom นั้นซอมบี้กลายเป็นเครื่องมือในการวิพากษ์ระบบชนชั้นอันเข้มงวดของเกาหลีใต้โบราณ ดัดแปลงมาจากการ์ตูนเรื่อง The Kingdom of the Gods ของ คิม อึนฮี -ที่เขียนบทให้ซีรีส์ต่อจากนี้ด้วย- และกำกับโดย คิม ซองฮุน (A Hard Day, 2014 -นักสืบเผลอฆ่าคนตายเลยพยายามซ่อนศพเหยื่อไว้ในโลงศพของแม่ตัวเองก่อนวันฝัง!)
“เวลาพูดถึงซอมบี้แล้วคนมักจะกลัวกันนะคะ แต่ฉันว่าซอมบี้พวกนั้นเป็นสิ่งน่าเศร้าที่มีแรงขับแค่สัญชาติญาณในการหาอาหารเท่านั้น” อึนฮึเล่า “ตอนนั้นก็เลยคิดว่า ถ้าเอาไอ้ ‘โรคระบาด’ ที่ติดต่อกันได้นี้ไปอยู่ในยุคราชวงศ์โชซอน มันก็น่าจะได้เรื่องราวที่น่าสนใจดีนะ
“มันเป็นเรื่องราวของความหิวโหย ถ้าครอบครัวใหญ่ต้องเพื่อแย่งปลาตัวจิ๋วเดียวในอาหารสักมื้อ พวกเขาต้องเร็ว เพราะฉะนั้นเมื่อพวกเขากลายเป็นซอมบี้ พฤติกรรมนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมค่ะ”
เกาหลีใต้ใน Kingdom กำลังอยู่ในช่วงระส่ำระสาย เมื่อกษัตริย์ล้มป่วยจนออกว่าราชการไม่ได้ด้วยโรคประหลาดที่ทำให้เขามีสภาพเหมือนศพในเวลากลางวัน และหิวโหยเนื้อมนุษย์ในเวลากลางคืน อำนาจการปกครองจึงตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าราชการใหญ่ โจ ฮัคจู ที่สะสมทรัพย์และกองทัพไว้ใต้บัญชาโดยไม่ใยดีประชาชนทั่วเมืองที่หิวโหยสุดขีดจนเกิดจลาจลและสงครามในหลายพื้นที่ ขณะที่สถานการณ์ในวังเองสั่นคลอนไม่น้อยเมื่อ อีชาง (จู จีฮุน) เจ้าชายที่เกิดจากนางสนมพยายามดิ้นรนชิงอำนาจตัวเองกลับมาจากการครอบงำของฮัคจูและพรรคพวก พร้อมกันนั้นก็ออกตามหาความจริงถึงโรคประหลาดที่พ่อของเขากำลังป่วยไข้
มันไม่เพียงแต่เป็นซีรีส์ธริลเลอร์ที่พูดถึงคนตายออกมาไล่ล่าคนเป็นเท่านั้น แต่มันยังเคลือบรสชาติดุเดือดของการเมืองและการชิงอำนาจทั้งในวังและนอกวัง ทั้งการพยายามหาพื้นที่ให้ตัวเองซึ่งเป็นลูกนางสนมของอีชาง, การเลี้ยงไข้กษัตริย์ป่วยให้อยู่ในสภาพกึ่งเป็นกึ่งตายเพื่อครอบงำอำนาจเบ็ดเสร็จของกลุ่มข้าราชการในวัง, ความอดอยากของประชาชนที่ก่อให้เกิดจลาจลขนาดใหญ่ขึ้นมา และยิ่งหายนะเมื่อพวกเขาติดเชื้อจนกลายสภาพเป็นซากศพที่วิ่งไล่กัดกินเนื้อคนเป็นในยามค่ำ ทางเดียวที่จะกำจัดพวกมันได้คือตัดหัวหรือเผาทิ้ง
ประเด็นทางชนชั้นถูกตอกย้ำเมื่อซีรีส์ชูธรรมเนียมการไม่อาจทำลายศพของชนชั้นสูง ดังนั้น ผีดิบ -หรือผู้ป่วย- ที่ถูกทำลายร่างกายส่วนใหญ่จึงเป็นเพียงชนชั้นล่างไร้ปากเสียงที่ร่างกายถูกกลืนหายไปในเพลิง ขณะที่ร่างของชนชั้นสูงนั้นยังถูกเก็บอย่างดีเช่นเดียวกับร่างของกษัตริย์ผู้กลายมาเป็นหุ่นชักใยให้กลุ่มฮัคจู
ดังนั้น นี่จึงเป็นการเปลี่ยนผ่าน ‘นัยยะ’ ทางสังคมของซอมบี้ที่น่าจับตาในอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ หรืออาจจะหมายรวมถึงภาพรวมของกลุ่มหนังตะวันออก ที่เรื่องราวทางชนชั้นยังเข้มข้นกว่าโลกตะวันตก จนการหยิบเอาตัวละครจากฝั่งโน้นอย่างซอมบี้มาเป็นตัวแปรสำคัญของเรื่องเล่า ก็ดูจะเป็นหมุดหมายที่น่าสนใจ เพราะมันหมายถึงการละลายเอาวัฒนธรรมจากอีกฝั่งของโลกมาปรับสภาพให้กลายมาเป็นเรื่องราวและการวิพากษ์วิจารณ์แบบตะวันออกอย่างทรงพลังนั่นเอง
MTHAI