ใน ปวศ อิสราเอลเคยรบแพ้ใครหรือสูญเสียหนักๆบ้างไหม สงครามหกวัน 4+2 ประเทศรุมหนึ่งยังแพ้ เอาชนะยิวไม่ได้เลย?

https://en.m.wikipedia.org/wiki/Six-Day_War
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
จะขอตบท้ายสักหน่อย  ใครก็ตามที่จะออกความเห็นเกี่ยวสภาพการเมืองสาเหตุการรบราฆ่าฟัน
กันในตะวันออกกลางนี่  อย่าไปยึดเหตุการณ์ปัจจุบันเพื่อตัดสินความถูกผิด  มันไม่ใช่ดูแค่ snapshot
รูปสองรูปเหตุการณ์หนึ่งเหตุการใดแล้วไปตัดสินเรื่องทั้งหมด  จะไปเข้าข้างฝ่ายใดทันทีก็ไม่ได้ด้วย
เพราะมันจะโยงย้อนกลับไปในอดีตทุกทีเลย  สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องกลับไปอ่านประวัติศาสตร์ในแถบนี้เป็นพื้นฐานให้ดีเสียก่อน
ถึงจะเข้าใจ  อย่างเช่น ต้องกลับไปอ่านเรื่อง Balfour Declaration ในปี 1917 นั่นเลย เพราะมันมีอิทธิพลต่อ
แนวคิดทางการเมืองระหว่างประเทศ  และที่จริงต้องอ่านย้อนไปสมัยออตโตมันปกครองแถวนี้ซึ่งก็มีคนยิวอาศัย
ปะปนกับอาหรับมานานแล้ว  สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองที่เกี่ยวข้องกับบริเวณนี้  ต้องรู้มติยูเอ็นที่ตั้งประเทศอิสราเอล  
ต้องดูแผนที่การแบ่งพื้นที่กับพวกอาหรับ และต่อมาก็เรื่องการทำสงครามประกาศเอกราชของอิสราเอล  
ซึ่งความจริงก็คือพออังกฤษหมดหน้าที่การดูแลแถวนี้ อิสราเอลก็ประกาศเอกราชโดยถือเอาตามเขตที่ยูเอ็นแบ่งให้นั่นเอง
แต่พวกอาหรับไม่ยอมรับปฎิเสธอย่างเดียว จะเอาให้หมดและจะไล่อิสราเอลอย่างเดียว  แล้วก็เริ่มรุมกินโต๊ะอิสราเอลกัน
ถ้วนหน้าโดยเริ่มในปี 1948 ไปจบปี 1949 ผลปรากฎว่าพวกที่รุมแพ้ต้องทำการตกลงยุติสงครามกัน โดยยอมถือตาม
เส้นเขตที่หยุดยิงเป็นหลักไม่ใช่ที่ยูเอ็นขีดไว้  มาถึงตรงนี้หากอาหรับยอมโดยดี
ก็จะอยู่กันสงบ แต่อาหรับเก็บความแค้นไว้เสมอ  และเริ่มสะสมอาวุธ และนัสเซอร์ประธานธิบดีอียิปต์ต้องการ
เป็นใหญ่ในระหว่างพวกอาหรับ ก็จะนำหน้าต่อต้านอิสราเอล (คือเขาแย่งเป็นแกนนำกับจอร์แดนและอีรัก)
และก็มีการก่อการร้ายมาจากทางจอร์แดนบ่อยมาก  มีการพิพาทเรื่องการใช้น้ำจากแม่น้ำจอร์แดน และการทำเกษตร
ในแถบโนแมนส์แลนด์ทางเหนือติดกับซีเรียด้วย  ส่วนทางอียิปต์ก็ปิดช่องแคบตีรานที่เป็นช่องทางเข้าไปเมืองท่าเอลาท
จากด้านทะเลแดง ซี่งตอนนั้นเป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งน้ำมันจากอิหร่านมายังอิสราเอล(ตอนนั้นอิสราเอล
เป็นมิตรกับอีหร่านดีมากเพราะเป็นสมัยพระเจ้าชาห์ จะมาแตกกันในภายหลังตอนโคไมนีเป็นผู้นำ)  และอียิปต์
ไล่กองกำลังยู่เอ็นที่มาตั้งอยู่ตั้งแต่การยุติการรบในวิกฤตการณ์คลองสุเอซในปี 1956 (ซึ่งจะต้องศึกษาสงครามนี้ที่อิสราเอล
ร่วมมือกับฝรั่งเศสและอังกฤษรบกับอียิปต์ด้วย) และเคลื่อนทัพไปประชิตพรมแดน
กับอิสราเอลทางด้านไซนาย  และตอนนั้นจอร์แดนก็ทำสัญญากับอิยิปต์ร่วมรบด้วยกัน ทางซีเรียก็เอาด้วย  อิสราเอล
ประเมินแล้วว่าอาหรับคงจะโจมตีแน่  ก็เลยบุกก่อนจัดการเอาชนะใน 6 วันอย่างที่รู้กัน และยึดพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก
เนื้อที่เดิมถึง 4 เท่า  ที่มากสุดคือไซนาย เวสแบงค์ทั้งหมดโดยยึดจากจอร์แดนนั่นเอง (คือปาเลสไตน์ในตอนนี้
และเป็นปัญหาใหญ่สุดในตอนนี้นั่นเองนั่นเอง)  เยรูซาเลมทางตะวันออก (และส่วนเมืองเก่า old Jerusalen ที่ตั้งศาสนสถาน
สำคัญ  ๆ ) กาซาทั้งหมด และที่ราบสูงโกลันส่วนหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็กว่าครึ่ง) อิสราเอลยึดไว้จนถึง 1973 ทางอียิปต์และซีเรียร่วมมือกัน
เริ่มบุกอิสราเอลก่อน(คราวนี้จอร์แดนไม่เข้าร่วมด้วย) สงครามนี้คือสงคราวยมคิปปูร์ เพราะเป็นสงครามช่วงวันหยุดเทศกาล
ทางศาสนาสำคัญของชาวยิว

การรบในช่วงแรกฝ่ายสองประเทศรุกคืบหน้าได้ดีแต่ในที่สุดก็แพ้อีกตามเคย และโดนยึดดินแดนเพิ่มขึ้นในด้านที่ราบสูงโกลัน
ส่วนด้านอียิปต์นั้นอียิปต์ยึดไซนายได้บางส่วน ขณะเดียวกันอิสราเอลก็บุกข้ามคลองสุเอซไปยึดพื้นที่ส่วนหนึ่ง
ในฝั่งตะวันตกของคลองสุเอซซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่อิสราเอลบุกลึกเข้าไปถึงขนาดนั้น   ผลสงครามครั้งนี้อาหรับกู้ชื่อ
คืนได้บ้างแต่ซาดัตเห็นว่าควรยุติความเป็นศัตรูกันได้แล้วก็ไปประชุมกับประธานธิบดีคาร์เตอร์ร่วมกับนายเบกิน
นายกอิสราเอลตกลงทำสนสัญญาสันติภาพกัน และต่อมาอีกหลายปีจอร์แดนก็ตกลงเหมือนกันเป็นอันว่ายุติ
ความเป็นศัตรูกันมานานหลายสิบปีแล้ว  ตอนนี้อิยิปต์ก็เป็นมิตรดีกับอิสราเอล  ตกลงจะปราบพวกผู้ก่อการร้าย
ในไซนายด้วยกัน และด้านเศรษฐกิจอิสราเอลก็ตกลงขายแก๊ซธรรมชาติที่พบจำนวนมหาศาล
นอกฝั่งอิสราเอล และก็ตกลงจะขายให้จอร์แดนเช่นกัน  

ส่วนทางที่ราบสูงโกลันนั้นอิสราเอลเคยจะคืนให้แต่สงวนเอาพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้เพื่อป้องกันประเทศ
แต่ซีเรียไม่ยอมก็เลยตกลงกันไม่ได้จนทุกวันนี้ และยังคงอยู่ในสถานะสงครามอยู่ไม่มีสันติภาพ คืออยู่ในสภาพ
ไม่มีสงครามแต่ก็ไม่มีสันติภาพ (no war, no peace) พร้อมจะรบกันต่อได้ตลอดเวลา

ส่วนทางเวสแบงค์นั้น(คือที่ปัจจุบันคือปาเลสไตน์) ยังตกลงกันไม่ได้เพราะว่าสภาพพื้นที่ตรงนี้
อยู่ชิดกับตรงกลางอิสราเอลที่มีเนื้อที่แคบมากสักสิบกิโลเมตรกว่า ๆ เมืองสำคัญของอิสราเอลทั้งหมดห่างไม่มาก  
หากแข็งแกร่งขึ้นมา หรือให้กองกำลังภายนอกเข้ามาจะสามารถตัดขาดอิสราเอลเป็นสองส่วนได้ง่าย อิสราเอลก็
เลยคิดว่าหากแยกให้แยกประเทศออกไปก็จะควบคุมไม่ได้(ก็แบบที่เคยยิดครองกาซ่าและต่อมาก็ถอยออก
มาพวกฮามาสก็เริ่มยิงจรวดก่อกวนจนถึงทุกวันนี้  อิสราเอลได้บทเรียนก็ไม่อยากปล่อยเวสแบงค์ให้เป็นอิสระ)
อิสราเอลต้องการให้ปลดอาวุธไม่ให้มีการตั้งกองทัพให้เป็นเขตปลอดทหารในทำนองนั้น  
หรืออีกทางหนึ่งให้อิสราเอลยังคงมีอำนาจในเรื่องความมั่นคงต่อไป  ซึ่งก็ตกลงไม่ได้อยู่แล้ว และความลำบาก
อีกส่วนหนึ่งคืออิสราเอลเข้าไปตั้งบ้านเรือนในเขตเวสแบงค์ประมาณสามแสนคนแล้ว พวกนี้ก็ไม่อยากออกมันก็เลยเป็น
อุปสรรคสำคัญ  ครั้นจะให้รวมเป็นประเทศเดียวกันกับอิสราเอลทั้งหมด  คนอาหรับก็จะมีมากขึ้นทุกทีเพราะคนที่ลี้ภัยออกไปก็
จะกลับเข้ามาอีกหลายล้านคนในที่สุดคนกว่าครึ่งก็จะเป็นอาหรับ  อิสราเอลจะไม่ได้เสียงข้างมากในการ
เลือกตั้งอีกต่อไป  ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เพราะการตั้งอิสราเอลก็เพื่อให้เป็นประเทศของชาวยิวเป็นส่วนใหญ่
คือปัญหาปาเลสไตน์นี้แก้ไขยากที่สุด  ต้องรอดูว่าทรัมป์จะเสนอข้อตกลงสันติภาพกันอย่างไร
แต่อับบาสผู้ทำปาเลสไตน์ประกาศแล้วว่าไม่ยอมรับ คือประกาศก่อนที่จะมีการเปิดเผยแผนเสียอีก  
พวกซาอุกับบางประเทศอาหรับไม่พอใจอับบาสกันพอดู  อยากจะตัดหางปล่อยวัดทำนองนั้น

ส่วนด้านซีเรียนั้นปกติอิสราเอลจะส่งเครื่องบินไปโจมตีพวกอิหร่านกับฮิสบอลลาร์เพื่อกำจัดอาวุธ
ที่อิหร่านส่งเข้าไปเพื่อตั้งฐานในซีเรีย  ซึ่งอิสราเอลประกาศชัดเจนว่าไม่ยอมให้อิหร่านตั้งฐานในซีเรีย
ตรงนี้อาจลุกลามได้ แต่รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียก็บอกชัดว่าการไปโจมตีนั้นไม่ถูกกฎหมาย
แต่ไม่ได้หมายความว่ารัสเซียไม่สนใจด้านความมั่นคงของอิสราเอล  ก็แบบว่าคุณทำไม่ถูกนะ(แต่ผมก็
ไม่ขัดขวางอะไรหากมันไม่เกินไปจริง ๆ  ก็โจมตีไปทีละน้อย  ๆ แต่บ่อย อย่าทำแบบใหญ่โตก็แล้วกัน เพราะจริงๆ
ผมก็ไม่พอใจอิหร่านนักหรอกเพราะไม่ค่อยเชื่อฟัง แถมเป็นคู่แข่งอีกด้วย)


และนอกจากนี้จะต้องรู้สภาพทางภูมิศาสตร์แถวนี้ให้ดีด้วย  เพราะมันจะเป็นตัวกำหนดว่าการกำหนดเขตแตนต่าง  ๆ
จะทำให้ป้องกันประเทศได้หรือไม่ด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่