วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 - 09:02 น.
เดือนแห่งความรัก ท้องฟ้าน่าดู ทางช้างเผือก-ดาวเคราะห์ 3 ดวง พาเหรดมาให้ชม
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.)เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป มีดาวเคราะห์ 3 ดวง ปรากฏเรียงกันในช่วงเช้ามืดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ มีดาวแอนทาเรสซึ่งเป็นดาวฤกษ์สว่างในกลุ่มดาวแมงป่องปรากฏให้เห็นเหนือดาวเคราะห์ทั้งสาม หากสังเกตในพื้นที่มืดสนิท สามารถเห็นทางช้างเผือกปรากฏพร้อมกันในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นฉากหลังสวยงามมากตลอดทั้งเดือน
“จากนั้น ช่วงวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2562 ดาวเสาร์จะค่อย ๆ ขยับเข้าใกล้ดาวศุกร์ และจะเข้าใกล้ที่สุดในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ห่างเพียง 1.3 องศา ในทางดาราศาสตร์ เรียกว่า “ดาวเคราะห์ชุมนุม” หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา หากมองด้วยตาจะเห็นดาวทั้งสองห่างกันประมาณหนึ่งนิ้วก้อย (การวัดระยะเชิงมุมท้องฟ้า ใช้มือเหยียดสุดแขนขึ้นบนฟ้า ระยะ 1 องศา จะห่างกันประมาณ 1 นิ้วก้อย) สำหรับผู้สนใจสามารถตื่นมาชมความงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้าดังกล่าวได้ตั้งแต่เวลา 04.30 น. เป็นต้นไป ดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์” นายศุภฤกษ์ กล่าว
มติชนออนไลน์
เดือนแห่งความรัก ท้องฟ้าน่าดู ทางช้างเผือก-ดาวเคราะห์ 3 ดวง พาเหรดมาให้ชม
เดือนแห่งความรัก ท้องฟ้าน่าดู ทางช้างเผือก-ดาวเคราะห์ 3 ดวง พาเหรดมาให้ชม
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.)เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป มีดาวเคราะห์ 3 ดวง ปรากฏเรียงกันในช่วงเช้ามืดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ มีดาวแอนทาเรสซึ่งเป็นดาวฤกษ์สว่างในกลุ่มดาวแมงป่องปรากฏให้เห็นเหนือดาวเคราะห์ทั้งสาม หากสังเกตในพื้นที่มืดสนิท สามารถเห็นทางช้างเผือกปรากฏพร้อมกันในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นฉากหลังสวยงามมากตลอดทั้งเดือน
“จากนั้น ช่วงวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2562 ดาวเสาร์จะค่อย ๆ ขยับเข้าใกล้ดาวศุกร์ และจะเข้าใกล้ที่สุดในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ห่างเพียง 1.3 องศา ในทางดาราศาสตร์ เรียกว่า “ดาวเคราะห์ชุมนุม” หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา หากมองด้วยตาจะเห็นดาวทั้งสองห่างกันประมาณหนึ่งนิ้วก้อย (การวัดระยะเชิงมุมท้องฟ้า ใช้มือเหยียดสุดแขนขึ้นบนฟ้า ระยะ 1 องศา จะห่างกันประมาณ 1 นิ้วก้อย) สำหรับผู้สนใจสามารถตื่นมาชมความงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้าดังกล่าวได้ตั้งแต่เวลา 04.30 น. เป็นต้นไป ดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์” นายศุภฤกษ์ กล่าว
มติชนออนไลน์