คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ในไทยเราทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโรคจากการประกอบอาชีพก็มีโครงการจะให้เลิกใช้ปรอทอุดฟันเหมือนกัน
แต่เหตุผลต่างจากทาง EU เพราะเคยตรวจพบปรอทในเลือดของผู้ช่วยทันตแพทย์
เกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากไอปรอทจากเครื่องตอนที่ผสมอมาลกัม
แต่ก็ไม่เคยพบว่าผู้ป่วยเองได้รับปรอทจนเกินค่ามาตรฐาน
ที่เขาพยายามจะให้มีการลดการใช้สารปรอท เพราะว่าปรอทเวลาสะสมในสมองมันจะอยู่ในรูปของ
เม็ดโลหะ ต่างจากตะกั่ว ทำให้ยาพวก Chelating agent ไม่สามารถเอาปรอทออกมาได้
ผมพยายามอ่านบทความที่เจ้าของกระทู้หามา รวมทั้ง reference ของ reference ก็ไม่พบว่าใน EU
มีงานวิจัยที่บอกว่าปรอทในอมาลกัมอุดฟันส่งผลกระทบทางสมองต่อเด็ก
เข้าใจว่าเขาต้องการลดมลภาวะโดยรวม จึงลดการใช้ในเด็กก่อน คล้าย คห.2
ในท่อนบนของเอกสาร EU ที่เจ้าของกระทู้ให้มาก็บอกว่า
"Reducing the use of and pollution from dental amalgam, which is the last large use of mercury in the EU, and setting out a process to assess the feasibility of a complete phase out of the use of mercury in dentistry;
Closing the door to future new uses of mercury in industry and in products"
และในอีกเอกสารก็บอกว่าการใช้ปรอททางทันตกรรม เป็นอันดับสองของการใช้ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ในไทยยังมีการประชุมผู้ประกอบการให้เลิกใช้ปรอทในการผลิตหลอดฟลูออเรสเซนส์ด้วย
ซึ่งผมเคยเข้าไปสังเกตุการณ์ก็พบว่าจริงๆแล้วผู้ผลิตรายใหญ่ก็เลิกใช้ไปแล้ว
สำหรับแนวคิดเชิงทฤษฎีสมคบคิดแบบ คห.4 เวลาเราทำเรื่องโรคจากสิ่งแวดล้อมก็ได้ยินประจำ
ซึ่งมันอาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เป็นแนวคิดที่พบบ่อยจากผู้ประกอบการ แต่เราต้องพยายามโฟกัส
ในเรื่องของสุขภาพไว้ก่อน
แต่เหตุผลต่างจากทาง EU เพราะเคยตรวจพบปรอทในเลือดของผู้ช่วยทันตแพทย์
เกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากไอปรอทจากเครื่องตอนที่ผสมอมาลกัม
แต่ก็ไม่เคยพบว่าผู้ป่วยเองได้รับปรอทจนเกินค่ามาตรฐาน
ที่เขาพยายามจะให้มีการลดการใช้สารปรอท เพราะว่าปรอทเวลาสะสมในสมองมันจะอยู่ในรูปของ
เม็ดโลหะ ต่างจากตะกั่ว ทำให้ยาพวก Chelating agent ไม่สามารถเอาปรอทออกมาได้
ผมพยายามอ่านบทความที่เจ้าของกระทู้หามา รวมทั้ง reference ของ reference ก็ไม่พบว่าใน EU
มีงานวิจัยที่บอกว่าปรอทในอมาลกัมอุดฟันส่งผลกระทบทางสมองต่อเด็ก
เข้าใจว่าเขาต้องการลดมลภาวะโดยรวม จึงลดการใช้ในเด็กก่อน คล้าย คห.2
ในท่อนบนของเอกสาร EU ที่เจ้าของกระทู้ให้มาก็บอกว่า
"Reducing the use of and pollution from dental amalgam, which is the last large use of mercury in the EU, and setting out a process to assess the feasibility of a complete phase out of the use of mercury in dentistry;
Closing the door to future new uses of mercury in industry and in products"
และในอีกเอกสารก็บอกว่าการใช้ปรอททางทันตกรรม เป็นอันดับสองของการใช้ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ในไทยยังมีการประชุมผู้ประกอบการให้เลิกใช้ปรอทในการผลิตหลอดฟลูออเรสเซนส์ด้วย
ซึ่งผมเคยเข้าไปสังเกตุการณ์ก็พบว่าจริงๆแล้วผู้ผลิตรายใหญ่ก็เลิกใช้ไปแล้ว
สำหรับแนวคิดเชิงทฤษฎีสมคบคิดแบบ คห.4 เวลาเราทำเรื่องโรคจากสิ่งแวดล้อมก็ได้ยินประจำ
ซึ่งมันอาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เป็นแนวคิดที่พบบ่อยจากผู้ประกอบการ แต่เราต้องพยายามโฟกัส
ในเรื่องของสุขภาพไว้ก่อน
แสดงความคิดเห็น
ตอนนี้ต่างประเทศเลิกใช้อมัลกัมอุดฟันในเด็กและคนท้องแล้วทำไมไทยยังนิยมใช้กันมาก แล้วผสมปรอทจะไม่เป็นอะไรต่อร่างกายหรือ
Dental Amalgam
Article 10 of Regulation (EU) 2017/852 sets the following restrictions:
As from 1 July 2018, the use of dental amalgam is prohibited for dental treatment of (i) deciduous teeth, (ii) of children under 15 years and (iii) of pregnant or breastfeeding women, unless deemed strictly necessary by the dental practitioner on the ground of specific medical needs of the patient.
http://ec.europa.eu/environment/chemicals/mercury/regulation_en.htm