คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขอโทษที่ตอบยาวนะคะ อาจจะออกประเด็นจขกท.ไปบ้าง
ในมุมมองของเรานะคะ รวมถึงเคยศึกษาการสร้างอัตลักษณ์อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี เป็นตัวจบตอนปี4
1.ในเรื่องของการผลักดันส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงวัฒนธรรมเกาหลี ด้วยการผสมผสานความเป็นสากลเข้าไว้ด้วยกัน และเป็นระบบ ไปสู่นานาชาติ โดยเฉพาะในด้านเพลงและperformance มีการปรับปรุงและพัฒนาไปตามยุคสมัยเทรนโลกตลอดเวลา[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ซึ่งไม่ได้มีแค่kpop วงดนตรี k indy นอกกระแสก็ส่งออกเช่นกัน (ถ้าไม่มองเรื่องภาษาที่3 ที่ยังทำให้มีแฟนคลับเฉพาะกลุ่ม ด้วยตัวซาวน์ดนตรีสามารถก้าวข้ามกำแพงภาษาเข้าถึงคนหลายชาติได้ ไม่ใช่แค่ที่ไทยอย่างเดียว)
2.มาที่ประเทศไทย เรามองว่าประเทศไทยเปิดรับทุกวัฒนธรรมอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนยุคมาเรื่อยๆ สมัยที่ t pop บูม ก่อนเกาหลีจะมา ช่วง 90ที่เราเกิดทัน ประเทศเราก็มีวงboy band girls group ดูโอ้ ร้องเต้นไม่แพ้เกาหลีเช่นกัน อย่าง บาซู ไชน่า ดอล 2000 ราตรี d2b ทาทายัง ที่มีชื่อเสียงทั่วเอเชีย และเข้าสู่ช่วง กามิกาเซ่ หลังจากนั้นก็ซบเซาลง ในช่วงที่เกาหลีบุกตลาดเอเชียพอดี หลายคนที่ยังชอบแนวนี้ก็ตามไปชอบเกาหลีบ้าง
3.ปัจจัยในเรื่องของรสนิยมการฟังเพลง รวมถึงการเสพผลงานและตัวของศิลปิน ตรงนี้เรามองรวมถึงภาครัฐด้วยเขาวางแผนมาดี วงการเพลงบ้านเขา การซื้ออัลบั้ม โหลดเพลงถูกลิขสิทธิ์ (มีเว็บสตีมหลักเฉพาะภายเกาหลีอย่างmelon ยอดวิวยูทูป ซื้อผ่านitune) การโหวตตามรายเพลง มีผลต่อการนับคะแนนเข้าชาร์ต และขึ้นรับรางวัลปลายปี และปัจจุบันสามารถมีเพลงไปขึ้นบิลบอร์ดได้ด้วย มากกว่าภาพลักษณ์สวยหล่อที่ชวนติดตาม แต่ผลงานความสามารถก็ต้องโดดเด่นควบคู่กันมาด้วยถึงจะมีแฟนคลับตามมากมาย และชวนให้แฟนคลับอยากซื้ออัลบั้ม ฟังเพลง เพื่อส่งผลงานวงที่แต่ละคนชอบไปรับรางวัล รวมไปถึงการไปดู concert ที่จะได้เห็นผลงานการร้องเต้น entertainของจริง
4.วงการแฟนคลับkpopในไทยจริงๆยังเฉพาะกลุ่มเหมือนกับประเทศอื่นๆ และเป็นมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ช่วง แดจังกึม full house รวมถึงเมื่อก่อนสื่อไทยนำเอาละครซีรีย์เกาหลีมาฉายบ่อยมาก รวมถึงเริ่มนำกระแสkpopเข้ามาช่วง rain ดงบัง super junior bigbang ผ่านรายการเพลง chanel v mtv thailand คลื่นวิทยุ เป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้าร่วมกับดาราไทยดังๆผ่านสื่อสาธารณะ ในยุคที่อินเตอร์เน็ตก็ยังไม่กว้างเท่าสมัยนี้ ซึ่งแฟนคลับในยุคนั้นตอนนี้วัยทำงานก็ยังคงเป็นแฟนคลับอยู่ก็มี ไม่ได้มีแค่วัยรุ่นสมัยนี้และไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้หญิงหรือเด็กผู้หญิง แฟนคลับผู้ชายก็มี วิธีการตามคนละแบบ
5. สุดท้ายที่เราได้คลุกคลีมาด้วยตัวเองและคนรอบข้าง วงไอดอลเกาหลีก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่สร้างความสุขให้แฟนคลับ ได้ไม่ต่างจากคนที่ชอบวงการเพลงไทย ลุกทุ่ง ชอบเพลงญี่ปุ่น เพลงจากฝั่งตะวันตก อยู่ที่รสนิยมความชอบ ซึ่งแฟนคลับก็แตกต่างกันไป หลายคนเรียนทำงานเหนื่อย การตามไอดอลก็อาจเป็นความสุขส่วนหนึ่ง หรือวัยรุ่นบางคนก็ใช้เป็นแรงบัลดาลใจมีเป้าหมาย และการส่งความสุข ฟีดแบคกลับไปให้ไอดอล สำหรับต่างชาติอย่างเราที่จะทำได้ การซื้อ ตามดูผลงาน รวมตัวกันช่วยโหวต ช่วยติดเทรนเช่นทวิตเตอร์ และถ้าวงได้รับรางวัลแฟนคลับก็พิมพ์ชื่นชมจนขึ้นเทรน รวมตัวไปคอน อีกอย่างเพราะไอดอลศิลปินเกาหลี ทุกวงไม่ได้มาไทยบ่อย นานๆมาทีแฟนคลับของแต่ละวงก็อยากเจอ นักข่าวก็ไปทำข่าว ยิ่งวงที่มีคนไทยสื่อก็พูดถึงมากหน่อย เลยดูเหมือนเยอะ
ในมุมมองของเรานะคะ รวมถึงเคยศึกษาการสร้างอัตลักษณ์อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี เป็นตัวจบตอนปี4
1.ในเรื่องของการผลักดันส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงวัฒนธรรมเกาหลี ด้วยการผสมผสานความเป็นสากลเข้าไว้ด้วยกัน และเป็นระบบ ไปสู่นานาชาติ โดยเฉพาะในด้านเพลงและperformance มีการปรับปรุงและพัฒนาไปตามยุคสมัยเทรนโลกตลอดเวลา[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ซึ่งไม่ได้มีแค่kpop วงดนตรี k indy นอกกระแสก็ส่งออกเช่นกัน (ถ้าไม่มองเรื่องภาษาที่3 ที่ยังทำให้มีแฟนคลับเฉพาะกลุ่ม ด้วยตัวซาวน์ดนตรีสามารถก้าวข้ามกำแพงภาษาเข้าถึงคนหลายชาติได้ ไม่ใช่แค่ที่ไทยอย่างเดียว)
2.มาที่ประเทศไทย เรามองว่าประเทศไทยเปิดรับทุกวัฒนธรรมอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนยุคมาเรื่อยๆ สมัยที่ t pop บูม ก่อนเกาหลีจะมา ช่วง 90ที่เราเกิดทัน ประเทศเราก็มีวงboy band girls group ดูโอ้ ร้องเต้นไม่แพ้เกาหลีเช่นกัน อย่าง บาซู ไชน่า ดอล 2000 ราตรี d2b ทาทายัง ที่มีชื่อเสียงทั่วเอเชีย และเข้าสู่ช่วง กามิกาเซ่ หลังจากนั้นก็ซบเซาลง ในช่วงที่เกาหลีบุกตลาดเอเชียพอดี หลายคนที่ยังชอบแนวนี้ก็ตามไปชอบเกาหลีบ้าง
3.ปัจจัยในเรื่องของรสนิยมการฟังเพลง รวมถึงการเสพผลงานและตัวของศิลปิน ตรงนี้เรามองรวมถึงภาครัฐด้วยเขาวางแผนมาดี วงการเพลงบ้านเขา การซื้ออัลบั้ม โหลดเพลงถูกลิขสิทธิ์ (มีเว็บสตีมหลักเฉพาะภายเกาหลีอย่างmelon ยอดวิวยูทูป ซื้อผ่านitune) การโหวตตามรายเพลง มีผลต่อการนับคะแนนเข้าชาร์ต และขึ้นรับรางวัลปลายปี และปัจจุบันสามารถมีเพลงไปขึ้นบิลบอร์ดได้ด้วย มากกว่าภาพลักษณ์สวยหล่อที่ชวนติดตาม แต่ผลงานความสามารถก็ต้องโดดเด่นควบคู่กันมาด้วยถึงจะมีแฟนคลับตามมากมาย และชวนให้แฟนคลับอยากซื้ออัลบั้ม ฟังเพลง เพื่อส่งผลงานวงที่แต่ละคนชอบไปรับรางวัล รวมไปถึงการไปดู concert ที่จะได้เห็นผลงานการร้องเต้น entertainของจริง
4.วงการแฟนคลับkpopในไทยจริงๆยังเฉพาะกลุ่มเหมือนกับประเทศอื่นๆ และเป็นมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ช่วง แดจังกึม full house รวมถึงเมื่อก่อนสื่อไทยนำเอาละครซีรีย์เกาหลีมาฉายบ่อยมาก รวมถึงเริ่มนำกระแสkpopเข้ามาช่วง rain ดงบัง super junior bigbang ผ่านรายการเพลง chanel v mtv thailand คลื่นวิทยุ เป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้าร่วมกับดาราไทยดังๆผ่านสื่อสาธารณะ ในยุคที่อินเตอร์เน็ตก็ยังไม่กว้างเท่าสมัยนี้ ซึ่งแฟนคลับในยุคนั้นตอนนี้วัยทำงานก็ยังคงเป็นแฟนคลับอยู่ก็มี ไม่ได้มีแค่วัยรุ่นสมัยนี้และไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้หญิงหรือเด็กผู้หญิง แฟนคลับผู้ชายก็มี วิธีการตามคนละแบบ
5. สุดท้ายที่เราได้คลุกคลีมาด้วยตัวเองและคนรอบข้าง วงไอดอลเกาหลีก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่สร้างความสุขให้แฟนคลับ ได้ไม่ต่างจากคนที่ชอบวงการเพลงไทย ลุกทุ่ง ชอบเพลงญี่ปุ่น เพลงจากฝั่งตะวันตก อยู่ที่รสนิยมความชอบ ซึ่งแฟนคลับก็แตกต่างกันไป หลายคนเรียนทำงานเหนื่อย การตามไอดอลก็อาจเป็นความสุขส่วนหนึ่ง หรือวัยรุ่นบางคนก็ใช้เป็นแรงบัลดาลใจมีเป้าหมาย และการส่งความสุข ฟีดแบคกลับไปให้ไอดอล สำหรับต่างชาติอย่างเราที่จะทำได้ การซื้อ ตามดูผลงาน รวมตัวกันช่วยโหวต ช่วยติดเทรนเช่นทวิตเตอร์ และถ้าวงได้รับรางวัลแฟนคลับก็พิมพ์ชื่นชมจนขึ้นเทรน รวมตัวไปคอน อีกอย่างเพราะไอดอลศิลปินเกาหลี ทุกวงไม่ได้มาไทยบ่อย นานๆมาทีแฟนคลับของแต่ละวงก็อยากเจอ นักข่าวก็ไปทำข่าว ยิ่งวงที่มีคนไทยสื่อก็พูดถึงมากหน่อย เลยดูเหมือนเยอะ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมติ่งเกาหลีเต็มไปหมดทั่วบ้านทั่วเมือง