8 ข้อคิดชวน “เฮง” กับ การเงินรอบโลก ตอน ทำไมคนจีนถึงรวย [ ตรุษจีน 2019 ]

สวัสดีครับเพื่อน ๆ ช่วงนี้ก็ได้ผ่านพ้นการเฉลิมฉลองปีใหม่ไทยกันมาแล้ว แต่ ไม่ทันไรก็จะก้าวเข้าสู่ปีใหม่จีน หรือเทศกาล   ‘‘ตรุษจีน” กันต่อ ดังนั้น เราก็คงพลาดไม่ได้เลยที่จะเริ่มเห็นบรรยากาศตรุษจีนทั่วเมืองเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นตามท้องถนนที่มีการจัดงานตกแต่งโคมไฟต่างๆ ในเมื่อบรรยากาศพาไปให้เห็นถึงวัฒนธรรมจีนขนาดนี้ เราก็คงอดคิด หรือนึกสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมคนจีนถึงได้สร้างเนื้อสร้างตัวได้เก่ง และร่ำรวย ไม่ว่าเขาจะอยู่มุมไหนของโลกก็ตาม ดังนั้น วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า “แนวคิด” เบื้องหลัง ที่ทำให้เขามีเงินเก็บ และร่ำรวยจนถึงทุกวันนี้มาได้ด้วยวิธีการใดบ้าง

**** K-Expert ขอชวนมาดู 8 ข้อคิดชวน “ เฮง ” แบบคนจีนกันเลยครับ ****



อมยิ้ม03อมยิ้ม03อมยิ้ม03อมยิ้ม03อมยิ้ม03


1. พูดคุยเรื่องการจับจ่ายใช้สอยกันเป็นประจำ :  
ยึดแนวทางที่ว่า ยิ่งรู้ว่าสถานการณ์การเงินบ้านตัวเองตอนนี้เป็นอย่างไร ก็จะยิ่งไวในการหาทางจัดการ ดังนั้น ครอบครัวชาวจีนจะเรียกคุยกันบ่อยๆ ว่าปัจจุบันมีการใช้จ่ายเกินตัวไหม เพื่อเตรียมแผนป้องกัน อีกทั้งยังช่วยกันตัดสินใจเรื่องการเงินบางอย่าง หรือโปรเจคต่างๆ ในอนาคตให้ “เฉียบคม” ขึ้นอีกด้วย

2. ใช้จ่ายแบบเน้นคุณค่า” :
คนจีนส่วนใหญ่จะเน้นใช้จ่ายในสิ่งที่ “คุ้ม “ กับเงินที่จะเสียไป โดยวิธีการนี้ก็คือ การแตะเบรกทุกครั้งก่อนใช้เงินไปในสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งสุดท้ายแล้ว แนวคิดนี้แหละจะกลายเป็นวินัยติดตัวไปเองได้อีกนานในการตัดสินใจหลายๆ อย่างในอนาคต

3. ขยันตั้งใจศึกษาเล่าเรียน :
พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าคิดอยากจะ “ร่ำรวย” ก็ต้องสร้างรายได้เพิ่ม และโตให้เร็ว จากความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานนั่นเอง ซึ่งจากแนวคิดนี้แหละ คนจีนจึงมักที่จะขยันหมั่นเพียรในการเรียนอย่างมาก และมักจะโดดเด่นในด้านหน้าที่การงาน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศใดก็ตาม

4. ออมเงินเก่ง :
นอกจากแนวคิดที่ว่า “ช้าในการจ่าย” แล้วก็คงต้องไม่ลืม “ไวในการเก็บ” เพื่อเสริมสร้างความรวยนั่นเอง โดยเฉลี่ยคนจีนจะออมเงินประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน หรืออาจจะถึงครึ่งหนึ่งของเงินเดือนทั้งหมดเลย เพื่อกันเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น หรือเก็บเงินเพื่อเตรียมที่จะเอาไปซื้ออะไรเป็นพิเศษนั่นเอง

5. เน้นจ่ายด้วยเงินสด :
ซึ่งอันที่จริงแล้ว เงินสดในที่นี้คือ เงินที่อยู่ในบัญชี หรือเงินออมสะสม โดยส่วนใหญ่คนจีนจะใช้เงินเหล่านี้ในการจับจ่าย หรือพูดง่ายๆ คือ “มีเท่าไหร่จ่ายเท่านั้น” ผ่านทางเดบิตการ์ด หรืออีวอลเล็ต ชำระแทน โดยไม่นิยมใช้ “เงินในอนาคต” จากบัตรเครดิตมาจ่ายก่อนซักเท่าไหร่ ประโยชน์ที่ได้คือ ช่วยให้ไม่ก่อหนี้จนคุมไม่อยู่ อีกทั้งยังสามารถติดตามงบประมาณเงินในบัญชีได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

6. คำนวณตัวเลขละเอียดรอบคอบ หากคิดจะมีหนี้ :
อย่างไรก็ตาม หากว่าคนจีนจำเป็นที่จะต้องก่อหนี้ที่  ”จำเป็น” เช่น ซื้อบ้าน หรือลงทุนในกิจการส่วนตัวแล้วล่ะก็ คนจีนจะคิดเลขอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน เช่น คำนวณสัดส่วนรายได้ทั้งครอบครัวต่อหนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นเพราะว่า เขา “เสียดายเงิน” ที่จะต้องหายไป ซึ่งรางวัลของความละเอียดนี้เองครับ ทำให้ก่อนกู้เงิน เขามักจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ดี คุ้มค่าที่สุด อีกทั้งไม่พลาดการชำระหนี้ เพราะกลัวดอกเบี้ยจะบาน จนงานจะงอกเข้า  

7. การเจรจา :
ทักษะนี้มีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ เรียกได้ว่า “มันคือศิลปะ !!!“ อย่างหนึ่งกันเลยทีเดียว โดยคนจีนเชื่อว่าการเจรจานี้จะทำให้เราจ่ายเงินได้ตรงกับคุณค่าที่เรา “ควรได้รับ” มากที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ได้สะท้อนออกมาในการดำเนินธุรกิจในแบบคนจีนที่มักจะเน้นความมีประสิทธิภาพและความคุ้มทุนเป็นหลัก

8. สอนลูกตั้งแต่วัยเยาว์ ให้เจอโลกตั้งแต่เด็กๆ :
คนจีนมักจะสอนลูกหลานตั้งแต่เด็กๆ ให้รู้คุณค่าของเงิน โดย วิธีการง่ายๆ ที่เห็นได้ตอนตรุษจีนก็คือ การแจก “อั่งเปา” นั่นเอง ซึ่งการแจกอั่งเปานี้ เป็นการให้เด็กๆ นำเงินไปหัดวางแผนการใช้ การออม เพราะคนจีนเชื่อว่า วิธีการสอนที่ดีที่สุดคือ การให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง เจอกับตัวเอง ทั้งนี้พอเริ่มโตขึ้นมาหน่อย เขาก็จะเริ่มให้ลูกหลานเข้าไป “ลุย” ในกิจการหรือธุรกิจที่ครอบครัวสร้างมา เพื่อให้รู้คุณค่าของเงิน และฝึกฝนความขยัน อดทน เพื่อเตรียมพร้อมสู่การต่อยอดกิจการ เรียกได้ว่าปลูกฝังเตรียมพร้อมสู่อนาคตกันเลยทีเดียว

เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับ  8  ข้อคิดชวนเฮงในแบบฉบับคนจีน K-Expert หวังว่าเพื่อนๆ น่าจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันได้นะครับ อย่างไรก็ตาม ขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวยเงินทอง เฮง เฮง เฮง    กันในเทศกาลตรุษจีนนี้นะครับ


แหล่งที่มาข้อมูล
- 8 Money Lessons We Could Learn From The Chinese : http://blog.pawnhero.ph/8-money-lessons-learn-chinese/
- The Chinese Secrets for Success: Five Inspiring Confucian Values ; https://bit.ly/2FJcecS

ติดตามบทความ การเงินรอบโลก ตอนที่แล้วได้ตามนี้เลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่