ผลการทดลอง >>> ลงทุนหุ้น 100% ถือยาว VS ปรับพอร์ตทุกเดือน !

ลงทุนหุ้น 100% ถือยาว VS ปรับพอร์ตทุกเดือน แบบไหนดีกว่ากัน


การทดลองนี้ใช้ข้อมูล 2002-2018 เป็นเวลา 17 ปี โดยลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้น SET50 ค่า PE จึงใช้ของ PE SET50
ทดลองโดยใช้แนวทาง 5 แบบคือ แบบ A จะถือหุ้นยาวไม่ทำอะไรเลย แบบ B - E จะปรับพอร์ตทุก ๆ เดือน โดยดูค่า PE เป็นหลัก  แนวทางมีดังนี้ครับ

แบบ A = ลงทุนหุ้น 100% ยาวๆ ไม่ทำอะไรเลย

แบบ B1 = ลงทุนหุ้น 100% ตลอดเวลาในช่วงปกติ แต่ถ้า PE สูงจะขายออกเหลือหุ้น 40% ซื้อตราสารหนี้ 60 %

แบบ B2 = ลงทุนหุ้น 100% ตลอดเวลาในช่วงปกติ แต่ถ้า PE สูงจะขายออกเหลือหุ้น 20% ซื้อตราสารหนี้ 80 %

แบบ C = ลงทุนหุ้น โดยปรับสัดส่วนตามค่า PE  ดังนี้ ช่วง PE ต่ำ ถือหุ้น 95% ตราสารหนี้ 5 %    ช่วงปกติ ถือหุ้น 75% ตราสารหนี้ 25 %    ช่วง PE สูง ถือหุ้น 30% ตราสารหนี้ 70 %

แบบ D= ลงทุนหุ้น 50% ตราสารหนี้ 50%

แบบ E = ลงทุนหุ้น 100% ตลอดเวลาในช่วงปกติ แต่ถ้า PE สูงจะขายออกเหลือหุ้น 50% ซื้อตราสารหนี้ 50 %  โดยคำนวณ PE ที่มาจาก  EPS เฉลี่ย


ผลการทดลองน่าสนใจมากครับ เป็นดังภาพนี้

สรุป

แบบ A  ลงทุนหุ้น 100% ไม่ทำอะไรเลย จะได้ผลตอบแทนมากที่สุด จาก 100,000 บาท กลายเป็น  867,776.35 บาท ใน 17 ปีครับ
แบบที่ปรับพอร์ททุกเดือนได้ผลตอบแทนน้อยกว่า (ก่อนทดลอง โดยส่วนตัวคิดว่าปรับพอร์ทน่าจะให้ผลลัพธ์ดีกว่า ตอนนี้ผมคงต้องเปลี่ยนความคิดแล้วล่ะ 555)
แบบ B2 กับ C ซึ่งเป็นแบบปรับพอร์ต เวลาหุ้นลง พอร์ตจะลงน้อยกว่า ผันผวนน้อยกว่า เหมาะกับผู้ที่ไม่อยากให้ราคาผันผวนมากครับ
ข้อดีสำหรับการถือหุ้น 100% ถือยาวๆ  คือ เราไม่ต้องมานั่งดูราคาตลาดมาก ทำให้ไม่เกิดอารมณ์กลัว กล้า โลภ กังวล ร่วมกับสภาวะตลาด

การประยุกต์ใช้

นำเงินที่เป็นเงินเย็นจริงๆ ลงทุนหุ้นให้เต็ม 100% แล้วลงทุนให้ยาวนานที่สุด ไม่ต้องทำอะไรกับพอร์ทเลย ถ้ามีเงินก็ซื้อเพิ่มเรื่อย ๆ หรือ DCA เรื่อย ๆ  เก็บไว้เป็นมรดก  จะขายเฉพาะตอนที่เราอยากนำเงินนั้นมาสร้างความสุขหรือช่วงที่เราจำเป็นต้องใช้  

ลงทุนได้ในกองทุนหุ้น ถ้าถือยาวๆ ก็อาจจะเป็นกองทุน SET50

ถ้าเป็นหุ้นรายตัวก็คงต้องเลือกบริษัทที่ยอดเยี่ยมมากจนเรามั่นใจที่จะถือยาว ลงทุนกระจายความเสี่ยงไป 5-10 บริษัท ให้มองระยะยาวว่าอีก 20 ปีบริษัทจะรุ่งเรืองได้แค่ไหน แล้วให้คิดว่าเราเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งทำให้เรารู้สึกภูมิใจ


ข้อมูลการทดลอง

แบบ A






แบบ B1





แบบ B2




แบบ C




แบบ D





แบบ E

แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่