นายกฯรับรัฐบาลไม่เป็นปชต.ทำสอบตกดัชนีทุจริตฯ ยัน‘นาฬิกาหรู’เรื่องเล็ก
https://www.naewna.com/politic/392394
เมื่อเวลา 11.40 น.วันที่ 31 ม.ค.62 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency InternationalหรือTI) ประกาศค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ปี 2018 ให้ประเทศไทยได้ 36 คะแนน อยู่ลำดับที่ 99 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ลดลงจากปีก่อนที่ได้ 37 คะแนน อยู่อันดับที่ 96 ของโลก ว่า รัฐบาลไม่ต้องวางมาตรการอะไรเพิ่มเติม เพราะวางไว้หมดแล้ว เพียงแต่มาดูว่าที่อันดับตกลง ตกตรงไหนอย่างไร
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สิ่งหนึ่งที่เขามองอยู่คือการเป็นรัฐบาลแบบนี้ นั่นคือสิ่งที่เขามอง จะตรวจสอบได้หรือตรวจสอบไม่ได้ แต่ตนเห็นว่าตรวจสอบได้ทุกองค์กร เมื่อเขาตรวจสอบผลออกมาอย่างไรก็ต้องยอมรับกันบ้าง ถ้าตรวจสอบแล้วไม่ยอมรับกันเลย เพราะผลสอบไม่เข้าข้าง เวลาตรวจสอบตัวเองไม่มีปัญหาก็ชอบ แต่บางอย่างเมื่อตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหาก็บอกว่าไม่เป็นธรรม คนที่ตรวจสอบเขาก็ทำงานไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ก็ถูกนำไปประเมินอีกทางหนึ่ง
“ผมเองไม่ได้ทำประโยชน์อะไรของตัวเองสักอย่าง อย่างน้อยคะแนนผมก็เต็มตรงนี้ ให้ผมไหม” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า ส่วนหนึ่งที่อันดับของไทยตกลง เป็นผลมาจากกรณีนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “โอ้ย มันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แล้วเขาตัดสินมาหรือยัง เมื่อตัดสินแล้วก็จบ ให้จบๆไปเป็นเรื่องๆ บ้าง แล้วคดีใหญ่ๆ บางคดีมันก็จบไม่ใช่หรือ ทั้งๆ ที่ขัดแย้งต่อสายตาประชาชน มันก็จบใช่หรือไม่ ของไอ้คนหนีคดีก็หลายเรื่องก็จบ ทำไมไม่ดูตรงนู้น เชื่อมั่นกันหน่อยสิ ดูหลักฐานแนวทางที่เขาตรวจสอบ”
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น
Wanida Bamroong-thai
อยากแสดงความเห็นมานานแล้ว เรื่องนาฬิกาบิ๊กป้อม เรื่องเล็กจริงค่ะ แต่มันเป็นโอชะของสื่อ เพราะหากมองเป็นคอรัปชั่น ก็จะถูกใจคนอ่านที่พร้อมเชื่อเรื่องคอรัปชั่นในสังคมไทยที่มันเยอะจริงๆ แต่คิดว่าส่วนใหญ่เราคงเข้าใจเรื่อง ค่าคอมมิสชั่น คือการที่บริษัทหรือองค์ผุู้รับผลประโยชน์มอบค่าตอบแทนเป็นสินน้ำใจแก่ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ในวัฒนธรรมฝรั่งก้ถือว่าเป็นเรื่องถูกต้อง ออกใบเสร็จให่ได้ด้วยซ้ำไป
กรณีของลุงป้อม น่าจะอยู่ในเคสนี้นะคะ ลุงรักษาตัวมาจนตลอดรอดฝั่งเกษียณ ไม่มีประวัติด่างพร้อย (คงด่างยากค่ะ พร้อมมีผู้เลื่อยขาเก้าอี้) การเป็นผบ.ที่ต้องมีการซื้อล็อตใหญ่ๆ ก็จะมีคอมมิสชั่นเป้นปกติ แต่ลุงได้เป็นนาฬิกา น่าจะเป็นเพราะปฏิเสธค่าคอมมิสชั่น เขาก็ตอบแทนมาเป็นนาฬิกา (ซึ่งมูลค่าน่าจะน้อยกว่าค่าคอมมิสชั่นมากมาย)
แล้วทำไมลุงไม่พูด ไม่อธิบายอย่างนี้ ก็อย่างที่ดิฉันอธิบายมานี่ เชื่อเลยว่าคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อ เพราะมองว่าคอมมิสชั่นก้เป็นอรัปชั่นอย่างหนึ้ง ทั้งๆที่ความจริงไม่ใช่ ดิฉันเคยเห็นเพื่อนซื้อครุภัณฑืเข่าหน่วยงาน โดยต่อรองเต็มที่ รักษาประโยชน์ของราชการ สุดท้ายเขาก็มอบคอมมิสชั่นให้ เพราะแค่ไม่มีการเอาเปรียบพ่อค้า เรียกร้องโน่นนี่นั่น เขาก็ขอบคุณซาบซึ้งแย่อยู่แล้ว แถมยังต่อรองแบบรักษาเงินหลวงสุดๆ เขาก็ยิ่งชื่นชม คอมมิสชั่นนี้ จึงไม่ได้มาเพราะเบียดบังหลวง
อย่างไรก็ตาม กรณีเพื่อน เขาก็ขอเป็นของที่นำมาใช้ในหน่วยงานค่ะ
ลุงตู่ และ เด็กนกหวีด ชี้ชัด นาฬิกาลุงป้อมเรื่องเล็กน้อยๆมันจบแล้ว ของไอ้คนหนีคดีก็จบใช่หรือไม่
https://www.naewna.com/politic/392394
เมื่อเวลา 11.40 น.วันที่ 31 ม.ค.62 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency InternationalหรือTI) ประกาศค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ปี 2018 ให้ประเทศไทยได้ 36 คะแนน อยู่ลำดับที่ 99 จาก 180 ประเทศทั่วโลก ลดลงจากปีก่อนที่ได้ 37 คะแนน อยู่อันดับที่ 96 ของโลก ว่า รัฐบาลไม่ต้องวางมาตรการอะไรเพิ่มเติม เพราะวางไว้หมดแล้ว เพียงแต่มาดูว่าที่อันดับตกลง ตกตรงไหนอย่างไร
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า สิ่งหนึ่งที่เขามองอยู่คือการเป็นรัฐบาลแบบนี้ นั่นคือสิ่งที่เขามอง จะตรวจสอบได้หรือตรวจสอบไม่ได้ แต่ตนเห็นว่าตรวจสอบได้ทุกองค์กร เมื่อเขาตรวจสอบผลออกมาอย่างไรก็ต้องยอมรับกันบ้าง ถ้าตรวจสอบแล้วไม่ยอมรับกันเลย เพราะผลสอบไม่เข้าข้าง เวลาตรวจสอบตัวเองไม่มีปัญหาก็ชอบ แต่บางอย่างเมื่อตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหาก็บอกว่าไม่เป็นธรรม คนที่ตรวจสอบเขาก็ทำงานไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ก็ถูกนำไปประเมินอีกทางหนึ่ง
“ผมเองไม่ได้ทำประโยชน์อะไรของตัวเองสักอย่าง อย่างน้อยคะแนนผมก็เต็มตรงนี้ ให้ผมไหม” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า ส่วนหนึ่งที่อันดับของไทยตกลง เป็นผลมาจากกรณีนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “โอ้ย มันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แล้วเขาตัดสินมาหรือยัง เมื่อตัดสินแล้วก็จบ ให้จบๆไปเป็นเรื่องๆ บ้าง แล้วคดีใหญ่ๆ บางคดีมันก็จบไม่ใช่หรือ ทั้งๆ ที่ขัดแย้งต่อสายตาประชาชน มันก็จบใช่หรือไม่ ของไอ้คนหนีคดีก็หลายเรื่องก็จบ ทำไมไม่ดูตรงนู้น เชื่อมั่นกันหน่อยสิ ดูหลักฐานแนวทางที่เขาตรวจสอบ”
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น
Wanida Bamroong-thai
อยากแสดงความเห็นมานานแล้ว เรื่องนาฬิกาบิ๊กป้อม เรื่องเล็กจริงค่ะ แต่มันเป็นโอชะของสื่อ เพราะหากมองเป็นคอรัปชั่น ก็จะถูกใจคนอ่านที่พร้อมเชื่อเรื่องคอรัปชั่นในสังคมไทยที่มันเยอะจริงๆ แต่คิดว่าส่วนใหญ่เราคงเข้าใจเรื่อง ค่าคอมมิสชั่น คือการที่บริษัทหรือองค์ผุู้รับผลประโยชน์มอบค่าตอบแทนเป็นสินน้ำใจแก่ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ในวัฒนธรรมฝรั่งก้ถือว่าเป็นเรื่องถูกต้อง ออกใบเสร็จให่ได้ด้วยซ้ำไป
กรณีของลุงป้อม น่าจะอยู่ในเคสนี้นะคะ ลุงรักษาตัวมาจนตลอดรอดฝั่งเกษียณ ไม่มีประวัติด่างพร้อย (คงด่างยากค่ะ พร้อมมีผู้เลื่อยขาเก้าอี้) การเป็นผบ.ที่ต้องมีการซื้อล็อตใหญ่ๆ ก็จะมีคอมมิสชั่นเป้นปกติ แต่ลุงได้เป็นนาฬิกา น่าจะเป็นเพราะปฏิเสธค่าคอมมิสชั่น เขาก็ตอบแทนมาเป็นนาฬิกา (ซึ่งมูลค่าน่าจะน้อยกว่าค่าคอมมิสชั่นมากมาย)
แล้วทำไมลุงไม่พูด ไม่อธิบายอย่างนี้ ก็อย่างที่ดิฉันอธิบายมานี่ เชื่อเลยว่าคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อ เพราะมองว่าคอมมิสชั่นก้เป็นอรัปชั่นอย่างหนึ้ง ทั้งๆที่ความจริงไม่ใช่ ดิฉันเคยเห็นเพื่อนซื้อครุภัณฑืเข่าหน่วยงาน โดยต่อรองเต็มที่ รักษาประโยชน์ของราชการ สุดท้ายเขาก็มอบคอมมิสชั่นให้ เพราะแค่ไม่มีการเอาเปรียบพ่อค้า เรียกร้องโน่นนี่นั่น เขาก็ขอบคุณซาบซึ้งแย่อยู่แล้ว แถมยังต่อรองแบบรักษาเงินหลวงสุดๆ เขาก็ยิ่งชื่นชม คอมมิสชั่นนี้ จึงไม่ได้มาเพราะเบียดบังหลวง
อย่างไรก็ตาม กรณีเพื่อน เขาก็ขอเป็นของที่นำมาใช้ในหน่วยงานค่ะ