"ช้างศึก" เป็นเรื่องโบราณ เป็นความรู้เก่าแก่ที่คนส่วนใหญ่ในสมัยนี้หลงลืมไปหมดแล้ว เพราะตั้งแต่มีอาวุธสมัยใหม่ เราก็เลิกใช้ช้างศึกมาหลายร้อยปีแล้ว แต่สมัยก่อนช้างศึกมีความสำคัญมากเท่ากับชีวิตหรือบ้านเมืองเลยทีเดียว เพราะถ้าช้างไม่ดี แม่ทัพที่ขี่ช้างตัวนั้นอาจต้องจบชีวิต แต่ถ้าได้ช้างที่ดีก็อาจได้ชัยชนะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ
ช้างศึกจึงเป็นเรื่องที่คนโบราณให้ความสำคัญสูงยิ่ง มีตำราโบราณเก่าแก่สืบทอดกันมาหลายพันปี การเลือกเฟ้นช้างศึกสักเชือกจึงเป็นที่ต้องพิถีพิถันอย่างย่ิ่งให้ถูกต้องตามหลักวิชา ถ้าเป็นช้างที่เป็นมงคลจึงจะใช้สอย ซึ่งจะเป็นคุณแก่เจ้านาย แต่ถ้าเลือกไม่ดี มันก็จะกลายเป็นโทษสำหรับเจ้าของ
คนสมัยนี้จึงคิดว่า ช้างตัวใหญ่ๆมีงายาวๆก็นับเป็นช้างศึกได้แล้ว แต่มันไม่ใช่ เพราะช้างศึกนอกจากลักษณะภายนอกแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความกล้าหาญ อย่างเช่นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรซึ่งตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชา แต่เพราะมีจิตใจองอาจสู้ไม่ถอยในที่สุดก็ช่วยให้ไทยชนะสงครามได้ ซึ่งในตำราก็มีลักษณะของช้างที่กล้าหาญ และช้างที่ขลาดเขลาไว้ได้วย
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศได้เลิอกใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ และเรียกทีมว่าช้างศึก แต่การตั้งชื่อว่าช้างศึก แล้วทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาโบราณ มันก็ไม่สามารถเรียกว่าช้างศึกได้ จากโลโก้อันปัจจุบันซึ่งพึ่งถูกเปลี่ยนแปลงไม่นานนี้ ซึ่งมีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ดี แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าที่ีมันไม่ดีคืออะไรกันแน่ เป็นความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้ แต่เรื่องนี้มันมีสาเหตุอยู่
โลโก้เดิมใช้รูปช้างชูงวง ซึ่งเหมือนโลโก้ของอีกหลายองค์กรที่ใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ที่มักชูงวงขึ้นหรือไม่ก็ปล่อยงวงตามสบาย แต่โลโก้ของทีมฟุตบอลไทยกลับเอางวงมาจ่อที่ปากเหมือนจะอมงวงเอาไว้ ซึ่งอาการแบบนี้เขาว่าเป็นลักษณะของ "ช้างอมงวง" ซึ่งเป็นลักษณะสเนียด ดังเช่นข้อความนี้
"ช้างชั้นเลวทั้งหลาย เมื่อถึงคราวประจัญบาน ต่างเอางวงใส่ปากอมไว้ด้วยกลัวเจ็บ ทั้งนี้เนื่องจากงวงเป็นจุดอ่อนที่สุดภายในร่างกายของช้าง ถูกกระทบนิดหน่อยก็เจ็บ ช้างชนิดนี้ไม่มีใครปรารถนา เป็นช้างเสนียดมีแต่จะถูกฆ่าทิ้งเพราะมันเป็นช้างอมงวง"
(
http://www.dmycenter.com/site/index.php/experience/dhamma/49-dhammadaya-notes/179-%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87)
ในทางพุทธศาสนา มีการเปรียบพระภิกษุกับช้าง คือถ้าช้างไม่กลัวเจ็บ แม้งวงก็ไม่รักษาแต่กลับใช้ฟาดหรือแย่งชิงอาวุธของศตรู ช้างนั้นก็อาจนำชัยชนะในสงครามได้ แต่ถ้ายังกลัวเจ็บก็มีแต่จะวิ่งหนีหางจุกตูด ซึ่งเปรียบได้กับพระภิกษุ ถ้ายังรักตัวกลัวตายกลัวความยากลำบาก ก็หวังมรรคผลนิพพานไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐานยืนยันในพระไตรปิฎก โดยพระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราหุลดังนี้
[๑๒๗] ดูกรราหุล เปรียบเหมือนช้างต้น มีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก
มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหู
ทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น. เพราะการที่ช้างรักษา
แต่งวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญ
ยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่า
อันช้างต้นยังไม่ยอมสละแล. ดูกรราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญ
ยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหู
ทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง. เพราะการที่ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น
ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก
มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลัง
ทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง
ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว บัดนี้ไม่มีอะไร
ที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด. ดูกรราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา
ทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล
เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูกรราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2383&Z=2540&pagebreak=0
นอกจากทางศาสนาแล้ว ในตำราโบราณของไทยก็กล่าวไว้ถึงลักษณะของช้างอมงวงว่าไม่เป็นมงคลเช่นเดียวกัน ดังข้อความในสารานุกรมซึ่งบอกว่า
"เสนียดของช้าง หมายถึง ลักษณะหรือรูปร่าง ตลอดจนอาการกิริยาของช้าง ที่แสดงออกมา ซึ่งเชื่อกันว่า จะเป็นผลร้าย สะท้อนไปถึงผู้เป็นเจ้าของ เช่น ช้างที่ต้องเสนียด อาจทำให้เจ้าของต้องประสบแต่ความขาดทุน หรือเจ็บไข้ไม่สบายอยู่เสมอๆ เสนียดต่างๆ ของช้างเท่าที่ยอมรับกัน คือ ช้างที่มักแสดงอาการชูงวงขึ้นสูงแล้วเอางวงยัดเข้า ปากเป็นประจำ เรียกกันว่า 'กินนมฟ้า' "
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=10&page=t3-10-infodetail08.html
ดังนั้น สรุปได้แน่นอนเลยว่า โลโก้ของสมาคมฟุตบอลมีลักษณะที่ไม่เป็นมงคลตามตำราโบราณเอาซะเลย แต่มันจะมีผลอย่างไร ผู้เขียนไม่เชื่อเรื่องโชคลางตามแบบไสยศาสตร์ แต่มันก็มีหลักแบบวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายผลกระทบได้
ธรรมดามนุษย์หรือสัตว์จะมีภาษากายที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน เวลาเราเห็นอากัปกิริยาของหมาแมว แค่กระดิกหางเราก็รู้ได้เลยว่ามันรู้สึกอย่างไร ช้างก็หมือนกัน เวลาเราเห็นก็พอรู้ได้ว่ามันรู้สึกอย่างไร อาการของช้างที่เอางวงใส่ปาก จะมีอยู่ 2 อย่าง คือกำลังกิน หรือกำลังกลัว ซึ่งภาพต่อไปนี้ได้แสดงการที่ช้างกลัวตายได้เป็นอย่างดี โดยมันถูกมนุษย์เอาระเบิดเพลิงขว้างเข้าใส่ จะเห็นว่า แม่ช้างเอางวงม้วนใส่ปากและวิ่งหนีอย่างสุดชีวิต
โลโก้ของทีมบอลไทย ถ้าเอาไปใช้กับพวกโรงอาหารหรือที่เกี่ยวกับการกินก็คงได้อยู่ แต่เอามาใช้กับการแข่งขันแพ้ชนะไม่ได้ เพราะภาพบนโลโก้มันสื่อถึงความกลัว ถึงแม้เราไม่รู้แต่ภาพมันส่งไปยังจิตใต้สำนึกเช่นเดียวกับภาษากายอื่นๆที่เรารับรู้ได้แต่อธิบายไม่ถูก มันเหมือนกับปักคำว่ากลัวไปบนหน้าอกแล้วลงไปแข่งขัน ยุคนี้บอลไทยจึงกลัวโน่นกลัวนี่ไปซะหมด
ว่าด้วยโลโก้ช้างศึก ที่ไม่ใช่ช้างศึก
ช้างศึกจึงเป็นเรื่องที่คนโบราณให้ความสำคัญสูงยิ่ง มีตำราโบราณเก่าแก่สืบทอดกันมาหลายพันปี การเลือกเฟ้นช้างศึกสักเชือกจึงเป็นที่ต้องพิถีพิถันอย่างย่ิ่งให้ถูกต้องตามหลักวิชา ถ้าเป็นช้างที่เป็นมงคลจึงจะใช้สอย ซึ่งจะเป็นคุณแก่เจ้านาย แต่ถ้าเลือกไม่ดี มันก็จะกลายเป็นโทษสำหรับเจ้าของ
คนสมัยนี้จึงคิดว่า ช้างตัวใหญ่ๆมีงายาวๆก็นับเป็นช้างศึกได้แล้ว แต่มันไม่ใช่ เพราะช้างศึกนอกจากลักษณะภายนอกแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความกล้าหาญ อย่างเช่นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรซึ่งตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชา แต่เพราะมีจิตใจองอาจสู้ไม่ถอยในที่สุดก็ช่วยให้ไทยชนะสงครามได้ ซึ่งในตำราก็มีลักษณะของช้างที่กล้าหาญ และช้างที่ขลาดเขลาไว้ได้วย
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศได้เลิอกใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ และเรียกทีมว่าช้างศึก แต่การตั้งชื่อว่าช้างศึก แล้วทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาโบราณ มันก็ไม่สามารถเรียกว่าช้างศึกได้ จากโลโก้อันปัจจุบันซึ่งพึ่งถูกเปลี่ยนแปลงไม่นานนี้ ซึ่งมีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ดี แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าที่ีมันไม่ดีคืออะไรกันแน่ เป็นความรู้สึกที่อธิบายไม่ได้ แต่เรื่องนี้มันมีสาเหตุอยู่
โลโก้เดิมใช้รูปช้างชูงวง ซึ่งเหมือนโลโก้ของอีกหลายองค์กรที่ใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ที่มักชูงวงขึ้นหรือไม่ก็ปล่อยงวงตามสบาย แต่โลโก้ของทีมฟุตบอลไทยกลับเอางวงมาจ่อที่ปากเหมือนจะอมงวงเอาไว้ ซึ่งอาการแบบนี้เขาว่าเป็นลักษณะของ "ช้างอมงวง" ซึ่งเป็นลักษณะสเนียด ดังเช่นข้อความนี้
"ช้างชั้นเลวทั้งหลาย เมื่อถึงคราวประจัญบาน ต่างเอางวงใส่ปากอมไว้ด้วยกลัวเจ็บ ทั้งนี้เนื่องจากงวงเป็นจุดอ่อนที่สุดภายในร่างกายของช้าง ถูกกระทบนิดหน่อยก็เจ็บ ช้างชนิดนี้ไม่มีใครปรารถนา เป็นช้างเสนียดมีแต่จะถูกฆ่าทิ้งเพราะมันเป็นช้างอมงวง"
(http://www.dmycenter.com/site/index.php/experience/dhamma/49-dhammadaya-notes/179-%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%87)
ในทางพุทธศาสนา มีการเปรียบพระภิกษุกับช้าง คือถ้าช้างไม่กลัวเจ็บ แม้งวงก็ไม่รักษาแต่กลับใช้ฟาดหรือแย่งชิงอาวุธของศตรู ช้างนั้นก็อาจนำชัยชนะในสงครามได้ แต่ถ้ายังกลัวเจ็บก็มีแต่จะวิ่งหนีหางจุกตูด ซึ่งเปรียบได้กับพระภิกษุ ถ้ายังรักตัวกลัวตายกลัวความยากลำบาก ก็หวังมรรคผลนิพพานไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐานยืนยันในพระไตรปิฎก โดยพระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราหุลดังนี้
[๑๒๗] ดูกรราหุล เปรียบเหมือนช้างต้น มีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก
มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหู
ทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น. เพราะการที่ช้างรักษา
แต่งวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญ
ยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่า
อันช้างต้นยังไม่ยอมสละแล. ดูกรราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญ
ยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหู
ทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง. เพราะการที่ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น
ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก
มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลัง
ทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง
ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว บัดนี้ไม่มีอะไร
ที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด. ดูกรราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา
ทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล
เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูกรราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2383&Z=2540&pagebreak=0
นอกจากทางศาสนาแล้ว ในตำราโบราณของไทยก็กล่าวไว้ถึงลักษณะของช้างอมงวงว่าไม่เป็นมงคลเช่นเดียวกัน ดังข้อความในสารานุกรมซึ่งบอกว่า
"เสนียดของช้าง หมายถึง ลักษณะหรือรูปร่าง ตลอดจนอาการกิริยาของช้าง ที่แสดงออกมา ซึ่งเชื่อกันว่า จะเป็นผลร้าย สะท้อนไปถึงผู้เป็นเจ้าของ เช่น ช้างที่ต้องเสนียด อาจทำให้เจ้าของต้องประสบแต่ความขาดทุน หรือเจ็บไข้ไม่สบายอยู่เสมอๆ เสนียดต่างๆ ของช้างเท่าที่ยอมรับกัน คือ ช้างที่มักแสดงอาการชูงวงขึ้นสูงแล้วเอางวงยัดเข้า ปากเป็นประจำ เรียกกันว่า 'กินนมฟ้า' "
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=10&page=t3-10-infodetail08.html
ดังนั้น สรุปได้แน่นอนเลยว่า โลโก้ของสมาคมฟุตบอลมีลักษณะที่ไม่เป็นมงคลตามตำราโบราณเอาซะเลย แต่มันจะมีผลอย่างไร ผู้เขียนไม่เชื่อเรื่องโชคลางตามแบบไสยศาสตร์ แต่มันก็มีหลักแบบวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายผลกระทบได้
ธรรมดามนุษย์หรือสัตว์จะมีภาษากายที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน เวลาเราเห็นอากัปกิริยาของหมาแมว แค่กระดิกหางเราก็รู้ได้เลยว่ามันรู้สึกอย่างไร ช้างก็หมือนกัน เวลาเราเห็นก็พอรู้ได้ว่ามันรู้สึกอย่างไร อาการของช้างที่เอางวงใส่ปาก จะมีอยู่ 2 อย่าง คือกำลังกิน หรือกำลังกลัว ซึ่งภาพต่อไปนี้ได้แสดงการที่ช้างกลัวตายได้เป็นอย่างดี โดยมันถูกมนุษย์เอาระเบิดเพลิงขว้างเข้าใส่ จะเห็นว่า แม่ช้างเอางวงม้วนใส่ปากและวิ่งหนีอย่างสุดชีวิต
โลโก้ของทีมบอลไทย ถ้าเอาไปใช้กับพวกโรงอาหารหรือที่เกี่ยวกับการกินก็คงได้อยู่ แต่เอามาใช้กับการแข่งขันแพ้ชนะไม่ได้ เพราะภาพบนโลโก้มันสื่อถึงความกลัว ถึงแม้เราไม่รู้แต่ภาพมันส่งไปยังจิตใต้สำนึกเช่นเดียวกับภาษากายอื่นๆที่เรารับรู้ได้แต่อธิบายไม่ถูก มันเหมือนกับปักคำว่ากลัวไปบนหน้าอกแล้วลงไปแข่งขัน ยุคนี้บอลไทยจึงกลัวโน่นกลัวนี่ไปซะหมด