ค่าแรงช่างไฟฟ้า

น้องชายเป็นช่างไฟทำงานในบริษัทต่างจังหวัด มีใบรับรองช่างไฟฟ้าภายในอาคารระดับหนึ่งแต่เงินเดือนไม่ขึ้นตามเกณฑ์คือ400แต่น้องชายได้ค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพราะไร
1.ลักษณะงานไม่ได้เดินไฟในอาคารแต่ส่วนมากประกอบโคมไฟ ออกไปติดตั้งโคมไฟที่บ้านลูกค้าและดูแลระบบไฟฟ้าในบริษัท(สาขา)
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
“ใบรับรองช่างไฟฟ้าภายในอาคารระดับหนึ่ง”

ขออภัยความเห็นข้างต้นด้วย เนื่องจาก ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน กำหนดตามใบรับรองที่ลูกจ้างผู้นั้นได้รับจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (ลูกจ้างต้องไปสอบ) * ไม่ได้กำหนดจากหน้าที่/ความรับผิดชอบ ลักษณะงาน ที่นายจ้างมอบหมายให้ หรือมีพฤติกรรม/ผลการทำงานอย่างไร!

การกำหนดให้มี “มาตรฐานฝีมือการทำงาน” ระดับ 1 2 3 และกำหนดให้ “นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามระดับฝีมือแรงงานที่ลูกจ้างได้รับ”  บังคับใช้มาตั้งแต่ กม.คุ้มครองแรงงานฯ ฉบับที่ 3 แล้ว และอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน..สูงว่าอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำที่ใช้ในขณะนั้นเสมอ

นายจ้างที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดตามมาตรา 90...มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 คุ้มครองแรงงานฯ 41
เจตนารมณ์ของกฎหมาย ต้องการให้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถ ฝีมือ และคุณภาพการทำงานของลูกจ้างให้เก่งขึ้น- ดีขึ้น...เพื่อให้นายจ้างได้ผลประโยชน์หลายด้านด้วยกันเช่น ของเสียน้อยลง งานเสร็จเร็วขึ้น ต้นทุนลดลง กำไรมากขึ้น..โดยลูกจ้างได้ค่าแรงสูงขึ้น..
สมประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย

แต่ในความเป็นจริง จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ กลับมีนายจ้างส่วนหนึ่ง(มากกว่าเสียด้วย) มักไม่ให้ความสำคัญกับการจ่ายค่าจ้างตามมาตรการที่เป็นคุณแก่ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน กลับมองในแง่ “ต้นทุนค่าแรง” อย่างเดียว จึงเป็นเรื่องเศร้าของลูกจ้างมาโดยตลอด

น่าแนะนำให้นายจ้างเหล่านั้น “ไปตลอดวัดสาบตา” จะได้มองการณ์ไกลมากขึ้น..!!!
หรือไม่ก็ไป “สแกนหาความผิดปกติ...ในสมองส่วนที่ใช้คิดหาเหตุผล และส่วนของจิตใจในเรื่อง เมตตา กรุณาบ้าง....อาจจะดีขึ้นก็ได้....ผมว่านะ.!!!.ท่านไม่ว่าก็เรื่องของท่าน..555!!!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่