คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เรียน สมาชิกหมายเลข 1172293
กรณีนี้แนะนำให้ไปดำเนินการขึ้นทะเบียนทหารกองเกินเป็นลำดับแรกครับ
โดยกรณีที่ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินล่าช้าเกินปีที่กำหนด จะมีการเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 300 บาท ครับ
เอกสาร/หลักฐานในการดำเนินการ
1. ใบสูติบัตร (ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
4. หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)
กรณีขึ้นทะเบียนล่าช้า (เกินปีที่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียน) ทางเจ้าหน้าที่อาจมีการเรียกเก็บในส่วนของค่าธรรมเนียมเอกสาร สด.9 ประมาณ 20 บาท
สถานที่ในการแจ้งขึ้นทะเบียนแบ่งเป็น 3 กรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานภาพ ความสัมพันธ์ของบิดา มารดา และผู้ปกครองครับ
1. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
2. กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าบิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
3.กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- กรณีที่บิดา มารดาได้จดทะเบียนหย่าในภายหลัง ให้ดูหลักฐานในบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในความปกครองของใคร ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินที่อำเภอ / เขตที่บิดาหรือมารดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลังจากได้รับใบ สด.9 แล้ว ให้สอบถามเจ้าหน้าที่สัสดีว่า จะนัดให้มารับหมายเรียกฯ (สด.35) เมื่อไร
เพื่อจะเข้ารับการเกณฑ์ทหารหรือจะผ่อนผันการเกณฑ์ทหารกรณีอยู่ระหว่างการศึกษาในปี พ.ศ. ที่อายุ 21 ปีบริบูรณ์ครับ
Bunyakiat
กรณีนี้แนะนำให้ไปดำเนินการขึ้นทะเบียนทหารกองเกินเป็นลำดับแรกครับ
โดยกรณีที่ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินล่าช้าเกินปีที่กำหนด จะมีการเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 300 บาท ครับ
เอกสาร/หลักฐานในการดำเนินการ
1. ใบสูติบัตร (ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง พร้อมฉบับจริง
4. หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)
กรณีขึ้นทะเบียนล่าช้า (เกินปีที่ต้องแจ้งขึ้นทะเบียน) ทางเจ้าหน้าที่อาจมีการเรียกเก็บในส่วนของค่าธรรมเนียมเอกสาร สด.9 ประมาณ 20 บาท
สถานที่ในการแจ้งขึ้นทะเบียนแบ่งเป็น 3 กรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานภาพ ความสัมพันธ์ของบิดา มารดา และผู้ปกครองครับ
1. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
2. กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
- ถ้าบิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
3.กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- กรณีที่บิดา มารดาได้จดทะเบียนหย่าในภายหลัง ให้ดูหลักฐานในบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในความปกครองของใคร ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินที่อำเภอ / เขตที่บิดาหรือมารดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หลังจากได้รับใบ สด.9 แล้ว ให้สอบถามเจ้าหน้าที่สัสดีว่า จะนัดให้มารับหมายเรียกฯ (สด.35) เมื่อไร
เพื่อจะเข้ารับการเกณฑ์ทหารหรือจะผ่อนผันการเกณฑ์ทหารกรณีอยู่ระหว่างการศึกษาในปี พ.ศ. ที่อายุ 21 ปีบริบูรณ์ครับ
Bunyakiat
แสดงความคิดเห็น
เกิดปี 2542 ต้องเกณฑ์ทหารปีหน้า เเต่ยังไม่ได้ไปลงทะเบียนทหาร