Charvolant รถลากพลังงานลมที่ใช้ว่าว

1.



วันที่  8 มกราคม 1822
มีเหตุการณ์การเดินทางที่น่าประหลาดใจ
จากเส้นทาง  Bristol ถึง Marlborough
George Pocock  ครูโรงเรียนที่ Prospect Place ในอังกฤษ
ได้พาภริยาและลูก ๆ เดินทางเป็นระยะทาง 113 ไมล์ (182 กิโลเมตร)
เป็นการเดินทางด้วยยานพาหนะ/เกวียนที่ไม่ได้ใช้ม้าลาก
แต่ใช้ว่าวจำนวนหนึ่งในการลากรถ
George Pocock ออกแบบรถลากด้วยตนเอง
และเรียกรถคันนี้ว่า รถลาก Charvolant


George Pocock หลงใหลกับว่าวตั้งแต่เยาว์วัย
ท่านเล่นว่าวและมีประสบการณ์ในเรื่องว่าวมาก
ท่านเรียนรู้ถึงพลังในการยกข้าวของของว่าว
ในตอนเด็ก George Pocock เคยผูกก้อนหินกับว่าว
แล้วให้ว่าวยกก้อนหินจนลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าได้
และยิ่งอายุมากขึ้น George Pocock ยิ่งพัฒนาทักษะ
และสร้างเรื่องราวน่าตื่นเต้นและเสี่ยงภัยมากขึ้น
ด้วยการทดลองพลังงานลมที่ใช้ว่าวกับลูกของตนเอง


2 ปีต่อมา  ท่านได้จดสิทธิบัตรงานประดิษฐ์ของตนเอง
รถลากชื่อ Charvolant  
โดยใช้พลังงานลมที่ใช้ว่าว 2 ตัว
ผูกติดกับสายเชือกยาว 1,500-1,800 ฟุต(เกือบครึ่งกิโลเมตร)
ซึ่งสามารถลากรถลากพร้อมกับผู้โดยสารจำนวนหลายคน
ให้เดินทางไปตามถนนได้อย่างรวดเร็ว
โดยการใช้คันบังคับ/พวงมาลัย
ที่มีเชือก 4 เส้นควบคุมผูกติดกับว่าว 2 ตัว
และแถบรูปตัว T ที่ควบคุมทิศทางของล้อหน้า
มีเบรคโดยใช้บาร์เหล็กที่สามารถผลักลงไปที่ถนน


มีครั้งหนึ่งที่ รถลาก Charvolant จะวิ่งผ่านชายฝั่ง
บริเวณราชสถานของ  Duke of Gloucester
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเสียมารยาท/หมิ่นพระเดชานุภาพอย่างแรง
จนผู้โดยสารทุกคนต้องบอกให้ George Pocock หยุดรถลาก Charvolant
ก่อนที่จะขอราชานุญาตจาก Duke of Gloucester เพื่อผ่านทาง


ครั้งหนี่ง ในปี 1824
ท่านเคยมัดลูกสาวตนเองกับเก้าอี้หวาย
และใช้ว่าวขนาดสูง 30 ฟุตแล้วใช้ลมในการสร้างพลังยก
สามารถยกตัวลูกสาวกับเก้าอี้หวายข้ามช่องเขา Avon Gorge
โชคดีที่เธอไม่ได้รับบาดเจ็บหรืออันตราย
และต่อมาเธอคือ แม่ของ W. G. Grace นักคริกแก็ตในตำนาน
ในช่วงปลายปี ท่านยังให้ว่าวยกตัวลูกชายของท่าน
ยกตัวลอยขึ้นบนท้องฟ้าสูงถึง 200 ฟูตบนหน้าผา Bristol


ไม่นานหลังจากการประดิษฐ์รถลาก Charvolant
และผ่านการทดลองพร้อมประสบการณ์
ที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายหลายครั้ง
George Pocock ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ
The Aeropleustic Art or Navigation in the Air by the use of Kites, or Buoyant Sails
หรือ Buoyant Sails ซึ่งท่านมักชอบจะร้องเพลงนี้
เวลาเดินทางไปกับรถลาก Charvolant


รูปแบบการเดินทางนี้  น่าพอใจอย่างยิ่ง
ด้วยการควบคุมสายลมที่แสนวิเศษ
สายลมที่พัดพาว่าวควบคู่บนท้องฟ้า
นำพาความแสนสุขและความสนุกสนาน
ภายใต้ก้อนเมฆที่ล่องลอยบนท้องฟ้า
พร้อมกับรถลากที่วิ่งเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
และวิ่งร่อนไปบนพื้นผิวโลกอย่างไร้เสียงกระทบพื้นดิน(แบบรถม้า)
ทั้งแปลกใหม่เหนือความคาดคิดและเกินจริง
"  ในหนังสือที่ท่านเขียนไว้


George  Pocock ได้ทดลองจับเวลารถลาก Charvolant
สามารถเดินทางด้วยความเร็ว 20 ไมล์ต่อชั่วโมง (32 กม. / ชม.)
ในระยะทางเส้นทางที่ยาวไกลมาก
และแม้ว่าจะต้องพบกับถนนขรุขระในระยะ 1 ไมล์
ก็ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาทีกับ 45 วินาที
เพราะน้ำหนักของรถลาก Charvolant สอดรับกับแรงลมว่าว
แม้ว่าบางครั้งรถลาก  Charvolant จะต้องแล่นผ่านหลุมบ่อ
ทำให้การทำความเร็วในการเดินทางจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ความเร็วในการเดินทางลดลงในบางช่วงเวลา
และเป็นความผิดปกติเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราว
ที่เป็นผลมาจากพื้นผิวของถนนที่เป็นปัญหา


แม้ว่า  George Pocock จะพยายามอ้างเรื่อง
ประโยชน์พิเศษที่ได้รับเพิ่มเติมจากสิ่งประดิษฐ์ของท่าน
ด้วยการอ้างว่า รถลาก  Charvolant สามารถผ่านด่านผ่านทางที่เก็บเงิน
เพราะการเก็บเงินที่ด่านจะคิดตามจำนวนม้าที่ลากรถ
แต่รถลาก  Charvolant ไม่มีม้าลากรถแต่อย่างใด จึงไม่ต้องเสีย
George Pocock  ยังพยายามสนับสนุนการใช้พลังงานว่าวในกิจกรรมอื่น ๆ
เช่น ใช้กับเรือ ช่วยในการทิ้งสมอเรือ หรือช่วยเหลือเรืออับปาง


แต่ความพยายามของ George  Pocock ล้มเหลว
ในการจุดประกายความสนใจของประชาชน
อาจจะเป็นเพราะการควบคุมรถลาก  Charvolant ไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่อย่างไรก็ตาม George Pocock  กับครอบครัวของท่าน
พวกท่านยังคงใช้รถลาก  Charvolant สำหรับการเดินทางทั่วไป
และท่านใช้เดินทางไปทำงานแบบไปเช้าเย็นกลับระหว่างบ้านกับโรงเรียน
จนกระทั่งท่านเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1843



เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2FN0YNn
https://bit.ly/2CUM04j
https://bit.ly/2TdgeGv




2.



3.



4.



5.



6.



7.



8.



9.

Avon Gorge


10.

Avon Gorge







หมายเหตุ  

Credit :  มารู้จัก ว่าวจีน ที่ได้ชื่อว่ามีประวัติอันยาวนาน


ชาวจีนคิดค้นและประดิษฐ์ว่าวขึ้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว
จากข้อมูลได้ปรากฏว่าค้นพบเมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว
บ้างก็ว่าถูกคิดค้นจากนักปราชญ์
บ้างก็ว่าจากช่างไม้ฝีมือดีที่ทำนกไม้ด้วยไม้
และทำให้สามารถบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ตามทิศทางลมได้นานถึง 3 วัน
ครั้นต่อมาในสมัยหลี่เย่ ได้มีผู้นำกระดาษมาทำเป็นว่าว  
และต่อมามีผู้คิดนำสายดนตรีมาติดที่บริเวณปลายด้านบนของว่าว
เมื่อเวลาที่มันลอยอยู่กลางอากาศสายดนตรีที่ผูกไว้
ปะทะกับลมกลายเป็นเสียงดนตรีคล้ายกู่เจิง  
จากนั้นมา ชาวจีนจึงเรียกว่าวว่า เฟิงเจิง ซึ่งแปลได้ว่า พิณลม นั่นเอง


ยุคสมัยแรกของว่าว

แต่ก่อนว่าวของชาวจีนไม่ได้ใช้เพื่อความเพลินเพลิน
หากแต่ใช้เพื่อการสอดแนมทางการทหาร เพื่อค้นหาที่มั่นของศัตรู  
และยังได้ทำว่าวขนาดใหญ่พอที่จะรับน้ำหนักคน
ให้คนขึ้นไปพร้อมกับว่าวเพื่อสอดแนมศัตรู
และทำลายขวัญและกำลังใจ
(มีตำนานว่าบรรจุดินปืนโยนใส่ค่าย/หลังกำแพงเมือง
เพื่อให้เกิดระเบิดเสียงดัง/จุดไฟติดเผาผลาญที่พักฝ่ายศัตรู
ใช้คนบนว่าวยิงธนูเข้าใส่พวกศัตรู หรือโปรยอาวุธ/ยาพิษใส่พวกศัตรู)

เมื่อยุคของสงครามสงบลงในสมัยราชวงศ์ถัง
เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีแต่ความรื่นเริง
ทำให้ว่าวเริ่มกลายมาเป็นการละเล่น เพื่อความสนุกสนานมากขึ้น


ยุคสมัยกลางของว่าว

รูปแบบว่าวเริ่มเข้ามามีบทบาท
ได้มีการคิดประดิษฐ์ว่าวรูปร่างต่าง ๆ
เช่น นกนางแอ่น ปลา แมลงปอ มังกร
และ ค้างคาวเพราะความหมายในคำศัพท์จีน
คำอ่านของคำว่าค้างคาวมีเสียงพ้องกับคำที่มีความหมายว่า
มีความสุขถ้วนหน้า (เปี้ยนฝู)  หรือ ร่ำรวยถ้วนหน้า (เปิ้ยนฟู่)  
จึงเชื่อว่าจะทำให้นำความสุขความมั่งคั่งมาสู่เจ้าของว่าว
นอกจากนี้ก็ยังมีรูปอื่น ๆ  อีกมากมาย




คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ที่นี่..สตูล มหกรรมว่าวประเพณีและว่าวนานาชาติ ครั้งที่ 37
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่