... ช่วงนี้พอมีเวลาว่างเมื่อไร ผมจะพยายามค้นหาบทความที่เคยมีผู้แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ ฯลฯ ในประเด็น
เรื่องการรักษาพยาบาลในรพ.ภาครัฐและรพ.เอกชน เพื่อทำความเข้าใจระบบสาธารณสุขของบ้านเราให้มากขึ้น และ
เป็นการขยายมุมมองของตนเองไปในตัวด้วย
หลังจากได้เจอบทความของ นพ. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และได้ทำความเข้าใจในโมเดลระบบสาธารณสุขของประเทศอื่น
แล้ว ก็คิดว่า ระบบโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรเป็นโมเดลที่น่าสนใจ กอปรกับในบ้านเราก็มีรพ.ในลักษณะนี้
เกิดขึ้นมาแล้วหลายแห่ง เช่น รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ รพ.อบจ.ภูเก็ต จ.ภูเก็ต เป็นต้น ซึ่งสามารถเลี้ยงตัวเอง
ให้อยู่รอดปลอดภัยมาได้นานหลายปีแล้ว จึงอดไม่ได้ที่จะเกิดความสงสัยว่าเหตุใดรพ.ในลักษณะนี้จึงไม่ได้รับการส่งเสริม
ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะน่าจะช่วยให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และลดภาระภาครัฐในการ
หางบประมาณมาสนับสนุนได้มาก
จากบทความดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงระบบสาธารณสุขของเขาได้ดังต่อไปนี้...
1. เป็นระบบรพ.เอกชนที่มีจุดมุ่งหมายสาธารณะ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรพ.เอกชนในประเทศอเมริการวมทั้งใน
ประเทศไทยที่ตามก้นอเมริกา ที่ยังมุ่งแสวงหากำไรบนความเจ็บป่วยของผู้คน
2. เขาไม่ใช้การจำกัดสิทธิด้วยกฎระเบียบซึ่งขัดต่อหลักเสรีภาพและการค้าเสรีซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของประเทศตะวันตก
แต่เขามีวิธีที่ยึดหลักการแต่ใช้การบริหารจัดการวางระบบได้ กล่าวคือ องค์กรประกันสังคมของรัฐจะซื้อบริการจากใคร
หรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับนโยบายและการตัดสินใจจากคณะกรรมการประกันสังคมและรัฐบาล
3. องค์กรประกันสังคมประกาศนโยบายที่จะซื้อบริการจากโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรเท่านั้น ใครไปรับ
การรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแบบหวังผลกำไรจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวน
______
..... " บทเรียนเบลเยี่ยม : “ยุติการทำกำไรธุรกิจ รพ.เอกชน” บนความเจ็บป่วยประชาชน ".....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ..... " บทเรียนเบลเยี่ยม : “ยุติการทำกำไรธุรกิจ รพ.เอกชน” บนความเจ็บป่วยประชาชน ".....
“สุขภาพและความเจ็บป่วย ต้องไม่ใช่สินค้าเพื่อแสวงหากำไร” เป็นหลักการสากล ที่กำลังเลอะเลือนเพราะระบบทุนนิยมสามานย์
............................
ทิศทางการพัฒนาประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยระบบทุนรวมทั้งไทย คือ การกระจายอำนาจ การลดขนาดภาครัฐ การส่งเสริมภาคเอกชน ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม แต่สำหรับสุขภาพและความเจ็บป่วย การกระจายอำนาจและการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนต้องมีลักษณะพิเศษ เพราะสุขภาพและความเจ็บป่วยเป็นเรื่องมนุษยธรรม ไม่ใช่สินค้า ไม่ใช่การค้ากำไร จนเสมือนการทำนาบนหลังคนหรือการทำเงินบนความป่วยไข้ของเพื่อนมนุษย์
บทเรียนจากประเทศเบลเยียม สะท้อนการจัดการที่น่าสนใจ บนความสมดุลระหว่างการค้าเสรีแบบทุนนิยมและการดูแลสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ปัจจุบันนี้ประเทศทุนนิยมเต็มรูปแบบเช่นประเทศเบลเยียมนั้น ดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยสองระบบสำคัญคือ ระบบคลินิกแพทย์เอกชน และระบบโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ระบบคลินิกแพทย์เอกชน เหมือนคลินิกแพทย์ในประเทศไทย ที่แพทย์มักจะมาเปิดคลินิกในช่วงเย็น แต่ที่นี่เป็นแพทย์คลินิกเต็มเวลา ประชาชนที่เจ็บป่วยสามารถโทรศัพท์มานัดและมาหาตามเวลานัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเลือกไปหาคลินิกใกล้บ้านหาหมอคนเดิมที่รู้จัก จนกลายเป็นระบบแพทย์ประจำครอบครัวขึ้นมา เป็นระบบบริการด่านหน้าหรือระบบบริการปฐมภูมิ
ประชาชนทุกคนจะมีหลักประกันสุขภาพอย่างน้อยหนึ่งประเภท ส่วนใหญ่อยู่ในระบบประกันสังคม เพราะเกือบทุกคนมีรายได้เป็นเงินเดือน เมื่อไปรับการรักษาที่คลินิกก็จะจ่ายเงินค่าตรวจค่าปรึกษาให้แพทย์ในอัตราตามอัตรามาตรฐานของเมืองนั้นๆ ผู้ป่วยจะไม่ได้ยาแต่ได้ใบสั่งยานำไปซื้ที่ร้านเภสัช แล้วนำใบเสร็จทั้ง 2 ใบไปรับเงินคืนจากหน่วยงานประกันสุขภาพในภายหลัง
หากเจ็บป่วยมากกว่าความสามารถแพทย์คลินิกจะรักษา จะส่งต่อไปโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยอาจเลือกไปโรงพยาบาลเองโดยไม่ผ่านระบบส่งต่อ ระบบโรงพยาบาลที่นี่ไม่แตกต่างจากไทย แต่ที่น่าสนใจคือหลายประเทศทุนนิยมเต็มขั้นในยุโรปรวมทั้งเบลเยียม ไม่มีทั้งโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่แสวงหากำไร มีแต่โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร
เดิมระบบสุขภาพเบลเยียมมีทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนแบบแสวงหากำไร เมื่อระบบทุนนิยมพัฒนามากขึ้น หน่วยบริการของราชการเกือบทั้งหมดแปรรูปเป็นองค์กรเอกชนในกำกับรัฐ ซึ่งบริหารอิสระหรือถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน รวมทั้งโรงพยาบาลรัฐที่มีประสิทธิภาพต่ำในสายตาระบบทุนนิยมก็แปรรูปเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงกำไร คือโรงพยาบาลยังทำหน้าที่เหมือนเดิม ยังต้องบริหารให้มีประสิทธิภาพและกำไร ต้องจัดบริการให้ดี เพราะการที่มีผู้ป่วยเลือกมาใช้บริการหมายถึงกำไรและความอยู่รอดองค์กร แต่กำไรไม่ได้เพื่อเข้ากระเป๋าใคร นำมาบริหารจัดการสร้างคุณภาพดูแลผู้ป่วยและคนทำงานขององค์กร ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่มีนักธุรกิจด้านสุขภาพเป็นเจ้าของก็ทยอยปิดตัวลงไป จนปัจจุบันไม่มีโรงพยาบาลเอกชนแบบที่เข้าตลาดหุ้นหรือมีกลุ่มนักธุรกิจเป็นเจ้าของเพื่อทำกำไร เพราะได้ปิดกิจการหรือแปรรูปเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรทั้งหมด
เบลเยียมวางระบบให้โรงพยาบาลทุกแห่งไม่แสวงกำไร คือองค์กรคือโรงพยาบาลเอกชนมีกำไรได้ แต่กำไรนั้นหมุนเวียนในระบบเพื่อพัฒนาบริการเป็นหลัก รวมทั้งการดูแลสวัสดิการเงินเดือนโบนัสเจ้าหน้าที่ในอัตราที่รัฐกำกับเพดานไว้ ไม่มีการนำไปจัดสรรเป็นเงินปันผลผู้ถือหุ้นหรือนำเข้ากระเป๋าส่วนตัว ปัจจุบันระบบการแพทย์ในเบลเยียมทั้งหมดแทบจะเรียกได้ว่า เป็นระบบเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายสาธารณะ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโรงพยาบาลเอกชนในประเทศอเมริการวมทั้งในประเทศไทยที่ตามก้นอเมริกา ที่ยังมุ่งแสวงหากำไรบนความเจ็บป่วยของผู้คน
เขาใช้วิถีทางในระบบทุนนิยมไม่ได้ใช้อำนาจแบบประเทศเผด็จการ ไม่ใช้การจำกัดสิทธิด้วยกฎระเบียบซึ่งขัดต่อหลักเสรีภาพและการค้าเสรีซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของประเทศตะวันตก แต่เขามีวิธีที่ยึดหลักการแต่ใช้การบริหารจัดการวางระบบได้ กล่าวคือ องค์กรประกันสังคมของรัฐ ซึ่งเป็นองค์กรถือเงินที่หักจากผู้ประกันตนและนายจ้างเป็นเสมือนองค์กรซื้อบริการ จะซื้อบริการจากใครหรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับนโยบายและการตัดสินใจจากคณะกรรมการประกันสังคมและรัฐบาล
องค์กรประกันสังคมประกาศนโยบายที่จะซื้อบริการจากโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรเท่านั้น ใครไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแบบหวังผลกำไรจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวน นักลงทุนคนใดจะเปิดโรงพยาบาลเอกชนแบบแสวงกำไรก็เป็นสิทธิที่ทำได้ แต่มั่นใจได้เลยว่าขาดทุน เพราะเกือบทุกคนในประเทศอยู่ในระบบประกันสังคม แม้ว่าผู้ประกันตนย่อมมีเสรีภาพในการเลือกใช้บริการที่ใดก็ได้ แต่เมื่อต้องจ่ายเงินเองส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีใครเลือกไปใช้บริการในที่ต้องเสียเงินเพิ่มอีก ในที่สุดทุกโรงพยาบาลเอกชนแบบหวังผลกำไรก็ทยอยปิดตัว ขายกิจการให้กับโรงพยาบาลของมูลนิธิหรือชุมชน เพราระบบประกันสังคมตั้งกติกาบริหารเงินที่มาจากผู้ประกันตน,นายจ้างและภาษีประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจ่ายค่ารักษาแทนผู้ประกันตนให้กับโรงพยาบาลที่ไม่แสวงหากำไรและในระดับคลินิกเอกชนเท่านั้น
วิธีคิดของทุนนิยมในยุโรปไม่เหมือนอเมริกาที่ทุกอย่างขายได้ทำกำไรได้ แม้แต่สุขภาพและชีวิตมนุษย์ แต่ที่ยุโรปแนวคิดเรื่องสุขภาพและการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคนต้องสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีอุปสรรค โดยเฉพาะด้านการเงิน คนรวยหรือคนจนต้องสามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลและการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน เพราะนี้คือการธำรงศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ
โรงพยาบาลเอกชนแบบแสวงกำไรเข้ากระเป๋านักลงทุน เป็นหายนะของระบบสุขภาพเพื่อพลเมืองโลก เราสามารถมีระบบสุขภาพที่ดีและต้นทุนต่ำได้เมื่อทำให้สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสวงหากำไรเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้น อยากรวยก็ให้ไปลงทุนในธุรกิจอื่น แต่ธุรกิจโรงพยาบาลปัจจุบันคือธุรกิจที่อาศัยช่องว่างการบริการภาครัฐที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำกำไรเพื่อประโยชน์ส่วนตน ยิ่งเข้าตลาดหุ้นก็ยิ่งแพงอย่างไร้มนุษยธรรม ในอุดมคตินั้นโรงพยาบาลเอกชนสามารถเติมเต็มช่องว่างเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีกว่าของประชาชนได้มาก แต่ต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
หากทำได้ จะสามารถล้างไตผู้ป่วยเพิ่มได้อีกหลายเท่าตัว จะไม่มีวิธีคิดที่ว่าไม่รับล้างไตในอัตราที่ สปสช.จ่ายเพราะทำให้เสียราคา กำไรเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้นบนความตายของผู้ป่วยจะไม่มี เพราะราคาที่กำหนดนั้นเพียงพอต่อการดำเนินการมีกำไรแต่ไม่มากเกินไป จะไม่ต้องซื้อเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เฉพาะในกรุงเทพฯมีเครื่องมากกว่าเกาะอังกฤษทั้งประเทศ เพราะสามารถใช้ร่วมกันได้ ลดการเสียดุลการค้าเพิ่มประสิทธิภาพระบบสุขภาพอีกมากมาย จะไม่มีปัญหาสมองไหลของอาจารย์แพทย์เก่งจากจุฬาฯ รามาฯ ศิริราช ไปโรงพยาบาลเอกชนที่จ่ายค่าตัวคนละหลายล้านเหมือนซื้อนักฟุตบอลไปรักษาแต่คนรวย จะไม่มีปัญหารถชนคนหน้าโรงพยาบาลแต่พาผู้ป่วยสาหัสเข้ารักษาไม่ได้ ต้องพาไปโรงพยาบาลรัฐที่ไกลกว่า เพียงเพราะเป็นผู้ป่วยที่ไม่ทำกำไร
และที่สำคัญ จะไม่มีปัญหาสองมาตรฐานการแพทย์ในการรักษาชีวิตและความเจ็บป่วยผู้คน เพราะเมื่อไม่แสวงหากำไร การตัดสินใจจะอยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการและประโยชน์ผู้ป่วย ซึ่งก็คือการเดินไปสู่การมีมาตรฐานเดียวกันที่มีแนวทางวิชาการเป็นแกนกลาง ไม่ใช่ล้มหัวโนก็ส่งเอ็กซเรย์สมองเพราะหวังกำไรจากความกลัวของผู้ป่วยโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางวิชาการ
สังคมไทยกำลังอยู่ในวิกฤตการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หลังจากที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. ถูกยึดโดยความร่วมมือของฝ่ายแพทย์พาณิชย์ กลุ่มบริษัทยาต่างชาติและกลุ่มผลประโยชน์เดิมที่สูญเสียอำนาจไป ภายใต้การรู้เห็นเป็นใจของรัฐบาล ซึ่งอาจถอยหลังลงคลองภายใต้วิธีคิดแบบจำกัดสิทธิ สร้างมาตรฐานบริการชั้นสองเพราะถือว่าบริการฟรี ปรับทิศทางไปสู่การซ่อมมากกว่าสร้างสุขภาพ ซึ่งใช้งบมหาศาลและเป็นประโยชน์กับธุรกิจโรงพยาบาลมากกว่าประชาชน
ปัญญาชนเสื้อแดงเสื้อเหลืองควรออกมาร่วมผลักดันสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับทุกคน ให้เป็นระบบที่เป็นหนึ่งเดียวทั้ง 3 กองทุนคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการและครอบครัว ไปสู่มาตรฐานเดียวกัน จำกัดบทบาทธุรกิจโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด จนที่สุดเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร เพราะสุขภาพและความเจ็บป่วยต้องไม่ใช่สินค้าเพื่อการทำกำไรเข้ากระเป๋าใคร
รัฐบาลจะฉลาดพอไหมที่จะกำหนดทิศทางเดินเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบสุขภาพที่ทั่วโลกยอมรับ เฉกเช่นที่พรรคไทยรักไทยเคยสร้างประวัติศาสตร์ในนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค แต่น่าเศร้าใจที่วันนี้ 10 ปีหลังนโยบายหลักประกันสุขภาพที่ได้สร้างคุณูปการแก่สังคมไทยกลับกำลังจะถูกทำลายด้วยความไร้เดียงสาและไร้ทิศทางของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย .
หมายเหตุ : นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เป็นสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน เมืองแอนเวิร์ป ประเทศเบลเยียม
ที่มา : เขียนวันที่ 25 มกราคม 2555 เวลา 13:35 น. / เขียนโดย น.พ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ชมรมแพทย์ชนบท
https://www.isranews.org/community/comm-interview/5130-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E
“สุขภาพและความเจ็บป่วย ต้องไม่ใช่สินค้าเพื่อแสวงหากำไร”
เรื่องการรักษาพยาบาลในรพ.ภาครัฐและรพ.เอกชน เพื่อทำความเข้าใจระบบสาธารณสุขของบ้านเราให้มากขึ้น และ
เป็นการขยายมุมมองของตนเองไปในตัวด้วย
หลังจากได้เจอบทความของ นพ. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และได้ทำความเข้าใจในโมเดลระบบสาธารณสุขของประเทศอื่น
แล้ว ก็คิดว่า ระบบโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรเป็นโมเดลที่น่าสนใจ กอปรกับในบ้านเราก็มีรพ.ในลักษณะนี้
เกิดขึ้นมาแล้วหลายแห่ง เช่น รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ รพ.อบจ.ภูเก็ต จ.ภูเก็ต เป็นต้น ซึ่งสามารถเลี้ยงตัวเอง
ให้อยู่รอดปลอดภัยมาได้นานหลายปีแล้ว จึงอดไม่ได้ที่จะเกิดความสงสัยว่าเหตุใดรพ.ในลักษณะนี้จึงไม่ได้รับการส่งเสริม
ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะน่าจะช่วยให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และลดภาระภาครัฐในการ
หางบประมาณมาสนับสนุนได้มาก
จากบทความดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงระบบสาธารณสุขของเขาได้ดังต่อไปนี้...
1. เป็นระบบรพ.เอกชนที่มีจุดมุ่งหมายสาธารณะ ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรพ.เอกชนในประเทศอเมริการวมทั้งใน
ประเทศไทยที่ตามก้นอเมริกา ที่ยังมุ่งแสวงหากำไรบนความเจ็บป่วยของผู้คน
2. เขาไม่ใช้การจำกัดสิทธิด้วยกฎระเบียบซึ่งขัดต่อหลักเสรีภาพและการค้าเสรีซึ่งเป็นหลักการใหญ่ของประเทศตะวันตก
แต่เขามีวิธีที่ยึดหลักการแต่ใช้การบริหารจัดการวางระบบได้ กล่าวคือ องค์กรประกันสังคมของรัฐจะซื้อบริการจากใคร
หรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับนโยบายและการตัดสินใจจากคณะกรรมการประกันสังคมและรัฐบาล
3. องค์กรประกันสังคมประกาศนโยบายที่จะซื้อบริการจากโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรเท่านั้น ใครไปรับ
การรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแบบหวังผลกำไรจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวน
______
..... " บทเรียนเบลเยี่ยม : “ยุติการทำกำไรธุรกิจ รพ.เอกชน” บนความเจ็บป่วยประชาชน ".....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา : เขียนวันที่ 25 มกราคม 2555 เวลา 13:35 น. / เขียนโดย น.พ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ชมรมแพทย์ชนบท
https://www.isranews.org/community/comm-interview/5130-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E