เสียงอ่อนแรง ที่ดังมาจากห้องฉุกเฉิน
อาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2562 เวลา 07.30 น.
ต่อเนื่องมาจากคอลัมน์ “คุณหมอขอบอก” ที่ได้มีการสะท้อน “คำร้องขอจากห้องฉุกเฉิน” วันเสาร์ที่ 5 ธ.ค. 2562 ที่ นพ. รัฐพงษ์ บุรีวงษ์ ผู้ช่วย ผอ.รพ.พระนคร ศรีอยุธยา ได้ให้เหตุผลอันน่าสนใจถึง “ธรรมชาติในการทำงานของห้องฉุกเฉิน” ต้องให้ความสำคัญกับคนกำลังจะตายมาเป็นที่ 1 เสมอ
อย่างไรก็ตาม อีก 1 วิกฤติที่ นพ.รัฐพงษ์ อยากฉายภาพให้เห็นเพื่อผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงคำขอร้องมากขึ้น คือสภาพความจริงแต่ละวันจะมีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ามามากกว่า 1 ราย หากเป็น รพ.ขนาดใหญ่จึงต้องเตรียมคน ของให้พร้อมสำหรับผู้ป่วยอย่างน้อย 5 ทีม ใน 1 เวร คิดหยาบ ๆ ทีมละ 4 คน แปลว่าควรมีพยาบาลอย่างน้อย 20 คน มีหมอ 5 คน “แต่วันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง พยาบาลใน 1 เวรมี 8 คน หรือประมาณ 40% ของที่ควรจะมี”
ขณะที่หมอฉุกเฉินยิ่งขาดแคลนหนัก ตอนนี้หมอฉุกเฉินในรพ.รัฐทุกแห่ง ตรวจคนไข้พร้อม ๆ กันไม่น่าจะต่ำกว่า 5 คนในนาทีเดียวกัน คือตรวจคนที่ 1 พอได้จัดระเบียบวิธีคิด ได้กลุ่มโรคที่สนใจและสั่งการรักษา ระหว่างพยาบาลทำตามคำสั่งคนไข้คนที่ 1 หมอจะคว้าแฟ้มคนไข้คนที่ 2 มาทำแบบเดียวกัน แล้วไปต่อที่แฟ้มคนไข้คนที่ 3 เมื่อพยาบาลดูแลคนไข้คนที่ 1 เสร็จจะเอาแฟ้มนั้นมาวางไว้ด้านบนสุด เพื่อให้หมอรู้ว่าทำเสร็จแล้วจะสั่งการอย่างไรต่อ
“ผมเคยสั่งการรักษาคนไข้ 14 คน พร้อมกันใน 1 นาที นี่คือเรื่องจริง เพราะเรารอไม่ได้ ถ้าถามถึงคุณภาพก็ยอมรับว่าอาจจะไม่ได้สูง แต่เพราะคนไม่พอ แต่ถึงแม้ว่าคนจะไม่พอ ถ้าประชาชนเข้าใจเราจะสามารถดูแลคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ประชาชนคนไทยตอนนี้หากนอนอยู่โดยที่ไม่มีใครมาแตะตัวจะบอกว่าถูกละเลย คนไทยที่ไม่พร้อมรอ วิธีเดียวเราก็ต้องทำแบบนี้วนไปเรื่อย ๆ”
ทั้งนี้ ช่วงสถานการณ์สงบของห้องฉุกเฉินก็มี พอให้คนทำงานผ่อนคลายบ้าง แล้วแต่พื้นที่ ซึ่งหากเป็นเขตเมือง การคมนาคมสะดวกไม่มีนาทีนั้นอยู่ใน รพ. แต่ถ้าเป็นพื้นที่ชนบทการทิ้งช่วงของคนไข้สะท้อนถึงการเข้าถึง รพ.ลำบาก ซึ่งช่วงที่คนไข้เยอะตลอด 16 ชม. นับตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 5 ทุ่ม ช่วงตี 4 จะเบาหน่อย นี่คือสถานการณ์ปกติ แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลทุกอย่างต้องเตรียมพร้อมอย่างน้อย 120% ตลอด 24 ชม.
นอกจากภาระงานอันหนักหน่วงแล้ว ยังพบภาระใจจากสังคม “โซเชียลมีเดีย” ซึ่ง นพ.รัฐพงษ์ มองว่าหากใช้เพื่อการรับรู้รับทราบจะเป็นประโยชน์มาก แต่จะเป็นโทษทันทีหากรู้ไม่จริง และใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ซึ่งส่วนใหญ่ที่เคยเจอคือ การเล่นโซเชียลฯ ในลักษณะการระบายและการทำลาย ทำให้เรื่องนี้เป็น “แรงกดดันกับคนทำงานทั้งระบบ”
จริง ๆ การถ่ายภาพในรพ.เป็นสิ่งผิด แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งประเทศไม่มีแรงเหลือพอที่จะไปสู้รบปรบมือกับเรื่องนี้ กับคนแบบนี้ เพราะลำพังที่เขามาทำงานวันละ 16 ชั่วโมง ไม่ว่าจะป่วย หรือด้วยเหตุผลอะไร ก็เหนื่อยมากพอแล้ว แต่ก็อ้างไม่ได้ เราต้องทำเพราะว่าคนทำงานมีไม่เพียงพอ
“เรื่องหนึ่งที่ประชาชนควรรู้คือการทำงานเกินกว่าศักยภาพมนุษย์จะทำได้ การตัดสินใจในชั่วโมงท้าย ๆ แตกต่างจากตอนเริ่มมหาศาล แค่นี้ก็มีความเสี่ยงอยู่แล้ว จึงอยากขอความร่วมมือ ช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดีให้คนเหล่านี้มีสมาธิที่ดีที่สุดในการดูแลญาติของเราให้ดีที่สุด เพราะถ้ามีความกดดันด้วย เหนื่อยล้าด้วย ถามว่าคนพวกนี้จะไปรีดเร้นเอาศักยภาพจากไหนมาดูแลญาติเรา เป็นไปไม่ได้”
สิ่งสำคัญคือการมารพ.โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉิน อย่างมีเหตุผล เอื้อเฟื้อกับคนอื่น จะทำให้เหลือสมาธิกับทรัพยากร พอที่จะไปดูคนไข้คนอื่น ผู้ป่วยที่ดูแลตัวเองได้อยากให้มาช่วงกลางวันดีกว่าเพราะมีหมอดูแลนับร้อยคน.
https://www.dailynews.co.th/article/686171
เสียงอ่อนแรง ที่ดังมาจากห้องฉุกเฉิน
อาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2562 เวลา 07.30 น.
ต่อเนื่องมาจากคอลัมน์ “คุณหมอขอบอก” ที่ได้มีการสะท้อน “คำร้องขอจากห้องฉุกเฉิน” วันเสาร์ที่ 5 ธ.ค. 2562 ที่ นพ. รัฐพงษ์ บุรีวงษ์ ผู้ช่วย ผอ.รพ.พระนคร ศรีอยุธยา ได้ให้เหตุผลอันน่าสนใจถึง “ธรรมชาติในการทำงานของห้องฉุกเฉิน” ต้องให้ความสำคัญกับคนกำลังจะตายมาเป็นที่ 1 เสมอ
อย่างไรก็ตาม อีก 1 วิกฤติที่ นพ.รัฐพงษ์ อยากฉายภาพให้เห็นเพื่อผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงคำขอร้องมากขึ้น คือสภาพความจริงแต่ละวันจะมีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ามามากกว่า 1 ราย หากเป็น รพ.ขนาดใหญ่จึงต้องเตรียมคน ของให้พร้อมสำหรับผู้ป่วยอย่างน้อย 5 ทีม ใน 1 เวร คิดหยาบ ๆ ทีมละ 4 คน แปลว่าควรมีพยาบาลอย่างน้อย 20 คน มีหมอ 5 คน “แต่วันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง พยาบาลใน 1 เวรมี 8 คน หรือประมาณ 40% ของที่ควรจะมี”
ขณะที่หมอฉุกเฉินยิ่งขาดแคลนหนัก ตอนนี้หมอฉุกเฉินในรพ.รัฐทุกแห่ง ตรวจคนไข้พร้อม ๆ กันไม่น่าจะต่ำกว่า 5 คนในนาทีเดียวกัน คือตรวจคนที่ 1 พอได้จัดระเบียบวิธีคิด ได้กลุ่มโรคที่สนใจและสั่งการรักษา ระหว่างพยาบาลทำตามคำสั่งคนไข้คนที่ 1 หมอจะคว้าแฟ้มคนไข้คนที่ 2 มาทำแบบเดียวกัน แล้วไปต่อที่แฟ้มคนไข้คนที่ 3 เมื่อพยาบาลดูแลคนไข้คนที่ 1 เสร็จจะเอาแฟ้มนั้นมาวางไว้ด้านบนสุด เพื่อให้หมอรู้ว่าทำเสร็จแล้วจะสั่งการอย่างไรต่อ
“ผมเคยสั่งการรักษาคนไข้ 14 คน พร้อมกันใน 1 นาที นี่คือเรื่องจริง เพราะเรารอไม่ได้ ถ้าถามถึงคุณภาพก็ยอมรับว่าอาจจะไม่ได้สูง แต่เพราะคนไม่พอ แต่ถึงแม้ว่าคนจะไม่พอ ถ้าประชาชนเข้าใจเราจะสามารถดูแลคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ประชาชนคนไทยตอนนี้หากนอนอยู่โดยที่ไม่มีใครมาแตะตัวจะบอกว่าถูกละเลย คนไทยที่ไม่พร้อมรอ วิธีเดียวเราก็ต้องทำแบบนี้วนไปเรื่อย ๆ”
ทั้งนี้ ช่วงสถานการณ์สงบของห้องฉุกเฉินก็มี พอให้คนทำงานผ่อนคลายบ้าง แล้วแต่พื้นที่ ซึ่งหากเป็นเขตเมือง การคมนาคมสะดวกไม่มีนาทีนั้นอยู่ใน รพ. แต่ถ้าเป็นพื้นที่ชนบทการทิ้งช่วงของคนไข้สะท้อนถึงการเข้าถึง รพ.ลำบาก ซึ่งช่วงที่คนไข้เยอะตลอด 16 ชม. นับตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 5 ทุ่ม ช่วงตี 4 จะเบาหน่อย นี่คือสถานการณ์ปกติ แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลทุกอย่างต้องเตรียมพร้อมอย่างน้อย 120% ตลอด 24 ชม.
นอกจากภาระงานอันหนักหน่วงแล้ว ยังพบภาระใจจากสังคม “โซเชียลมีเดีย” ซึ่ง นพ.รัฐพงษ์ มองว่าหากใช้เพื่อการรับรู้รับทราบจะเป็นประโยชน์มาก แต่จะเป็นโทษทันทีหากรู้ไม่จริง และใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ซึ่งส่วนใหญ่ที่เคยเจอคือ การเล่นโซเชียลฯ ในลักษณะการระบายและการทำลาย ทำให้เรื่องนี้เป็น “แรงกดดันกับคนทำงานทั้งระบบ”
จริง ๆ การถ่ายภาพในรพ.เป็นสิ่งผิด แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งประเทศไม่มีแรงเหลือพอที่จะไปสู้รบปรบมือกับเรื่องนี้ กับคนแบบนี้ เพราะลำพังที่เขามาทำงานวันละ 16 ชั่วโมง ไม่ว่าจะป่วย หรือด้วยเหตุผลอะไร ก็เหนื่อยมากพอแล้ว แต่ก็อ้างไม่ได้ เราต้องทำเพราะว่าคนทำงานมีไม่เพียงพอ
“เรื่องหนึ่งที่ประชาชนควรรู้คือการทำงานเกินกว่าศักยภาพมนุษย์จะทำได้ การตัดสินใจในชั่วโมงท้าย ๆ แตกต่างจากตอนเริ่มมหาศาล แค่นี้ก็มีความเสี่ยงอยู่แล้ว จึงอยากขอความร่วมมือ ช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดีให้คนเหล่านี้มีสมาธิที่ดีที่สุดในการดูแลญาติของเราให้ดีที่สุด เพราะถ้ามีความกดดันด้วย เหนื่อยล้าด้วย ถามว่าคนพวกนี้จะไปรีดเร้นเอาศักยภาพจากไหนมาดูแลญาติเรา เป็นไปไม่ได้”
สิ่งสำคัญคือการมารพ.โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉิน อย่างมีเหตุผล เอื้อเฟื้อกับคนอื่น จะทำให้เหลือสมาธิกับทรัพยากร พอที่จะไปดูคนไข้คนอื่น ผู้ป่วยที่ดูแลตัวเองได้อยากให้มาช่วงกลางวันดีกว่าเพราะมีหมอดูแลนับร้อยคน.
https://www.dailynews.co.th/article/686171