.....**มวยคู่ใหม่ "หมอเสริฐ" ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จากค่ายเครือ รพ.กรุงเทพ เปิดหน้าชก "สนธิรัตน์ สนธิจิรุวงศ์" รัฐมนตรีพาณิชย์ ในศึกดึงยาและเวชภัณฑ์เข้าเป็นสินค้าต้องควบคุมราคา ไม่มีอะไรจะทำ จึงมาหาเรื่องโรงพยาบาลเอกชน...
...สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ - นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ...
พลันทีกระทรวงพาณิชย์ประกาศไฟเขียวให้ยาและเวชภัณฑ์ เข้าบัญชีสินค้าควบคุม "สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์" รมว.พาณิชย์ ถึงกับเปรยว่า งานนี้ "ผมโดนกลุ่มทุนกดดันหนักเลย" ประชาชนผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่ว่ากันว่า "แพงเวอร์" เฮไปแล้ว อาจจะรอต่อไป เพราะนอกจากกลุ่ม รพ.เอกชน ได้ออกโรงเคลือนไหว ผ่านสมาคม รพ.เอกชนต่อเรื่องนี้แล้วเมื่อวาน
คนสำคัญของวงการแพทย์ รพ.เอกชน "หมอเสิรฐ" นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของอาณาจักรโรงพยาบาลกรุงเทพฯ ที่ครองแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยหลายสมัย ก็เปิดหน้าชก ชักธงรบขวางเต็มที่
"ผมว่าเขาไม่ค่อยมีอะไรทำมากกว่า ถึงได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมา" หมอเสริฐว่า ซึ่งถ้าจะถกเหตุและผล ก็ต้องบอกว่าต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลด้วยกันทั้งคู่
นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน บอกว่า ยาและเวชภัณฑ์ที่ว่าแพง เพราะรพ.เอกชน ต้องลงทุนเองทั้งหมด และถูกควบคุมโดยกฎหมาย คือ พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดเรื่องมาตรฐานต่างๆ เช่น โรงพยาบาล แต่ละขนาดต้องมีจำนวนแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ห้องผ่าตัด จำนวนเท่าใด มาตรฐานในการจัดเก็บยาเป็นอย่างไร รวมถึงต้องยึดหลักความปลอดภัยของผู้ป่วย ทำให้ยาไม่ตีกัน จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ การตรวจสอบยาต่างๆ เป็นต้น ทำให้ใบเสร็จออกมาต่างจาก รพ.รัฐ ที่ไม่มีค่าพวกนี้รวมอยู่ เพราะอยู่ในเงินงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน
นอกจากนี้ โรงพยาบาลที่มีการให้บริการมาก มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ หรือการอบรมบุคลากร ก็ยิ่งมีการลงทุนสูง ต้นทุนก็ยิ่งสูง ค่าใช้จ่ายของรพ.เอกชน แต่ละแห่งจึงต่างกัน เพราะต้นทุนการบริการไม่เท่ากัน ... ฟังดูคล้ายกับว่า รพ.เอกชน ลงทุนมากก็ต้องหาวิธีเรียกทุนคืนเป็นธรรมดาของธุรกิจ แต่ ต้องไม่ลืมว่า รพ.เอกชนส่วนใหญ่ ระดมทุนในตลาดหุ้น รายได้ปีละกว่าแสนล้าน กำไรแต่ละปี ไม่น้อยกว่า 25,000 ล้าน ... ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กำไรมาจากค่ายา และเวชภัณฑ์นี่เอง
ส่วนที่ต้องฝาก รมว.พาณิชย์ ที่ต้องดูแลภาคประชาชน หลังจากมีข้อเสนอแนะเรื่องนี้มานาน คนในสังคมต่างรับรู้ได้ถึงการใช้ยา และบริการของรพ.เอกชน ราคาแพงหูฉี่ ยา และ บริการของ รพ.เอกชนบางแห่ง ก็ไม่มีกรอบและมาตรฐานในการคิด แต่เมื่อมีเสียงค้านมา ท่านรัฐมนตรี ก็เปิดใจกว้างรับฟังเพื่อหาข้อสรุปเสนอ ครม.ต่อไป
ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด ในส่วนรพ.เอกชน ที่มีเครื่องมือพร้อม และสามารถตรวจผลได้ทันเวลา มันก็ย่อมจะมีค่าใช้จ่าย ส่วน รพ.เอกชนอีกประเภทที่แพงไว้ก่อน และไม่ได้ดีจริง นี่ก็ถูกของ รมว.สนธิรัตน์ เรื่องแบบนี้ต้องหาจุดที่ลงตัว ที่เป็นผลดีที่สุดระหว่างประชาชน และธุรกิจ
ที่มา :
https://mgronline.com/politics/detail/9620000004813
( เผยแพร่: 15 ม.ค. 2562 05:11 ปรับปรุง: 15 ม.ค. 2562 05:25 โดย: นกหวีด )
ป.ล. - พอดี Tag ห้องหุ้นด้วย....ผมไม่มีหุ้นร.พ.นะครับ
**มวยคู่ใหม่ "หมอเสริฐ" ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จากค่ายเครือ รพ.กรุงเทพ เปิดหน้าชก "สนธิรัตน์ สนธิจิรุวงศ์" รมต.พาณิชย์
...สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ - นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ...
พลันทีกระทรวงพาณิชย์ประกาศไฟเขียวให้ยาและเวชภัณฑ์ เข้าบัญชีสินค้าควบคุม "สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์" รมว.พาณิชย์ ถึงกับเปรยว่า งานนี้ "ผมโดนกลุ่มทุนกดดันหนักเลย" ประชาชนผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่ว่ากันว่า "แพงเวอร์" เฮไปแล้ว อาจจะรอต่อไป เพราะนอกจากกลุ่ม รพ.เอกชน ได้ออกโรงเคลือนไหว ผ่านสมาคม รพ.เอกชนต่อเรื่องนี้แล้วเมื่อวาน
คนสำคัญของวงการแพทย์ รพ.เอกชน "หมอเสิรฐ" นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของอาณาจักรโรงพยาบาลกรุงเทพฯ ที่ครองแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยหลายสมัย ก็เปิดหน้าชก ชักธงรบขวางเต็มที่
"ผมว่าเขาไม่ค่อยมีอะไรทำมากกว่า ถึงได้หยิบเรื่องนี้ขึ้นมา" หมอเสริฐว่า ซึ่งถ้าจะถกเหตุและผล ก็ต้องบอกว่าต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลด้วยกันทั้งคู่
นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน บอกว่า ยาและเวชภัณฑ์ที่ว่าแพง เพราะรพ.เอกชน ต้องลงทุนเองทั้งหมด และถูกควบคุมโดยกฎหมาย คือ พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดเรื่องมาตรฐานต่างๆ เช่น โรงพยาบาล แต่ละขนาดต้องมีจำนวนแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ห้องผ่าตัด จำนวนเท่าใด มาตรฐานในการจัดเก็บยาเป็นอย่างไร รวมถึงต้องยึดหลักความปลอดภัยของผู้ป่วย ทำให้ยาไม่ตีกัน จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ การตรวจสอบยาต่างๆ เป็นต้น ทำให้ใบเสร็จออกมาต่างจาก รพ.รัฐ ที่ไม่มีค่าพวกนี้รวมอยู่ เพราะอยู่ในเงินงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน
นอกจากนี้ โรงพยาบาลที่มีการให้บริการมาก มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ หรือการอบรมบุคลากร ก็ยิ่งมีการลงทุนสูง ต้นทุนก็ยิ่งสูง ค่าใช้จ่ายของรพ.เอกชน แต่ละแห่งจึงต่างกัน เพราะต้นทุนการบริการไม่เท่ากัน ... ฟังดูคล้ายกับว่า รพ.เอกชน ลงทุนมากก็ต้องหาวิธีเรียกทุนคืนเป็นธรรมดาของธุรกิจ แต่ ต้องไม่ลืมว่า รพ.เอกชนส่วนใหญ่ ระดมทุนในตลาดหุ้น รายได้ปีละกว่าแสนล้าน กำไรแต่ละปี ไม่น้อยกว่า 25,000 ล้าน ... ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กำไรมาจากค่ายา และเวชภัณฑ์นี่เอง
ส่วนที่ต้องฝาก รมว.พาณิชย์ ที่ต้องดูแลภาคประชาชน หลังจากมีข้อเสนอแนะเรื่องนี้มานาน คนในสังคมต่างรับรู้ได้ถึงการใช้ยา และบริการของรพ.เอกชน ราคาแพงหูฉี่ ยา และ บริการของ รพ.เอกชนบางแห่ง ก็ไม่มีกรอบและมาตรฐานในการคิด แต่เมื่อมีเสียงค้านมา ท่านรัฐมนตรี ก็เปิดใจกว้างรับฟังเพื่อหาข้อสรุปเสนอ ครม.ต่อไป
ก็ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด ในส่วนรพ.เอกชน ที่มีเครื่องมือพร้อม และสามารถตรวจผลได้ทันเวลา มันก็ย่อมจะมีค่าใช้จ่าย ส่วน รพ.เอกชนอีกประเภทที่แพงไว้ก่อน และไม่ได้ดีจริง นี่ก็ถูกของ รมว.สนธิรัตน์ เรื่องแบบนี้ต้องหาจุดที่ลงตัว ที่เป็นผลดีที่สุดระหว่างประชาชน และธุรกิจ
ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9620000004813
( เผยแพร่: 15 ม.ค. 2562 05:11 ปรับปรุง: 15 ม.ค. 2562 05:25 โดย: นกหวีด )
ป.ล. - พอดี Tag ห้องหุ้นด้วย....ผมไม่มีหุ้นร.พ.นะครับ