แตกประเด็น
https://ppantip.com/topic/38455827
ปรากฏการณ์ที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กระโจนลงจากเวทีปราศรัยเข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของชาวบ้านที่ร้อยเอ็ด
สร้างความตื่นตะลึงเป็นอย่างสูง
เพราะไม่เพียงแต่ “นักการเมือง” จะเล่นบทเหมือน “นักร้อง”
หากทำให้เห็นด้วยว่า การสมานอย่างเป็นเนื้อเดียวกันระหว่างชาวบ้านกับนักการเมืองที่มาจากพรรคการเมืองซึ่งได้รับ
ความนิยมนั้นดำเนินไปอย่างไร
นี่ย่อมแตกต่างไปจากการเดินสายของ “นักการเมือง” ที่มาจาก “ข้าราชการ”
ขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “คนพูด” กับ “คนฟัง” อย่างแนบแน่น
ยากที่จะแยกออกจากกันได้แม้กระทั่งเครื่องมือ “รัฐประหาร”
พรรคเพื่อไทยมีรากฐานมาจากพรรคพลังประชาชน ขณะเดียวกัน พรรคพลังประชาชนก็มีรากฐานมาจากพรรคไทยรักไทย
พื้นที่ของพรรคเพื่อไทยจึงเป็น “ภาคอีสาน”
การชุมนุมของมวลชนในห้วงเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 เด่นชัดเป็นอย่างยิ่งว่ามวลชนด้านหลักในการชุมนุมไม่ว่า
บนถนนราชดำเนิน ไม่ว่าที่แยกราชประสงค์มาจากที่ใด
ยิ่งกว่านั้นความโดดเด่นของพรรคเพื่อไทยก็มาจาก “ภาคอีสาน”
การเดินสายปราศรัยของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่เริ่มจากอุบลราชธานี ไปยโสธรและจบลงที่ร้อยเอ็ด
ยิ่งเห็นภาพ “มวลชน” ยิ่งได้รับการห้อมล้อมจาก “มวลชน” ยิ่งคึกคัก
มีคนสรุปมานานแล้วว่า ระหว่างคนพูดกับคนฟังไม่ว่าบนเวทีหอประชุม ไม่ว่าบนเวทีปราศรัยดำเนินไปอย่างมี
สายสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่างใกล้ชิด
ตอนเริ่มต้นถือได้ว่า “คนพูด” เป็นฝ่าย “กำหนด”
แต่เมื่อการพูดพัฒนาไปจนสามารถสร้างอารมณ์ “ร่วม” ให้กับ “คนฟัง” ได้จนกระทั่งแสดงออกในเชิงชื่นชอบ เห็นด้วย
ไม่ว่าด้วยการปรบมือ ไม่ว่าด้วยการโห่ร้อง
ขั้นตอนนี้แหละที่อิทธิพลจากปฏิกิริยาของ “คนฟัง” จะมีส่วนเข้าไปกำหนดบทบาทของ “คนพูด” ให้เป็นไป
อย่างที่คนฟังต้องการ
นั่นแหละจึงปรากฏภาพดังที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แสดงออก
ไม่ว่าจะมองจากมุมการส่งผลสะเทือนระหว่างคนฟังกับคนพูด ระหว่างคนพูดกับคนฟัง แต่ที่แน่นอนอย่างที่สุด
รูปธรรมนี้เป็นผลดีกับพรรคเพื่อไทย
แสดงถึงสถานะและความนิยมของพรรคในภาคอีสาน
ขณะเดียวกัน ก็แสดงถึงการยอมรับสถานะของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ดำรงอยู่ภายในพรรคเพื่อไทย
อีกด้วยว่าเป็นอย่างไร
ทะยานไปข้างหน้าแน่นอน ไม่มีถอยหลังกลับ
วิเคราะห์การเมือง : ปราศรัยการเมืองของ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ปราศรัยที่ร้อยเอ็ด ... ข่าวสดออนไลน์.../sao..เหลือ..noi
ปรากฏการณ์ที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ กระโจนลงจากเวทีปราศรัยเข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของชาวบ้านที่ร้อยเอ็ด
สร้างความตื่นตะลึงเป็นอย่างสูง
เพราะไม่เพียงแต่ “นักการเมือง” จะเล่นบทเหมือน “นักร้อง”
หากทำให้เห็นด้วยว่า การสมานอย่างเป็นเนื้อเดียวกันระหว่างชาวบ้านกับนักการเมืองที่มาจากพรรคการเมืองซึ่งได้รับ
ความนิยมนั้นดำเนินไปอย่างไร
นี่ย่อมแตกต่างไปจากการเดินสายของ “นักการเมือง” ที่มาจาก “ข้าราชการ”
ขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “คนพูด” กับ “คนฟัง” อย่างแนบแน่น
ยากที่จะแยกออกจากกันได้แม้กระทั่งเครื่องมือ “รัฐประหาร”
พรรคเพื่อไทยมีรากฐานมาจากพรรคพลังประชาชน ขณะเดียวกัน พรรคพลังประชาชนก็มีรากฐานมาจากพรรคไทยรักไทย
พื้นที่ของพรรคเพื่อไทยจึงเป็น “ภาคอีสาน”
การชุมนุมของมวลชนในห้วงเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 เด่นชัดเป็นอย่างยิ่งว่ามวลชนด้านหลักในการชุมนุมไม่ว่า
บนถนนราชดำเนิน ไม่ว่าที่แยกราชประสงค์มาจากที่ใด
ยิ่งกว่านั้นความโดดเด่นของพรรคเพื่อไทยก็มาจาก “ภาคอีสาน”
การเดินสายปราศรัยของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่เริ่มจากอุบลราชธานี ไปยโสธรและจบลงที่ร้อยเอ็ด
ยิ่งเห็นภาพ “มวลชน” ยิ่งได้รับการห้อมล้อมจาก “มวลชน” ยิ่งคึกคัก
มีคนสรุปมานานแล้วว่า ระหว่างคนพูดกับคนฟังไม่ว่าบนเวทีหอประชุม ไม่ว่าบนเวทีปราศรัยดำเนินไปอย่างมี
สายสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่างใกล้ชิด
ตอนเริ่มต้นถือได้ว่า “คนพูด” เป็นฝ่าย “กำหนด”
แต่เมื่อการพูดพัฒนาไปจนสามารถสร้างอารมณ์ “ร่วม” ให้กับ “คนฟัง” ได้จนกระทั่งแสดงออกในเชิงชื่นชอบ เห็นด้วย
ไม่ว่าด้วยการปรบมือ ไม่ว่าด้วยการโห่ร้อง
ขั้นตอนนี้แหละที่อิทธิพลจากปฏิกิริยาของ “คนฟัง” จะมีส่วนเข้าไปกำหนดบทบาทของ “คนพูด” ให้เป็นไป
อย่างที่คนฟังต้องการ
นั่นแหละจึงปรากฏภาพดังที่ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แสดงออก
ไม่ว่าจะมองจากมุมการส่งผลสะเทือนระหว่างคนฟังกับคนพูด ระหว่างคนพูดกับคนฟัง แต่ที่แน่นอนอย่างที่สุด
รูปธรรมนี้เป็นผลดีกับพรรคเพื่อไทย
แสดงถึงสถานะและความนิยมของพรรคในภาคอีสาน
ขณะเดียวกัน ก็แสดงถึงการยอมรับสถานะของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ดำรงอยู่ภายในพรรคเพื่อไทย
อีกด้วยว่าเป็นอย่างไร
ทะยานไปข้างหน้าแน่นอน ไม่มีถอยหลังกลับ