January 11, 2019/KornKT
นักดาราศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลเก่าจากกล้องเคปเลอร์ ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ ซึ่งมีขนาดประมาณ 2 เท่าของโลก และก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีน้ำในรูปของของเหลวอยู่บนผิวดาวด้วยเช่นกัน
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ถูกค้นพบในครั้งนี้มีชื่อว่า K2-288Bb อยู่ห่างจากโลกไปราว 226 ปีแสงในกลุ่มดาววัว โดยมันอยู่ในระบบดาวคู่ชื่อ K2-288 ซึ่งดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ B ที่มีมวลและขนาดเป็น 1 ใน 3 ของดวงอาทิตย์
K2-288Bb ถูกค้นพบด้วยวิธี Transit หรือการดูแสงที่หรี่ลงเมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนตัดผ่านหน้าดาว โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบได้มากที่สุดอีกด้วย (มากถึง 77.8% ของทั้งหมดที่ถูกค้นพบ)
ภาพจำลองของดาวเคราะห์ K2-288Bb กับดาวฤกษ์ของมัน – ที่มา NASA
เรื่องที่น่าสนใจในการค้นพบครั้งนี้อยู่ที่ตัวดาวเคราะห์เองเลย เนื่องจาก K2-288Bb นั้นมีขนาดเพียงแค่ 2 เท่าของโลก ซึ่งจัดอยู่ในประเภทของ Super Earth โดยดาวเคราะห์ชนิดนี้จะมีขนาดของดาวที่ใหญ่กว่าโลก และเล็กกว่าดาวเนปจูน ที่โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยพบอยู่ในโซนอยู่อาศัยได้นั่นเอง ซึ่งนั่นหมายความว่ามันอาจจะมีน้ำในรูปของของเหลวอยู่ หากว่ามันเป็นดาวเคราะห์หิน
การค้นพบในครั้งนี้นำทีมโดย Adina Feinstein ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งเริ่มการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบตั้งแต่ตอนที่เธอยังเรียนอยู่ โดยตอนนั้น Feinstein และคณะได้ค้นพบข้อมูลการ Transit ในระบบดาว K2-288 ทว่าข้อมูลที่พวกเขาค้นพบในตอนนั้นมีเพียงแค่ 2 รอบเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้ยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ ที่ต้องการข้อมูลการ Transit อย่างน้อย 3 ครั้งด้วยกัน
แต่สุดท้ายแล้วด้วยความช่วยเหลือจากนักดาราศาสตร์ประชาชน ซึ่งก็คือคนธรรมดาทั่วไปแบบเรา ๆ ที่ช่วยดูข้อมูลใน Exoplanet Explorers ทำให้คุณ Feinstein ได้ค้นพบการ Transit ครั้งที่ 3 ที่ขาดหายไป และนำมาสู่การค้นพบ K2-288Bb ได้สำเร็จนั่นเอง
ภาพจำลองของกล้องเคปเลอร์ ที่สิ้นสุดการทำงานไปในปี 2018 – ที่มา NASA
แม้ว่ากล้องเคปเลอร์จะสิ้นสุดการปฏิบัติงานไปเมื่อปีที่แล้ว ทว่าข้อมูลที่ยานได้สำรวจเอาไว้ก็จะยังคงเป็นขุมทรัพย์อันมีค่า ซึ่งบรรดานักดาราศาสตร์จะยังคงใช้เพื่อตามหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอยู่เรื่อย ๆ โดยจนถึงตอนนี้ เรามีจำนวนดาวเคราะห์นอกระบบที่ถูกค้นพบแล้วทั้งสิ้น 3,869 ดวงด้วยกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในเวลาไม่ถึง 10 ปี กล้องเคปเลอร์ได้เปลี่ยนความเข้าใจในจักรวาลไปอย่างไร
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์เป็นภารกิจสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกของนาซา และนับตั้งแต่ที่มันขึ้นไปประจำการอยู่ในอวกาศตั้งแต่ปี 2009 ที่ผ่านมา กล้องเคปเลอร์ได้ทำการสำรวจดวงดาวไปกว่าครึ่งล้านดวง พร้อมกับค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะไปมากกว่า 2,600 ดวงด้วยกัน มาดูกันว่าในเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา กล้องเคปเลอร์ได้เปลี่ยนความเข้าใจที่เรามีต่อจักรวาลไปอย่างไร
มีดาวเคราะห์มากกว่าดาวฤกษ์อยู่ในทางช้างเผือก
25 ปีก่อนหน้านี้ เรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น แต่จากข้อมูลของกล้องเคปเลอร์ เราสามารถยืนยันได้ว่าในทางช้างเผือกของเรา ซึ่งมีจำนวนดาวฤกษ์ประมาณ 400,000,000,000 ดวง และแต่ละดวงจะมีค่าเฉลี่ยของดาวเคราะห์ที่โคจรรอบมันอยู่ราว 1.6 ดวง ยังไม่รวมถึงจำนวนดาวเคราะห์ชนิด Rogue Planet ที่โคจรรอบใจกลางของทางช้างเผือกอีกด้วย
มีดาวเคราะห์มากมายอยู่ข้างนอกนั้น – ที่มา NASA
ฝาแฝดของโลกนั้นพบได้ทั่วไปในจักรวาล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากกล้องเคปเลอร์ ประมาณ 20-50 เปอร์เซ็นต์ของดวงดาวในท้องฟ้านั้นอาจมีดาวเคราะห์หินที่มีความคล้ายคลึงกันกับโลก ทั้งขนาดและระยะห่างจากดาวฤกษ์ของมัน ซึ่งเป็นไปได้ว่ามันจะอยู่ในเขต Habitable Zone ที่น้ำในรูปของเหลวสามารถพบได้บนผิวดาว แต่เราก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าสภาพของดาวเคราะห์เหล่านี้เอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิตหรือไม่
และการค้นพบนี้ยังถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภารกิจของเคปเลอร์อีกด้วย
ดาวเคราะห์นั้นมีความหลากหลาย
กล้องเคปเลอร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์แบบต่าง ๆ มากมาย ทั้ง Ultrahot Jupiter , Hot Jupiter, Sub-Earth และ Hot Neptune เป็นต้น ทว่าดาวเคราะห์ที่กล้องเคปเลอร์ค้นพบมากที่สุดนั้นคือ Super-Earth ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลก แต่ก็ยังเล็กกว่าดาวเนปจูน ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจก็คือในเมื่อเราค้นพบ Super-Earth อย่างมากมาย แต่ทำไมมันกลับไม่อยู่ในระบบสุริยะของเรา
ตัวอย่างของดาวเคราะห์ชนิด Hot Jupiter – ที่มา ESA/Hubble
ระบบดาวต่าง ๆ ก็ไม่ได้เหมือนกัน
มีทั้งดาวเคราะห์ที่โคจรรอบระบบดาวคู่ (เหมือนกับ Tatooine) ระบบดาวที่มีดาวเคราะห์ 5 ดวงโคจรใกล้ดาวฤกษ์ยิ่งกว่าดาวพุธ ไปจนถึงดาวเคราะห์ที่ใช้เวลาเกือบหนึ่งล้านปีในการโคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องทำความเข้าใจกับมันอีกต่อจากนี้
Kepler-16b ที่โคจรรอบดาวฤกษ์สองดวง – ที่มา NASA
อีกดวงตาที่มองไปยังดวงดาว
นอกจากจะพาวงการดาราศาสตร์เข้าสู่ยุคทองแห่งการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบแล้ว กล้องเคปเลอร์ยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาดวงดาวบนท้องฟ้า และจากตลอด 9 ปีในภารกิจของมัน ดวงดาวกว่าครึ่งล้านได้ถูกสำรวจขึ้น ซึ่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวฤกษ์ดวงต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยให้เราปะติดปะต่อประวัติศาสตร์ของทางช้างเผือกและจักรวาลของเราได้อีกด้วย
ตัวอย่างภาพของดวงดาวที่กล้องเคปเลอร์มองเห็น – ที่มา NASA
แม้วันนี้หน้าที่ของเคปเลอร์จะจบลงไป แต่ความเข้าใจต่าง ๆ ที่มันได้สร้างไว้จะยังคงอยู่ตลอดไป พร้อมกับข้อมูลอีกมากมายที่รอคอยการตรวจสอบอีกครั้งจากนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ไม่แน่ว่าเราอาจจะได้ค้นพบอะไรใหม่ ๆ อีก จากข้อมูลเก่าของเคปเลอร์นี้ก็เป็นได้
สำหรับในตอนนี้ กล้องเคปเลอร์ก็ได้เวลาส่งไม้ต่อให้กับ กล้อง TESS ในการตามล่าหาดาวเคราะห์นอกระบบแล้ว
อ้างอิง
NASA | NASA Retires Kepler Space Telescope, Passes Planet-Hunting Torch
NASA | Top Science Results from the Kepler Mission
Universe Today | Kepler’s Universe: More Planets in Our Galaxy Than Stars
]
เรียบเรียงโดยทีมงาน SPACETH.CO
อ้างอิง:
NASA Exoplanets
Citizen Scientists Find New World with NASA Telescope
K2-288Bb: A Small Temperate Planet in a Low-mass Binary System Discovered by Citizen Scientists
ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงใหม่ จากข้อมูลของกล้องเคปเลอร์ (ที่ตายไปแล้ว)
นักดาราศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลเก่าจากกล้องเคปเลอร์ ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ ซึ่งมีขนาดประมาณ 2 เท่าของโลก และก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีน้ำในรูปของของเหลวอยู่บนผิวดาวด้วยเช่นกัน
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ถูกค้นพบในครั้งนี้มีชื่อว่า K2-288Bb อยู่ห่างจากโลกไปราว 226 ปีแสงในกลุ่มดาววัว โดยมันอยู่ในระบบดาวคู่ชื่อ K2-288 ซึ่งดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ B ที่มีมวลและขนาดเป็น 1 ใน 3 ของดวงอาทิตย์
K2-288Bb ถูกค้นพบด้วยวิธี Transit หรือการดูแสงที่หรี่ลงเมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนตัดผ่านหน้าดาว โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบได้มากที่สุดอีกด้วย (มากถึง 77.8% ของทั้งหมดที่ถูกค้นพบ)
ภาพจำลองของดาวเคราะห์ K2-288Bb กับดาวฤกษ์ของมัน – ที่มา NASA
เรื่องที่น่าสนใจในการค้นพบครั้งนี้อยู่ที่ตัวดาวเคราะห์เองเลย เนื่องจาก K2-288Bb นั้นมีขนาดเพียงแค่ 2 เท่าของโลก ซึ่งจัดอยู่ในประเภทของ Super Earth โดยดาวเคราะห์ชนิดนี้จะมีขนาดของดาวที่ใหญ่กว่าโลก และเล็กกว่าดาวเนปจูน ที่โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยพบอยู่ในโซนอยู่อาศัยได้นั่นเอง ซึ่งนั่นหมายความว่ามันอาจจะมีน้ำในรูปของของเหลวอยู่ หากว่ามันเป็นดาวเคราะห์หิน
การค้นพบในครั้งนี้นำทีมโดย Adina Feinstein ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งเริ่มการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบตั้งแต่ตอนที่เธอยังเรียนอยู่ โดยตอนนั้น Feinstein และคณะได้ค้นพบข้อมูลการ Transit ในระบบดาว K2-288 ทว่าข้อมูลที่พวกเขาค้นพบในตอนนั้นมีเพียงแค่ 2 รอบเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้ยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ ที่ต้องการข้อมูลการ Transit อย่างน้อย 3 ครั้งด้วยกัน
แต่สุดท้ายแล้วด้วยความช่วยเหลือจากนักดาราศาสตร์ประชาชน ซึ่งก็คือคนธรรมดาทั่วไปแบบเรา ๆ ที่ช่วยดูข้อมูลใน Exoplanet Explorers ทำให้คุณ Feinstein ได้ค้นพบการ Transit ครั้งที่ 3 ที่ขาดหายไป และนำมาสู่การค้นพบ K2-288Bb ได้สำเร็จนั่นเอง
ภาพจำลองของกล้องเคปเลอร์ ที่สิ้นสุดการทำงานไปในปี 2018 – ที่มา NASA
แม้ว่ากล้องเคปเลอร์จะสิ้นสุดการปฏิบัติงานไปเมื่อปีที่แล้ว ทว่าข้อมูลที่ยานได้สำรวจเอาไว้ก็จะยังคงเป็นขุมทรัพย์อันมีค่า ซึ่งบรรดานักดาราศาสตร์จะยังคงใช้เพื่อตามหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอยู่เรื่อย ๆ โดยจนถึงตอนนี้ เรามีจำนวนดาวเคราะห์นอกระบบที่ถูกค้นพบแล้วทั้งสิ้น 3,869 ดวงด้วยกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรียบเรียงโดยทีมงาน SPACETH.CO
อ้างอิง:
NASA Exoplanets
Citizen Scientists Find New World with NASA Telescope
K2-288Bb: A Small Temperate Planet in a Low-mass Binary System Discovered by Citizen Scientists