หาหน้ากาก N95 ไม่ได้ ใช้อะไรแทนดี?
รูปภาพจาก Drama-addict ขอบคุณค่ะ
เพิ่มเติมเรื่องหน้ากาก N95 ซึ่งตอนนี้หาซื้อยากละ
ถ้าหาซ์้อไม่ได้ ลองหาพวก FFP2 หรือ P2 มาใช้ก็ได้
ประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นเท่าๆกัน
ที่เรียกต่างกันนี่ไม่มีอะไร N95 มันเป็นประเภทตามมาตรฐานของอเมริกา ส่วน FFP2 ของยุโรป ส่วน P2 นี่ของนิวซีแลนด์ ชื่อต่างกันแต่ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันอ่ะ
- อ้างจากงานวิจัยของม.เชียงใหม่ วิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของหน้ากากชนิดต่างๆ ในการกรองอากาศที่มีฝุ่นระดับ PM 2.5 ปน โดยเก็บตัวอย่างอากาศจากในอาคารและนอกอาคาร
- พบว่าหน้ากากแบบ Dura (ภาพ 2A) พอจะช่วยกรองฝุ่นได้บ้าง แต่ประสิทธิภาพการกรองจะดีขึ้น เมื่อซ้อนด้วยกระดาษทิชชู่ 2 แผ่น (ภาพ 3) ประสิทธิภาพดีกว่าซ้อนด้วยผ้าเช็ดหน้า (ภาพ 4) และหน้ากากผ้าธรรมดาค่ะ (ภาพแรกคือตารางเปรียบเทียบ)
พอจะใช้ทดแทนในแง่การกรองฝุ่นได้ แต่ประสิทธิภาพไม่เทียบเท่าหน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะค่ะ
การพัฒนาชุดความรู้ด้านประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก
Abstract
ได้ทําการตรวจประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นต่อการป้องกันอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5ใน อากาศ โดยทําการวัดระดับรายวัน (24 ชั่วโมง) ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก (PM 2.5) ภายในอาคารและ ภายนอกอาคารในอากาศจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2551 โดยตั้งเครื่องเก็บ อากาศ Minivol air sampler เพื่อเก็บตัวอย่างอากาศภายนอกอาคารที่ระเบียงทางเดิน ชั้น 2 ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเก็บตัวอย่างอากาศภายในอาคารในห้องปฏิบัติการ Bioassay Research Laboratory ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้หน้ากาก ป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A สามารถลดระดับ PM 2.5 ในอากาศทั้งภายนอกและภายใน อาคารได้ประมาณ 87 – 96 % ส่วนหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (Dura) สามารถลดระดับของ PM 2.5 ได้ประมาณ 48 % การใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูซ้อนอยู่ใน Mask dura สามารถลดระดับ PM 2.5 ได้ดี ขึ้น ถึงมากกว่า 75 - 90 % จากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อยืนในสารสกัดจากตัวอย่างอากาศที่เก็บโดยการทํา Ames test พบว่าตัวอย่างสารสกัดเดือนมกราคมและกุมภาพันธุ์ทําให้เกิดการกลายของหน่วยพันธุกรรมของแบคทีเรีย ซัลโมเนลลา ธัยฟิมิวเรียมสายพันธุ์ TA98 และ TA100 ในภาวะที่มีการกระตุ้นจากเอนไซม์ (+S9) ส่วนสาร สกัดจากอากาศเดือนอื่น ๆ ไม่พบความเป็นพิษต่อยีน การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A สามารถลดฤทธิ์ความเป็นพิษต่อยืนที่ปนเปื้อนในอากาศทั้งภายนอกและภายในอาคารได้ ในด้านความเป็นพิษต่อเซลล์โดยการทดสอบ MTT พบว่าสารสกัดฝุ่นเดือนมกราคม, กุมภาพันธุ์, และ พฤษภาคม-มิถุนายน ที่ความเข้มข้น 100 แg/ml มีความเป็นพิษต่อเซลล์ปอด (A549) และเซลล์เม็ดเลือดขาว (3-774.1) สามารถทําให้เซลล์ถุงลมปอด A-549 ตายประมาณ 40% การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิด Dura ไม่ สามารถป้องกันอันตรายได้ เพราะจํานวนเซลล์ที่ตายไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่มีแนวโน้มว่าหน้ากาก ป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A ลดความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์ A-549 ได้ เพราะสาร สกัดจากอากาศที่ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นทั้งสองชนิดทําให้เซลล์ A-549 ตายน้อยลงประมาณ 20 % และการ ใส่กระดาษทิชชูซ้อนลงไปในหน้ากากชนิด Dura อาจจะช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์ลงได้ ตัวอย่างอากาศ ทั้งจากภายนอกและภายในอาคารที่เก็บในเดือนมกราคมและกุมภาพันธุ์ มีความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว 1-774.1 และฤทธิ์เป็นพิษอย่างรุนแรง เพราะสามารถทําให้เซลล์ตายมากกว่า 80 % และฤทธิ์ทําลายเซลล์นี้ ขึ้นกับความเข้มข้นและเวลาที่ผสม การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นทุกชนิดไม่สามารถป้องกันความเป็นพิษต่อ เซลล์ 1-774.1 ได้ การประเมินความพึงพอใจของการใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น 3 ชนิด คือ หน้ากากที่ใช้ในห้องผ่าตัด (dura), 3M 9002 และ 3M 8210 (N95) ในอาสาสมัครจํานวน 28 คน (ผู้ชาย 15 คนและผู้หญิง 13 คน) อายุ เฉลี่ย 35 + 12.5 พบว่าหน้ากากป้องกันฝุ่นที่อาสาสมัครคิดว่าสามารถป้องกันฝุ่นได้ดีเรียงตามลําดับ ดังนี้ ชนิด 3M 8210 > 3M 9002A > Dura โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เรียงตามลําดับ ดังนี้ 77.8, 57.3 และ 40.8 % หน้ากากป้องกันฝุ่นที่อาสาสมัครมีความพึงพอใจที่จะใช้เรียงตามลําดับ คือ dura > 3M 9002 - 3M 8210 โดยมีความพึงพอใจคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เรียงลําดับดังนี้ 39.4, 14.3 และ 0% อาสาสมัครให้ ความเห็นว่าหน้ากากชนิด 3M 8210, N95 มีประสิทธิภาพที่จะป้องกันฝุ่นได้ดี แต่ทําให้รู้สึกเจ็บและไม่ สะดวกต่อการใช้มากที่สุด เมื่อเทียบกับหน้ากากอีก 2 ชนิด
Author
ศ.ดร. อุษณีย์ วินิจเขตคำนวน
Journal
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2557
อ้างอิงข้อมูลและภาพ
บทคัดย่อ
https://www.cmuccdc.org/opendata/research_detail/44
Full paper
https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp…
หาหน้ากาก N95 ไม่ได้ ใช้อะไรแทนดี?
หาหน้ากาก N95 ไม่ได้ ใช้อะไรแทนดี?
รูปภาพจาก Drama-addict ขอบคุณค่ะ
เพิ่มเติมเรื่องหน้ากาก N95 ซึ่งตอนนี้หาซื้อยากละ
ถ้าหาซ์้อไม่ได้ ลองหาพวก FFP2 หรือ P2 มาใช้ก็ได้
ประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นเท่าๆกัน
ที่เรียกต่างกันนี่ไม่มีอะไร N95 มันเป็นประเภทตามมาตรฐานของอเมริกา ส่วน FFP2 ของยุโรป ส่วน P2 นี่ของนิวซีแลนด์ ชื่อต่างกันแต่ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันอ่ะ
- อ้างจากงานวิจัยของม.เชียงใหม่ วิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของหน้ากากชนิดต่างๆ ในการกรองอากาศที่มีฝุ่นระดับ PM 2.5 ปน โดยเก็บตัวอย่างอากาศจากในอาคารและนอกอาคาร
- พบว่าหน้ากากแบบ Dura (ภาพ 2A) พอจะช่วยกรองฝุ่นได้บ้าง แต่ประสิทธิภาพการกรองจะดีขึ้น เมื่อซ้อนด้วยกระดาษทิชชู่ 2 แผ่น (ภาพ 3) ประสิทธิภาพดีกว่าซ้อนด้วยผ้าเช็ดหน้า (ภาพ 4) และหน้ากากผ้าธรรมดาค่ะ (ภาพแรกคือตารางเปรียบเทียบ)
พอจะใช้ทดแทนในแง่การกรองฝุ่นได้ แต่ประสิทธิภาพไม่เทียบเท่าหน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะค่ะ
การพัฒนาชุดความรู้ด้านประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก
Abstract
ได้ทําการตรวจประสิทธิภาพของหน้ากากป้องกันฝุ่นต่อการป้องกันอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5ใน อากาศ โดยทําการวัดระดับรายวัน (24 ชั่วโมง) ของอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก (PM 2.5) ภายในอาคารและ ภายนอกอาคารในอากาศจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน 2551 โดยตั้งเครื่องเก็บ อากาศ Minivol air sampler เพื่อเก็บตัวอย่างอากาศภายนอกอาคารที่ระเบียงทางเดิน ชั้น 2 ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเก็บตัวอย่างอากาศภายในอาคารในห้องปฏิบัติการ Bioassay Research Laboratory ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้หน้ากาก ป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A สามารถลดระดับ PM 2.5 ในอากาศทั้งภายนอกและภายใน อาคารได้ประมาณ 87 – 96 % ส่วนหน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (Dura) สามารถลดระดับของ PM 2.5 ได้ประมาณ 48 % การใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูซ้อนอยู่ใน Mask dura สามารถลดระดับ PM 2.5 ได้ดี ขึ้น ถึงมากกว่า 75 - 90 % จากการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อยืนในสารสกัดจากตัวอย่างอากาศที่เก็บโดยการทํา Ames test พบว่าตัวอย่างสารสกัดเดือนมกราคมและกุมภาพันธุ์ทําให้เกิดการกลายของหน่วยพันธุกรรมของแบคทีเรีย ซัลโมเนลลา ธัยฟิมิวเรียมสายพันธุ์ TA98 และ TA100 ในภาวะที่มีการกระตุ้นจากเอนไซม์ (+S9) ส่วนสาร สกัดจากอากาศเดือนอื่น ๆ ไม่พบความเป็นพิษต่อยีน การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A สามารถลดฤทธิ์ความเป็นพิษต่อยืนที่ปนเปื้อนในอากาศทั้งภายนอกและภายในอาคารได้ ในด้านความเป็นพิษต่อเซลล์โดยการทดสอบ MTT พบว่าสารสกัดฝุ่นเดือนมกราคม, กุมภาพันธุ์, และ พฤษภาคม-มิถุนายน ที่ความเข้มข้น 100 แg/ml มีความเป็นพิษต่อเซลล์ปอด (A549) และเซลล์เม็ดเลือดขาว (3-774.1) สามารถทําให้เซลล์ถุงลมปอด A-549 ตายประมาณ 40% การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นชนิด Dura ไม่ สามารถป้องกันอันตรายได้ เพราะจํานวนเซลล์ที่ตายไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่มีแนวโน้มว่าหน้ากาก ป้องกันฝุ่นชนิด 3M 8210, N95 และ 3M 9002A ลดความเป็นพิษของสารสกัดต่อเซลล์ A-549 ได้ เพราะสาร สกัดจากอากาศที่ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นทั้งสองชนิดทําให้เซลล์ A-549 ตายน้อยลงประมาณ 20 % และการ ใส่กระดาษทิชชูซ้อนลงไปในหน้ากากชนิด Dura อาจจะช่วยลดความเป็นพิษต่อเซลล์ลงได้ ตัวอย่างอากาศ ทั้งจากภายนอกและภายในอาคารที่เก็บในเดือนมกราคมและกุมภาพันธุ์ มีความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว 1-774.1 และฤทธิ์เป็นพิษอย่างรุนแรง เพราะสามารถทําให้เซลล์ตายมากกว่า 80 % และฤทธิ์ทําลายเซลล์นี้ ขึ้นกับความเข้มข้นและเวลาที่ผสม การใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นทุกชนิดไม่สามารถป้องกันความเป็นพิษต่อ เซลล์ 1-774.1 ได้ การประเมินความพึงพอใจของการใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น 3 ชนิด คือ หน้ากากที่ใช้ในห้องผ่าตัด (dura), 3M 9002 และ 3M 8210 (N95) ในอาสาสมัครจํานวน 28 คน (ผู้ชาย 15 คนและผู้หญิง 13 คน) อายุ เฉลี่ย 35 + 12.5 พบว่าหน้ากากป้องกันฝุ่นที่อาสาสมัครคิดว่าสามารถป้องกันฝุ่นได้ดีเรียงตามลําดับ ดังนี้ ชนิด 3M 8210 > 3M 9002A > Dura โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เรียงตามลําดับ ดังนี้ 77.8, 57.3 และ 40.8 % หน้ากากป้องกันฝุ่นที่อาสาสมัครมีความพึงพอใจที่จะใช้เรียงตามลําดับ คือ dura > 3M 9002 - 3M 8210 โดยมีความพึงพอใจคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เรียงลําดับดังนี้ 39.4, 14.3 และ 0% อาสาสมัครให้ ความเห็นว่าหน้ากากชนิด 3M 8210, N95 มีประสิทธิภาพที่จะป้องกันฝุ่นได้ดี แต่ทําให้รู้สึกเจ็บและไม่ สะดวกต่อการใช้มากที่สุด เมื่อเทียบกับหน้ากากอีก 2 ชนิด
Author
ศ.ดร. อุษณีย์ วินิจเขตคำนวน
Journal
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2557
อ้างอิงข้อมูลและภาพ
บทคัดย่อ https://www.cmuccdc.org/opendata/research_detail/44
Full paper https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp…