เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมอิสลามในการอนุมัติให้มีภรรยาสี่คนได้ จากการเข้าใจสังคมไทยและพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
เท่านั้นการเข้าใจ"ตัวเอง"ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมภรรยา 4 คนอันป่าเถื่อนของอิสลาม ได้อย่างไร?
เริ่มที่ปัจจุบันสังคมไทยนั้นให้ความรัก และนับถือความรักในรูปแบบ 1ต่อ1 , ปัจจุบัน"ผัวเดียวเมียเดียว"ถูกเข้าใจว่าเป็นศีลธรรมทางสังคมและเป็น "ศีลธรรมทางพุทธศาสนา" โดยผูกโยงศีลข้อกาเม เข้ากับกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ สังคมไทย ยืนอยู่บนฐานความเชื่อหลักแบบนี้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมาตลอดมาดูว่าเราพัฒนาความเข้าใจผิดนี้กันอย่างไร จะขยับขยายได้ดังนี้
ในความเป็นจริงแล้วแต่เดิมสังคมไทยนั้นเป็นสังคมแบบ "ผัวเดียวหลายเมีย" มายาวนาน ชายไทยสมัยก่อนมีภรรยานับสิบ คนจีนที่อาศัยอยู่ในไทยมีภรรยาเต็มบ้านคติแต่เดิมของสังคมไทย คือ "มีภรรยาเต็มบ้านมีลูกหลานเยอะๆไว้ใช้งาน" เป็นอย่างนี้มายาวนาน
การพัฒนามาเป็น "สังคมผัวเดียวเมียเดียว" มาจากวัฒนธรรมฝรั่ง,ตะวันตกผ่านมิชชั่นนารี หรือ คริสต์ศาสนานั่นเอง โดยการเปลี่ยนผ่านใช้เวลายาวนานตั้งแต่ก่อนเริ่มการเข้ามาของแนวคิดนี้ คือ 2410-2478 และเปลี่ยนเป็นกฎหมายที่เป็นรูปธรรมที่ว่าได้สำเร็จ ผ่านการลงมติด้วยคะแนนเสียง 77 ต่อ 19 ให้
“[สามี ] จดทะเบียนภรรยาได้คนเดียว” และบังคับในปี 2478 (สำเร็จในยุคปฏิวัติสยาม โดยการกลับมติสภาของรัชการที่ 7 ที่แต่เดิมรองรับ"หลักการมีภรรยาหลายคน") จะเรียกว่า หลักผัวเดียวเมียเดียวมาพร้อมกับศาสนาคริสต์และประชาธิปไตยซึ่งเป็นของนำเข้าก็ว่าได้?
นี่คือข้อแรกของการเปลี่ยนผ่านและตัวตนเดิมของเรา
สิ่งที่ต้องเข้าใจต่อมาตลอดเวลาของการเปลี่ยนผ่านนั้น ที่น่าสนใจคือแต่เดิม "หลักพุทธศาสนา" ถูกใช้เป็นข้อต่องรองในการพยายามรักษาขนบ "ผัวเดียวหลายเมีย"ไว้ด้วย ในยุคหนึ่งของการนำเข้ามาแนวคิดผัวเดียวเมียเดียวนั้น มีการต่อสู้ระหว่างชุดความคิดของ มิชชันนารีว่า "หลักการผัวเดียวหลายเมียนั้น" มันเป็นการขัดต่อพระบัญญัติของพระเจ้าโดยชี้ว่า ประเทศยุโรปและ อเมริกาที่เจริญกว่า“เปนผัวเมียกันตามพระบัญญัติพระเจ้า” // ซึ่ง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) และรัชกาลที่4 ท่านตอบโต้กลับด้วยกรอบมโนทัศน์ทางพุทธศาสนาว่า โดยตั้งแง่การอวดอ้างการมีอยู่จริงของพระเจ้า พร้อมกับชี้ว่า "เวรกรรมเป็น ผู้ทำจำแจ้งการ สู่นิพพานสิ้นทุกข์ นี่สุขจริง" และชี้ว่า การมีเมียมากไม่ได้นำมาซึ่งทุกข์อะไร"อย่างที่ชนชาวยุโรปติเตียน"
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วศีลข้อ 3 ในพุทธศาสนาที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาร หรือการประพฤติผิดในกามนั้น
สามารถเอามาจับกับหลัก”ผัวเดียวเมียเดียว”หรือ “ผัวเดียวหลายเมีย” ได้อย่างไร?
การเข้าใจหลักข้อนี้อย่างแท้จริงจะทำให้เราเข้าใจสังคมไทยที่มีพุทธศาสนาขับเคลื่อนเป็นหลักมากขึ้น
“ศีลข้อสาม หลัก กาเมสุมิจฉาจาร ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้นจะมุ่งเอาการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่มารดาบิดารักษา หญิงที่พี่ชายพี่สาวรักษา หญิงที่ญาติรักษา หญิงที่ยังมีสามี หญิงที่ถูกซื้อตัวไว้ และหญิงที่ถูกจองตัวไว้แล้วด้วยเคริ่องหมั้นหมายเช่นแก้วแหวนหรือแม้ด้วยพวงมาลัยตามประเพณีท้องถิ่น “
ขยับขยายต่อได้ว่า กาเมสุมิจฉาจรานั้น แปลเป็นไทยตรงๆคือ การแย่งคนรักของบุคคลอื่น ,ไม่ใช่แค่เชิงความรักชุ้สาว แต่หมายถึงการยื้อแย่งความรักของลูกจากพ่อแม่ด้วยดังนั้นถ้าไปกระทำชู้สาว ลูกสาวคนอื่นโดยไม่ได้รับการยอมรับแบบนี้คือผิดศีล ไปแย่งคนรักของคนอื่นแบบนี้คือผิดศีล ที่ต้องสังเกตคือ
ศีลข้อนี้โฟกัสเรื่อง การยอมรับเป็นหลัก ใหญ่
เมื่อเป็นดังนี้ แล้วคนพุทธมี ภรรยา10 คน ตามหลัก”ผัวเดียวหลายเมีย”ผิดศีลข้อนี้ไหม
คำตอบคือ ถ้าพ่อแม่ของผู้หญิงยอมรับ ภรรยาคนก่อนยอมรับ ทุกคนยอมรับ มันก็ไม่ผิดศีลข้อกาเม เพราะไม่ได้ไปยื้อแย่งความรักของใคร ไม่มีใครยื้อแย่งความรักของใคร ทุกคนยอมรับ ทุกคนรักกัน ดังนั้น ถูกแล้วที่ว่าศาสนาพุทธไม่ได้”จำกัดจำนวนภรรยา”ตั้งแต่แรก พูดได้ว่า หลักพุทธศาสนาเอง ไม่ได้ขัดต่อหลัก “ผัวเดียวหลายเมีย” แต่อย่างใด
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า หลัก”ผัวเดียวเมียเดียว”นั้นเป็นแนวคิดจากภายนอกสังคมไทยอย่างชัดเจน แต่ถูกนำมาปรับเข้ากับศีลธรรมทางสังคมไทย ครอบด้วยกฎหมาย และ ผูกโยงอย่างเปราะบางกับศีลข้อกาเมทางพุทธศาสนา เท่านั้น ไม่ได้เป็นวัฒนธรรมหรือ ศีลธรรมทางศาสนาแต่เดิมอย่างที่เข้าใจ
มาถึงตรงนี้ ศีลข้อกาเม ซึ่งไม่ได้จำกัดจำนวนภรรยาซึ่งเป็นศีลธรรมแต่เดิมของสังคมพุทธ
และการมีภรรยา 4 คน ในวัฒนธรรมอิสลาม ยังป่าเถื่อนอยู่หรือไม่
และยังใช้ได้จริงอยู่กับยุคสมัยหรือเปล่า? ศาสนาพุทธยังป่าเถื่อนและเอาเปรียบผู้หญิงเฉกเช่นเดียวกับวัฒนธรรมอิสลามหรือไม่?
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงศีลข้อกาเมอย่างละเอียดอีกครั้ง มีความน่าสนใจของศีลข้อนี้คือ กรณีคนพุทธจะมีภรรยาคนที่สอง แล้วภรรยาคนแรกไม่ยอมรับ กรณีนี้ถือว่าผิดศีลอย่างแน่นนอนเมื่องมองในทางปฏิบัติ ในความเป็นจริงจะมีสักกี่คนที่ภรรยาคนแรกยอมรับภรรยาคนที่สอง?
เรื่องนี้คล้ายกับหลักการทางอิสลามตรงที่แม้ มุสลิมจะมีภรรยาคนที่สองได้ แต่ถ้าภรรยาคนแรกไม่ยินยอมเรื่องนี้ก็เป็นอันตกไป ดังนั้น ทั้งสองศาสนาได้ พูดถึงความรัก และการมีภรรยาเพิ่มในระดับใกล้กันมาก เพียงแต่ ศาสนาพุทธไม่จำกัดจำนวน ถ้าทุกฝ่ายยอมรับ ส่วนอิสลามจำกัดที่ 4 ถึงแม้ทุกคนจะยอมรับแต่ก็ไม่อนุญาติให้เกินนี้ เท่านั้นเองในทางปฏิบัติทั้งสองศาสนายังรักษาไว้ซึ่งหลักการ ”การมีผัวเดียวเมียเดียว”ไว้ด้วยอย่างแท้จริงนั่นเอง
เป็นที่น่าสนใจว่าการเข้าใจวัฒนธรรมภรรยา 4 คนของอิสลามนั้นสามารถเข้าใจได้ ด้วยการกลับมาเรียนรู้ เข้าใจตัวตน ประวัติศาสตร์ และศาสนาของเราเอง เมื่อเราเข้าใจตัวตนของเราอย่างแท้จริง เราจะเข้าใจผู้อื่นและวัฒนธรรมอื่นที่แตกต่างมากขึ้นจากมุมมองที่เราเองอาจไม่เคยเข้าใจ และนั่นจะทำให้เรา อยู่กับความแตกต่างได้อย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน
ในท้ายที่สุดเอง แม้อิสลามจะมีภรรยาได้ 4 คน แต่ในทางปฏิบัตินั้น ผู้เขียนอยู่สายในครอบครัวและสังคมที่เชือ่ใน “ผัวเดียวเมียเดียว” มาตลอดตั้งแต่บรรพบุรุษ สังคมมุสลิมไทยเราในทางปฏิบัติภรรยาคนแรก จะ”ดุมาก” ไม่ต้องห่วงว่าจะมีต่อคนที่สองได้เลยนั่นเอง อันนี้เอามาแลกเปลี่ยนกัน
เรียนรู้เข้าใจวัฒธรรม ภรรยา4 คนในอิสลาม ผ่านสังคมไทยและพุทธศาสนา
เท่านั้นการเข้าใจ"ตัวเอง"ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมภรรยา 4 คนอันป่าเถื่อนของอิสลาม ได้อย่างไร?
เริ่มที่ปัจจุบันสังคมไทยนั้นให้ความรัก และนับถือความรักในรูปแบบ 1ต่อ1 , ปัจจุบัน"ผัวเดียวเมียเดียว"ถูกเข้าใจว่าเป็นศีลธรรมทางสังคมและเป็น "ศีลธรรมทางพุทธศาสนา" โดยผูกโยงศีลข้อกาเม เข้ากับกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ สังคมไทย ยืนอยู่บนฐานความเชื่อหลักแบบนี้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมาตลอดมาดูว่าเราพัฒนาความเข้าใจผิดนี้กันอย่างไร จะขยับขยายได้ดังนี้
ในความเป็นจริงแล้วแต่เดิมสังคมไทยนั้นเป็นสังคมแบบ "ผัวเดียวหลายเมีย" มายาวนาน ชายไทยสมัยก่อนมีภรรยานับสิบ คนจีนที่อาศัยอยู่ในไทยมีภรรยาเต็มบ้านคติแต่เดิมของสังคมไทย คือ "มีภรรยาเต็มบ้านมีลูกหลานเยอะๆไว้ใช้งาน" เป็นอย่างนี้มายาวนาน
การพัฒนามาเป็น "สังคมผัวเดียวเมียเดียว" มาจากวัฒนธรรมฝรั่ง,ตะวันตกผ่านมิชชั่นนารี หรือ คริสต์ศาสนานั่นเอง โดยการเปลี่ยนผ่านใช้เวลายาวนานตั้งแต่ก่อนเริ่มการเข้ามาของแนวคิดนี้ คือ 2410-2478 และเปลี่ยนเป็นกฎหมายที่เป็นรูปธรรมที่ว่าได้สำเร็จ ผ่านการลงมติด้วยคะแนนเสียง 77 ต่อ 19 ให้
“[สามี ] จดทะเบียนภรรยาได้คนเดียว” และบังคับในปี 2478 (สำเร็จในยุคปฏิวัติสยาม โดยการกลับมติสภาของรัชการที่ 7 ที่แต่เดิมรองรับ"หลักการมีภรรยาหลายคน") จะเรียกว่า หลักผัวเดียวเมียเดียวมาพร้อมกับศาสนาคริสต์และประชาธิปไตยซึ่งเป็นของนำเข้าก็ว่าได้?
นี่คือข้อแรกของการเปลี่ยนผ่านและตัวตนเดิมของเรา
สิ่งที่ต้องเข้าใจต่อมาตลอดเวลาของการเปลี่ยนผ่านนั้น ที่น่าสนใจคือแต่เดิม "หลักพุทธศาสนา" ถูกใช้เป็นข้อต่องรองในการพยายามรักษาขนบ "ผัวเดียวหลายเมีย"ไว้ด้วย ในยุคหนึ่งของการนำเข้ามาแนวคิดผัวเดียวเมียเดียวนั้น มีการต่อสู้ระหว่างชุดความคิดของ มิชชันนารีว่า "หลักการผัวเดียวหลายเมียนั้น" มันเป็นการขัดต่อพระบัญญัติของพระเจ้าโดยชี้ว่า ประเทศยุโรปและ อเมริกาที่เจริญกว่า“เปนผัวเมียกันตามพระบัญญัติพระเจ้า” // ซึ่ง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) และรัชกาลที่4 ท่านตอบโต้กลับด้วยกรอบมโนทัศน์ทางพุทธศาสนาว่า โดยตั้งแง่การอวดอ้างการมีอยู่จริงของพระเจ้า พร้อมกับชี้ว่า "เวรกรรมเป็น ผู้ทำจำแจ้งการ สู่นิพพานสิ้นทุกข์ นี่สุขจริง" และชี้ว่า การมีเมียมากไม่ได้นำมาซึ่งทุกข์อะไร"อย่างที่ชนชาวยุโรปติเตียน"
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วศีลข้อ 3 ในพุทธศาสนาที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาร หรือการประพฤติผิดในกามนั้น
สามารถเอามาจับกับหลัก”ผัวเดียวเมียเดียว”หรือ “ผัวเดียวหลายเมีย” ได้อย่างไร?
การเข้าใจหลักข้อนี้อย่างแท้จริงจะทำให้เราเข้าใจสังคมไทยที่มีพุทธศาสนาขับเคลื่อนเป็นหลักมากขึ้น
“ศีลข้อสาม หลัก กาเมสุมิจฉาจาร ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้นจะมุ่งเอาการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่มารดาบิดารักษา หญิงที่พี่ชายพี่สาวรักษา หญิงที่ญาติรักษา หญิงที่ยังมีสามี หญิงที่ถูกซื้อตัวไว้ และหญิงที่ถูกจองตัวไว้แล้วด้วยเคริ่องหมั้นหมายเช่นแก้วแหวนหรือแม้ด้วยพวงมาลัยตามประเพณีท้องถิ่น “
ขยับขยายต่อได้ว่า กาเมสุมิจฉาจรานั้น แปลเป็นไทยตรงๆคือ การแย่งคนรักของบุคคลอื่น ,ไม่ใช่แค่เชิงความรักชุ้สาว แต่หมายถึงการยื้อแย่งความรักของลูกจากพ่อแม่ด้วยดังนั้นถ้าไปกระทำชู้สาว ลูกสาวคนอื่นโดยไม่ได้รับการยอมรับแบบนี้คือผิดศีล ไปแย่งคนรักของคนอื่นแบบนี้คือผิดศีล ที่ต้องสังเกตคือ
ศีลข้อนี้โฟกัสเรื่อง การยอมรับเป็นหลัก ใหญ่
เมื่อเป็นดังนี้ แล้วคนพุทธมี ภรรยา10 คน ตามหลัก”ผัวเดียวหลายเมีย”ผิดศีลข้อนี้ไหม
คำตอบคือ ถ้าพ่อแม่ของผู้หญิงยอมรับ ภรรยาคนก่อนยอมรับ ทุกคนยอมรับ มันก็ไม่ผิดศีลข้อกาเม เพราะไม่ได้ไปยื้อแย่งความรักของใคร ไม่มีใครยื้อแย่งความรักของใคร ทุกคนยอมรับ ทุกคนรักกัน ดังนั้น ถูกแล้วที่ว่าศาสนาพุทธไม่ได้”จำกัดจำนวนภรรยา”ตั้งแต่แรก พูดได้ว่า หลักพุทธศาสนาเอง ไม่ได้ขัดต่อหลัก “ผัวเดียวหลายเมีย” แต่อย่างใด
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า หลัก”ผัวเดียวเมียเดียว”นั้นเป็นแนวคิดจากภายนอกสังคมไทยอย่างชัดเจน แต่ถูกนำมาปรับเข้ากับศีลธรรมทางสังคมไทย ครอบด้วยกฎหมาย และ ผูกโยงอย่างเปราะบางกับศีลข้อกาเมทางพุทธศาสนา เท่านั้น ไม่ได้เป็นวัฒนธรรมหรือ ศีลธรรมทางศาสนาแต่เดิมอย่างที่เข้าใจ
มาถึงตรงนี้ ศีลข้อกาเม ซึ่งไม่ได้จำกัดจำนวนภรรยาซึ่งเป็นศีลธรรมแต่เดิมของสังคมพุทธ
และการมีภรรยา 4 คน ในวัฒนธรรมอิสลาม ยังป่าเถื่อนอยู่หรือไม่
และยังใช้ได้จริงอยู่กับยุคสมัยหรือเปล่า? ศาสนาพุทธยังป่าเถื่อนและเอาเปรียบผู้หญิงเฉกเช่นเดียวกับวัฒนธรรมอิสลามหรือไม่?
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงศีลข้อกาเมอย่างละเอียดอีกครั้ง มีความน่าสนใจของศีลข้อนี้คือ กรณีคนพุทธจะมีภรรยาคนที่สอง แล้วภรรยาคนแรกไม่ยอมรับ กรณีนี้ถือว่าผิดศีลอย่างแน่นนอนเมื่องมองในทางปฏิบัติ ในความเป็นจริงจะมีสักกี่คนที่ภรรยาคนแรกยอมรับภรรยาคนที่สอง?
เรื่องนี้คล้ายกับหลักการทางอิสลามตรงที่แม้ มุสลิมจะมีภรรยาคนที่สองได้ แต่ถ้าภรรยาคนแรกไม่ยินยอมเรื่องนี้ก็เป็นอันตกไป ดังนั้น ทั้งสองศาสนาได้ พูดถึงความรัก และการมีภรรยาเพิ่มในระดับใกล้กันมาก เพียงแต่ ศาสนาพุทธไม่จำกัดจำนวน ถ้าทุกฝ่ายยอมรับ ส่วนอิสลามจำกัดที่ 4 ถึงแม้ทุกคนจะยอมรับแต่ก็ไม่อนุญาติให้เกินนี้ เท่านั้นเองในทางปฏิบัติทั้งสองศาสนายังรักษาไว้ซึ่งหลักการ ”การมีผัวเดียวเมียเดียว”ไว้ด้วยอย่างแท้จริงนั่นเอง
เป็นที่น่าสนใจว่าการเข้าใจวัฒนธรรมภรรยา 4 คนของอิสลามนั้นสามารถเข้าใจได้ ด้วยการกลับมาเรียนรู้ เข้าใจตัวตน ประวัติศาสตร์ และศาสนาของเราเอง เมื่อเราเข้าใจตัวตนของเราอย่างแท้จริง เราจะเข้าใจผู้อื่นและวัฒนธรรมอื่นที่แตกต่างมากขึ้นจากมุมมองที่เราเองอาจไม่เคยเข้าใจ และนั่นจะทำให้เรา อยู่กับความแตกต่างได้อย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน
ในท้ายที่สุดเอง แม้อิสลามจะมีภรรยาได้ 4 คน แต่ในทางปฏิบัตินั้น ผู้เขียนอยู่สายในครอบครัวและสังคมที่เชือ่ใน “ผัวเดียวเมียเดียว” มาตลอดตั้งแต่บรรพบุรุษ สังคมมุสลิมไทยเราในทางปฏิบัติภรรยาคนแรก จะ”ดุมาก” ไม่ต้องห่วงว่าจะมีต่อคนที่สองได้เลยนั่นเอง อันนี้เอามาแลกเปลี่ยนกัน