ขับเฉี่ยวมอเตอร์ไซต์ โดนเรียกค่าทำขวัญ 50,000บาท

เพื่อนของดิฉัน ขับรถในซอยทางเข้าหมู่บ้าน แล้วก็ขับหลบกันไม่พ้น เลยเฉี่ยวมอเตอร์ไซต์น่าจะแรง เลยทำให้น่องแตก ต้องเย็บแผลที่น่อง

วันที่เกิดเหตุ เพื่อนผิด เพื่อนก็ดูแลอย่างดี พาไปโรงพยาบาล ให้ประกันดูแลตามปกติ (ประกัน2+)
เพื่อนก็ไปเยี่ยมบ้าง

จน 5 วันผ่านไป เขาโทรมาเรียกร้องค่าส่วนเกินที่ประกันไม่ครอบคลุม คือ ค่าห้องพยาบาลและอาหารอื่นๆ 2000บาท และค่ารถไปล้างแผล5วัน วันละ200บาท รวมเป็นเงิน 3000บาท
ส่วนค่าเสียเวลาหยุดงานขาดรายได้ ประกันก็คุยแล้ว

และบอกว่า ให้เพื่อนจ่ายค่าทำขวัญที่เขาควรจะได้รับ

เพื่อนเลยปรึกษา จึงดูจากอาการแล้ว เลยแนะนำไปว่า 3000-5000 ถ้าให้ได้ก็ให้ไปเถอะ และขอจบตรงนั้น ห้ามต่อความ

แต่พอเพื่อนโทรไปบอกคนขี่มอเตอร์ไซต์ เขาด่าใหญ่เลย เขาจะเอา 50,000 บาท ให้ไปคุยที่โรงพัก
และนัดกันไปคุยที่สำนักงานตำรวจท้องที่อีกครั้งในวันที่ 10 มค.นี้ เพื่อนก็ตกลงรับนัดไปแล้ว

เพื่อนๆที่เป็นทนายก็ไม่ว่างจะไปโรงพักด้วย ดิฉันก็ไม่ว่างไปโรงพักด้วย เพื่อนเลยกลัวอยู่ค่ะ
ส่วนอีกฝ่าย จะพากันมาทั้งครอบครัว มาเรียกร้อง 50,000 ให้ได้

เลยรู้สึกว่า มันมากไปไหม โดยปกติควรจะให้เท่าไหร่
วันที่ 10 นี้ ควรวางตัว พูดคุยกันด้วยเรื่องอะไรอย่างไรบ้าง
หรือมีคำแนะนำอะไรที่ใช้ได้จริงๆ เกิดผลจริงๆมาแล้วบ้างคะ
*เพื่อนกลัวเสียประวัติน่ะค่ะ เขาเลยจะกลัวและอาจจะยอมจ่าย แต่ดิฉันคิดว่ามันมากไปหน่อย

ขอบคุณค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ในฐานะที่ทำงานเกี่ยวกับด้านนี้นะครับ มีความเห็นให้คุณทำดังต่อไปนี้
1. ขอดูใบรับรองแพทย์ หรือการชันสูตรบาดแผลแพทย์ จากคู่กรณีก่อนครับ และดูว่าแพทย์ให้หยุดกี่วัน และไปดูว่าเขาเบิกเงินรักษาใช้สิทธิจากที่ใด ถ้า พรบ ก็ได้สิทธิตามกฎหมาย เบื้องต้นอยู่แล้ว 30000 บาท และหากสาหัส (ทำงานไม่ได้เกินกว่า 20 วัน หรือ สูญเสียอวัยวะ) จะได้เพิ่มเติมอีก 50000 ดังนั้น พรบ. จึงครอบคลุมในส่วนการล้างแผล การเบิกจ่ายที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว และไม่ค่อยจะเกิน หากไม่เป็นการผ่าตัดใหญ่
2. จำนวนเงินที่เขาคิด 50000 เขาอ้างอิงจากอะไร เอาอะไรเป็นบรรทัดฐานในการเรียกร้อง เช่น หน้าที่การงาน ตำแหน่ง มีหรือไม่ ถ้าไม่มีงาน หรือรับจ้าง หรือเป็นนักเรียน ส่วนใหญ่ได้ตามค่าแรงขั้นต่ำ x จำนวนวันที่แพทย์ให้หยุด อาจจะบวกลบที่มานอนรักษาตัวที่บ้านอีกสักหน่อย
3. ถ้าเขาไม่มี พรบ. สิทธิเบื้องต้นเบิกไม่ได้ จะต้องไปขอเบิกกับ คปภ. ที่อยู่ศาลากลางจังหวัดนั้นๆ ทดแทนไปก่อน แต่เจ้าของรถที่ไม่ทำ พรบ. จะถูกเรียกเงินคืนในอัตราร้อยละ 20 ที่เขาได้จ่ายไป และคนขี่ต้องถูกปรับใช้รถไม่จัดทำ พรบ. ด้วย
4. คนที่เจ็บนั้นถ้าอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้เขาเป้นผู้เรียกร้อง อย่าให้ญาติพูดแทรก เพราะจะจบไม่ได้ หลายครั้งที่เจอ คนเจ็บไม่เรียก คนไม่เจ็บเรียกซะยิ่งกว่าคนเจ็บ
5. เขาเรียกมาเพื่อให้คุณต่อรองอยู่แล้ว ดังนั้นการต่อรองก็ให้มันสมน้ำสมเนื้อด้วย ไม่ใช่ว่าเขาเจ็บเท่านั้น ก็จะให้เขาเท่านั้น เพราะต้องเข้าใจว่าไม่มี
ใครอยากเจ็บตัว เสียเวลา เสียเงิน และได้เท่าที่ตัวเองจ่ายไป เขาก็หวังในส่วนที่สูญเสียไปด้วย คิดกลับกันว่าถ้าเป็นคุณหรือคนที่คุณรักละ ถูกชน ไม่ผิด คุณรักษา 10000 แต่ต้องนอนรักษาอยู่หลายเดือน และคู่กรณีจะให้คุณแค่ 10000 เป็นคุณ คุณพอใจหรือไม่ ใจเขาใจเรา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่